EP54 🏀
昨天提到了名人品牌,今天我們也來看看運動員的部分,NBA巨星Lebron James在球場外也是一名非常聰明的老闆和投資人。近日,美國職棒的波士頓紅襪隊母公司宣布重整公司架構,母公司FSG的大股東John Henry同意出售11%的股份給private equity私募股權公司 RedBird Capital Partners。
-
在昨天Snapchat母公司Snap收購了Fit Analytics這家來自柏林的公司,運用Machine Learning機器學習的方式再加上顧客提供的資訊,幫助消費者可以在網購的時候選到正確的尺寸。Snap並沒有表示說他們之後會不會將這個Fit Analytic's的科技整合進Sanpchat的App之中。
圖片來源 Unsplash/ AP/ Unsplash
fit analytics 在 eCloudvalley Facebook 的最佳貼文
An enterprise might face numerous difficulties when starting a data journey, such as “where to find data engineers?”, “How to structure a well-fit infrastructure architecture to support a data workload?”, “How long to build up the business use cases?” and “Is there another technical debt?”
Sign up the eCloudvalley webinar to start your insight exploration journey with data analytics solution case!
👉 https://www.ecloudvalley.com/event/how-to-start-your-data-journey-fast-and-hassle-free/
#AWS #eCloudvalley #Data #Webinar
fit analytics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก โออาร์ Flagship ด้านธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกของ กลุ่ม ปตท. ที่เตรียม IPO
โออาร์ X ลงทุนแมน
วันนี้หากเราเข้าไปในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station หลายคนคงรู้สึกว่าเป็นอะไรที่มากกว่าสถานีบริการน้ำมัน เพราะเราสามารถใช้บริการได้หลากหลายไม่ใช่แค่เติมน้ำมันอย่างเดียว เพราะวันนี้ โออาร์ มาพร้อมกับโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า Retailing Beyond Fuel ที่สามารถเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบครัน
หากอยากดื่มกาแฟก็มี Café Amazon
อยากทานอาหารอร่อยๆ ก็มี Texas Chicken ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ และแบรนด์อื่นๆ อีกมาก
หรือหากรถเรามีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ต้องการตรวจเช็คเครื่องยนต์ หรือเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นก็มีศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto ไปจนถึงบริการที่ตอบโจทย์เทรนด์พลังงานและยานพาหนะแห่งอนาคตกับ EV Charging Station
ที่กล่าวมาคือตัวอย่างบางธุรกิจของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” ซึ่งแยกออกมาจาก ปตท. ที่คนไทยทั่วประเทศคุ้นเคย
แล้วรู้หรือไม่ โออาร์ ก็ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่เราอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
โดยแต่ละธุรกิจนั้น ก็จะผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ
เพื่อให้บริษัทแห่งนี้ “เป็นมากกว่าบริษัทที่ขายน้ำมัน”
ส่วนความน่าสนใจ ก็คงหนีไม่พ้นความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทแห่งนี้
ที่กำลังเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกหรือ IPO
ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แล้วเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา
คำถามก็คือ..แล้วธุรกิจของ โออาร์ มีอะไรบ้าง?
จนถึงแนวคิดการทำธุรกิจของบริษัทแห่งนี้เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามารู้จัก โออาร์ กันก่อนว่าบริษัทแห่งนี้มีธุรกิจอะไรบ้าง
โดยแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก
1. กลุ่มธุรกิจน้ำมัน: ปัจจุบัน โออาร์ มีสถานีบริการน้ำมัน PTT Station กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ**
โดยแบ่งเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยผู้แทนจำหน่ายหรือ DODO ประมาณ 80% และที่บริษัทลงทุนและดำเนินการเองหรือ COCO อีกประมาณ 20%
โออาร์ ครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกน้ำมันอันดับ 1 มีส่วนแบ่งตลาด 38.9%*
ด้วยจุดขายคือ เป็นผู้นำในการพัฒนารูปแบบของสถานีบริการน้ำมัน ให้มีสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างครบวงจร และยังเป็นผู้นำในการคิดค้นและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง จนถึงการมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่พัฒนาจากพลังงานทดแทนให้ลูกค้าได้เลือกมากมาย ประกอบกับการเพิ่มการให้บริการชาร์จไฟฟ้าให้แก่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สอดคล้องการเทรนด์ของโลกที่กำลังมุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน โออาร์ ยังมีการขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ ในลักษณะ B2B ให้แก่ลูกค้าต่างๆ รวมกันกว่า 2,600 ราย* ได้แก่ ลูกค้าภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม การจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG) ให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และภาคครัวเรือน ภายใต้แบรนด์ ก๊าซหุงต้ม ปตท. โดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญ
ด้วยการมีสเกลธุรกิจขายน้ำมันและพลังงานใหญ่ถึงเพียงนี้
ก็ย่อมหมายถึง ต้องมีระบบรองรับในการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง
ก็เลยทำให้วันนี้ โออาร์ มีคลังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 53 แห่งกระจายไปยังทำเลสำคัญๆ ทั่วประเทศ**
พร้อมด้วยระบบขนส่งมากมายทั้งทางท่อขนส่ง ทางเรือ ทางรถ และทางรถไฟ โดยมีการควบคุมอย่างรัดกุมเพื่อความปลอดภัย
นับเป็นแต้มต่อที่ได้เปรียบกว่าคู่แข่งขึ้นมาในทันที
ซึ่งการมีระบบขนส่งที่หลากหลาย ทำให้บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ: ธุรกิจกลุ่มนี้เกิดจากแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงภาพของสถานีบริการน้ำมันที่ไม่ใช่แค่การเติมน้ำมันอย่างเดียว
แต่ผู้บริโภคสามารถใช้บริการอื่นๆ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันตัวเองได้
เลยเป็นที่มาของธุรกิจร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหารและเครื่องดื่ม
ที่มีสารพัดแบรนด์มากมายทั้งแบบพัฒนาเองและแบบได้รับสิทธิแฟรนไชส์
เช่น ร้าน Café Amazon, ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสถานีบริการ และ Jiffy ร้านไก่ทอด Texas Chicken, ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ เป็นต้น
ที่น่าสนใจ คือ ร้าน Café Amazon ที่ทาง โออาร์ สร้างมากับมือกำลังโตได้เกินคาด
เพราะรู้หรือไม่..ปัจจุบันร้านกาแฟแห่งนี้มีมากกว่า 3,400 สาขาทั้งในและต่างประเทศ** ขึ้นแท่นเป็นเชนร้านกาแฟใหญ่อันดับ 6 ของโลกตามจำนวนสาขา*
นอกจากนี้ สถานีบริการน้ำมัน PTT Station ก็ยังมีการเปิดให้แบรนด์อื่นๆ เข้ามาเช่าพื้นที่ขายในสถานีตัวเอง อย่างเช่น KFC, Burger King, Pizza Hut
จะเห็นว่า กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ ของ โออาร์ สร้างรายได้จากหลายช่องทาง
และที่สำคัญคือ Blue Card ซึ่งมีฐานสมาชิกประมาณ 6.7 ล้านราย** เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความผูกพันและนำไปสู่การออกแบบเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภคเป็นการรายบุคคล (Individualized Customer Experience) ผ่านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Big Data Analytics) จึงทำให้ โออาร์ สามารถพัฒนาสินค้า บริการ ให้ตรงโจทย์เฉพาะบุคคลดียิ่งขึ้นไปอีก ผลที่ตามมาก็คือการมีรายได้ (ก่อนหักรายการระหว่างกัน) จากกลุ่มธุรกิจนี้เติบโตเฉลี่ยปีละ 12.3% ในปี 2560 - 2562
ส่วนกำไร ก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) (ก่อนหักรายการระหว่างกัน) ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ
ปี 2560 อยู่ที่ 3,626 ล้านบาท
ปี 2562 อยู่ที่ 4,255 ล้านบาท
3. ธุรกิจต่างประเทศ: รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน โออาร์ มีธุรกิจ Oil และ Non-oil
ไปไกลถึง 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น โดยการเลือกธุรกิจ Oil และ Non-Oil เพื่อขยายไปในแต่ละประเทศนั้น โออาร์ จะพิจารณาจากความเหมาะสมในการเข้าไปเจาะตลาดในแต่ละประเทศ ซึ่งปัจจุบัน โออาร์ มีรากฐานทางธุรกิจที่มั่นคงในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว ที่ โออาร์ ได้ผสมผสานธุรกิจทั้ง Oil และ Non-Oil ในรูปแบบ Retailing Beyond Fuel อย่างลงตัว
ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศนั้น มีทั้งแบบที่ โออาร์ เป็นผู้ดำเนินงานเอง
ส่วนอีกแบบก็คือให้บริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นผู้ดำเนินงาน
โดยปัจจุบันก็มีหลายแบรนด์เลยทีเดียว ที่ขยายไปยังต่างประเทศ
ถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจของ โออาร์ ครอบคลุมมากกว่าที่เราคิดไว้เยอะ
คำถามที่ตามมาคือ แล้วความครอบคลุมนี้มีข้อดีต่อกลยุทธ์ในการต่อยอดธุรกิจอย่างไร
เรื่องนี้ มันก็คงสะท้อนจากแนวคิดการทำธุรกิจที่แบ่งออกเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ
● Greater Expansion: ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และลงทุนในธุรกิจใหม่หรือแบรนด์ใหม่ผ่านการเข้าซื้อกิจการหรือการร่วมลงทุน
● Greater Product & Services: ต่อยอดสินค้าและบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้ยอดใช้จ่ายต่อบิลจนถึงจำนวนครั้งที่ใช้จ่ายของลูกค้าเพิ่มขึ้น เช่น บริการแบบ online-to-offline experience
● Greater Business Operations: เพิ่มศักยภาพการบริหารต้นทุนธุรกิจให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าใหม่ และต่อยอดประสบการณ์ ความน่าเชื่อถือและเครือข่ายธุรกิจในฐานะหนึ่งใน Flagship ของ กลุ่ม ปตท.
ทั้งหมดนี้คือวิธีคิดในการสร้างรายได้และกำไรอย่างยั่งยืนของ โออาร์ แต่สิ่งสำคัญคือ โออาร์ ไม่ได้มุ่งเน้นการเติบโตเฉพาะทางธุรกิจ แต่ยังเชื่อในพลังแห่งความร่วมมือเพื่อสร้างการเติบโตไปด้วยกันกับสังคม ชุมชน ลูกค้า และคู่ค้าอย่างยั่งยืน โดยริเริ่มดำเนินหลายโครงการจนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการไทยเด็ด โครงการ Café Amazon for Chance ไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่าง โครงการ Café Amazon Circular Living ควบคู่กับการยึดมั่นในธรรมาภิบาล นั่นจึงทำให้ โออาร์ ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน
เมื่อเราเห็นภาพ โออาร์ ในทุกๆ มิติอย่างชัดเจน
ก็คงต้องติดตามดูต่อไปว่า เมื่อมีการเปิดเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน IPO ให้ประชาชนทั่วไป
ได้ลงทุนใน #หุ้นโออาร์ นั้นจะได้รับผลตอบรับดีแค่ไหน แต่ในวันนี้ก็คงต้องบอกว่าเป็นบริษัทที่น่าจับตาบริษัทหนึ่งเลยทีเดียว..
#โออาร์ #OR #หุ้นโออาร์
*ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
**ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
References
-เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
-https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=293650 [ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563]