Roku จากอดีตพนักงาน Netflix ต่อยอดไปทำธุรกิจใหม่ มูลค่าล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
ทุกวันนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาดูวิดีโอออนไลน์แบบ On Demand กันมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Disney+, Amazon Prime, YouTube หรือผู้ให้บริการรายอื่น
แต่รู้ไหมว่า มีบริษัทชื่อว่า “Roku”
ที่ก็ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ จนกลายเป็นบริษัทมูลค่าล้านล้าน
ด้วยการ “รวบรวม” บริการวิดีโอสตรีมมิงยอดฮิตต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มของตัวเอง
เรื่องราวของ Roku น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Roku เป็นบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ และให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดยคุณ Anthony Wood
ที่ชื่อว่า Roku ก็เพราะว่า คำว่า Roku นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ที่แปลว่า “เลขหก”
เพราะ Roku เป็นบริษัทแห่งที่หก ที่คุณ Wood ก่อตั้งขึ้นมานั่นเอง
โดยก่อนหน้าที่จะมาก่อตั้ง Roku เขาเคยทำธุรกิจเครื่องบันทึกวิดีโอแบบดิจิทัล ชื่อว่า ReplayTV
เนื่องจากมีประสบการณ์พลาดชมซีรีส์โปรดเรื่อง Star Trek อยู่หลายตอน
แต่ทว่าบริษัทไม่สามารถสู้กับผู้เล่นรายใหญ่ ที่ตั้งราคาขายถูกกว่าได้ จึงต้องขายกิจการทิ้งไป
อย่างไรก็ตาม คุณ Wood ยังคงเชื่อว่าในอนาคต เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะทำให้ผู้บริโภคเลือกรับชมรายการที่สนใจ ในเวลาไหนก็ได้
ซึ่งต่อมาเขามีโอกาสพูดคุยกับ คุณ Reed Hastings ผู้ร่วมก่อตั้ง Netflix ที่กำลังวางแผนเปิดให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอยู่พอดี
คุณ Wood จึงได้เข้าไปเป็นผู้บริหารของ Netflix
โดยรับผิดชอบงานพัฒนากล่องอุปกรณ์เชื่อมต่อกับทีวีและอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ดู Netflix
แต่สุดท้าย Netflix ตัดสินใจมุ่งเน้นด้านแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก
ทำให้คุณ Wood นำโปรเจกต์ธุรกิจฮาร์ดแวร์สำหรับดูวิดีโอออนไลน์ ออกมาพัฒนาต่อเป็นบริษัท Roku แทน โดยมี Netflix ร่วมลงทุนด้วย
หลังจากนั้น Roku ก็ได้เริ่มวางขาย กล่องอุปกรณ์ดูวิดีโอสตรีมมิง ในปี 2008
โดยช่วงแรก กล่อง Roku ดูได้เพียงแค่ Netflix
แต่ผ่านมาถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการเพิ่มบริการวิดีโอสตรีมมิงรายอื่น ๆ เข้ามาอีกมากมาย
ซึ่งมีทั้งแบบที่ดูฟรี และต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนตามแต่ละแพลตฟอร์ม
ยกตัวอย่างเช่น Disney+, Amazon Prime, YouTube, HBO Max, Hulu, Apple TV
นอกจากนั้น Roku ยังมีการสร้างบริการวิดีโอสตรีมมิงของตัวเอง ชื่อว่า Roku Channel
โดยซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากค่ายดัง เช่น Lionsgate, MGM, Paramount, Sony Pictures, Warner Bros. Pictures
รวมทั้งเมื่อเดือนเมษายน 2021 ได้ทุ่มเงิน 3,100 ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก Quibi แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ที่เพิ่งปิดตัวลงไป เพื่อนำคอนเทนต์มาพัฒนาต่อยอด
แต่ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามในใจว่า
ในวันข้างหน้า ถ้าหากผู้บริโภคหันมาใช้ “สมาร์ตทีวี” กันมากขึ้น
ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีบริการวิดีโอสตรีมมิงอยู่ในตัวเครื่อง
แล้วอย่างนี้ กล่อง Roku จะยังขายได้หรือ ?
ความเสี่ยงดังกล่าว คงจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่ประเด็นสำคัญ คือ Roku ก็มีการปรับตัวรับมือกับเรื่องนี้
Roku ได้ขยายธุรกิจไปสู่การผลิต Roku TV ซึ่งเป็นสมาร์ตทีวีที่ใช้งานแพลตฟอร์ม Roku ได้ทันที ไม่ต้องซื้อกล่องอุปกรณ์เพิ่ม
รวมทั้งขายลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการที่แพลตฟอร์ม Roku ใช้ ซึ่งเรียกว่า Roku OS
ให้กับผู้ผลิตสมาร์ตทีวีรายอื่น เช่น Hisense, Sharp, Hitachi
ทำให้แพลตฟอร์ม Roku ถูกใช้งานต่อไป แม้คนไม่ได้ซื้อสินค้าของบริษัท
ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบัน Roku OS มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ตทีวีของสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ราว 38%
แล้วผลการดำเนินงานของ Roku เป็นอย่างไร ?
จากกระแสความนิยมในวิดีโอสตรีมมิง ประกอบกับคอนเทนต์ที่หลากหลาย
ส่งผลให้ Roku มีฐานผู้ใช้งานล่าสุดถึง 53 ล้านราย ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนไปที่การเติบโตของรายได้
ปี 2018 รายได้ 23,200 ล้านบาท ขาดทุน 280 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 35,300 ล้านบาท ขาดทุน 1,900 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 55,700 ล้านบาท ขาดทุน 550 ล้านบาท
โดยรายได้ของบริษัท มาจาก 2 ธุรกิจหลัก คือ
- ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์ม 27%
- ธุรกิจแพลตฟอร์ม 73%
สำหรับธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ Roku ตั้งราคาสินค้าเอาไว้ค่อนข้างถูก
โดยกล่อง Roku มีราคาอยู่ที่ 1,000-4,000 บาท ตามระดับคุณภาพ
ขณะที่ผู้เล่นรายอื่น เช่น กล่อง Apple TV มีราคาเริ่มต้น 5,600 บาท
สาเหตุเนื่องจาก บริษัทต้องการขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด
แล้วค่อยไปหาวิธีทำกำไรจากธุรกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit) สูงถึง 67%
โดยรายได้ธุรกิจแพลตฟอร์ม จะมาจาก ค่าโฆษณา, ค่าสมาชิกบัญชีพรีเมียม รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ Roku OS
ซึ่งโมเดลธุรกิจลักษณะนี้ คล้ายกับ Xiaomi บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ที่เน้นขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในราคาถูก เพื่อให้คนเข้าถึงสินค้าของตัวเองได้ง่าย แล้วค่อยไปทำเงินกับบริการออนไลน์ในอุปกรณ์เครื่องนั้นแทน
ทั้งนี้ Roku จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เมื่อปี 2017
ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท
ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 35 เท่า เทียบกับมูลค่าตอน IPO
โดยมีนักลงทุนสถาบันชื่อดังหลายรายเข้ามาถือหุ้น
เช่น Vanguard Group, BlackRock และ ARK Invest
เราคงได้เห็นแล้วว่า
การเป็นแพลตฟอร์ม “ตัวกลาง” รวบรวมคอนเทนต์ มาไว้ในที่เดียว
ก็สามารถเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมโดยรวมได้ เหมือนกับ Roku
แต่อย่างไรก็ตาม Roku ไม่ได้หลงไปกับความสำเร็จในอดีต และปรับตัวอยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็น การมีส่วนร่วมในธุรกิจต้นน้ำ อย่างการผลิตวิดีโอคอนเทนต์
และในธุรกิจปลายน้ำ อย่างการผลิตและขายระบบปฏิบัติการสมาร์ตทีวี
เพราะพวกเขารู้ตัวดีว่า ในวันหนึ่ง เทคโนโลยีอาจเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ
จนทำให้คนตรงกลาง ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://productmint.com/roku-business-model-how-does-roku-make-money/
-https://www.investopedia.com/how-roku-makes-money-5119488
-https://en.wikipedia.org/wiki/Roku,_Inc
-https://www.roku.com/en-gb/products/players
-https://www.roku.com/en-gb/whats-on
-https://ir.roku.com/static-files/8233f1fa-0263-4bb5-adb4-f0545a06a246
-https://finance.yahoo.com/quote/ROKU/financials?p=ROKU
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「gross profit คือ」的推薦目錄:
- 關於gross profit คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於gross profit คือ 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文
- 關於gross profit คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於gross profit คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於gross profit คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於gross profit คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於gross profit คือ 在 Money Buffalo - "Gross Profit Margin" คืออะไร 的評價
- 關於gross profit คือ 在 Gross Profit Margin คืออะไร ? | Money Buffalo - YouTube 的評價
- 關於gross profit คือ 在 อัตราส่วนกำไรขั้นต้นคืออะไร (Gross Profit Margin)? ใช้อย่างไร 的評價
gross profit คือ 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文
หุ้น Alibaba : ecommerce ยักษ์ใหญ่ของจีน ที่กำลังจะตื่น กับมูลค่ามหาศาลที่ซ่อนอยู่
BABA - Alibaba Group Holding Limited
Price : 219.02$
PE(FWD) : 21.27
Market cap : 5.9 เเสนล้านเหรียญ
Alibaba หุ้นค้าปลีกออนไลน์ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ตัวนึงของจีน เเละ ของโลก ที่สามทรถทำรายได้ไปในปี 2021 ถึง 109,468 ล้านเหรียญ ทำให้สามารถทำกำไรไปได้ 22,980 ล้านเหรียญ จึงมีกำไรต่อหุ้นที่ 8.49 เหรียญ
ซึ่งตัว ธุรกิจหลักที่ Alibaba ทำ หรือที่เรียกว่า Core bussiness คือ
•การทำ ecommerce ในประเทศ....
ฝั่ง ค้าปลีก เช่น Tmall , Taobao , Freeshippo เเละเริ่มมารุกสายการเเพทย์คือ Alihealth
ฝั่งค้าส่ง คือ 1688 เเละ Lingshoutong
•การทำ ecommerce นอกประเทศ...
ค้าปลีก เช่น Aliexpress , Lazada , Kaola
ค้าส่ง คือ Alibaba.com
•Consumer Service อย่าง ele.me ที่ทำเกี่ยวกับ delivery อาหาร คู่เเข่งหลักของ Meituan Dianping
เเละมีการกระจายตัวธุรกิจไปใน Alibaba media สื่อให้ความบันเทิง
Alibaba innovation เพื่อสร้างนวัตกรรมอย่าง amap.com ,Diagtalk , Tmall genie
Alibaba cloud ที่เป็นผู้นำในจีน เเละครองส่วนเเบ่งในจีนถึง 40%
Ant group ที่ให้บริการในเรื่องธุรกรรม เเละการเงิน โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ Alipay
โดยมีรายได้ย้อนหลังดังนี้
2017 22,985 ล้านเหรียญ
2018 39,893 ล้านเหรียญ
2019 56,148 ล้านเหรียญ
2020 71,967 ล้านเหรียญ
2021 109,468 ล้านเหรียญ
คิดเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้ที่ 48.6% (2017-2021) เเละนั่นก็คือ การเติบโตถึง 5 เท่าตัวของรายได้ ภายในระยะเวลาเเค่ 5 ปี
เเต่ถ้าไปดูในส่วนของ Gross profit margin
2017 62.96%
2018 57.55%
2019 45.84%
2020 45.21%
ตัว GPM มีการปรับตัวลงมานับตั้งเเต่ปี 2017 เกือบ 20% นั่นก็เพราะ เมื่อ Alibaba ต้องการขยายการเติบโตเพิ่มเข้าไป จะทำให้ ต้นทุนการขายสูงขึ้นเรื่อยๆ
เเต่เราพบว่า Alibaba
จะทำให้มี PE ณ ปัจจุบันเพียง 25 เท่าเท่านั้นเอง มีอะไรผิดปกติไปในหุ้นนี้หรือเปล่า....
จากสิ่งที่ Alibaba ทำ คือการรุกตลาดไปในหลายๆ ส่วน เพื่อทำให้เกิด ธุรกิจครบวงจร น่าจะนังสามารถทำให้ เกิดการเติบโตในระดับ 30% ต่อปีได้อย่างสบายๆ เเต่การมี PE (fwd) ที่เพียง 20 เท่าเทียบกับการเติบโต 30% คงไม่ใช่เราคนเดียวที่เห็นเเน่ๆ
นั่นก็เพราะ ตลาดมีความกังวลในเรื่องปัจจัย ของ การเเทรกเเซงจากภาครัฐ ดังที่ Alibaba ได้เคยโดนในปีที่เเล้ว (2020) ที่ทาง Ant group โดนสกัดดาวรุ่ง ภายในชั่วข้ามคืน จากตอนนั้นยังมี PE ที่ 30 เท่า ก็ทำให้มูลค่าหายไปหลายล้านล้านบาท เเละนั่นตลาดก็รับข่าวเข้าไปเเล้วจนราคาตกมาราวๆ 220 เหรียญ ในปีที่เเล้ว
นอกจากนี้ ยังโดยปัจจัย การมาเล่นธีมเปิดเมือง ไปสู่หุ้นคุณค่า ของสถาบัน จากปัจจัย การมาของเงินเฟ้อประกอบด้วย ก็ทำให้เกิดเงินไหลออกไปจากหุ้นเทคไปสู่หุ้นกลุ่มอื่น ก็ยิ่งทำให้ หุ้น Alibaba ตกไปในระดับ 200 เหรียญต้นๆ
ในมุมอง ของเเอด ก็มองว่าตอนนี้ Alibaba ได้รับข้าวร้ายไปหมดเเล้ว ถ้าจะร้ายกว่านี้ก็คงต้องหมายถึง จีนสั่งปิดบริษัท หรือ สงครามโลก เเล้วหละ
ถ้าคุณมองเห็นการเติบโต ในระดับ 30% ต่อปีไปอีก 5 ปีข้างหน้าของ Alibaba ก็นับว่าไม่เเพง เเละ มีเเต้มต่อค่อนข้างมาก
*บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหุ้นเเต่อย่างใด
........................................
ติดตามข้อมูล เศรษฐกิจ การลงทุนในต่างประเทศ ในไทย ได้ที่คุยการเงินกับที
........................................
REF :
Alibaba: On The Eve Of The Jump
https://seekingalpha.com/article/4432611-alibaba-on-the-eve-of-the-jump
Trin T
gross profit คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ข่าวประชาสัมพันธ์..
“แอสเซทไวส์” โชว์ความสำเร็จสุดแกร่ง ทุบสถิติกำไร Q1 พุ่ง 361.85%
ASW เผยไม้เด็ดกลยุทธ์ “Best Choice” กวาดรายได้กว่า 1,173 ล้านบาทไตรมาสแรก ผลักดันเติบโตอย่างต่อเนื่อง เดินหน้าสู้ศึกโควิดปี 64 เต็มกำลัง
แอสเซทไวส์ (AssetWise) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ เปิดผลประกอบการไตรมาสแรกแห่งปี 2564 สุดท็อปฟอร์ม หลังกวาดรายได้กว่า 1,173 ล้านบาท ทุบสถิติกำไรโต 361.85% สวนกระแสโควิด ตอกย้ำความสำเร็จด้วยกลยุทธ์ “Best Choice” สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง ดันยอดขายพุ่งแรงขึ้นแท่นผู้นำ “แคมปัสคอนโด” เตรียมทุ่ม 9,700 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาโครงการใหม่ต่อเนื่องภายในปีนี้
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของ ASW ในไตรมาส 1/2564 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564) ทำรายได้รวมอยู่ที่ 1,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตสูงถึง 98.5% (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 591 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 250 ล้านบาท หรือ 361.85% (YoY) เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 69 ล้านบาท ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ถึง 48.5% และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ถึง 25.7%
นับเป็นการเติบโตแบบสวนกระแสในยุคโควิด ตอกย้ำความสำเร็จด้วยกลยุทธ์ “Best Choice” สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นรักษาอัตรากำไรที่โดดเด่น ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ปรับตัวลดลงหลังเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
“แม้ในไตรมาสแรกของปี 2564 ต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ผันผวนและความไม่แน่นอนในตลาดจากสถานการณ์โควิด 19 แต่เราก็ยังรักษาผลประกอบการเอาไว้ได้ในระดับดีเยี่ยม ทั้งยอดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดยังตรงตามเป้า และยอดขายในแต่ละโครงการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เรามุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ให้มีคุณภาพอยู่เสมอ จนสามารถครองใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง” นายกรมเชษฐ์กล่าว
ความสำเร็จแบบก้าวกระโดดของ “แอสเซทไวส์” นับเป็นการตอกย้ำทิศทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพคับแก้ว ที่พร้อมรุกตอบโจทย์ตลาดคนรุ่นใหม่อย่างเต็มกำลัง ด้วยการเดินเกมอันแยบยลภายใต้กลยุทธ์ “Best Choice” หรือการพัฒนาโครงการฯ สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและพฤติกรรมผู้บริโภค และให้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในทำเลนั้น ๆ
โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายในตลาด Blue Ocean ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอ “ความครบวงจร” ตั้งแต่ทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพ ให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มากกว่า เพิ่มฟังก์ชันเอาใจไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ อาทิ ห้องดูหนัง ห้องเล่นเกม ห้องร้องเพลง และ Co-Working Space ด้วยเอกลักษณ์การดีไซน์ที่แตกต่าง รวมถึงการออกแบบตกแต่งห้องให้ครบครันพร้อมอยู่ในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งทั้งหมดมาจากความตั้งใจในการศึกษาเชิงลึกถึงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยในย่านต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริง
หนึ่งในเรือธงที่ประสบความสำเร็จของแอสเซทไวส์ คือ กลุ่มแคมปัสคอนโด (Campus Condo) ภายใต้แบรนด์เคฟ (KAVE) คอนโดมิเนียมใกล้สถานศึกษา
โดยในไตรมาส 1/64 บริษัทฯ มียอดโอนรับรู้รายได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก โครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (KAVE TOWN SPACE) และ โครงการเคฟ ทาวน์ ชิฟท์ (KAVE TOWN SHIFT) ใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต สองโครงการคุณภาพที่มีมูลค่าโครงการรวมกว่า 4,100 ล้านบาท รวมถึง “โครงการเคฟ ศาลายา (KAVE SALAYA)” ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มูลค่าโครงการ 1,150 ล้านบาท ซึ่งเปิดขายเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายได้แล้วกว่า 60% ของห้องที่เปิดขาย นอกจากนี้ ยังมี โครงการเคฟ ทียู (KAVE TU) ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งนับเป็นยอดขายรอโอน (Backlog) ที่รอรับรู้รายได้ภายในปีนี้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน “คอนโดรีสอร์ทกลางเมือง” คอนเซปต์สำหรับวัยทำงานซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ “แอสเซทไวส์” ให้ความสำคัญ ภายใต้แบรนด์แอทโมซ (ATMOZ) และแบรนด์โมดิซ (MODIZ) ที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของวัยทำงาน บนทำเลศักยภาพ New CBD ก็ผลักดันให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดย โครงการโมดิซ สุขุมวิท 50 (MODIZ SUKHUMVIT 50) คอนโดมิเนียม High-Rise ใจกลางย่านสุขุมวิท ที่รอรับรู้รายได้ปลายปีนี้ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึง Real Demand ต่อโครงการอสังหาฯ ของแอสเซทไวส์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเป็นคอนโด Best Choice ตัวจริงในทำเลนั้น
ก้าวต่อไปในการสร้างรายได้และโอกาสครึ่งปีหลัง 2564 ของ “แอสเซทไวส์” ยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยเตรียมเปิดโครงการใหม่ ๆ มูลค่ากว่า 9,700 ล้านบาท ทั้งแนวราบและแนวสูง ซึ่งจะทยอยเปิดตัวในไตรมาส 2/64 เป็นต้นไป อาทิ โครงการคอนโดมิเนียมแอทโมซ บางนา (ATMOZ BANGNA) และ เคฟ เอวา (KAVE AVA) มั่นใจรายได้รวมปี 2564 โตกว่า 20% จากปีก่อนตามเป้า ทั้งยังเน้นการรักษายอดขายรอโอน (Backlog) จำนวน 7,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้ - ปี 2566 จากโครงการสร้างเสร็จรอขายจำนวน 1,105 ยูนิต มูลค่า 3,133 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้มีการสรรหาผู้ร่วมทุนเพื่อขยายการเติบโตสำหรับโครงการในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันแอทเซสไวส์มีการลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint Venture) กับ บริษัท ไอดีล เรียล จำกัด จัดตั้ง และ บริษัท ไพร์ซ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการเคฟ ศาลายา ร่วมกัน โดยการร่วมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ จะถือหุ้นในสัดส่วน 51 : 49 ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพ และสนับสนุนการเติบโตในอนาคตอย่างแข็งแกร่ง
“การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปตามทิศทางกลยุทธ์ของ “แอทเซสไวส์” ที่มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจแบบผสมผสาน รวมถึงการสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตที่ครบวงจร เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างชุมชนที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน สอดคล้องวิสัยทัศน์ “We Build Happiness” หรือ ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” ของเรานั่นเอง” นายกรมเชษฐ์กล่าวปิดท้าย
gross profit คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
gross profit คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
gross profit คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
gross profit คือ 在 Gross Profit Margin คืออะไร ? | Money Buffalo - YouTube 的推薦與評價
ติดตามสาระ + ความสนุกของ Money Buffalo ได้หลากหลายช่องทาง FB | https://www.facebook.com/moneybuffalo Youtube ... ... <看更多>
gross profit คือ 在 อัตราส่วนกำไรขั้นต้นคืออะไร (Gross Profit Margin)? ใช้อย่างไร 的推薦與評價
วันนี้เราจะมาอธิบายว่า "อัตราส่วนกำไรขั้นต้น คือ อะไร ? ใช้อย่างไร ?" ในวีดิโอผมจะพูดเรียงหัวข้อตามนี้ : 1. กำไรขั้นต้น คือ อะไร ? ... <看更多>
gross profit คือ 在 Money Buffalo - "Gross Profit Margin" คืออะไร 的推薦與評價
"Gross Profit Margin" คืออะไร ? #MoneyBuffalo #คำศัพท์การเงิน. ... <看更多>