"Wah, semalam dia tunjuk untung 30%...hari ni dia tayang pulak profit 100%"
1. Bila kita lihat pencapaian seseorang, jangan hanya fokus kepada apa yang dia dah capai. Tapi lihat pada apa proses yang dia dah lalui. Kalau dalam konteks pelaburan saham, cuba tanya berapa banyak masa yang dia dah korbankan untuk mantapkan ilmu.
2. Ada yang rugi berkali-kali lepas tu give up. Ada pula yang rugi berkali-kali tetapi tak berputus asa tetapi berusaha perbaiki kelemahan. Tetapi macam mana dia boleh bersabar dan tak putus asa?
3. Pengalaman akan mengajar kita. Contoh klasik bila nak tekan JUAL tertekan BELI, haru jadinya. Elok-elok boleh untung, terus jadi rugi. Kita kata ‘kesian terciduk’, saya kata itulah pengajaran.
4. Sama macam belajar dekat U dulu. Sebenarnya kita bukan sekadar dapat Degree. Kita berjaya tempuhi prosesnya. Cara selesaikan masalah, time management, working under pressure, countless stay up siapkan assignments, kena marah dengan lecturer.. Ya, kita lalu semua proses tu barulah berjaya dapat Degree.
5. Usain Bolt, manusia paling laju di muka bumi ni lari 100m tak sampai 10 saat, 9.58 to be exact. Beribu-ribu jam latihan kot. Baca workout routine dia yang berjela tu boleh muntah dibuatnya.
6. Masa muda ni tenaga masih banyak, masa pun banyak, jadi boleh lalu pelbagai proses dan belajar dari macam-macam kesilapan. Persiapkan diri. Bila peluang tu sampai, kita grab peluang tu. Kalau diri kita belum bersedia, datanglah beribu peluang pun kita takkan berjaya.
7. Trust the process, jangan tinggal circle, sabar dalam belajar, kita buat sama-sama dan buat sampai jadi.
Untung itu rezeki. Rugi itu pasti.
Saya doakan semoga anda semua terus menjadi insan luar biasa yang akan menjadi kaya dan berjaya di dunia & akhirat.
Kredit gambar : Puan Roslinah Laikoi
Jika "zero" dan tak tahu bagaimana nak mula melabur saham, daftar ke webinar terdekat di www.asriahmadacademy.com
bolt grab 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
Bolt แอปฯ เรียกแท็กซี่น้องใหม่ จากเด็กหนุ่มวัย 19 สู่ CEO อายุน้อยพันล้าน!
.
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามาแรงไม่หยุดสำหรับธุรกิจเรียกรถแท็กซี่ไม่ว่าจะเป็น Grab หรือ LINE Man ที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยรวมถึงโปรโมชันที่เป็นที่ดึงดูด ประกอบกับปัญหาหารจราจรจึงทำให้ธุรกิจนี้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันอย่างมาก
.
โดยที่ล่าสุดที่ประเทศไทยก็มีการเปิดตัวแอปฯใหม่อย่าง “Bolt” ที่จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการเรียกรถแท็กซี่ ที่มีค่าโดยสารถูกกว่าปกติถึง 20% และ ยกเว้นการเก็บค่าคอมมิชชันจากคนขับอีกด้วย! วันนี้จะพาดู “กลยุทธ์ความสำเร็จ” ของ “Bolt” แอปพลิเคชันเรียกแท็กน้องใหม่ที่สร้างขึ้นโดยหนุ่มวัยรุ่นอายุเพียง 19 ปี! แต่ทำสถิติเป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพ“พันล้าน” ชาวยุโรปที่อายุน้อยที่สุดไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย
.
Bolt แต่เดิมชื่อว่า Taxify ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดยหนุ่มชาวเอสโตเนียน ชื่อว่า Markus Villig อายุ 19 ปี เขาเห็นถึงปัญหาในธุรกิจนี้ จากการใช้เรียกบริการที่มีราคาสูงและใช้งานยาก จึงอยากพัฒนาแอปฯเอง ซึ่งผลตอบรับก็ดีเกินคาดเพราะหลังจากเปิดตัวก็กลายเป็นเป็นแอปฯที่ประสบความสำเร็จในยุโรปได้ดีอย่างมาก จนในปี 2018 ได้ให้บริการไปกว่า 30 ประเทศในแถบยุโรป มีลูกค้ากว่า 25 ล้านคน และคนขับอีกกว่า 500,000 คน
.
กลยุทธ์ความสำเร็จพันล้าน! ที่ทำให้ Bolt จึงประสบความสำเร็จในยุโรปเป็นอย่างมาก
.
“ไม่กลัวคู่แข่ง เข้าใจตลาดในบ้านตัวเอง”
ในวันที่ตัดสินใจลงมือทำธุรกิจนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่างรุ่นพี่ Uber ได้เข้าบุกตลาดของยุโรปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็คือเมืองกลุ่มเป้ายหมายของ Bolt เช่นเดียวกัน ผู้คนรอบข้างมากมายต่างบอกว่าไม่เห็นโอกาสที่จะแข่งได้แต่เขากลับมองเห็นโอกาส เพราะกฎหมายการคมนาคมรวมไปถึงพฤติกรรมของคนในแต่ละประเทศล้วนแตกต่างกันออกไป และด้วยความเป็นคนท้องถิ่นที่เข้าใจพื้นที่ตรงนี้ดีนี่แหละ จึงเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้เขาได้เปรียบ เพราะภายหลัง Uber ถูกรัฐบาลในบางประเทศไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศนั้นๆ เนื่องจากขัด/ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ได้ รวมถึงในไทยด้วยเช่นกัน
.
“สตาร์ทอัพ ไม่ใช่ความสวยหรู ต้องรู้จักประหยัด”
ภาพสตาร์ทอัพในหัวของใครหลายๆ คน อาจจะเป็นภาพกลุ่มคนรุ่นใหม่ ใส่สูท กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบเท่ๆ ไปเสนองานกับนายทุนและเอาเงินมาลงทุนกับโปรเจคสักอย่างนึง แต่สำหรับ Bolt กลับแตกต่างออกไปเพราะคือคนที่ต้องลงมือทำทุกอย่าง ตากแดก คลุกฝุ่น ด้วยตัวเอง เนื่องจากในช่วงเริ่มต้น Bolt ยังไม่มีทั้งคนขับ และผู้โดยสาร กลุ่มผู้ก่อตั้งจึงต้องทำงานส่วนใหญ่ด้วยตัวพวกเขาเอง ทั้งพัฒนาแอปฯ สำรวจตลาด เชิญชวนให้คนมาใช้งาน รวมถึงการจ้างพนักงานที่ต้องคัดมาว่าสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่าจริงๆ ดังนั้นมันช่างแตกต่างจากภาพธุรกิจสตาร์ทอัพในฝันเอาเสียมากๆ
.
“ใส่ใจทั้ง ลูกค้า และ คู่ค้า”
การจะเอาใจผู้โดยสารเป็นเรื่องที่ดีเพราะคนกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่มอบเงินให้กับเรา แต่ในขณะเดียวกัน คู่ค้า อย่างคนขับรถเอง Bolt เองก็ใส่ใจเช่นกัน ด้วยข้อเสนอที่ให้ผู้โดยสารใช้บริการในราคาที่ถูก และคนขับรถที่ได้รับส่วนแบ่งที่สูงกว่า เทียบได้จากของ Uber ที่หักส่วนแบ่งจากคนขับ 25% ในขณะที่ Bolt หักเพียง 15%
.
ซึ่งด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ส่งผลให้ Bolt เติบโตอย่างก้าวกระโดด และได้รับเงินลงทุนจากนายทุนเจ้าใหญ่หลายราย ส่งผลให้มูลค่าของกิจการนั้นพุ่งสูงขึ้นตาม รวมถึงทำให้ Markus Villig ติดอันดับ Forbes List 30 Under 30 ในปี 2018 ณ อายุ 24 ปี ในฐานะเจ้าของแอปพลิเคชันมูลค่า 1 พันล้านดอลล่าร์ และเป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพพันล้าน ชาวยุโรปที่อายุน้อยที่สุด
.
ในตอนนี้ก็ถือว่าผู้บริโภคในไทยก็ได้มีทางเลือกในการเลือกใช้บริการแอปฯเรียกแท็กซี่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเจ้า และนับเป็นอีกไอเดียทางธุรกิจที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยจากการที่กล้าจะตัดสินใจลงสนามเทียบกับรุ่นใหญ่ เพราะมองเห็นถึงโอกาสในกลุ่มเป้าหมายของตัวเองและยึดมั่นในจุดแข็งจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
.
ที่มา : https://droidsans.com/bolt-transport-service-thailand/
https://bit.ly/370MG8H
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#Bolt #Grab #LineMan #Uber
#Business #Application #CEO #StartUp
bolt grab 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Uber บริษัทที่มีคู่แข่งเกิดขึ้น เต็มไปหมด /โดย ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Uber” เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจแพลตฟอร์มเรียกรถ
ที่เข้ามา DISRUPT รูปแบบบริการขนส่งให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายบริษัท
พัฒนาแพลตฟอร์มในลักษณะเดียวกัน มาแข่งขันกับรุ่นพี่อย่างดุเดือด
จนตอนนี้ Uber มีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด
แล้วใครคือคู่แข่งของ Uber บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อปี 2009 หรือ 11 ปีที่แล้ว
Uber สร้างแพลตฟอร์มเรียกรถ จากแนวคิด Sharing Economy ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้มีรถกับผู้ต้องการใช้รถ
และด้วยระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Uber มีผู้ใช้งาน 110 ล้านคน จาก 785 เมืองทั่วโลก
โดยบริษัทมีรายได้ 440,000 ล้านบาท และมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ราว 1,420,000 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าว หลายคนอาจคิดว่า Uber สามารถครองโลกได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
แต่ความจริง พวกเขาต้องเผชิญกับสงครามแพลตฟอร์มเรียกรถ ในแทบทุกแห่งที่ไปทำธุรกิจ
จริงอยู่ที่ช่วงแรก Uber คือผู้นำที่เข้าไปสร้างตลาด Ridesharing
แต่พอเวลาผ่านไป ผู้เล่นรายอื่นที่เห็นโอกาส ก็พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเองบ้าง
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทที่ Uber ต้องแข่งขันด้วยในแต่ละพื้นที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา: Lyft
จำนวนผู้ใช้งาน: 23 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 230,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Lyft ให้บริการอยู่ใน 656 เมือง ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
มีส่วนแบ่งตลาด 29% สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Uber ที่ครองตลาดราว 70%
โดย Lyft ได้รับความนิยมขึ้น หลังจากหลายปีก่อน Uber มีข่าวอื้อฉาวเรื่องล่วงละเมิดทางเพศพนักงานหญิง
ทวีปยุโรป แอฟริกา: Bolt
จำนวนผู้ใช้งาน: 30 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 31,400 ล้านบาท
Bolt หรือชื่อเดิมคือ Taxify เป็นแพลตฟอร์มจากประเทศเอสโตเนีย
ให้บริการอยู่ใน 35 ประเทศ แถบยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ รวมถึงเอเชีย
ซึ่งการที่ Uber มีปัญหากับภาครัฐในยุโรปบ่อยครั้ง เช่น ไม่ได้รับต่ออายุใบอนุญาตในกรุงลอนดอน เพราะคนขับใช้ข้อมูลปลอม ทำให้ Bolt เข้าไปทำตลาดแทน
ภูมิภาคตะวันออกกลาง: Careem
จำนวนผู้ใช้งาน: 33 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 97,000 ล้านบาท
Careem เป็นแพลตฟอร์มจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ให้บริการกว่า 100 เมือง ใน 14 ประเทศบริเวณตะวันออกกลางและแอฟริกา
จุดแข็งของแบรนด์นี้คือ ความเข้าใจถึงปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น มากกว่าต่างชาติ
ด้วยเหตุนี้ Uber จึงตัดสินใจซื้อกิจการทั้งหมดของ Careem แทนที่จะแข่งด้วย
ประเทศจีน: DiDi Chuxing
จำนวนผู้ใช้งาน: 550 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 1,570,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม DiDi เริ่มให้บริการในจีนเมื่อปี 2012 และมีข้อได้เปรียบเรื่องความเชี่ยวชาญในสภาพตลาดของประเทศตนเอง
หลังจากสู้กันนาน 4 ปี Uber จึงยอมถอยทัพ ด้วยการขายธุรกิจในจีน แลกกับหุ้นสัดส่วน 20% ของ DiDi
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Grab
จำนวนผู้ใช้งาน: 122 ล้านคน
มูลค่าบริษัท: 440,000 ล้านบาท
Grab ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวมาเลเซีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย
ซึ่ง Uber ไม่สามารถสู้ความเชี่ยวชาญของผู้เล่นท้องถิ่นรายนี้ได้
จึงตัดสินใจขายกิจการในภูมิภาค แลกกับหุ้นสัดส่วน 27.5% ของ Grab
ประเทศรัสเซีย: Yandex.Taxi
จำนวนผู้ใช้งาน: 36 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 116,000 ล้านบาท
Yandex เปรียบเสมือน Google แห่งรัสเซีย โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มเรียกรถ และให้บริการมากกว่า 1,000 เมือง ทั้งในรัสเซียและกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเก่า
ในกรณีนี้ Uber ยอมขายธุรกิจทิ้งเช่นเดียวกัน เพื่อแลกกับการถือหุ้นสัดส่วน 36.6% ของ Yandex.Taxi
ประเทศอินเดีย: Ola Cabs
จำนวนผู้ใช้งาน: 150 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 314,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Ola Cabs เริ่มให้บริการในอินเดียตั้งแต่ปี 2010 ก่อนสร้างความลำบากใจให้ Uber ด้วยการขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมทั้งหมดกว่า 250 เมือง
หลังจากที่มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและโปรโมชัน เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจ Ridesharing เริ่มอิ่มตัว และทำให้ Uber ต้องขยายบริการใหม่ ซึ่งได้แก่ การส่งอาหาร หรือ Food Delivery
แต่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็มีการแข่งขันที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน
ทั้งจากผู้เล่นแพลตฟอร์มเรียกรถ ที่แทบทุกรายหันมาทำ Food Delivery ด้วย
หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งอาหารโดยเฉพาะ เช่น Grubhub, Just Eat, Deliveroo, Meituan Waimai, Zomato, Amazon
ซึ่ง Uber ต้องยอมถอยออกจากบางตลาด ดังกรณีที่ขายกิจการส่งอาหารในอินเดียให้แบรนด์ Zomato
ส่วนเทคโนโลยีที่น่าจะผลักดันการเติบโตและลดต้นทุนในระยะยาว คือรถยนต์ไร้คนขับ
ก็มีผู้เล่นรายใหญ่ กำลังวิจัยพัฒนาอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, GM, Tesla
ดูเหมือนว่า สงครามแพลตฟอร์ม On-Demand นี้ จะยังดำเนินต่อไปอีกยาวนาน
และคงไม่มีใครสามารถคาดเดาถึงจุดจบของมันได้
แต่ที่แน่ๆ มันมีโอกาสสูง ที่จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือต้องล้มหายจากไป
ไม่เว้นแม้แต่ต้นแบบของอุตสาหกรรมอย่าง Uber
และรู้หรือไม่ จนถึงวันนี้ พวกเขายังไม่เคยทำกำไรได้เลย..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Uber
-https://investor.uber.com/…/Uber-Announces-Results-for-Fou…/
-https://mashable.com/2017/08/16/uber-global-rivals-didi/
-https://www.cnbc.com/…/uber-s-1-risk-factors-competitors-de…
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lyft
-https://techcrunch.com/…/profitability-expectations-ding-l…/
-https://www.statista.com/…/market-share-of-rideshare-compa…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bolt_(company)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Careem
-https://en.wikipedia.org/wiki/DiDi
-https://edition.cnn.com/…/grab-softbank-singapore/index.html
-https://www.statista.com/…/grabtaxi-holdings-number-of-uni…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yandex.Taxi
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ola_Cabs