"ไทยจะลดเวลากักตัวโรคโควิด-19 จาก 14 วัน เหลือ 10 วัน ... ต่างชาติทำกันหรือไม่ ?"
มีข่าวว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข จะเสนอให้ลดระยะเวลาในการกักกันตัว (quaruntine) คนที่จะเดินทางเข้ามาในประทศไทย จากที่เคยกำหนดให้อยู่ในสถานกักกันที่รับกำหนดเป็นเวลา 14 วัน จะลดเหลือเพียง 10 วัน เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย (ซึ่งแพงมากกก) และดึงดูดให้คนอยากเข้ามาเพิ่มขึ้น (เนื่องจากไทยเรา ขาดรายได้จากการท่องเที่ยวและธุรกิจระหว่างประเทศ อย่างหนัก)
1. จากการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ทางสาธารณสุขไทย อธิบายว่า ระยะเวลาการกักกันตัวนั้น ขึ้นกับระยะฟักตัวที่นานที่สุด (เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับเชื้อ จนถึงวันที่แสดงอาการ) สำหรับโควิด-19 คือ 14 วัน ....แต่ผู้ติดเชื้อโรคนี้ 95% จะแสดงอาการภายใน 10 วัน (คือ มีแค่ 5% ที่มีเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการ เลยอาจตรวจไม่พบเชื้อ)
2. ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนเป็นกักตัว 10 วัน แล้วรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พบผู้ป่วยเพียง 1 ใน 1 แสนคนของประชากร ก็จะมีโอกาสพลาด ตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อเพียง 5 ราย จากนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน / หรือถ้ารับจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง เช่น 100 รายต่อประชากร 1 แสนคน ก็ยังจะมีโอกาสตรวจพลาดต่ำ คือ 5 ราย ต่อนักท่องเที่ยว 1 แสนคน (ดูรายละเอียดใน https://m.facebook.com/thestandardth/photos/a.1725541161072102/2588681768091366/?type=3&eid=ARBA0mNEY7P8dGVNYmCp17LjtugkMBZrSdKKleXhiMa4ldoC3u_A4v6BARwOkVaEJnUg8D4rXRLs5gMO)
3. โจทย์ปัญหาเดียวกันนี้ เกิดขึ้นในต่างประเทศเช่นกัน ที่จะพยายามลดช่วงเวลาในการกักตัวลง ซึ่งไม่ใช่แค่กรณีการกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ แต่รวมถึงการกักตัวเอง (self quarantine) ในกรณีที่เคยไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมาก่อน ด้วยความหวังว่า การลดระยะเวลาในการกักตัวนี้ จะทำให้มีคนให้ความร่วมมือทำตามมากขึ้น แม้ว่าขณะนี้ ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวัน ของยุโรปและอเมริกา จะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งก็ตามมา
4.1 ประเทศฝรั่งเศส ได้ลดระยะเวลาในการกักตัวเอง สำหรับผู้ที่เคยใกล้ชิดกับผู้ป่วย จาก 14 วันลงเหลือ 7 วันมาตั้งแต่เดือนกันยายนแล้ว เนื่องจากไม่ค่อยมีใครยอมกักตัวเองกับบ้านนานถึง 14 วัน
4.2 ประเทศสเปน ได้ลดระยะเวลาในการกักตัวเอง จาก 14 วัน ลดลงเหลือ 10 วัน
4.3 ประเทศเบลเยี่ยม เคยลดระยะเวลาในการกักตัวเอง จาก 14 วัน เหลือ 7 วัน ... แต่หลังจากวันที่ 19 ตุลาคม ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 วัน
4.4 ประเทศเยอรมนี ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ระบุว่า ระยะเวลาในการกักตัวเองนั้น น่าจะลดลงมาจาก 14 วัน เหลือ 10 วันได้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน
4.5 ประเทศสหราชอาณาจักร ยังคงกำหนดให้เป็น 14 วัน แม้จะกำลังชั่งใจถึงเรื่องการลดระยะเวลาลงอยู่
5.1 ส่วนระยะเวลาในการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศนั้น มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คือ ทั้งประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมันนี กำหนดให้ใช้เวลาเท่ากับระยะเวลากักกันตนเอง (ของคนในประเทศ ดังในข้อ 4 ข้างต้น)
5.2 ขณะที่ประเทศสเปน ไม่มีข้อจำกัดใดๆ สำหรับทุกประเทศ ในการเดินทางเข้าประเทศสเปนเลย
5.3 ในขณะที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศอัฟริกาใต้ จะให้กักกันตัว เพื่อดูว่าจะมีผลตรวจออกมาว่าติดเชื้อหรือเปล่า
5.4 ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหราชอาณาจักร ยังบังคับให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ต้องกักตัว 14 วัน แต่ยกเว้นให้กับบางประเทศ
6. เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ถูกยกมาอ้างในการลดระยะเวลาในการกักตัวนี้ คือ จะช่วยให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการกักตัวเองมากขึ้น และตัดสินใจเริ่มกักตัวเร็วขึ้น (แทนที่จะรอจนเริ่มป่วยบ้าง) ซึ่งจะช่วยชะลอการระบาดของโรคลงไป ... ดังที่เคยมีรายงานปัญหามาก่อน โดยงานวิจัยของสถาบัน King’s School London พบว่า มีประชาชนชาวสหราชอาณาจักรถึงกว่า 1 / 4 ที่มีสมาชิกในบ้านติดเชื้อโรค Covid-19 แล้วไม่ยอมหยุดอยู่กับบ้านกักกันตนเอง
7. แม้ว่า องค์การอนามัยโรคจะระบุว่า ระยะเวลาที่เชื้อไวรัสนี้ จะทำให้ผู้ติดเชื้อแสดงอาการของโรคนั้นอยู่ระหว่างประมาณ 2-14 วัน แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้หลายวันก่อนที่จะแสดงอาการป่วยออกมา และมีถึง 40% ที่ไม่แสดงอาการป่วยเลย (แต่แพร่เชื้อได้)
8. ถึงกระนั้น งานวิจัยต่างๆ ในปัจจุบัน พบว่าค่ามัธยฐาน (median) ของการแสดงอาการป่วยนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน (ดูรูปประกอบ) และจากวิจัยของสถาบัน Johns Hopkins Bloomberg College of Public Well being พบว่า 97.5% ของผู้ติดเชื้อ จะแสดงอาการออกมาใน 11.5 วัน
9. ในขณะที่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญขององค์กรต่างๆ ยังไม่มีข้อสรุปว่า ควรหรือไม่ควร จะลดระยะเวลากักตัวลงจาก 14 วัน หรือถ้าลดแล้ว จะยังสามารถควบคุมโรคโควิดอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือเปล่า ... มีแนวทางหนึ่งที่เสนอกันจากงานวิจัยของ the London College of Hygiene and Tropical Medication ว่า การตรวจหาเชื้อไวรัส ที่หลังจากกักตัวผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ ไปแล้วเป็นระยะเวลา 7 วันนั้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแทบจะเทียบเท่ากับการตรวจที่ระยะเวลากักตัว 14 วัน
สรุป: แนวทางการลดระยะเวลากักตัวสำหรับโรคโควิด-19 จาก 14 วัน เหลือ 10 วันนั้น มีเหตุผลที่ฟังขึ้นทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ของโรค และในเชิงประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มจะถูกใช้กันมากขึ้นในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
แต่ๆๆ : ถ้าไทยเราจะนำมาใช้ ก็ต้องมีมาตรการอื่นๆ รองรับให้ประชาชนมีความมั่นใจ ตั้งแต่การเลือกประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำของการแพร่เชื้อโรค การตรวจคัดกรองโรคที่แม่นยำ การกักกันตัวที่เข้มงวด และการควบคุมติดตามผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากการกักตัวแล้ว
(มีหลายเคสแล้วนะ ที่เจอผู้ติดเชื้อในประเทศ แต่อธิบายไม่ได้ สืบสวนโรคไม่ได้ ว่าติดมาจากไหน !!)
ข้อมูลและภาพจาก https://www.wsj.com/articles/countries-try-shorter-covid-19-quarantines-in-bid-to-boost-compliance-11603791001
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
medication compliance 在 Medication Adherence (October 2015) - YouTube 的推薦與評價
Poor medication adherence can interfere with the ability to treat many diseases, leading to greater complications and a lower quality of ... ... <看更多>