เปิดวิธีคิดเศรษฐกิจจีน ถอยหลังเพื่อไปต่อจริงหรือ ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดจีนในช่วงเวลานี้ มีหลายคำถามที่นักลงทุนกำลังรอฟังคำตอบ
ลงทุนแมน ได้ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญตลาดจีนของกองทุนบัวหลวง
นั่นคือ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา ตำแหน่ง Chief Economist ของกองทุนบัวหลวง
และ คุณทนง ขันทอง ตำแหน่ง Head of Strategic Communications ของกองทุนบัวหลวง
ใน Clubhouse เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
ประเด็นสำคัญของตลาดจีนในช่วงเวลานี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นกันที่.. ภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่ผ่านมา
ประเทศจีนมี GDP ไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 18.3% (YoY) โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เป็นผลมาจากนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายจากวิกฤติโควิด 19, การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมช่วงปลายปี 2563 และภาคการค้าส่งออกตลอดช่วงต้นปี 2564
ขณะที่ล่าสุด GDP ไตรมาส 2 ปี 2564 อยู่ที่ 7.9% (YoY)
หากมองในแง่ของนักลงทุน ต้องยอมรับว่า เราผ่านช่วงเวลาที่เป็นจุดพีกของจีนกันไปแล้ว
แต่ในแง่ของพื้นฐานประเทศจีน ยังถูกมองว่าเป็น The Most Outstanding อยู่ดี
ที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางจีน (PBOC) พยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
เช่น การปรับลดอัตราการดำรงเงินสำรอง (RRR) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไปยังกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบ ให้ยังคงอยู่รอดต่อไปได้
ดังนั้น หากเราเห็นว่าจีนกำลังลดสภาพคล่อง ความจริงแล้วสภาพคล่องยังคงมีอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าความท้าทายของจีน ยังมีอยู่อีกมาก
เช่น ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดตลาด และปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าส่งออกจีน หรือปัญหาการปรับตัวสูงของสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมจีน
แล้วตอนนี้ ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก เป็นอย่างไร ?
สิ่งที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ เรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่เริ่มต้นมาจากการประชุม Alaska Summit ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่กำลังคุกรุ่นต่อเนื่องมาจากสงครามการค้า และประเด็นด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่สมัยที่ ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ต่อเนื่องไปจนถึง สิทธิของแรงงานในซินเจียง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็น Cyber Security ที่ทางสหรัฐอเมริกามีการอ้างว่าจีนได้ส่งแฮกเกอร์เข้าไปล้วงข้อมูลจาก Microsoft Exchange อีกด้วย
โดยทางกองทุนบัวหลวงมองว่าประเด็นทางด้าน Geopolitics เหล่านี้จะไม่กระทบกับภาคเศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นในเชิงด้านการลงทุนก็อาจกระทบกับตลาดการลงทุนได้บ้าง
ส่วนประเด็นสำคัญเรื่องความตึงเครียดระหว่างจีนกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ในขณะนี้ คือ สหรัฐอเมริกามีการร่วมมือกับกลุ่มประเทศ G7 เพื่อสกัดกั้นการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกของจีน
เนื่องจากตอนนี้จีนกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องขนาดเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่จีนเป็นคู่ค้าสำคัญของโลก และเมื่อตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้น บทบาทของเงินหยวนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งจะไปมีผลกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของโลกต่อไป เช่น ระบบชำระเงิน Digital Banking หรือสินทรัพย์ดิจิทัล
พูดง่าย ๆ ว่าตอนนี้เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่าง “โลกทุนนิยมจากฝั่งตะวันตก” และ “โลกอำนาจนิยมจากจีน”
เพื่อแย่งชิงการเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของโลก นั่นเอง
ขณะเดียวกัน จีนเองก็พยายามสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศกำลังพัฒนาอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มแอฟริกา ลาตินอเมริกา และประเทศตามเส้นทางสายไหม
รวมไปถึงการพัฒนาภายในประเทศเองเพื่อให้คนในประเทศหลุดพ้นจากความยากจน
โดยความคาดหวังของจีนในระยะยาว คือ ต้องการให้ประเทศมีฐานะร่ำรวยปานกลาง (Moderately Prosperous Society) สร้างพลังการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ให้คนในประเทศเป็นคนชนชั้นกลาง ส่วนภาคแรงงานจะมีค่าแรงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักให้ประชากรจีนมีกำลังซื้อ มีความมั่งคั่ง กินดีอยู่ดีมากขึ้น และเติบโตได้ในระยะยาว
แล้วตอนนี้ ปัจจัยภายในจีน กำลังเจอความท้าทายใดบ้าง ?
จีนพยายามพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากแผนพัฒนาฯ ของจีน เช่น
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จนเกิดปัญหาการเก็งกำไรภาคอสังหาริมทรัพย์
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต Made in China 2025 จนเกิดปัญหาสงครามการค้าจีน-สหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Trade War
จะเห็นได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีน มักจะตามมาด้วยปัญหาต่าง ๆ
ทำให้จีน เริ่มมองหาทางเดินใหม่ ๆ ด้วยการลดความสำคัญของตัวเลข GDP สูง ๆ
แต่จะเน้น “ความเป็นสังคมอยู่ดี กินดี ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เข้ามาแทนที่
จึงมีความเป็นไปได้ว่า เส้นทางเดินใหม่ของจีนจะมุ่งไปสู่ 2 กลุ่มหลัก นั่นคือ
- กลุ่มการเติบโตแบบมีคุณภาพ (Quality Growth) เช่น ภาคธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ และทำให้ประเทศจีนมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- กลุ่มเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economies) เช่น ธุรกิจด้านการบริโภคภายในประเทศ
เราจึงเห็น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 มียุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน (China’s Dual Circulation)
ที่คงความสำคัญของปัจจัยภายนอก เช่น การค้าส่งออก ไปพร้อมกับปัจจัยภายในประเทศ เช่น อุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ
ดังนั้น ความท้าทายของปัจจัยภายในจีนก็คือ พลังของการบริโภคภายในประเทศ ที่จะมาจากการทำให้ประชากรจีนมีรายได้สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง นั่นเอง
อีกหนึ่งประเด็นก็คือ การเข้ามาควบคุมกิจการเทคโนโลยีของจีน
สาเหตุหลักเป็นเพราะ รัฐบาลจีนต้องการจะเป็นเจ้าของ Big Data ที่อยู่ในมือของธุรกิจภาคเอกชน
จึงทำให้ธุรกิจเอกชนยักษ์ใหญ่ที่มี Big Data อย่าง Ant Group ที่ให้บริการการเงินครบวงจร หรือ DiDi แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่ที่มีข้อมูลการเดินทางของคนจีนจำนวนมาก จึงถูกรัฐบาลจีนเข้ามาจัดระเบียบอย่างที่ทราบกัน
สรุปแล้ว ช่วงเวลานี้ ควรลงทุนในตลาดจีนอย่างไร ?
ต้องยอมรับว่า การลงทุนในประเทศจีนช่วงนี้ อาจให้ผลตอบแทนได้ดีไม่เท่ากับตลาดอื่น ๆ
แต่ถ้าตาม Seasonal Pattern แล้ว ตลาดหุ้นจีนจะกลับมา Perform อีกครั้งในตอนช่วงท้ายปี
ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนมักจะให้น้ำหนักต่อการเคลื่อนไหวของตลาดจีนก็คือ นโยบายของภาครัฐ ที่จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาว รวมทั้งจุดเด่นของจีนที่มักจะพูดจริง ทำจริง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งประเทศที่ทำตาม KPI ของตัวเองได้ดี
ดังนั้น หากนักลงทุนเชื่อมั่นในประเทศจีนในภาพระยะยาว
จังหวะที่ตลาดหุ้นจีนลงมามาก ๆ ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการเก็บสะสมหุ้นจีนแบบระยะยาวได้
ซึ่งหนึ่งวิธีที่จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดจีนตอนนี้ ก็คือการลงทุนแบบ DCA
เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ทำให้นักลงทุนไม่ต้องสนใจภาวะตลาด ณ ตอนนั้น เนื่องจากเป็นการทยอยเข้าไปลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะฝึกให้นักลงทุนมีวินัยในการลงทุนมากขื้น
ส่วน Theme การลงทุนที่น่าสนใจ ควรสอดคล้องกับนโยบาย Dual Circulation Economic
อย่างในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์จากจำนวนประชากรจีนที่จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นการเติบโตรอบใหม่ของจีน
เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว, ธุรกิจกีฬา, ธุรกิจการศึกษา, ธุรกิจเครื่องดื่ม
สรุปได้ว่า ช่วงเวลานี้ หากจะลงทุนระยะยาวในตลาดจีน ก็เป็นจังหวะที่ดีให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนในบริษัทพื้นฐานดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าจริง นั่นเอง
ในส่วนของกองทุนบัวหลวง มีกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเป็นแบบ Dynamic โดยส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited เป็นผู้รับดำเนินงานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน (Outsourced Fund Manager) ซึ่งในส่วนนี้ก็มีการลงทุนผ่านกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุน Allianz China A-Shares และกองทุน Allianz All China Equity และยังมีอีกส่วนที่กองทุนบัวหลวงคัดเลือกลงทุนหุ้นรายตัวเอง
นั่นก็หมายความว่า กองทุน B-CHINE-EQ ไม่ได้อิงผลตอบแทนของดัชนีประเทศจีน
แต่ยังมีการลงทุนธุรกิจพื้นฐานดีรายตัวในประเทศจีน ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง และเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้กับนักลงทุนได้ นั่นเอง
กองทุน china-a 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
TMB I Thanachart x ลงทุนแมน
สถานการณ์ตลาดแบบนี้ ลงทุนลดหย่อนภาษีอย่างไรให้อุ่นใจ
ใกล้สิ้นปีแล้ว หลายคนคงกำลังหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีอยู่
แต่ด้วยสถานการณ์ตลาดที่ผันผวนมาตลอดทั้งปี
เราก็คงเกิดความกังวล ว่าจะเลือกกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า
ในปีนี้เราสามารถซื้อกองทุนอะไรเพื่อลดหย่อนภาษีได้บ้าง
และกองทุนแต่ละประเภท นำไปลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
เริ่มจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งเราน่าจะคุ้นเคยกันดี
สามารถนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
แต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นกองเดิมเหมือนกันทุกปี
และต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปี รวมถึงไม่ขายจนกว่าผู้ถือจะอายุครบ 55 ปี
RMF จึงเหมาะกับคนที่อยากวางแผนการเงินเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ
นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกวินัยไปในตัว เพื่อมีเงื่อนไขกำหนดให้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง
นอกจาก RMF แล้ว ปีนี้ยังมีกองทุนน้องใหม่ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีแทน LTF
ซึ่งก็คือ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF
โดยเราสามารถนำเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
แต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือครองจนครบ 10 ปี จึงจะเข้าเงื่อนไข
ซึ่งเมื่อรวมจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่ซื้อ RMF และ SSF
รวมกับ กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
พอรู้อย่างนี้แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะเลือกลงทุนกับ RMF หรือ SSF กองไหนดี?
เรื่องนี้ทีเอ็มบีและธนชาต เข้าใจว่าความต้องการของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน
จึงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ มาเพื่อตอบโจทย์คนแต่ละสไตล์
โดยเราสามารถแบ่งกองทุนออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ ตามความสนใจ
1. กลุ่มที่ต้องการลงทุนในประเทศที่มีอัตราการเติบโตด้านเศรษฐกิจสูง อย่างประเทศจีน
กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-CHINAA-SSF
กองทุน RMF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-CHINAA-RMF และ TMBCORMF
กองทุนแรก “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง China A” หรือ “T-ES-CHINAA”
ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบที่เป็น SSF และ RMF ให้เลือก
เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุน UBS (Lux) IS - China A Opportunity
ซึ่งเน้นการลงทุนในหุ้นจีนกลุ่ม New Economy ที่จดทะเบียนในแผ่นดินใหญ่ (A Share)
เช่น Ping An Insurance หรือ Moutai บริษัทเหล้าระดับพรีเมียมของจีนที่มีชื่อเสียงมายาวนาน
และที่สำคัญผู้จัดการกองทุน ก็ได้รับรางวัล Rating AAA จาก Citywire เป็นระยะเวลาถึง 35 เดือน
กองถัดไป “กองทุนเปิดทหารไทย China Opportunity เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBCORMF”
ซึ่งลงทุนกับกองทุน UBS (Lux) Equity Fund–China Opportunity
เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีรายได้เติบโตสูงจากในประเทศจีน
แต่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ช่วยให้สามารถลงทุนในหุ้นคุณภาพสูงที่มักเลือกเข้าตลาดหลักของโลก
เช่น Alibaba เลือกจดทะเบียนในสหรัฐฯ และฮ่องกง เป็นต้น
2. กลุ่มที่ต้องการลงทุนแบบกระจายการลงทุนไปทั่วโลก ไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-GCG-SSF และ UGQG-SSF
กองทุน RMF ที่น่าสนใจ คือ TMBGQGRMF และ TMBGINCOMERMF
กองทุนแรกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนทั่วโลก คือ “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Capital Growth เพื่อการออม” หรือ “T-ES-GCG-SSF”
ซึ่งไปลงทุนในกองทุน Amundi Fund Polen Capital Global Growth
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการที่โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคสังคมออนไลน์
มีการเติบโตดีและมีความสามารถในการแข่งขันสูง
แต่ราคาหุ้นมีความผันผวนต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
นอกจากนั้นก็มี “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล ควอลิตี้ โกรท ฟันด์” หรือ “UGQG-SSF”
และ “กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBGQGRMF”
ซึ่งมีนโยบายไปลงทุนใน Wellington Global Quality Growth Fund
โดยกองทุนหลักนี้ จะไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีพื้นฐานธุรกิจดี
มีโอกาสในการเติบโตที่ดีในระยะ 5 - 7 ปี ข้างหน้า
กระจายไปยังอุตสาหกรรม ทั้ง IT, การอุปโภคบริโภค และการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ยังต้องการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก
แต่ไม่อยากรับความผันผวนมาก รวมถึงต้องการการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
และกองที่น่าสนใจกองสุดท้ายในกลุ่มนี้ คือ “กองทุนเปิดทีเอ็มบี Global Income เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBGINCOMERMF”
ก็ถือว่าตอบโจทย์
เพราะเป็นกองทุนที่ลงทุนใน PIMCO GIS Income Fund
ซึ่งกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก
3. กลุ่มที่ต้องการลงทุนด้านเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต
เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ควรมีในพอร์ตระยะยาว เพราะถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-GTECH-SSF
“กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Technology เพื่อการออม” หรือ “T-ES-GTECH-SSF”
ถือเป็นกองทุนที่น่าสนใจในหมวดนี้
เพราะมีการไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่โตระเบิด
อย่าง Apple, Facebook และ Google
รวมถึงมีนโยบายลงทุนใน 8 ธีมเทคโนโลยี
ที่มีแนวโน้มในการเติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนสูงในอนาคต
เช่น Mobility 5G, Payment Fintech หรือ Cloud Infrastructure
และมาถึงกลุ่มสุดท้ายที่ต้องการลงทุนแบบเกาะกระแสเมกะเทรนด์อย่างกลุ่ม เทคโนโลยีการแพทย์
เนื่องจากแนวโน้มของจำนวนสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ UGH-SSF
“กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล เฮลท์แคร์ ฟันด์” หรือ “UGH-SSF”
กองทุนนี้จะไปลงทุนกับกองทุนที่เน้นไปที่หุ้นของบริษัท Healthcare ทั่วโลก
โดยคัดเลือกบริษัทที่มีนวัตกรรม และมีความสามารถเติบโตในระยะยาว
เช่น กลุ่มการให้บริการทางการแพทย์ กลุ่มการคิดค้นและผลิตยา กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ และกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์อื่น
อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นคนสไตล์ไหน หรือมีความต้องการลงทุนแบบไหน
ก็สามารถเลือกลดหย่อนภาษีได้ตรงใจ
เพียงแค่ลงทุนกับทีเอ็มบีและธนชาต
ถ้าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.tmbbank.com/tax20/ltm หรือเข้าไปลงทุนได้ผ่านช่องทางดังนี้
- แอป TOUCH
- ทีเอ็มบีและธนชาต ทุกสาขา
หรือติดต่อ TMB Investment Line โทร. 1558 กด #9 (ในเวลาทำการธนาคาร)
แถมยังมีโปรโมชันดีๆ ตั้งแต่วันนี้ - 30 ธ.ค. 63 อีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม www.tmbbank.com/promotion/tax2020
หมายเหตุ:
-ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ก่อนตัดสินใจลงทุน
-การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน
-สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีเอ็มบีและธนชาต ทุกสาขา
กองทุน china-a 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ผู้สนับสนุน..
TMBAM Eastspring ฟรีค่าธรรมเนียมการขาย (FRONT-END FEE) และสับเปลี่ยนกองทุน
ช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายธุรกิจ
ทำให้ก่อนหน้านี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทำจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี
ซึ่งนอกเหนือจากประเทศไทย
ตลาดทุนในประเทศอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติขึ้น
ในอีกมุมหนึ่งเราก็สามารถมองเรื่องนี้เป็นโอกาส
ที่เราสามารถนำเงินออมบางส่วนมาทยอยลงทุน
เพื่อเป้าหมายความมั่งคั่งของเราในระยะยาว
หรือแม้แต่คนที่ไม่มีเวลาติดตามตลาด
การลงทุนในกองทุนรวมก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
เพราะอย่างน้อยเราก็จะมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดการกองทุนคอยดูแล
แล้วเราสามารถมีต้นทุนการลงทุนที่ต่ำลงในช่วงนี้ จากอะไรบ้าง?
หนึ่งในแคมเปญการลงทุนในกองทุนที่น่าสนใจตอนนี้มาจาก TMBAM Eastspring
ที่ประกาศยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน (Front-end fee)
และค่าสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า
ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระนักลงทุนชั่วคราวในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในขณะนี้
ถ้าเราจ่ายค่าธรรมเนียมกองทุนน้อยลง
ก็เท่ากับว่า หากลงทุนตอนนี้ เราจะมีต้นทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับในอดีต
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ถือหน่วยกองทุนรวมอยู่แล้ว
เราก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น โดยไม่มีอุปสรรคเรื่องค่าธรรมเนียมมากวนใจเรา
สำหรับผู้ลงทุนที่กำลังมองหากองทุนรวมที่น่าสนใจ TMBAM Eastspring มีกองทุนแนะนำ จำนวน 5 กองทุน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงที่รับได้ หรือกองทุนรวมอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ TMBAM Eastspring
โดย 5 กองทุนที่แนะนำ ประกอบด้วย กองทุนตราสารหนี้ 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดทหารไทย Global Bond Fund (TMBGF) เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก (Investment Grade) บริหารกองทุนโดย PIMCO ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตราสารหนี้ระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I06
กองทุนหุ้นต่างประเทศ 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth (TMBGQG) เพิ่มโอกาสลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีคุณภาพ ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I16
กองทุนเปิดทหารไทย US Blue Chip Equity (TMB USBLUECHIP) เน้นลงทุนในหุ้นชั้นดีของบริษัทชั้นนำในอเมริกา ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I19
กองทุนเปิดทหารไทย China Opportunity (TMBCOF) คว้าโอกาสในการลงทุนหุ้นจีน สร้างผลตอบแทนในอนาคต ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I12
และกองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง China A Active (TMB-ES-CHINA-A) เน้นลงทุนในหุ้นจีน A-Share
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I31
แคมเปญยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้จะมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2563 ทุกช่องทาง
ทั้งที่ซื้อ และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนผ่าน TMBAM Eastspring, TMB รวมถึงผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนทุกราย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmbameastspring.com หรือติดต่อส่วนลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1725 ในวันทำการ เวลา 8.30 - 17.30 น.
คำเตือน
- ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ TMBAM Eastspring และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง
- ผู้ลงทุนในกองทุน TMBGQG, TMB USBLUECHIP, TMBCOF, TMB-ES-CHINA-A ควรมีระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุนตั้งแต่ 4 ขึ้นไป โดยสามารถรับความเสี่ยงจากการลดลงของเงินต้นจากการลงทุนในหุ้นเพื่อแลกกับโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไปได้