ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล
แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย
แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”
Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931
แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
- สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
- สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง
แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ
หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง
แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980
บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4
ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง
หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์
แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง
เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี
ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี
ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก
แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง
และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย
จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”
แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ
แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง
แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น
โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก
โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย
จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน
ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
2. ความไม่ยอมแพ้
แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ
จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
-https://www.longtunman.com/27349
-https://www.longtunman.com/27702
-https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
-https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
-https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
-https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
-https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「texas instruments wiki」的推薦目錄:
texas instruments wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
รู้จัก Sequoia เจ้าพ่อ VC ที่สตาร์ตอัปทุกราย อยากเข้าหา /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทจัดการลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หลายคนคงนึกถึง Berkshire Hathaway ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์
หรือ Bridgewater Associates ของผู้จัดการกองทุน Hedge Fund อย่าง เรย์ ดาลิโอ
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกบริษัทที่ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี หรือสตาร์ตอัป คือบริษัทที่ชื่อว่า “Sequoia Capital”
Sequoia Capital เป็นหนึ่งในผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทระดับโลกมากมาย เช่น Google, YouTube, Instagram, Cisco, PayPal และ Airbnb ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของบริษัท จนมีส่วนสำคัญให้บริษัทเหล่านี้ สามารถเติบโตจนยิ่งใหญ่ได้ในแบบทุกวันนี้
และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือชายที่ชื่อว่า “Donald Thomas Valentine”
เขาคือผู้ก่อตั้ง Sequoia Capital ซึ่งช่วยผลักดันเหล่าบริษัทเทคโนโลยี ให้กลายเป็นยักษ์ตัวใหญ่ จนเขาได้รับฉายาว่าเป็น “หนึ่งในผู้สร้าง Silicon Valley” เลยทีเดียว..
เส้นทางของ Donald Valentine ในโลกการลงทุน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของ Sequoia Capital มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Donald Thomas Valentine หรือ Don Valentine เกิดที่รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1932
เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Fordham ในสาขาวิชาเคมี
ก่อนที่จะย้ายไปแคลิฟอร์เนีย ในช่วงปี ค.ศ. 1950 เพื่อเข้าทำงานที่ Raytheon Company หนึ่งในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งกำลังเติบโตได้ดีในช่วงนั้น
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน คุณ Don เริ่มทำงานจากการเป็นวิศวกรฝ่ายขาย
จากนั้นช่วงปี ค.ศ. 1960 เขาได้ย้ายไปทำงานที่ Fairchild Semiconductor ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ระดับโลกทั้งหลายในปัจจุบัน เช่น Intel, AMD จากการที่ผู้บริหารของบริษัท แยกตัวออกมาก่อตั้งบริษัทเองในภายหลัง
คุณ Don เขาได้สร้างผลงานที่โดดเด่น อย่างตอนที่ทำงานอยู่ที่ Fairchild Semiconductor ก็ได้สร้างทีมขายที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ด้วยความที่บริษัท Fairchild Semiconductor มีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่แล้ว เช่น Gordon Moore ผู้ก่อตั้งบริษัท Intel บวกกับความสามารถในการขายของคุณ Don ทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ ปี
จนในปี ค.ศ. 1966 บริษัทมียอดขายในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา เป็นรองเพียง Texas Instruments เท่านั้น
หลังจากทำงานที่ Fairchild Semiconductor ได้ 7 ปี เขาก็ย้ายงานออกมาทำงานที่ National Semiconductor ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายและการตลาด
แม้จะเชี่ยวชาญในเรื่องการขายและการทำการตลาด
แต่ด้วยความที่ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยี ได้คลุกคลีกับวงการธุรกิจนี้มานาน ทำให้เขาเริ่มเข้าใจว่า บริษัทเทคโนโลยีแบบไหนที่คาดว่าจะเติบโตได้ดี และดูมีอนาคต
นั่นทำให้อีกสิ่งหนึ่งที่คุณ Don ชอบและทำควบคู่กันมาตลอด คือการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ซึ่งในระหว่างทำงานที่ National Semiconductor เขามีหน้าที่ ในการอธิบายการบริหารธุรกิจในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์ให้กับผู้ลงทุนและบริษัทจัดการการลงทุนต่าง ๆ
นั่นทำให้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ ความเข้าใจในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และความเข้าใจในธุรกิจเทคโนโลยี เป็นที่รู้จักของบริษัทและผู้จัดการกองทุนมากมาย
จนวันหนึ่งความสามารถในการขาย วิเคราะห์ และการลงทุนของเขาก็ไปสะดุดตาของ Capital Group หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน การลงทุน ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถือเป็นผู้เบิกทางให้กับคุณ Don เลยก็ว่าได้
Capital Group ได้ยื่นข้อเสนอให้คุณ Don มาร่วมบริหารจัดการเงินลงทุน โดยทาง Capital Group จะเป็นผู้ช่วยจัดการในการก่อตั้ง และระดมทุนให้ในช่วงแรก
นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณ Don สามารถก่อตั้ง Sequoia Capital ขึ้นมาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1972
โดยมี Capital Group เป็นผู้ให้เงินทุนก้อนแรกกับคุณ Don เป็นมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1974
คุณ Don เคยบอกไว้ว่า เขาเลือกใช้ชื่อ Sequoia Capital
ตามชื่อของต้น “Sequoia” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมีความสูงได้มากถึง 85 เมตร
โดยเขาต้องการให้กองทุนของเขายิ่งใหญ่เปรียบเสมือนต้น Sequoia
การลงทุนครั้งแรกของ Sequoia Capital เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1975 เป็นการลงทุนในบริษัท Atari ซึ่ง Atari เป็นบริษัทแรก ๆ ที่บุกเบิกวิดีโอเกม เครื่องเล่มเกม และเกมคอมพิวเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1976 Atari ถูกขายให้กับ Warner Communications ดีลนี้มีมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าทำกำไรให้ Sequoia Capital ได้มาก
และนับว่าเป็นการลงทุนครั้งแรก ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จเลยทีเดียว สำหรับ Sequoia Capital
การลงทุนในครั้งนั้น ยังทำให้เขาได้พบกับ สตีฟ จอบส์ ซึ่งในเวลานั้นทำงานอยู่ที่ Atari เป็นเหตุให้คุณ Don ได้เข้าลงทุนกับ Apple ในปี ค.ศ. 1978 ด้วยเงินจำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งในตอนนั้น การลงทุนในบริษัท Apple ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจาก Apple เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 2 ปี และยังไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากอย่างทุกวันนี้
แต่การลงทุนใน Apple ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรนัก เนื่องจาก Sequoia Capital ได้ถอนการลงทุนจาก Apple ในปี ค.ศ. 1979
แต่หลังจาก Sequoia Capital ถอนเงินลงทุนได้เพียงปีเดียว สตีฟ จอบส์ ก็สามารถพา Apple เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้สำเร็จ..
แม้คุณ Don จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนมหาศาลจาก Apple
แต่หลังจากนั้น เขาก็ยังคงมองหาบริษัทที่มีไอเดียที่ดี เพื่อเข้าลงทุนต่ออย่างต่อเนื่อง
จน Sequoia Capital มีผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการลงทุนครั้งสำคัญ เช่น
Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ที่เน้นการขายซอฟต์แวร์ อย่างเช่น โปรแกรมดูแลความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และระบบคลาวด์
โดย Sequoia Capital เข้าลงทุนใน Cisco Systems เป็นเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่ Cisco ก่อตั้งได้เพียง 3 ปี หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา Cisco ก็สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Sequoia Capital ส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาของ Michael Moritz ในปี ค.ศ. 1986 และ Douglas Leone ในปี ค.ศ. 1988
ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเลือกบริษัทที่ Sequoia Capital จะเข้าไปลงทุน
ตัวอย่างผลงานที่ทั้งสองคนมีส่วนในการตัดสินใจ เช่น
YouTube ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากครั้งหนึ่งของ Sequoia Capital
ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2005 Sequoia Capital เข้าลงทุนใน YouTube เป็นเงินประมาณ 462 ล้านบาท โดยแลกกับหุ้น 30%
และต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2006 YouTube ก็ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Google ซึ่งดีลนี้มีมูลค่าราว ๆ 54,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าคูณตามสัดส่วน มูลค่าหุ้นที่ Sequoia Capital ขาย ก็น่าจะอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ทั้ง Michael Moritz และ Douglas Leone ที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น
ทำให้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1990 คุณ Don จึงได้ส่งไม้ต่อให้ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและบริหารบริษัทต่อจากเขา
นอกจาก YouTube แล้ว Sequoia Capital ยังเป็นผู้ลงทุนในบริษัทที่เรารู้จักกันดีอีกหลายแห่งตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Instagram, PayPal, Electronic Arts และ LinkedIn
ด้วยความสำเร็จมากมายจากการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปทั้งหลาย
ปัจจุบัน Sequoia Capital ถือเป็นหนึ่งใน Venture Capital
ที่บรรดาสตาร์ตอัปต่างเข้าหา และต้องการเงินทุนสนับสนุนจากพวกเขามากที่สุด
พูดได้ว่า หากเปิดดูข้อมูลการระดมทุนของบริษัทไหน แล้วเจอชื่อของ Sequoia Capital เข้าไปลงทุน
ก็จะเสมือนเป็นเครื่องหมายการันตีว่า สตาร์ตอัปนั้นมีอนาคตแน่นอน
และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่จะเข้ามาให้เงินสนับสนุนกับบริษัท ในระยะถัดไป
ตัวอย่างสตาร์ตอัป ที่ Sequoia Capital เข้าลงทุนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เช่น
- Airbnb แพลตฟอร์มจองและแชร์ที่พักที่มีเครือข่ายทั่วโลก
- DoorDash แพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรี เจ้าใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
- Snowflake บริษัทให้บริการเกี่ยวกับคลังข้อมูล และบริการ Cloud Computing
- Unity บริษัทเจ้าของเกมเอนจิน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับสร้างเกม โดยมีตัวอย่างเกมที่สร้างโดยตัวแพลตฟอร์มนี้ เช่น Among Us, RoV
นอกจากการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาแล้ว
ปัจจุบัน Sequoia Capital ยังมีกองทุนที่เปิดให้บริการนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาด้วย ได้แก่
- Sequoia Capital China เน้นการลงทุนในประเทศจีน
- Sequoia Capital India เน้นการลงทุนในประเทศอินเดีย และโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Sequoia Capital Israel เน้นการลงทุนในประเทศอิสราเอล
ซึ่งปัจจุบัน หากนับรวมมูลค่าบริษัทที่ Sequoia Capital เข้าไปร่วมลงทุนทั้งหมด จะมีมูลค่าบริษัทรวมกันคิดเป็นทั้งหมด 107 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ถึงแม้คุณ Don Valentine จะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2019
แต่ในวันนี้ต้น Sequoia ที่เขาปลูกไว้เมื่อ 49 ปีก่อน
ก็ได้เติบโตเป็นต้น Sequoia ที่ยิ่งใหญ่ ตามที่เขาตั้งใจไว้
และต้นไม้ต้นนี้ ก็ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่มีส่วนให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ได้แจ้งเกิดและยิ่งใหญ่ขึ้นมา อย่างนับไม่ถ้วน นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sequoiacap.com/article/remembering-don-valentine/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.blockdit.com/posts/60218f26a95fa30bb4f78b89
-https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Valentine
-https://www.sequoiacap.com/company-story/cisco-story/
-https://www.longtunman.com/30858 -https://www.investopedia.com/articles/markets/113015/if-you-had-invested-right-after-ciscos-ipo.asp
-https://www.nytimes.com/2006/10/10/technology/10payday.html
-https://www.blockdit.com/posts/5eaa58139939070cacce1f93
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fairchild_Semiconductor
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.quora.com/How-much-venture-capital-did-Apple-Computer-initially-raise
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_India-VWKKEBE
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_China-4NAE99X
-https://www.crunchbase.com/organization/sequoia-capital-israel
-https://www.sequoiacap.com/companies/
-https://pitchbook.com/news/articles/don-valentine-longtime-lion-of-silicon-valley-dies-at-87
-https://digitalassets.lib.berkeley.edu/roho/ucb/text/valentine_donald.pdf
texas instruments wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
“ลิซ่า ซู” ผู้พลิก AMD ให้มูลค่าบริษัทโต 53 เท่า ใน 7 ปี /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดจอ
หลายคนคงนึกถึงบริษัท Nvidia ขึ้นมาเป็นอันดับแรก
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน
ชื่อว่า Advanced Micro Devices หรือ AMD
ที่ตอนนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตการ์ดจอที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่นกัน
แต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ AMD ผ่านอุปสรรคมาเยอะพอสมควร
และเมื่อ 7 ปีก่อนบริษัทแห่งนี้มีมูลค่าเพียง 56,000 ล้านบาท
แต่ภายหลังจาก “ลิซ่า ซู” ขึ้นแท่นมาเป็น CEO ของบริษัท
เธอก็ได้ทำให้ AMD กลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จนปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 3 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี
เธอคนนี้ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบัน Advanced Micro Devices หรือ AMD เป็นบริษัทที่พัฒนาชิปประมวลผล, การ์ดจอ
โดยมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมให้กับนักเล่นเกมไปจนถึงธุรกิจองค์กร
โดยองค์กรที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น Google, Amazon, Microsoft, Tencent และ Oracle
แต่หากเราย้อนกลับไปในช่วงปี 2012 ถึง 2015
บริษัท AMD ประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนติดต่อกันถึง 4 ปี
นั่นจึงทำให้ในปี 2014 มูลค่าบริษัท AMD เหลือเพียง 56,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นหุ้นร่วงลงกว่า 40% ในปีเดียว
ย้อนกลับไป หลายคนก็น่าจะคาดการณ์กันว่า AMD น่าจะกลับเข้ามาแข่งขันได้ยาก
เพราะทั้งไม่เติบโตแถมยังขาดทุนต่อเนื่อง
แต่ ลิซ่า ซู ผู้บริหารที่เข้ามารับไม้ต่อขึ้นแท่น CEO กลับไม่ได้คิดแบบนั้น
แล้วเธอคือใคร ?
ลิซ่า ซู เป็นชาวอเมริกัน เชื้อสายไต้หวัน
เธอเกิดที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน
แต่ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเธออายุ 51 ปี
เธอจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT
หลังจากจบการศึกษา เธอได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Texas Instruments, IBM, Freescale Semiconductor
แน่นอนว่าทุกงานล้วนเกี่ยวกับชิปเซต
จนกระทั่งในปี 2012 เธอได้เข้ามารับตำแหน่งรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ AMD
แต่พอบริษัทเข้าสู่ยุคตกต่ำ เธอก็ได้รับเลือกขึ้นมารับตำแหน่ง CEO เพื่อพลิกวิกฤติตั้งแต่ปี 2014
แม้ในช่วงแรกผลดำเนินงานของ AMD จะยังคงแย่อยู่ แต่ผ่านไปเพียง 3 ปี หรือในปี 2017
เธอก็ได้ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกลับมาเป็นบวกได้ครั้งแรกในรอบ 6 ปี
สิ่งที่เธอเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ มี 2 อย่าง
- การปรับโครงสร้างทางด้านค่าใช้จ่าย
- การหาจุดโฟกัสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต
และในปีเดียวกันนั้นเอง AMD ก็ได้เปิดตัว “Zen Architecture”
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าคืนชีพบริษัทแห่งนี้ให้กลับเข้ามาแข่งขันได้อีกครั้ง
Zen Architecture เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท AMD ที่ใส่เข้าไปในชิปประมวลผล
หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า CPU
เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ทำให้ตัวชิปประมวลผลของทางบริษัท
มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับชิปของ Intel ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญ
นอกจากนั้น AMD ยังได้พัฒนาชิปประมวลผล EPYC อ่านว่า อี-พิก
ซึ่งถือเป็นชิปเซตเพื่อใช้สำหรับการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ
และมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นบริษัทที่ให้บริการคลาวด์
ตัวอย่างสินค้าหรือบริการที่เรารู้จักกันดีอย่างเช่น AWS, Google Cloud หรือ Alibaba Cloud เองก็เลือกผลิตภัณฑ์ AMD EPYC ของทางบริษัท เช่นกัน
หรือแม้แต่คู่แข่งตลอดกาลในวงการคอนโซลเกม Playstation 5 และ XBOX series X/S ล้วนแล้วแต่ใช้ทั้งซีพียูและการ์ดจอของ AMD ทั้งคู่
ในขณะที่ฟากธุรกิจการ์ดจอ ทางบริษัทก็มีแบรนด์ Radeon และ Radeon PRO
ที่เป็นคู่แข่งกับ GeForce ของบริษัท Nvidia ที่กำลังอยู่ในเมกะเทรนด์
ทั้งในเชิงของวงการเกมมิงและการนำไปประมวลผลคริปโทเคอร์เรนซี
นอกจากจะเปิดตัวสินค้าตัวใหม่แล้ว อีกสิ่งสำคัญที่เธอทำก็คือ
การประกาศ Roadmap ที่ชัดเจนของตัวสินค้าในอนาคต
เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่หายไปตั้งแต่ขาดทุนหนัก ให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา AMD ภายใต้การบริหารของลิซ่า ซู
ก็สามารถทำได้ดีตามที่เคยประกาศเอาไว้อย่างไม่มีปัญหา
จนสินค้าของบริษัทก็ได้กลับมาแย่งส่วนแบ่งเจ้าตลาดได้สำเร็จ
จากปี 2014 ที่ส่วนแบ่งธุรกิจ CPU เป็นของ Intel 75% และ AMD 25%
ปัจจุบันกลายมาเป็น Intel 60% และ AMD 40%
ถึงขนาดที่ว่าในปี 2020 ทางบริษัทคู่แข่งอย่าง Intel ถึงกับออกมา
ยอมรับว่าตัว CPU ของทางบริษัทตามหลังคู่แข่งอย่าง AMD เลยทีเดียว
ทีนี้ เราลองมาเปรียบเทียบผลประกอบการระหว่าง
ปีก่อนและหลังจากที่ ลิซ่า ซู เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO
ปี 2014 รายได้ 171,787 ล้านบาท ขาดทุน 12,573 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 304,605 ล้านบาท กำไร 77,688 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่เพียงแต่สร้างการเติบโตเป็นเท่าตัว
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ยังทำให้บริษัทพลิกกลับมากำไรมหาศาล
จุดนี้ ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นคิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
หมายความว่าหากเรานำเงินไปลงทุนกับ AMD ในวันที่ ลิซ่า ซู เข้ามาเป็นผู้บริหาร 10,000 บาท
วันนี้ เงินก้อนนั้นจะมีมูลค่ามากถึง 530,000 บาท เลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรกับเรา ?
ในมุมของผู้บริหารธุรกิจ
หากเราคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว
ในบางครั้ง เราก็ต้องกล้าตัดสินใจและทำทันที โดยอาจจะเริ่มจากการดูจุดแข็งของเรา
ว่าเรามีอะไร ตลาดต้องการอะไร และลงมือทำ
อย่างในกรณีของ AMD ที่ได้คิดค้น “Zen Architecture” ขึ้นมา
ในเชิงของบริษัท
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ลิซ่า ซู เป็นลูกหม้อที่ทำงานในบริษัทอยู่แล้ว
หากบริษัทจำเป็นที่จะต้องเลือกผู้นำในยามวิกฤติ
การมองหาพนักงานที่มีศักยภาพภายในบริษัท
ก็อาจจะเป็นอีกตัวเลือกที่ดี ไม่แพ้การไปว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพจากบริษัทอื่น
ในเชิงของ CEO และมูลค่ากิจการ
จริงอยู่ว่าผู้บริหารสามารถประกาศอะไรต่อสาธารณะก็ได้
ตั้งแต่ Roadmap ที่สวยหรูไปจนถึงการคาดการณ์ผลประกอบการที่โตระเบิด
สิ่งสำคัญที่สุด มันจะไม่ใช่ทั้งคำจินตนาการถึงอนาคตและตัวเลขที่จำลองขึ้นมา
แต่เป็นผลลัพธ์ที่ “ทำได้จริง” ซึ่งมันส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งตัวผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุน เหมือนอย่างที่ คุณลิซ่า ซู ทำกับ AMD ได้สำเร็จ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Advanced_Micro_Devices
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lisa_Su
-https://www.cpubenchmark.net/market_share.html
-https://edition.cnn.com/2020/03/27/tech/lisa-su-amd-risk-takers/index.html
-AMD annual report 2012,2014,2020
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:amd/factsheet