รู้จัก BIG3 แห่งวงการ ที่ปรึกษาธุรกิจ McKinsey BCG Bain /โดย ลงทุนแมน
บริษัทที่ปรึกษา นั้นมีอยู่หลายประเภท
แต่ถ้าพูดถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Management Consulting)
คนส่วนใหญ่ คงต้องนึกถึง บริษัทยักษ์ใหญ่ 3 ราย
ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “BIG3” ของวงการ
BIG3 บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ คือใคร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บริษัทให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
และเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา หรือ Great Depression ที่เกิดขึ้นช่วงปี 1929-1933
สาเหตุเนื่องจาก หลายบริษัทต้องการความช่วยเหลือ ทั้งด้านทิศทางกลยุทธ์, การบริหารจัดการต้นทุน รวมไปถึงการลงทุน เพื่อเร่งฟื้นตัวจากวิกฤติในขณะนั้น
เวลาผ่านไปเกือบร้อยปี สถานการณ์ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้นและตลอดเวลา
ก็ยิ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือ มาช่วยให้สามารถก้าวตามทันตลาดหรือคู่แข่งได้
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทที่เป็นกลุ่มผู้นำของวงการที่ปรึกษาธุรกิจ ประกอบไปด้วย 3 ราย ได้แก่
- McKinsey & Company
- Boston Consulting Group
- Bain & Company
บริษัทที่อายุมากสุดในกลุ่ม คือ “McKinsey & Company”
McKinsey ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1926 โดยคุณ James McKinsey
ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนบัญชี แต่เกิดไอเดียทำธุรกิจที่ปรึกษา โดยนำหลักการทางบัญชีมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท
ต่อมา McKinsey ก็ได้พัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทาง เกี่ยวกับธุรกิจประเภทต่าง ๆ เพิ่มเติม
ทำให้บริษัทมีชื่อเสียง ในเรื่องการมีผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น บริษัทได้ใช้นโยบายที่เรียกว่า One-Firm Partnership
ซึ่งสำนักงานทุกสาขา จะใช้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้พนักงานของ McKinsey มีมาตรฐานสูง ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในประเทศใดก็ตาม
ปัจจุบัน McKinsey มีพนักงานทั้งหมดราว 30,000 คน ใน 130 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน McKinsey ที่เราอาจคุ้นชื่อกัน เช่น
คุณ Sundar Pichai ปัจจุบันเป็น CEO ของ Google
คุณ Sheryl Sandberg ปัจจุบันเป็น COO ของ Facebook
บริษัทต่อมา คือ “Boston Consulting Group” หรือ BCG
BCG ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1963 โดยคุณ Bruce Henderson
ซึ่งเดิมทีทำงานอยู่บริษัทที่ปรึกษา ชื่อว่า Arthur D. Little แต่ต่อมาตัดสินใจออกมาสร้างธุรกิจของตัวเอง
BCG เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง จากการใช้ข้อมูลปัจจัยภายนอก มาแนะนำกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด ซึ่งแตกต่างจากที่ปรึกษารายอื่นในอดีต ที่ส่วนใหญ่วิเคราะห์จากปัจจัยภายในของบริษัทเป็นหลัก
ตัวอย่างเครื่องมือที่ BCG คิดค้นขึ้น และหลายคนอาจเคยใช้งาน คือ Growth-Share Matrix
ซึ่งช่วยให้บริษัทเลือกจัดสรรทรัพยากร ไปในธุรกิจที่น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า
โดย BCG แบ่งประเภทธุรกิจ เป็นตาราง 4 ช่อง ตามอัตราการเติบโตของตลาด และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
- Cash Cows ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่ตลาดเติบโตต่ำ
- Stars ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง และตลาดเติบโตสูง
- Question Marks ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่ตลาดเติบโตสูง
- Dogs ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ และตลาดเติบโตต่ำ
ปัจจุบัน BCG มีพนักงานทั้งหมดราว 22,000 คน ใน 90 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน BCG ที่ประสบความสำเร็จ เช่น
คุณ Benjamin Netanyahu นายกรัฐมนตรีของประเทศอิสราเอล
คุณ Indra Nooyi อดีต CEO ของ PepsiCo
บริษัทสุดท้าย คือ “Bain & Company”
Bain ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1973 โดยคุณ Bill Bain
ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของ BCG ที่ออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง
Bain มีชื่อเสียงในเรื่องคำปรึกษาด้านการลงทุน และดีลเข้าซื้อกิจการ
โดยมีลูกค้ากองทุน Private Equity ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 75% ของตลาด
ซึ่ง Bain ถือเป็นที่ปรึกษารายแรก ๆ ที่คิดค่าบริการตามผลลัพธ์ของโครงการ ทำให้บริษัทสามารถร่วมประสบความสำเร็จไปกับลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว จนได้รับงานอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Bain มีพนักงานทั้งหมดราว 9,000 คน ใน 59 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน Bain ที่หลายคนน่าจะรู้จัก เช่น
คุณ Mitt Romney อดีตผู้ท้าชิง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรครีพับลิกัน ในปี 2008 และ 2012
คุณ Susan Wojcicki ซึ่งเป็น CEO ของ YouTube
แล้วทำไมทั้งสามบริษัท ถึงครองตำแหน่ง BIG3 ได้ ?
จุดแข็งของ McKinsey, BCG และ Bain
คือ เครดิตความน่าเชื่อถือ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
ทำให้พวกเขามีฐานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก
และสามารถคิดค่าบริการได้ค่อนข้างสูงกว่าตลาด
พอเป็นเช่นนี้ บริษัท BIG3 จึงสามารถจ่ายเงินเดือนได้ในระดับสูง
ทำให้พนักงานเก่ง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อยากสมัครเข้าทำงานด้วย
ส่งผลให้ บริษัทมีผลงานที่ดีต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากลูกค้าเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
จนยากที่ผู้เล่นรายอื่น จะเข้ามาแย่งชิงตำแหน่ง BIG3 ไปได้
ซึ่งลักษณะธุรกิจที่อาศัยความได้เปรียบจากชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับ ก็จะคล้าย ๆ กับกรณีของ “Big4” ในวงการตรวจสอบบัญชี อย่าง EY, PwC, KPMG และ Deloitte
เรามาลองดูรายได้ของแต่ละบริษัท เมื่อปี 2019
- McKinsey มีรายได้ 325,000 ล้านบาท
- BCG มีรายได้ 266,000 ล้านบาท
- Bain มีรายได้ 133,000 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจ BIG3 จะมีรายได้สูงติด 20 อันดับแรกของตลาดเลยทีเดียว
จากเรื่องนี้ เราอาจพอสรุปได้ว่า
ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ เป็นต้นทุนทางธุรกิจที่มีความสำคัญมาก
ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ย่อมมีโอกาสเสนอขายสินค้าหรือบริการได้มากกว่า
ซึ่งทำให้บริษัทเติบโต และครองส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง
เหมือนกรณีของ BIG3 ที่ปรึกษาธุรกิจ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
และเป็นผู้นำของตลาด มานานหลายสิบปี
หรือกระทั่งบางราย เกือบร้อยปีแล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://strategycase.com/the-big-3-consulting-firms-mckinsey-bcg-bain/
-https://igotanoffer.com/blogs/mckinsey-case-interview-blog/big-3-consulting-firms-mbb
-https://en.wikipedia.org/wiki/Big_Three_(management_consultancies)
-https://www.mckinsey.com/about-us/overview
-https://www.bcg.com/about/about-bcg/overview
-https://www.bain.com/about/what-we-do/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Management_consulting#History
「mckinsey wiki」的推薦目錄:
mckinsey wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ประเทศไหน ใช้เงินสด น้อยที่สุดในโลก ? /โดย ลงทุนแมน
วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด
หากให้ลองนึกถึงประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้
หลายคนก็น่าจะนึกถึงประเทศจีน หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา
แต่คำตอบที่ได้จะไม่ใช่ทั้ง 2 ประเทศนี้เลย
แล้วประเทศนั้นคือประเทศอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแห่งนี้มีสัดส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 51%
เมื่อเทียบกับธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในประเทศ
รองลงมาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปฝั่งเหนือ
ซึ่งก็ได้แก่ ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสวีเดน
ที่สัดส่วนการใช้เงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 55%
แต่พอมาวันนี้ หากเราลองมาดูสัดส่วนการใช้เงินสดของ 5 ประเทศ ที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 สวีเดน 9%
อันดับที่ 2 เนเธอร์แลนด์ 14%
อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 23%
อันดับที่ 4 ฟินแลนด์ 24%
อันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา 28%
กลับกลายเป็นว่าแชมป์โลกเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตกไปอยู่อันดับที่ 5
และประเทศ “สวีเดน” ได้กลายมาเป็นประเทศที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก
คำถามที่ตามมาก็คือ เพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้ว หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศสวีเดน ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินมาอย่างยาวนาน อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 1661 เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มใช้ธนบัตร
ปี 1967 เริ่มใช้ตู้ ATM เป็นประเทศที่ 2 ของโลก ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษเพียง 1 สัปดาห์
และรู้หรือไม่ว่า ภายในปี 2023 เราอาจไม่ได้เห็นการใช้เงินสดในประเทศสวีเดนอีกเลย
เพราะมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนมีนาคม ปี 2023
ประเทศสวีเดนจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศแรกของโลก
นอกเหนือจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเงินแล้ว
ประเทศสวีเดนยังได้รับความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย
ทั้งผู้พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี รวมถึงผู้ใช้งาน
ในด้านของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศสวีเดนถือว่าเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง Spotify, SoundCloud และ Skype
หรือแม้แต่ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า Klarna ก็ก่อตั้งจากประเทศแห่งนี้
และแน่นอนว่ามันเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับระบบการชำระเงินผ่านการซื้อของออนไลน์
ที่ขาดไม่ได้คือแรงผลักดันจากรัฐบาลและกลุ่มสถาบันการเงิน
ที่ได้ออกกฎเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้ารับชำระเงินจากลูกค้าในแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการที่ภาครัฐผลักดันให้เลิกใช้เงินสด นอกจากเรื่องของความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานแล้ว
สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การลดการก่ออาชญากรรม ทั้งการปล้นเงินสด หรือการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตจะสามารถตรวจสอบได้
ในขณะเดียวกัน เงินสดยังมีต้นทุนในการจัดการสูง โดยเฉพาะเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญที่นำสวีเดนไปสู่สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
โดยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน 6 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางสวีเดน
ได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟน ที่มีชื่อว่า “Swish”
ตรงนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยเอง
ก็มีระบบพร้อมเพย์ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ถูกผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าเราจะมีพัฒนาการในลักษณะเดียวกันกับสวีเดนได้หรือไม่
กลับมาที่ Swish แอปพลิเคชันดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ชาวสวีเดน
เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตแบบที่ไม่ใช้เงินสดได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะปัจจุบันมีชาวสวีเดนที่ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันนี้ มากกว่า 60% ของประชากรแล้ว
และในปัจจุบัน ธนาคารกลางสวีเดนก็กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง
ชื่อว่า e-krona ที่คาดว่าจะใช้งานได้จริงภายในปี 2025 อีกด้วย
ในส่วนของผู้ใช้เทคโนโลยีก็สำคัญเช่นกัน เพราะชาวสวีเดนถือได้ว่าเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็ว
สะท้อนมาจากผลสำรวจเมื่อปลายปี 2020 ที่ว่า คนสวีเดนทุก 3 ใน 4 คน
เลือกที่จะใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศเกาหลีใต้
ในขณะที่ชาวสวีเดนมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 94% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนสวีเดน
ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้รวดเร็วที่สุดในโลกนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยคำถามที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วจีนอยู่ตรงไหน ?
เรามาดู อันดับประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย ก็คือ
อันดับที่ 1 เกาหลีใต้ ใช้เงินสด 34%
อันดับที่ 2 สิงคโปร์ ใช้เงินสด 39%
อันดับที่ 3 จีน ใช้เงินสด 41%
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประเทศจีนยังอยู่ในอันดับที่ 3
แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน
รู้หรือไม่ว่าสมัยนั้นคนจีนยังใช้เงินสดกันทั้งประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าอีกหน่อยโลกของเราก็น่าจะหมุนเข้าหาสังคมไร้เงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และตัวกลางในการรับชำระอย่างเหรียญและธนบัตร ที่ใช้กันมานานกว่าหลายชั่วอายุคน
อาจจะกลายเป็นของสะสม หรือเป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ แค่ในพิพิธภัณฑ์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://interestingengineering.com/sweden-how-to-live-in-the-worlds-first-cashless-society
-https://www.weforum.org/agenda/2021/01/this-chart-shows-cash-cashless-finance-payment-methods-global-preference/
-https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.ZS?most_recent_value_desc=true
-https://en.wikipedia.org/wiki/Swish_(payment)
mckinsey wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
BYD รถยนต์ไฟฟ้า สัญชาติจีน ใหญ่เป็นรองเพียง Tesla และ Toyota /โดย ลงทุนแมน
ชั่วโมงนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก Tesla บริษัทผู้นำนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า
ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
หากเรามาดูมูลค่าบริษัทที่มีรายได้จากการผลิตรถยนต์ ที่ใหญ่สุดในโลก 3 อันดับแรกในตอนนี้
อันดับ 1 Tesla มูลค่าบริษัท 24.3 ล้านล้านบาท
อันดับ 2 Toyota มูลค่าบริษัท 7.2 ล้านล้านบาท
อันดับ 3 BYD มูลค่าบริษัท 3.2 ล้านล้านบาท
แน่นอนว่าหลายคนรู้จัก Tesla และ Toyota
แต่หลายคนน่าจะไม่รู้จัก BYD ว่าคือบริษัทอะไร
แล้ว BYD เป็นใครมาจากไหน?
ทำไมถึงมีมูลค่ามาก จนตอนนี้แซงหน้าบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่
อย่าง Volkswagen, Daimler, GM รวมถึง BMW
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
BYD ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
แต่เป็นบริษัทจากประเทศจีน ที่ก่อตั้งโดยคุณ Wang Chuanfu ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจนในมณฑลอานฮุย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่ปี 1995 หรือราว 26 ปีก่อน
โดยชื่อของ BYD นั้น ย่อมาจาก “Build Your Dream” หรือแปลเป็นไทยว่า “สร้างฝันของคุณ”
สำหรับเรื่องราวของคุณ Wang Chuanfu นั้น
คุณพ่อ คุณแม่ของเขาได้จากเขาไปตั้งแต่ยังเด็ก
ทำให้เขาถูกเลี้ยงมาโดยพี่ชาย และพี่สาวของเขา
การจากไปของพ่อแม่ ทำให้ชีวิตของคุณ Wang Chuanfu ประสบความยากลำบากตั้งแต่เด็ก
เขาต้องขอยืมเงินเพื่อนบ้านเพื่อเป็นทุนในการเรียนหนังสือ
แต่ความยากลำบากตั้งแต่เด็ก ทำให้เขามีความมุ่งมั่นในการเรียนอย่างมาก
จนกระทั่งเขาเรียนจบปริญญาโทจาก Beijing Non-Ferrous Research Institute
หลังจากเรียนจบ เขาทำงานให้กับหน่วยงานวิจัยของรัฐบาลจีนหลายปี ก่อนที่จะออกมาทำงานบริษัทเอกชน ระหว่างนั้นเขาศึกษา และพบว่าอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศจีน มีโอกาสจะเติบโตอย่างมากในอนาคต
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เขาจึงก่อตั้งบริษัท BYD Company Limited ขึ้นในปี 1995 โดยบริษัทของเขาเริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี BYD สามารถครองส่วนแบ่งมากกว่า 50% ในตลาดผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตถ่านชาร์จรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
จุดเปลี่ยนของ BYD เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2002
เมื่อบริษัท BYD ได้ไปซื้อบริษัทรถยนต์ Tsinchuan Automobile เข้ามาเป็นบริษัทลูก
แล้วทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “BYD Auto”
ในช่วงแรกนั้น BYD Auto ยังเน้นผลิต และจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันอยู่ โดยรูปลักษณ์รถยนต์ของ BYD นั้นจะเน้นไปที่รูปทรงเหมือนรถยนต์แบรนด์จากญี่ปุ่นและยุโรป
แต่ในปี 2008 BYD Auto สามารถผลิตรถพลังไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) คันแรกของโลกได้
โดยใช้ความชำนาญของการเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่มาก่อน มาพัฒนาต่อยอด จนได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอย่างมาก
และเรื่องนี้โด่งดังมาก จนทำให้ในปีดังกล่าว วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังของโลก เข้ามาลงทุนในบริษัท BYD ด้วยมูลค่า 6,920 ล้านบาท
มาวันนี้มูลค่าหุ้นที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถือใน BYD มีมูลค่าสูงกว่า 222,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3,200% ในระยะเวลาประมาณ 12 ปี ที่เขาเริ่มลงทุนมา
สำหรับ BYD นั้น จากที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของโลก
มาวันนี้ BYD ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่
ที่ผลิตทั้ง รถยนต์ไฟฟ้า และรถบัสไฟฟ้า
ถ้าลองมาดูส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในปีที่ผ่านมา จากข้อมูลของ McKinsey & Company
1. Tesla 16.2%
2. BYD 10.0%
3. BJEV 7.1%
โดยส่วนใหญ่แล้วรถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ถูกวางขายในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน
ส่วนในประเทศไทย ก็ยังมีการนำเอารถยนต์ของ BYD มาใช้แล้วบ้าง
อย่างเช่น BYD รุ่น e6 ที่ถูกนำมาให้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ
ผลประกอบการของ BYD Company Limited
ปี 2018 รายได้ 566,421 ล้านบาท กำไร 12,900 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 566,361 ล้านบาท กำไร 7,500 ล้านบาท
โดยที่รายได้ของ BYD ในปี 2019 มาจาก
- ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า 49%
- ธุรกิจผลิตและประกอบชิ้นส่วนมือถือ 43%
- ธุรกิจแบตเตอรี่ และแผงโซลาร์เซลล์ 8%
หมายความว่า BYD มีรายได้มาจากการขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรายได้หลักแล้ว ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ประมาณ 277,500 ล้านบาท
ถ้าลองเอารายได้จากการขายรถยนต์ไฟฟ้า มาเทียบกับ Tesla
ในปี 2019 Tesla มีรายได้จากการขายรถยนต์ไฟฟ้า 625,000 ล้านบาท
ก็จะเห็นว่า รายได้จากการขายรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla เป็น 2.3 เท่าของ BYD
ปัจจุบัน BYD Company Limited จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
และมีมูลค่าบริษัทประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท
และก็น่าติดตามว่า
ภายใต้กระแสรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ อย่างทุกวันนี้
BYD จะสามารถเติบโตไปกับเทรนด์นี้ ได้ดีมากแค่ไหน ในอนาคต
และมันคู่ควรแล้วหรือไม่ ในการที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่าค่ายรถยุโรปทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น Volkswagen, Daimler, BMW..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://finance.yahoo.com/quote/1211.HK/financials?p=1211.HK
-https://daydaynews.cc/en/emotion/681987.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Chuanfu
-https://dlmag.com/byd-is-the-worlds-largest-electric-vehicle-maker-5-things-you-should-know-about-byd/
-https://cntechpost.com/2020/10/31/why-did-buffett-invest-in-byd-and-not-tesla/#:~:text=In%20September%202008%2C%20Buffett%20bought,18.6%20times%20the%20original%20investment.
-https://en.wikipedia.org/wiki/BYD_Company
-https://markets.businessinsider.com/news/stocks/warren-buffett-berkshire-hathaway-gain-byd-electric-vehicles-investment-2021-1-1029995920
-https://www.mckinsey.com/industries/automotive-and-assembly/our-insights/mckinsey-electric-vehicle-index-europe-cushions-a-global-plunge-in-ev-sales
-https://www.autodeft.com/deftscoop/byd-e6-taxi-vip-ev-thailand
mckinsey wiki 在 Google vs Facebook vs Microsoft - Compare career levels ... 的推薦與評價
Google: L3 / SWE II. L4 / SWE III. L5 / Senior SWE. L6 / Staff SWE. L7 / Senior Staff SWE. L8 / Principal Engineer. L9 / Distinguished Engineer. ... <看更多>
mckinsey wiki 在 McKinsey & Company | Wikipedia audio article - YouTube 的推薦與評價
This is an audio version of the Wikipedia Article:https://en. wikipedia.org/ wiki /McKinsey_%26_Company00:02:17 1 History00:02:27 1.1 Early ... ... <看更多>