ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี มีอะไรบ้างมาสำรวจกัน
.
ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) ได้รวบรวม ทักษะ และอาชีพที่มีความต้องการสูงในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งมีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ
“ Top 5 ทักษะสำคัญที่เป็นที่ต้องการในไทย ”
1.ทักษะคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม (Analytical Thinking and Innovation)
เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างถาม จับประเด็น แยกแยะและเชื่อมโยง นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
2. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)
เป็นคนที่มีทักษะในการจัดการกับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา
3.การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning and Learning Strategies)
การเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ฝึกคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มพร้อมร่วมกันแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
4.ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis)
เป็นคนที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล และประเมินความถูกต้อง มีความสมเหตุสมผล โดยใช้วิจารณญาณของความเป็นมนุษย์
5.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Originality and Initiative)
เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดต่างไม่ซ้ำใคร (คิดนอกกรอบ) มีความคิดริเริ่มและกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่
.
ขอบคุณภาพ ข้อมูล จากบทความ “ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี รับปี 2021”
โดย ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) www.etda.or.th
#iT24Hrs #ETDA #ทักษะดิจิทัล #MayDay
「critical thinking คือ」的推薦目錄:
- 關於critical thinking คือ 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的精選貼文
- 關於critical thinking คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於critical thinking คือ 在 Facebook 的最佳解答
- 關於critical thinking คือ 在 Critical Thinking คืออะไร?... - Pearson Thailand by CUbook 的評價
- 關於critical thinking คือ 在 5 เทคนิคพัฒนาทักษะ Critical Thinking | Mission To The Moon ... 的評價
- 關於critical thinking คือ 在 5 เทคนิคพัฒนาทักษะ Critical Thinking - YouTube 的評價
critical thinking คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#ทำไงดีลูกอ่านแต่การ์ตูน
.
วิถีนักอ่านของหมอ
》ตอนประถมต้น อ่านนิทานเป็นเรื่องๆตามนิตยสาร สตรีไทย หญิงไทย สตรีสาร ไม่เคยมีนิทานภาพเป็นของตัวเอง
》อ่านหนังสือเองได้ตอนป.1-2
ชอบอ่าน มานะ มานี ยืมนิทานพื้นบ้านจากห้องสมุดโรงเรียน ปลาบู่ทอง นางสิบสอง นกกระจาบ สังข์ทอง ฯลฯ
》 พอป.3-4 อ่าน นิกกับพิม ตินติน เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก พวกประวัตินักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก
》 ป.5-6 การ์ตูนโดเรมอน ดรากอนบอล ขายหัวเราะ สวนสนุก การ์ตูนไทยเล่มละ 1 บาท 5 บาท 10 บาท นิยายจีนกำลังภายใน
》 ตอนมัธยม เข้าสู่วงการ การ์ตูนญี่ปุ่นเต็มตัว เพราะอยู่หอพัก แถวหอพักมีร้านเช่าการ์ตูน
มีหนังสือแทรกบ้าง เป็นแนวหลอนๆ เช่น ศพใต้เตียง
อ่านการ์ตูน มันเกือบทุกเรื่องที่เค้าว่าดัง ทั้งแนวหญิงชาย slamdunk, อิตโต้, prince tennis, คินดะอิจิ, ฉินมี่, GTO, death note, hunterxhunter, นารุโตะ ฯลฯ ผู้หญิงก็สะสม หน้ากากแก้ว (ทุกวันนี้ยังตามซื้อ ใครอยู่ญี่ปุ่นช่วยบอกทีใครได้แสดงนางฟ้าสีแดง)
》 พอขึ้นมหาลัย ยังอ่านการ์ตูนเล่มที่ต้องอ่านต่อเนื่อง(ไม่จบซักที) กลับมาที่วรรณกรรมเยาวชนของโรอัล ดาห์ล, ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ต, แฮรี่ พอตเตอร์ งานของนิโคลัส สปาร์ก ทุกเรื่อง เซต the ring, เซต ทไวไลท์ (เอาเป็นว่าเรื่องไหนอยู่ในกระแสจะอ่านหมด)
.
มีหลายครั้ง คุณพ่อคุณแม่วัยประถมที่ลูกอ่านหนังสือได้เองคล่องแล้ว ถามว่า
#ตอนนี้ลูกอ่านแต่การ์ตูน จะต้องทำอย่างไร?
วันก่อนพูดกันในคลับเฮ้าส์
คุณแม่ท่านหนึ่งเล่าว่า
ลูกชอบอ่านการ์ตูนวิทยาศาสตร์มาก
ไปปรึกษาคุณครู คุณครูแนะนำว่า ให้งดการ์ตูนไปก่อน ให้อ่านพวกวรรณกรรมเยาวชนแทน
.
น่าคิดจริงๆว่าทำไม ผู้ใหญ่จึงคิดว่า การ์ตูน ด้อยกว่าหนังสือที่มีแต่ตัวอักษร
หมออยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้
ในมุมมองของตัวเอง
หมอก็คิดว่า ตัวเองสามารถพูดในมุมของคนที่อ่านทั้งการ์ตูนและหนังสือ
และตอนนี้มาเป็นแม่ที่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมาเกือบ 7 ปีแล้ว
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
👉1.ถ้าเราอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
จนกระทั่งเค้าสามารถเป็นนักอ่าน
แปลว่า เป้าหมายของเราสำเร็จแล้ว
เพราะที่อ่านให้ฟังทุกวันอยู่นี่
คือจะสร้างนักอ่าน รุ่นต่อไป มิใช่หรือ
เมื่อเค้าอยากอ่านด้วยตัวเอง
#อย่าดูแคลนสิ่งที่เค้าเลือก
2. เราต้องไว้ใจตัวเองว่า เวลาที่ผ่านมา
เราได้ใส่เข็มทิศของความดีงามไว้ในใจลูกเรียบร้อยแล้ว ถึงจะเจอเนื้อหาไม่เหมาะสม
ให้มองว่า ลูกมีโอกาสได้ใช้งาน critical thinking โดยมีเราเป็นโค้ช เค้าต้องรับข้อมูลได้ทั้งข้อมูลบวกและลบ ต้องเชื่อใจว่าลูกที่เราอ่านให้ฟังมาตั้งนาน(ใส่ทัศนคติที่ดี) ต้องรู้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี
ถ้ายังไม่สบายใจ ให้แอบอ่านการ์ตูนที่ลูกอ่าน แล้วมีอะไรที่อยากสอนเพิ่มเติม ค่อยมาชวนคุยแบบเนียนๆ
3.เด็กวัยอ่านเองได้ เค้าฉลาดมากพอ
ถ้าอ่านแล้วถูกแม่ดุอยู่ร่ำไป ต่อไปเค้าจะไม่อ่านให้แม่เห็น #คนที่เสียโอกาสคือเรามิใช่ลูก
เพราะเราได้รู้เห็นว่าลูกอ่านอะไรอยู่ เป็นเรื่องที่ดี เราจะได้รู้ว่า เนื้อหาข้างในมีอะไรที่เราจะชวนลูกคุยเพิ่มเติมได้หรือไม่ แต่ถ้าลูกเบื่อคำบ่นเรา
เค้าไม่ได้เลิกอ่าน #แต่เค้าจะเลิกอ่านให้เราเห็น (หมอกลับจากโรงเรียนซื้อการ์ตูนเหน็บขอบกระโปรง เข้าไปแอบอ่านในห้องน้ำ บางทีแอบอ่านใต้ผ้าห่ม เพราะกลัวถูกแม่ดุ)
4.อย่าอคติกับคำว่า “การ์ตูน” เพราะการทำเนื้อหายากๆให้คนเข้าใจง่าย นักวาดนักเขียนต้องทำงานมาอย่างหนัก และการ์ตูนดีๆ มีมากกว่าการ์ตูนไม่ดี แค่มีภาพประกอบ ไม่ได้หมายความว่า #ไร้สาระ
สำหรับหมอ การ์ตูนหลายเรื่อง สร้างแรงบันดาลใจ และหมอคิดว่าเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในช่วงชีวิตหนึ่ง ทำให้เราผ่านอุปสรรคในชีวิตมาได้ และความรู้ที่ใช้ตอบอาจารย์สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ บางครั้งรู้มาจากการ์ตูน
(น่าเสียดายที่การ์ตูนเล่มสมัยนี้ ไม่เฟื่องฟูเหมือนเก่า
ย้ายไปอยู่ในเวปตูน ซึ่งเนื้อหา เราก็ไม่สามารถคัดกรองอะไรให้ลูกได้อีกแล้ว)
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
เด็กประถมต้น เพิ่งเข้าสู่วงการอ่าน
เมื่อแม่อ่านนิทานให้เค้าฟังมากพอ
เค้าก็อยากอ่านด้วยตัวเอง
นิทานภาพก็ดูเด็กไป 😁
วรรณกรรมก็ตัวหนังสือยุ่บยั่บไปหมด 😬
อ่านแล้วเหนื่อยเกินไปสำหรับเด็กบางคน
(ต้องสะกด กลายเป็นคำ เอาทีละคำมาร้อยเรียงเป็นประโยค เอาประโยคไปตีความ แล้วสร้างภาพในสมอง---ถ้ายังอ่านออกใหม่ๆ บอกเลยว่า เหนื่อย!!!)
มันก็ต้องมีตรงกลาง !!
ถามว่าตอนนี้ ในท้องตลาดมีอะไรเป็นทางเลือกให้เค้าบ้าง??
.
ก็ต้องเป็นการ์ตูนวิทยาศาตร์ ครอบครัวตึ๋งหนืด เอาตัวรอดใน..... ฯลฯ นี่แหละมั้ง
มีภาพ ไม่ต้องอ่านคำบรรยายสถานการณ์
ไม่ต้องสร้างตัวละครในสมองเอง
อ่านแต่คำพูด
มันลดงานของสมองได้มาก ที่สำคัญ มันสนุก
เรามักจะพูดว่า อ่านนิทาน อ่านเพื่อให้สนุกก็พอ
แต่ทำไมตอนเด็กอ่านการ์ตูนเพื่อความสนุก
พ่อแม่บอกว่าใช้เวลาไม่มีประโยชน์
หมองงจริงๆ???
(เหมือนออกมาเรียกร้องให้ตัวเองในอดีต🤣🤣)
.
ส่วนตัว หมอคิดว่า เด็กจะสนุกกับ
พวกการ์ตูนวิทยศาสตร์พวกนี้ได้ไม่นาน
เพราะตอนอ่านใหม่ๆ เด็กๆจะตื่นเต้นกับมุกตลก หัวเราะกับมุกเดิมๆได้
เรื่องแนวนี้ ตัวละครอย่างน้อย 1 ตัว จะต้องมีความบ๊อง ความเพี้ยน เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ แต่พออ่านไปถึงจุดหนึ่ง.....เค้าจะรู้เองว่า มุกตลกซ้ำๆมันก็ไม่ตลกอีกต่อไป เพราะฉะนั้น เค้าจะอ่านแล้วรู้สึกไม่อิ่มเหมือนในตอนแรก
.
นี่จะเป็นก้าวต่อไปของเส้นทางนักอ่าน
.
แล้วไปไหนต่อ
.
นี่แหละที่เป็นจุดสำคัญ
ตอนนี้เด็กคงป.4-6 กันแล้ว
ถ้าไม่มีสะพานเชื่อมของการอ่าน
มือถือ เกมส์ และโซเชียลมีเดีย พร้อมเสียบกิจกรรมการอ่านทุกเมื่อ
.
ตอนนี้ เมื่อเค้าอิ่มกับการ์ตูนความรู้ต่างๆ
ความเร็วในการอ่านเพิ่มเท่าผู้ใหญ่แล้ว จินตนาการยังคงอยู่
การคิดฉาก คิดหน้าตาตัวละคร ด้วยตัวเองจะเป็นเสน่ห์ของหนังสือที่มีแต่ตัวอักษร
มันมีช่องว่างให้สมองเด็กเติมลงไป
ถ้าเราแนะนำให้ลูกรู้จักกับวรรณกรรมเยาวชน หรือหนังสือที่สนุกสนาน
เค้าจะเดินบนเส้นทางนี้ไปเรื่อยๆ
.
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเรา ไม่ใช่ ห้าม ไม่ให้เค้าอ่านในสิ่งที่เค้าเลือกอ่านเอง
หน้าที่ของเราคือ เฝ้าดู
และนำเสนอหนังสือดีๆที่รอให้เค้ามาอ่านเองเมื่อพร้อม
ทำได้โดย #อย่าทิ้งการอ่านกับลูก
เวลาที่เราปล่อยให้เค้าพัก เค้าจะอ่านอะไรก็ได้ตามใจเค้า
แต่เวลาก่อนเข้านอนเป็นเวลาของแม่ แม่จะอ่านหนังสือดีๆให้ลูกฟัง
.
หมอเอง ถ้าถึงตอนนั้น ลูกจะอ่านการ์ตูนวิทยาศาสตร์ หมอคงไม่ว่า
แถมงัดการ์ตูนญี่ปุ่นสุดรักสุดหวงที่สะสมไว้มานำเสนอให้ด้วย
แต่เหมือนเดิม คือ ทุกอย่างอยู่ภายใต้กติกา
การ์ตูนเล่ม animation youtube ต้องอยู่ในเวลาที่กำหนด
อยากจะทำอะไรก็ไปจัดสรรเอาเอง
.
เพราะการอ่าน มันสร้างความสุข
อย่าทำลายความสุขในการอ่าน เพราะคำว่า “ไร้สาระ”
จะได้สาระหรือไม่ เด็กคิดได้เอง
หน้าที่เราคือ เติมสิ่งดีๆเข้าไปเพิ่ม
คิดแบบนี้ได้ ไม่มีใครเสียเลย มีแต่กำไร
.
หมอแพม
ปล.ภาพถ่ายหนังสือการ์ตูนส่วนหนึ่งที่เก็บไว้ ยังหยิบมาอ่านเป็นระยะ
critical thinking คือ 在 Facebook 的最佳解答
พลังครูวิถีใหม่ ชูปัญญา 3 ฐาน สร้างนวัตกรรมการศึกษาตามรอยศาสตร์พระราชา
ปฏิรูปครู ปลดล็อกศักยภาพเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21
การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เทคโนโลยี และล่าสุดคือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นำมาสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ทำให้ทุกอาชีพต้องมีการปรับตัว รวมถึงอาชีพครูที่จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการในการสอนและการเรียนรู้ให้เหมาะสมเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ในโอกาสวันครูประจำปี 2564 สำนักเลขาธิการคุรุสภาจัดงานวันครูออนไลน์ภายใต้แนวคิด “พลังครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล” มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อครูยุคดิจิทัล เรื่องศาสตร์พระราชา” ณ หอสมุดคุรุสภา โดย ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และประธานมูลนิธิธรรมดี นายอดุลย์ ดาราธรรม นายกสมาคมนักเรียนเก่าเอเอฟเอส ประเทศไทย และ ดร. สุมณี ปิ่นเวหา วิทยากรจิตอาสานักเรียนเก่าเอเอฟเอส มาร่วมสนทนาเกี่ยวกับโครงการ “ตามรอยพระราชา” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดินและได้รับการถวายพระเกียรติจากองค์การสหประชาชาติ ด้วยรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award)
โครงการตามรอยพระราชา เป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา และมูลนิธิธรรมดี ได้ร่วมกันคัดสรรแหล่งเรียนรู้ 9 เส้นทาง 81 โครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 จากกว่า 4,800 โครงการทั่วประเทศ และคัดเลือกครูอาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไปเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ พร้อมถอดบทเรียนสร้างนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในโลกยุคใหม่ ที่ผ่านมามีการจัดโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอดนวัตกรรมศาสตร์พระราชาไปแล้ว 11 รุ่น จำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 300 คน จาก 180 สถาบันทั่วประเทศ ทั้งระดับอุดมศึกษา อาชีวะศึกษา มัธยมและประถมศึกษาโดยการสนับสนุนจากบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เล่าถึงหลักคิดสำคัญของโครงการนี้ว่า “หน้าที่ของครูคือการพัฒนาศิษย์หรือพัฒนานักเรียน ซึ่งการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ฐานที่สำคัญ คือ ฐานกาย ฐานจิต ฐานปัญญา แต่ในการเรียนการศึกษาส่วนใหญ่เน้นไปที่ฐานความคิดและฐานความจำ ซึ่งไม่เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องกลับมาพัฒนาฐานกาย ฐานจิต ฐานปัญญา ฐานกายคือการเรียนรู้จากการลงพื้นที่ไปมีประสบการณ์จริง การเรียนรู้ไม่ใช่การอยู่ในห้องเรียน ไม่ใช่การท่องจำ ต้องเปิดพื้นที่การเรียนรู้ สิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำมาตลอดคือการเสด็จพระราชดำเนินออกไปสัมผัสทุกพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติความเป็นจริง ดิน น้ำ ลม ไฟ ภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม และสังคมศาสตร์ เข้าใจบริบทของความเป็นจริงทั้งหมด ส่วนฐานจิตคือ การเข้าถึงอย่างลึกซึ้งถึงความรู้สึก จิตวิญญาณเป็นอย่างไร วัฒนธรรมขนบประเพณีเป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่ฐานปัญญา คือ วิจารณญาณ การสามารถคิดวิเคราะห์ จนนำไปต่อยอดสร้างนวัตกรรมได้
เมื่อผ่านการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติแล้วก็ต้องมีการประมวลสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมถอดบทเรียน ซึ่ง อาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม ผู้พัฒนากิจกรรมและเครื่องกระบวนการเรียนรู้ของโครงการตามรอยพระราชาเล่าว่า ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการจำลองเสมือนจริง (simulation) ที่ครูอาจารย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น บอร์ดเกม Game of Our Nation ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ให้ครูและนักเรียนได้สนทนาเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง ฝึกทักษะในการสื่อสารมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกัน เชื่อมโยงไปสู่คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่อง รู้ รัก สามัคคี แล้วนำมาซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศ เชื่อมโยงไปสู่เครื่องมือการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจกระบวนการศาสตร์พระราชา ว่านวัตกรรมของพระองค์ท่านมีหลักคิดอย่างไร หรือเกมที่เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของประเทศในการขับเคลื่อนจากปัจจุบันไปสู่อนาคต จะต้องมีคุณค่าหรือคุณธรรมที่ว่าด้วยหลักพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา จึงสื่อสารออกมาผ่านการจำลอง
“ส่วนการสอนเรื่องราวของพระองค์ท่านจากหนังสือพระราชประวัติภาษาอังกฤษที่ทางโครงการฯ แจกให้กับครูที่เข้าร่วมโครงการ เราได้สร้างเครื่องมือที่แปลงจากตัวหนังสือมาเป็นไทม์ไลน์ในกระดาษม้วนเดียว ครูสามารถที่ใช้เครื่องมือตัวนี้สื่อสารกับนักเรียน โดยให้นักเรียนเป็นคนแปลงเรื่องราวในหนังสือมาเป็นกระดาษ ใช้ QR Code เข้ามาเสริมในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม และปัจจุบันนี้ก็มีแอปพลิเคชันช่วยแปลข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ทันทีในโทรศัพท์มือถือ เราอนุญาตให้นักเรียนเอามือถือเข้าไปในห้องเรียน เอามือถือมาส่องเพื่อแปลความหมายและฝึกอ่านออกเสียง เป็นตัวอย่างที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ที่สำคัญที่สุดคือนักเรียนช่วยกันทำได้ ในการเรียนประวัติศาสตร์นอกจากจะเรียนประวัติศาสตร์ของเราแล้ว ยังสามารถเติมประวัติศาสตร์ของเพื่อนบ้านลงไปด้วย เป็นอาเซียนไปจนถึงระดับโลกได้”
ดร.สุมณี ปิ่นเวหา วิทยากรจิตอาสาอีกคนหนึ่งของโครงการตามรอยพระราชา กล่าวเสริมว่า กิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. Preparation การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ เกิดความ Wow! เช่น นำโทรศัพท์มือถือ แอปพลิเคชัน โปรแกรมการแข่งขัน มาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ แหวกกรอบการเรียนรู้แบบเดิมๆ
2. Presentation ให้ผู้เรียนเป็นคนทำกิจกรรม เรียนรู้และค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง เป็นเจ้าของการเรียนรู้ เปลี่ยนหน้าห้องให้เป็นหลังห้อง เปลี่ยนหลังห้องให้เป็นหน้าห้อง ให้ผู้เรียนทำพรีเซนเทชันของตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คุณครูเป็นคนป้อนข้อมูลอีกต่อไป
3. Practice ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญมากขึ้น ทบทวนความรู้ด้วยกิจกรรมถาม-ตอบ เป็นต้น
4. Project ให้ผู้เรียนทำโครงงานที่จะเป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนในห้องเรียนกับโลกภายนอก บทบาทของคุณครูสร้างแรงบันดาลใจให้เขาสามารถนำโครงงานนั้นไปต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเขา ทำให้รู้สึกว่าสิ่งนี้มีคุณค่าและมีความหมายกับเขาจริงๆ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคิด ค้นคว้า หาข้อมูล เตรียมการและใช้ความรู้อย่างมากมาย
5. Feedback ครูต้องเป็นคนให้กำลังใจ ให้ความเห็น (Feedback) เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำไปดีหรือไม่ดี จะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร สามารถพัฒนาหรือต่อยอดตรงไหนได้อีก เป็นการสร้างคุณค่าของการเรียนรู้ของนักเรียนที่มากกว่าการเรียนเนื้อหา
“ในการเป็นวิทยากรจิตอาสา สิ่งหนึ่งที่พยายามทำคือให้กำลังใจกับคุณครู ให้คุณครูเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดเกมหรือกระบวนการในการสอนแบบใหม่ คุณครูทุกท่านสามารถทำเองได้ที่โรงเรียน และตัวคุณครูเองสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนของคุณครูได้เช่นกัน ต่อไปนี้เมื่อนักเรียนเข้าห้องเรียนมาจะรู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยความสุข ความรัก ความเอาใจใส่ของครู เขาสัมผัสได้ในสิ่งที่คุณครูพยายามทำในการเป็นแรงบันดาลใจให้เขาพัฒนาตัวเองได้ เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าเขาจะต้องพัฒนาตัวเองและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้”
ดร. ดนัย แนะว่า วันนี้เราต้องเปิดพื้นที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone ให้กับเยาวชน ให้เขารู้สึกว่าไม่ว่าเขาจะคิดไปทางไหน ครูก็ยังมีพื้นที่ปลอดภัยให้เขา ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ตัดสินถูกผิด รับฟังอย่างให้เกียรติ โดยการใช้ศิลปะสุนทรียสนทนา ในการทรงงานตลอด 70 ปีของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงรับฟังทุกเสียง โครงการในพระราชดำริแต่ละโครงการกว่าจะสัมฤทธิ์ผลต้องใช้เวลาและที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้คนในพื้นที่มีจิตสำนึกรักในผืนแผ่นดินของเขา ไม่ได้ทรงฟังแค่เสียงส่วนมากเท่านั้น เสียงส่วนน้อยก็ทรงรับฟังจนกระทั่งเป็นเอกฉันท์ แล้วนอกจากนั้นเสียงที่ไม่ได้ยินก็ทรงรับฟังด้วย เพราะฉะนั้นครูต้องเห็นว่าเสียงของเด็กๆ มีค่าทุกเสียง ทุกคนต้องการได้รับการให้เกียรติ ไม่ถูกตีตรา ไม่ถูกวิพากษ์ตัดสิน ครูสมัยใหม่จะไม่มีการคาดโทษ ไม่มีการตัดคะแนนแล้ว เป็นสิ่งที่ต้องฝึกครูด้วยเช่นกัน
“ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงเน้นเรื่องของการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับหลักปัญญา 3 ฐาน และสามารถนำมาใช้ได้จริงในการพัฒนามนุษย์และพัฒนานักเรียนของเรา ครูควรเข้าใจและเข้าถึงจิตใจความรู้สึกของผู้เรียน สังเกตว่าเด็กนักเรียนทุกคนเป็นอย่างไร เด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ไม่มีอะไรที่เหมาะกับทุกคน จึงเป็นหน้าที่ของคุณครูที่ต้องเข้าถึงใจลูกศิษย์ จากนั้นเราถึงจะสามารถพัฒนาเด็กของเราแต่ละคนได้ โดยการพัฒนาให้เขามีปัญญาด้วยตัวของเขาเอง เป็นการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ Learning by Doing, Learning by Feelings และ Learning by Critical Thinking หากเราเดินตามรอยของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ผมเชื่อว่าเราจะสามารถปลดล็อคศักยภาพของเยาวชนไทย และทำให้ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่” ดร. ดนัย กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจสามารถชมการเสวนาได้ทาง www.วันครู.com และแฟนเพจตามรอยพระราชา แฟนเพจมูลนิธิธรรมดี ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
# # # # #
critical thinking คือ 在 5 เทคนิคพัฒนาทักษะ Critical Thinking | Mission To The Moon ... 的推薦與評價
ทักษะคิดวิเคราะห์” ( Critical Thinking ) คือ หนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดเป็นตัวช่วยสำคัญในการแก้ปัญหาทั้งในการทำงาน การเรียนและในชีวิต. ... <看更多>
critical thinking คือ 在 5 เทคนิคพัฒนาทักษะ Critical Thinking - YouTube 的推薦與評價
ทักษะคิดวิเคราะห์” ( Critical Thinking ) คือ หนึ่งในทักษะที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลกการทำงานและการใช้ชีวิต . ... <看更多>
critical thinking คือ 在 Critical Thinking คืออะไร?... - Pearson Thailand by CUbook 的推薦與評價
วันนี้เราจะมาอธิบายกันครับ... การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ความหมายของการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง ความตั้งใจ ... ... <看更多>