คนสิงคโปร์ส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในบ้าน ที่สร้างโดยรัฐบาล /โดย ลงทุนแมน
“Public Housing” คือที่อยู่อาศัยที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ โดยจัดสรรให้ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศที่ร่ำรวยอย่างสิงคโปร์ มีประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยที่สร้างโดยรัฐบาล นั่นจึงทำให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ นโยบายการเคหะแห่งชาติประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
แล้วรัฐบาลสิงคโปร์ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลังจากที่ประเทศสิงคโปร์พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี 1959 หรือเมื่อ 62 ปีก่อน
สิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเต็มไปด้วยผู้อพยพจำนวนมากหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวมาเลเซีย จีน และอินเดีย
ความหลากหลายดังกล่าวนอกจากจะนำไปสู่การแบ่งแยกเชื้อชาติแล้ว
อีกปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว คือวิกฤติขาดแคลนที่อยู่อาศัย
จึงทำให้ประชากรบางส่วนต้องอยู่กันแบบชุมชนแออัดหรือที่เรียกว่าสลัม
ในปีถัดมา นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์อย่าง ลี กวน ยู ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเคหะที่ใช้ชื่อว่า Housing and Development Board หรือ “HDB” เป็นโครงการสร้างที่อยู่อาศัยให้เช่าสำหรับผู้ไม่มีกำลังทรัพย์
คุณลี กวน ยู มองว่าการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยคือสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ผู้อพยพได้เริ่มลงหลักปักฐานในประเทศนี้
โดยในช่วงแรก HDB ได้เร่งสร้างที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมจำนวนประชากรให้เร็วที่สุด
รูปแบบของที่อยู่อาศัยในตอนนั้นจึงเป็นแฟลตขนาดเล็ก แต่เน้นสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นให้ได้มากที่สุด
แต่เมื่อนโยบาย HDB เริ่มไปได้ไม่นาน ในเดือนพฤษภาคม ปี 1961 กลับเกิดไฟไหม้ในย่านชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ขนาดใหญ่ราว 8 สนามฟุตบอล จนมีผู้เสียชีวิต 4 คน และกว่า 16,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน
นี่จึงเป็นเหตุการณ์ความสูญเสียที่พิสูจน์ฝีมือของรัฐบาลลี กวน ยู ที่สามารถจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประสบภัยทั้งหมดได้ภายในปีเดียว ก่อนที่จะฟื้นฟูความเสียหายและสร้างที่อยู่อาศัยถาวรในบริเวณที่เกิดเหตุได้ภายใน 5 ปี
ผลงานนี้ได้ทำให้ชาวสิงคโปร์มีความเชื่อมั่นในนโยบาย HDB มากยิ่งขึ้นและทำให้รัฐบาลโน้มน้าวผู้คนที่คุ้นเคยกับที่อยู่อาศัยที่มีไม่กี่ชั้น ให้ไปอยู่อาศัยบนอาคารที่มีจำนวนชั้นมากขึ้น เป็นไปด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
และในปี 1964 นอกจากการให้เช่าแล้ว HDB ได้เริ่มขายที่อยู่อาศัย
จนกระทั่งปี 1965 HDB ได้สร้างที่อยู่อาศัยไปกว่า 51,000 โครงการ
ซึ่งส่วนมากจะเป็นอะพาร์ตเมนต์ และทำให้ประชากรกว่า 1 ใน 4 หรือราว 400,000 คนมีที่อยู่อาศัย
เพื่อให้การสร้างที่อยู่อาศัยครอบคลุมไปทั่วประเทศ รัฐบาลได้ออกกฎหมายต่าง ๆ เพื่อกว้านซื้อที่ดิน จากในปี 1960 ที่รัฐครอบครองที่ดินอยู่ 44% มาเป็นกว่า 90% ในปัจจุบัน
ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศยังคงโฟกัสกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและมีกำลังทรัพย์ไม่พอที่จะเข้าถึงที่อยู่อาศัยในราคาตลาดได้ แต่สำหรับประเทศสิงคโปร์ ที่แม้ว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรถือว่าร่ำรวย รัฐบาลได้เริ่มหันมาโฟกัสนโยบายที่อยู่อาศัยเพื่อ “ทุกคน” เพราะต้องการให้ชาวสิงคโปร์มีที่อยู่อาศัยคุณภาพดีในราคาที่เข้าถึงได้
ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเป็นปัจจัยที่เชิญชวนให้ชาวสิงคโปร์
เลือกที่อยู่อาศัยจาก HDB ก็มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง
ปัจจัยแรกก็คือ “ราคา”
ราคาของที่อยู่อาศัยจาก HDB จะถูกกว่าของเอกชนราว 20 ถึง 30%
ซึ่ง HDB จะมีข้อกำหนดสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยโดยตรงกับทาง HDB ว่าห้ามขายภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเก็งกำไร
หลังจากผ่าน 5 ปีแรกไปแล้ว จะสามารถขายต่อได้ในราคาตลาด หรือราคาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง แต่ราคาโดยเฉลี่ยจะสูงกว่าราคาที่อยู่อาศัยมือหนึ่งของ HDB อยู่ราว 20 ถึง 25% ชาวสิงคโปร์จึงนิยมเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมือหนึ่งจาก HDB มากกว่า ส่วนตลาดรองนี้จะเป็นที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติ
นอกจากนี้ HDB ก็ยังมีนโยบายด้านราคาแบบอื่นเพิ่มเติม อย่างเช่น ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลดเพิ่ม หากซื้อที่อยู่อาศัยในละแวกเดียวกับพ่อแม่
ปัจจัยที่สองก็คือ “ความช่วยเหลือทางการเงิน”
นอกจาก HDB จะช่วยอุดหนุนเพื่อกดราคาที่อยู่อาศัยให้ต่ำกว่าราคาตลาดแล้ว
ตัวโครงการยังมีนโยบายกองทุนที่ชื่อ Central Provident Fund โดยชาวสิงคโปร์จะถูกบังคับสะสมเงินในกองทุน โดยหักจากเงินเดือน 20% และเก็บจากนายจ้างอีก 17% ของเงินเดือน
ในตอนแรกกองทุนนี้มีเพื่อการเกษียณอายุเท่านั้น
แต่ในปี 1968 รัฐบาลอนุญาตให้ใช้เงินกองทุนเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ด้วย
เพื่อช่วยให้ชาวสิงคโปร์เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายมากขึ้น
แต่เพียงราคาที่เข้าถึงง่าย และการสนับสนุนทางการเงิน คงไม่สามารถทำให้ชาวสิงคโปร์จำนวนมากตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยจากทาง HDB
นั่นจึงนำไปสู่ปัจจัยสำคัญอย่างที่สามก็คือ “คุณภาพ”
ที่อยู่อาศัยที่จัดสร้างโดย HDB ถือได้ว่ามีสภาพแวดล้อมและคุณภาพที่ดีกว่าสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศ
โดยทาง HDB มีประเภทอสังหาริมทรัพย์ให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่แฟลตขนาดย่อมไปจนถึงคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ที่มีทั้งยิมและสระว่ายน้ำในตัว
ในแต่ละโครงการก็ยังมีห้องหลายแบบหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่ขนาด 2 ห้องไปจนถึง 5 ห้อง
เพื่อตอบโจทย์ครอบครัวหลายรูปแบบ
และมีบางโครงการที่ HDB จ้างบริษัทเอกชนออกแบบและก่อสร้าง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ทัน แต่ราคาขายยังคงได้รับการอุดหนุนจาก HDB อยู่
นอกจากคุณภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว HDB ยังส่งเสริมในเรื่องคุณภาพชีวิตด้วย
เพราะบริเวณโดยรอบที่อยู่อาศัย HDB กำหนดให้ต้องมีทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ยิมหรือสถานที่ออกกำลังกาย และทำเลที่ตั้งต้องอยู่ในรัศมีใกล้รถไฟฟ้าใต้ดินทำให้การเดินทางเป็นเรื่องสะดวกสบาย
นอกจากนี้ ภายในโครงการยังต้องมีสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาหรือตามประเพณีของทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติ ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ว่าผู้อาศัยในแต่ละโครงการต้องมีทุกเชื้อชาติรวมกันตามสัดส่วนที่ทาง HDB กำหนด เพื่อช่วยแก้ปัญหาการแบ่งแยกเชื้อชาติและแบ่งแยกชนชั้น
นอกจากเรื่องสัดส่วนของเชื้อชาติแล้ว HDB ยังกำหนดข้อจำกัดด้านอื่นไว้ด้วย ยกตัวอย่างข้อกำหนดที่สำคัญก็เช่น ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยต้องจองซื้อก่อนล่วงหน้า และรอจนก่อสร้างเสร็จอีกโดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี
และแม้ว่าจะใช้คำว่าขาย แต่ในสัญญาจะพ่วงมากับสัญญาเช่า 99 ปี นั่นหมายความว่าเมื่อพ้นช่วง 5 ปีแรกที่ห้ามขายต่อแล้ว หลังจากนั้นผู้ซื้อจะขายต่อ หรือให้ตกทอดเป็นมรดกก็ได้
แต่เมื่อครบสัญญา 99 ปี อสังหาริมทรัพย์นั้นจะตกกลับไปเป็นของรัฐอีกครั้ง โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าเพื่อนำที่ดินกลับมาใช้ใหม่ และสร้างที่อยู่อาศัยให้กับชาวสิงคโปร์ในรุ่นต่อไป
สุดท้ายแล้วเจ้าของที่แท้จริงก็ยังคงเป็นรัฐบาลอยู่ดี โดยถ้านับตั้งแต่ปี 1960 ที่ HDB เริ่มก่อตั้ง จะมีบ้านที่ครบสัญญา 99 ปีครั้งแรกในปี 2059 ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังสร้างความกังวลให้กับชาวสิงคโปร์ ว่าเมื่อเวลานั้นมาถึง การต่อสัญญาเช่าจะเป็นอย่างไร
อีกข้อกำหนดก็คือ ชาวสิงคโปร์ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเองครั้งแรก ต้องมีอายุครบ 35 ปีก่อน แต่จะได้รับการยกเว้นถ้าเป็นคู่แต่งงาน ซึ่งทางรัฐบาลตั้งข้อกำหนดนี้มาเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่สร้างครอบครัว แก้ปัญหาการลดลงของประชากร
แต่ข้อกำหนดนี้ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมปัจจุบัน ที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่จำเป็นว่าต้องแต่งงานเท่านั้นแบบในอดีต
อย่างไรก็ตาม HDB ได้ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ทำให้ประชากรเลือกที่อยู่อาศัยในโครงการของรัฐเพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 1960 ที่เริ่มต้นโครงการ มาเป็นกว่า 80% ในปัจจุบัน ซึ่งมีโครงการที่อยู่อาศัยที่สร้างโดยรัฐบาลกว่า 1 ล้านยูนิตทั่วประเทศ
และนโยบายที่ทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ในราคาไม่แพงนี้ ยังทำให้สิงคโปร์มีสัดส่วนประชากรที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยกว่า 91% มากเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงประเทศโรมาเนีย
ซึ่งถ้าเทียบกับในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ทั้งสองประเทศนี้มีสัดส่วนประชากรที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยราว 63% เท่านั้น
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นโยบายนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้พรรค People’s Action Party ที่ก่อตั้งโดยคุณลี กวน ยู เป็นพรรคการเมืองเดียวที่ปกครองสิงคโปร์มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลายาวนานกว่า 62 ปี อีกด้วย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-08/behind-the-design-of-singapore-s-low-cost-housing
-https://www.economist.com/asia/2017/07/06/why-80-of-singaporeans-live-in-government-built-flats
-https://www.bbc.com/worklife/article/20181210-can-singapores-social-housing-keep-up-with-changing-times
-https://medium.com/discourse/singapores-paradoxical-housing-policy-6c3e21f8bca7
同時也有88部Youtube影片,追蹤數超過21萬的網紅Ghib Ojisan,也在其Youtube影片中提到,What happens if I told my mother in law if I'm leaving Singapore for good? I told her I wanted to discuss this before telling my wife. Will she accept...
singapore hdb 在 YuniQue Yuni Facebook 的最讚貼文
Hello!
Just roaming around Singapore with my lilac outfit and find the matching background..
Appreciating the freedom to roam around at the moment because not sure what will happen in the future.. With the recent news don’t think the world will open up very soon 🥲
Btw, isn’t this basketball court with HDB flats background remind us of housing estate in Hong Kong?
Majority (up to 80%) of Singapore's population live in public housing flats managed by HDB (Housing Development Board). HDB Flats in Singapore are sold on a 99-year lease agreement.
Owning a property in Singapore is very expensive and public housing is much cheaper altenative to own a house here, for at least 99-years..
•
•
•
•
•
#SingaporeHDB
#exploreSingapore #discoverSingapore #VisitSingapore #rediscoverSingapore #singaporeinsiders #singaporeworld #things2doinSingapore #singaporeforeveryone #Singapore #SingapoRediscovers #clozette
singapore hdb 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สิงคโปร์ ประเทศแห่ง ความเท่าเทียม ทางเชื้อชาติ / โดย ลงทุนแมน
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติมากที่สุดแห่งหนึ่ง
โดยจำนวนประชากรกว่า 5.6 ล้านคน แบ่งเป็น
เชื้อสายจีน สัดส่วน 75.9%
เชื้อสายมาเลย์ สัดส่วน 15%
เชื้อสายอินเดีย สัดส่วน 7.5%
และอื่น ๆ สัดส่วน 1.6%
ถึงแม้สิงคโปร์จะเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ชาวจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
แต่ครั้งหนึ่งในอดีต สิงคโปร์ก็เคยมีปัญหาทางด้านเชื้อชาติ
จนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวจีนและมาเลย์
แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้ถูกแก้ไขจนทำให้ทุกเชื้อชาติในประเทศมีความกลมกลืนกัน
เรื่องราวนี้มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เดิมทีดินแดนแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “เทมาเส็ก” ซึ่งมีความหมายว่าเมืองแห่งทะเล
ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 เจ้าชายจากอาณาจักรศรีวิชัย
ได้เดินทางมาล่าสัตว์ แล้วพบเห็นสัตว์ชนิดหนึ่ง เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต
จึงตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า “สิงหปุระ” ซึ่งมีความหมายในภาษาสันสกฤตว่า เมืองแห่งสิงโต
ด้วยความที่เป็นเมืองที่มีทำเลดี เป็นทางผ่านของเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ
เกาะสิงหปุระ จึงเป็นที่หมายตาของหลายอาณาจักร มีการเปลี่ยนมือของผู้ปกครองดินแดนเรื่อยมา
ทั้งอาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมะละกา มาถึงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก
ก็มีทั้งโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และจักรวรรดิอังกฤษ
ที่ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมในดินแดนแห่งนี้
ท้ายที่สุดจักรวรรดิอังกฤษก็ได้มีการเจรจากับเนเธอร์แลนด์เพื่อที่จะตกลงเขตการปกครองในภูมิภาคนี้ และได้ครอบครองอาณานิคมช่องแคบ ซึ่งประกอบไปด้วย สิงคโปร์ รัฐปีนัง และรัฐมะละกา
โดยสิงคโปร์ได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของอาณานิคมแห่งนี้ จึงมีการวางรากฐานทั้งการเมือง การศึกษา และเศรษฐกิจจากอังกฤษ ด้วยทำเลที่ดี สิงคโปร์ก็ได้เติบโตจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของภูมิภาค ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการอพยพของชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่จำนวนมากมายังเมืองท่าแห่งนี้
หลังจากที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์มีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อว่าคุณ Lee Kuan Yew
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าพรรคการเมือง People's Action Party หรือ PAP
ซึ่งได้มีการเจรจากับทางการสหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) เพื่อที่จะนำสิงคโปร์เข้าไปรวมกับสหพันธรัฐมาลายา ในปี 1963
เหตุผลที่สิงคโปร์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ก็เพราะว่าสิงคโปร์เป็นเกาะขนาดเล็ก
ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ จึงต้องพึ่งพาทรัพยากรแทบทั้งหมดจากมาเลเซีย
อีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อที่จะขยายตลาดอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ไปยังมาเลเซียด้วย
แต่ด้วยความที่ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน
ทำให้สิงคโปร์กับรัฐอื่น ๆ ในมาเลเซียที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์มีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติอย่างชัดเจน
ในขณะนั้นพรรคการเมือง United Malays National Organisation หรือ UMNO
ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ของมาเลเซีย ต้องการที่จะชิงที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรข้างมากในรัฐสิงคโปร์เพื่อที่จะควบคุมอำนาจในรัฐสิงคโปร์
แต่อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรค UMNO ของมาเลเซีย กับพรรค PAP ของสิงคโปร์ มีความแตกต่างกัน
โดยพรรค UMNO มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนความเป็นมาเลย์และศาสนาอิสลามในประเทศ
ส่วนพรรค PAP มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติและศาสนา
จึงทำให้สองพรรคการเมืองเริ่มมีความขัดแย้งกัน
โดยพรรค UMNO ร่วมมือกับพรรคพันธมิตรในรัฐสิงคโปร์เพื่อที่จะโค่นพรรค PAP
แต่สำหรับในสิงคโปร์แล้ว พรรค PAP ที่นำโดยคุณ Lee Kuan Yew สามารถคว้าชัยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ในขณะที่พรรค UMNO และพันธมิตรคว้าที่นั่งได้เพียงหยิบมือ
ทั้งสองพรรคจึงกลายเป็นพรรคขั้วตรงข้ามกันอย่างชัดเจน มีการโจมตีกันไปมาอย่างกว้างขวาง โดยมีสื่อยักษ์ใหญ่ในมาเลเซียอย่าง Utusan Melayu
ที่ถูกควบคุมโดยพรรค UMNO ทำข่าวให้ร้ายพรรค PAP อย่างต่อเนื่อง
แต่นั่นกลับเป็นการสร้างความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติขึ้นมา
ในวันที่ 21 กรกฎาคม 1964 ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ที่ทำให้ชาวมาเลย์กว่า 20,000 คน ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง สุดท้ายเหตุการณ์ก็บานปลายไปถึงขั้นมีการปะทะกันระหว่างสองเชื้อชาติ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน บาดเจ็บกว่า 400 คน จนสุดท้ายทางการรัฐสิงคโปร์ต้องออกมาตรการเคอร์ฟิวเพื่อที่จะระงับสถานการณ์ดังกล่าว
สถานการณ์เหมือนจะสงบขึ้น แต่ก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน..
นั่นคือการเสียชีวิตของชาวมาเลย์อย่างเป็นปริศนา จนทำให้ชาวมาเลย์คิดว่าเป็นฝีมือของชาวจีน ความโกรธแค้นดังกล่าวทำให้มีการปะทะกันอีกครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน บาดเจ็บ 100 คน และมีคนถูกจับกุมกว่า 1,000 คน
ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองและเชื้อชาติ ท้ายที่สุดสิงคโปร์ก็ได้ทำการแยกตัวออกจากมาเลเซีย ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965
หลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
หลังจากนั้นสิงคโปร์ก็ได้ปกครองประเทศโดยอิสระ ซึ่งนำโดยคุณ Lee Kuan Yew ที่ได้วางรากฐานด้านต่าง ๆ ให้กับสิงคโปร์
ด้วยความทรงจำที่โหดร้ายในการปะทะกันระหว่างสองเชื้อชาติ ทำให้ทางการสิงคโปร์ได้ก่อตั้งวัน Racial Harmony Day หรือ วันแห่งการปรองดองทางเชื้อชาติ
เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายในปี 1964 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย
โดยวันดังกล่าวจะตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างเชื้อชาติครั้งแรก
ทางการสิงคโปร์เดินหน้าให้ความสำคัญกับทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษา สิงคโปร์จะมีภาษาราชการมากถึง 4 ภาษา
ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
ถึงแม้ว่าประชากรหลักจะเป็นชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน แต่ทางการสิงคโปร์ก็ยังคงให้ความสำคัญกับทุกภาษา ตามเอกสารราชการสิงคโปร์หรือป้ายเตือนต่าง ๆ ก็จะมีการใช้ทั้ง 4 ภาษา
ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์เองที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีอยู่แล้ว ยังคงใช้ภาษาแม่ของเชื้อชาติตัวเองได้อีกด้วย
นอกเหนือจากภาษาแล้ว ทางการสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับวันสำคัญของเชื้อชาติต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น วันตรุษจีนของชาวจีน, วันฮารีรายอของชาวมุสลิม, วันวิสาขบูชาของชาวพุทธ,
วันทีปาวลีของชาวฮินดูและชาวซิกข์ และวันคริสต์มาสของคนที่นับถือศาสนาคริสต์
โดยที่ทุกวันจะถือเป็นวันหยุดราชการของสิงคโปร์
ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่สิงคโปร์มีขนาดประเทศที่ค่อนข้างเล็ก จึงทำให้ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในประเทศเป็นตึกสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การดูแลของ Housing and Development Board หรือ HDB ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐของสิงคโปร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์
โดย HDB จะมีการจัดสรรการอยู่อาศัยของแต่ละตึก โดยจะกำหนดว่าในแต่ละตึกอยู่อาศัยหรือชุมชนจะต้องมีการคละเชื้อชาติกันเพื่อที่จะให้คนแต่ละเชื้อชาติสามารถอยู่ด้วยกันและเป็นเพื่อนกันได้
โดยจะไม่มีการแบ่งแยกว่าตึกนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน หรืออีกตึกจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมาเลย์
ซึ่งนี่ถือเป็นนโยบายที่คาดไม่ถึงเพื่อเพิ่มความสามัคคีภายในชาติ
นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความเป็นชาติของสิงคโปร์สามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งได้อย่างลงตัว
ถึงแม้สิงคโปร์จะเป็นประเทศที่รวมไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งยังไม่รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในสิงคโปร์
แต่ด้วยการเอาใจใส่ของทางการสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติ ไม่ได้มีการแบ่งแยกหรือแบ่งชนชั้นกัน จึงทำให้ทุก ๆ คนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่เป็นแกะดำในประเทศ
นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สิงคโปร์สามารถสร้างความเจริญทางการเมืองและเศรษฐกิจได้
โดยที่มีคนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ และไม่เกี่ยงว่าจะเป็นเชื้อชาติอะไร ทุกคนจะได้รับโอกาสเท่ากันหมด
ที่น่าสนใจก็คือตำแหน่งประธานาธิบดีของสิงคโปร์ล้วนเคยเป็นคนสิงคโปร์เชื้อสายจีน มาเลย์ และอินเดียกันมาแล้ว
สุดท้ายแล้วนี่จึงเปรียบเสมือนเป็นจิกซอว์หลากสี ที่ก่อนนำมาประกอบเข้าด้วยกันจะมีความแตกต่างกัน
แต่เมื่อนำมาต่อเรียงกัน จึงทำให้เกิดภาพที่สวยงามจากการต่อจิกซอว์ที่ถูกต้องของทางการสิงคโปร์
เพราะถึงแม้เชื้อชาติจะแตกต่าง แต่ก็ไม่แตกแยกกัน ทุกคนก็คือคนสิงคโปร์ด้วยกันทั้งสิ้น
นี่ถือเป็นกรณีที่น่าสนใจ จากประเทศที่เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติมากมาย
แต่สามารถสร้างความสามัคคีของคนในชาติได้
ถ้าเราสังเกตดูลึก ๆ แล้วจะพบว่า จริง ๆ แล้วทุกคนต่างต้องการเป็นคนที่สำคัญกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเราได้รับความสำคัญจากใครคนไหน เราก็จะยินดีให้ความสำคัญกับเขาคนนั้นด้วยเช่นกัน
อย่างที่รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติ สุดท้ายแล้วประเทศสิงคโปร์ก็จะได้รับความสำคัญกลับมาเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.singstat.gov.sg/modules/infographics/population
-https://www.population.gov.sg/files/media-centre/publications/pib-2020-final.pdf
-https://www.gov.sg/article/what-are-the-racial-proportions-among-singapore-citizens
-https://www.guidemesingapore.com/business-guides/immigration/get-to-know-singapore/a-brief-history-of-singapore
-https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/singapore.pdf
-http://kruasean.kru.ac.th/ewtadmin/ewt/kru_asean/ewt_dl_link.php?nid=385&filename=index
-https://eresources.nlb.gov.sg/history/events/1dab53ea-788c-461c-acfb-ca625b974c9c#:~:text=Politically%2C%20the%20ruling%20People's%20Action,to%20secure%20its%20political%20legitimacy.&text=As%20the%20proposed%20Malaysia%20would,in%20Singapore%20would%20be%20neutralised.
-https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_45_2005-01-06.html
-https://mothership.sg/2017/07/see-the-realities-of-spores-1964-racial-riots-from-these-stories-perspectives/
-https://core.ac.uk/download/pdf/48682558.pdf
singapore hdb 在 Ghib Ojisan Youtube 的最佳解答
What happens if I told my mother in law if I'm leaving Singapore for good? I told her I wanted to discuss this before telling my wife. Will she accept it? Let's find out - through the lens of my hidden camera.
Follow me on social medias!
?Instagram https://www.instagram.com/ghibli_ojisan/
?Twitter https://twitter.com/ghibli_ojisan
?Subscribe: http://urx3.nu/HTUJ
?Watch - Perhaps the Best Meal I had in Singapore:https://youtu.be/d46br1oiYaE
?Merch Links(アパレル):
SE Asia | https://ghib-ojisan.secure-decoration.com/shop/category/T-Shirt?c=2731898
Japan | https://suzuri.jp/ghib-ojisan
USA & EU | https://teespring.com/stores/ghib-ojisan
Business Enquiries
✉️[email protected]
You are welcome to send fan mails but I may not be able to respond to all of them. But I immensely appreciate your support. Thank you!
#Singapore #prank
singapore hdb 在 Ghib Ojisan Youtube 的最佳解答
My wife and I purchased a resale HDB flat for around 500,000 Singapore dollars. It's been 2 months since we moved in, and I thought I should share some of my thoughts and opinions. How is it like living in a public housing in one of world's most expensive country?
Big thanks to Steigen for making my life easier! Book your FREE site measurement for Steigen systems here: https://bit.ly/3dFmtPZ
Quote GHIB80 to enjoy $80 off all Steigen systems. Valid until 9th July 2021.
Check out all the models from their website: https://www.steigen.com.sg/
You can also go to their showroom to check out all the models. I went down too and the staffs were knowledgeable and kind. https://goo.gl/maps/us2JqmcZkYDY3Bgp6
Chapters
00:00 Intro
00:15 I feel blessed
00:38 I learned more about the locals
01:00 Extremely convenient
01:46 Flats are spacious than Tokyo
02:20 Housework is so tedious
04:03 Insects everywhere
04:54 Not much interactions with neighbors
05:44 I learned Singapore is not THAT strict
06:22 Super convenient delivery
06:36 Abundance of greenery
07:05 Convenient public transportation
07:43 Conclusion
Follow me on social medias!
?Instagram https://www.instagram.com/ghibli_ojisan/
?Twitter https://twitter.com/ghibli_ojisan
?Subscribe: http://urx3.nu/HTUJ
?Watch - Perhaps the Best Meal I had in Singapore:https://youtu.be/d46br1oiYaE
?Merch Links(アパレル):
SE Asia | https://ghib-ojisan.secure-decoration.com/shop/category/T-Shirt?c=2731898
Japan | https://suzuri.jp/ghib-ojisan
USA & EU | https://teespring.com/stores/ghib-ojisan
Business Enquiries
✉️[email protected]
You are welcome to send fan mails but I may not be able to respond to all of them. But I immensely appreciate your support. Thank you!
#Singapore #HDB #Steigen
singapore hdb 在 Rachell Tan Youtube 的最讚貼文
This is not financial advice, but these are things we wish we knew before we bought our house, and we hope they're helpful to you as well!
This is Part 2, where we read some of the comments and direct messages which we found very helpful and gave us different options to consider.
Things we wish we knew: Before buying our house (Part 1)
https://www.youtube.com/watch?v=72OVIPX47Us
It's good to do your own research and come to your own decisions too.
You can check out the CPF website as there are a lot of helpful information there too.
It's just that previously Sean and I were very clueless so we only learned some things AFTER we bought our home haha!
To check how much CPF you need to return to your CPF Ordinary Account – and Special Account/Retirement Account and Medisave Account, if applicable – you can log in to the CPF website with your SingPass and click on My Statement - Section C: Property - My Public or Private Housing Withdrawal Details.
Other links you can read up:
Bank Loan vs HDB Loan:
https://www.singsaver.com.sg/blog/hdb-loan-vs-bank-loan
CPF interest rates:
https://www.cpf.gov.sg/Members/AboutUs/about-us-info/cpf-interest-rates
Lease Buyback Scheme:
https://www.hdb.gov.sg/residential/living-in-an-hdb-flat/for-our-seniors/monetising-your-flat-for-retirement/lease-buyback-scheme
HDB Sales Proceeds Calculator:
https://homes.hdb.gov.sg/home/calculator/sale-proceeds
How to get $1 Million at 65 years old by CPF:
https://blog.seedly.sg/1m65-1-million-by-65-cpf/
________________________
Feel free to leave us any questions at the comment section.
Thank you for watching!
For sponsorship, product reviews, and collaboration, you can email us here:
pxdkitty@gmail.com
Follow us on Instagram: https://instagram.com/pxdkitty
Our online store:
https://www.pixiepax.sg/