สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US
ลงทุนแมน x BBLAM
ถ้าพูดถึงตลาดการลงทุน ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็แน่นอนว่าต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา”
ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนแบบนี้
คนที่สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็ยิ่งต้องติดตามหลายประเด็นในโลกการลงทุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมไปถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่าง ๆ
อังคารที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จากกองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อเรื่อง “สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US”
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เป็นอย่างไร
แล้วลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา เราต้องดูอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
มาเริ่มกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา
บรรดาประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดูจะรับมือกับโควิด 19 ได้ดี ด้วยความพร้อมเรื่องวัคซีน และความพร้อมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ดี
สำหรับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดี เนื่องมาจากมีการอัดฉีดทั้งในนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบจัดหนัก
ในไตรมาส 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.7% ส่วนการนำเข้า-ส่งออกสุทธินั้นติดลบ ซึ่งหักลบกันแล้ว GDP ไตรมาส 2 สหรัฐอเมริกา เติบโต 6.5% ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตาม GDP ในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา อาจจะชะลอความร้อนแรงในการเติบโตลง
โดยมี 3 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่
1. โควิด 19 สายพันธุ์ Delta ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
2. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) น่าจะเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินมากขึ้น
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คำถามสำคัญก็คือ จบปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าอ้างอิงจากการประมาณการล่าสุดของ IMF เมื่อ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา IMF คงประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเติบโต 6% เช่นเดียวกับการประเมินครั้งก่อนหน้า
แต่ที่น่าสนใจก็คือ IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐอเมริกา จะเติบโตในอัตราสูงขึ้น จากเดิมที่ 6-6.5% มาเป็น 7% ขณะที่ฝั่งเอเชียหลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน โดนปรับลดประมาณการการเติบโตลง
สาเหตุเพราะ IMF มองว่าสหรัฐอเมริกาควบคุมโควิด 19 ได้ดีขึ้น และสภาคองเกรสสามารถอนุมัตินโยบายสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว
เราเห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก และตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาช่วงที่ผ่านมากันแล้ว
คำถามสำคัญสำหรับผู้สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือ
ในมุมของการลงทุน เรามองแค่ GDP ได้หรือไม่ ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่าง GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 ที่ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่างทิศทางกัน ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น
ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เป็นแบบนี้ ก็มาจากปัจจุบันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีครองสัดส่วนใน S&P 500 เกือบ 30% แต่เทียบกับ GDP กลุ่มเทคโนโลยีมีสัดส่วนใน GDP ประมาณ 6% เท่านั้น
นอกจากนั้นกลุ่มการแพทย์ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักมากรองลงจากกลุ่มเทคโนโลยี ในดัชนี S&P 500 ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมูลค่าที่สูงนักใน GDP ของสหรัฐอเมริกา เพราะ GDP ของสหรัฐอเมริกาถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักของกลุ่มการเงิน
เพราะฉะนั้น สรุปคือ GDP อาจไม่สามารถอธิบายตลาดหุ้นได้เสียทีเดียว หรืออธิบายไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำหนักหรือสัดส่วนของเซกเตอร์ใน GDP กับตลาดหุ้น มีความแตกต่างกัน
คำถามต่อมาก็คือ เมื่อดูเพียง GDP ไม่ได้ แล้วต้องดูอะไรบ้าง ?
ก็จะมี สัญญาณสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา “4 ตัว” ซึ่งเราสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ก็คือ
1. นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED
หลังเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ปี 2008 ก็มีการเปลี่ยนประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FED บ่อยขึ้น ทำให้เริ่มเห็นว่าท่าทีของนโยบายการเงิน มีเรื่องของปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากวิกฤติปี 2008 คือนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา มีความสุดโต่งขึ้นมาก มีการทำ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนัก จนสภาพคล่องล้นเข้ามาอยู่ในตลาดทุน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมนักลงทุนควรติดตามนโยบายของ FED ว่าจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยตอนไหน และจะเพิ่มหรือชะลอการอัดฉีดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ช่วงไหนบ้าง
2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา
ปกติแล้ว FED จะพยายามคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 2%
แต่ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มสูงมาก จากการที่คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันหลังเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งประธาน FED ก็ชี้แจงว่า เงินเฟ้อที่ดีดสูงในช่วงนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น และเป็น “เรื่องชั่วคราว” ที่ต้องปล่อยให้เกิดไป เพราะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่มาจากความอัดอั้นของการบริโภคช่วงก่อนหน้านี้
3. ตัวเลขอัตราการว่างงาน และการจ้างงาน
ตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน ถือเป็น Lagging Indicator หรือก็คือ “ตัวชี้วัดตาม” ที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ขยายตัวได้ดีจริง ๆ แล้วหรือยัง
โดย FED ต้องการให้ตัวชี้วัดนี้ ฟื้นตัวให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องปรับดอกเบี้ยขึ้น
ตัวเลขที่น่าสนใจติดตามคือ U.S. Nonfarm Payrolls หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ที่จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน
สำหรับตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา U.S. Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้นมา 9 แสนกว่าตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์
ถ้าฟื้นตัวในอัตราเท่านี้ต่อไป ก็คาดว่าในอีก 8-10 เดือน การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19
เมื่อการจ้างงานกลับไปที่เดิม เราจะเริ่มเห็นอะไร ? เราก็อาจจะเริ่มเห็นการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ
ดังนั้นหลังจากนี้ ก็ต้องจับตาว่า FED จะเริ่มให้ความชัดเจนเรื่องปรับนโยบายการเงินในช่วงไหน ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ FED อาจต้องเริ่มพูดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การทำ QE Tapering หรือที่แปลว่าการชะลอหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้แปลว่าต้องลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในทันที
เพราะคำว่า Tapering หมายความถึงการ “คงระดับ” การอัดฉีดไว้ ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้เช่นกัน
และถ้าเราลองเปิดดูข้อมูลย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา กว่าที่ FED จะเริ่ม “ลด” การอัดฉีดสภาพคล่องลง ก็จะต้องรอให้อัตราดอกเบี้ยค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไประยะหนึ่งก่อน
สรุปคือ กว่าที่ FED จะทำการ “ลดการอัดฉีด” เงินเข้าสู่ระบบนั้น มันก็มีขั้นมีตอนในการทำ และต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่ทำได้ในทันทีที่ประกาศ
ตลาดหุ้นก็อาจจะตอบสนองไปก่อนแน่นอน หลังจากรู้สัญญาณการปรับนโยบายของ FED
อีกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องการจ้างงานก็คือ
ถ้า Supply ของแรงงานปรับตัวไม่ทันความต้องการของตลาด เช่น ทักษะแรงงานไม่เหมาะสมกับความต้องการของนายจ้าง แรงงานอาจเติมเต็มในระบบได้ช้าลง ตัวเลขการว่างงานอาจจะสูงต่อไปอีกระยะ
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีประเด็นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือทำ QE Tapering ก็อาจขยับเวลาออกไปก่อน เพราะนโยบายการเงินที่ดี ควรรอให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ขยายตัวให้ครบก่อน
4. ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ในแต่ละนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎร (House) และ วุฒิสภา (Senate)
ซึ่งนโยบายล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติไปก็คือ The American Rescue Plan Act นโยบายต่อสู้กับวิกฤติโควิด 19 ที่มีงบประมาณกว่า 63 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนโยบายอีกหลายตัวของฝั่งรัฐบาลไบเดนที่น่าจับตามอง
ก็คือ United States Innovation and Competition Act ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแข่งขันของประเทศโดยจะเน้นไปที่ กลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์
และอีก 2 นโยบาย ที่กำลังผลักดันก็คือ Infrastructure Investment and Jobs Act ที่สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากทางฝั่งวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว และ American Family Act ที่สนับสนุนด้านการศึกษา ที่กำลังรอการพิจารณาต่อไป
ซึ่งหากนโยบายทั้ง 3 นี้ผ่านหมด จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มก่อสร้าง
และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมย่อย ที่จะได้รับผลประโยชน์ และจะสามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงานได้อีกมาก จากนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้
ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นการสรุปภาพรวม 4 สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่เราควรต้องติดตามกันก็คือ
- นโยบายการเงินของ FED
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขอัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงาน
- ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ท่ามกลางวิกฤติทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วก็คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 สัญญาณสำคัญนี้ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป..
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅志祺七七 X 圖文不符,也在其Youtube影片中提到,#記得打開CC字幕 #2020 #選舉 ✔︎ 成為志祺七七會員:http://bit.ly/join_shasha77 ✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe ✔︎ 追蹤志祺 の IG :https://www.instagram.com/shas...
u.s. senate 在 Facebook 的最佳解答
11 สิงหาคม ถูกประกาศเป็น วันฮิฟฮอฟ อย่างเป็นทางการ
August 11 is officially recognized as “Hip Hop Celebration Day.” By unanimous consent, the U.S. Senate passed Senate Resolution 331, designating the date hip hop was born at the DJ Kool Herc-hosted back-to-school party in the Bronx as a national holiday
u.s. senate 在 Facebook 的精選貼文
August 11 is officially recognized as “Hip Hop Celebration Day.” By unanimous consent, the U.S. Senate passed Senate Resolution 331, designating the date hip hop was born at the DJ Kool Herc-hosted back-to-school party in the Bronx as a national holiday
เพลงนี้คือเพลงแรกที่ผมหัดลองRapบนInstrumental
ตอนนั้นยังไม่เคยเขียนRhyme ใช้เปิดMagazineแล้วอ่านตามเป็นจังหวะเอา
สมัยยังเรียนกันอยู่ที่ NZ
#HendersonHigh #AYM #HipHop4Life
u.s. senate 在 志祺七七 X 圖文不符 Youtube 的最佳貼文
#記得打開CC字幕 #2020 #選舉
✔︎ 成為志祺七七會員:http://bit.ly/join_shasha77
✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe
✔︎ 追蹤志祺 の IG :https://www.instagram.com/shasha77.daily
✔︎ 志祺七七 の 粉專 :http://bit.ly/shasha77_fb"
各節重點:
01:02 什麼是負面競選?
01:39 負面競選有哪些招式?
02:25 那些年的負面競選~
04:06 美國怎麼做負面競選?
05:02 負面競選真的有效嗎?
06:58 我們的觀點
08:04 提問
08:23 掰比~別忘了訂閱!
【 製作團隊 】
|企劃:+🐟
|腳本:+🐟
|剪輯後製:Pookie
|剪輯助理:絲繡 & 范范
|演出:志祺
——
【 本集參考資料 】
→ (北市)柯嗆蔡酸韓 議員質疑打負面選戰:https://bit.ly/2y5Zyry
→ 政黨認同、負面資訊的競爭與選民投票抉擇:2010年五都選舉的實證研究〉:https://bit.ly/2B3OxsT
→ Effectiveness of Negative Campaigning in U.S. Senate Elections:https://bit.ly/2LCMZwM
→ 負面競選對2002 年高雄市選情影響的探討 - 東吳大學:https://bit.ly/2Gktsgf
→ 電視政治廣告策略之研究─第二屆國大代表競選期間政黨電視廣告之內容分析。:https://bit.ly/2SDvVaA
→ 負面競選廣告:1996-2004 年台灣與美國總統大選之分析:https://bit.ly/2Z1Hjzj
→ 負面競選對 2002 年高雄市選情影響的探討:https://bit.ly/2Gktsgf
→ 美國總統大選啟示:政治抹黑的「烏賊戰」源於兩黨獨大:https://bit.ly/32V8gXU
→ 總統大選負面新聞與第三人效果:https://bit.ly/2Ye5gSZ
→ 選舉心理學:選前抹黑,有用嗎?:https://bit.ly/2Yc26yK
→ 負面選戰其實很有用?因為它成功讓你對選舉感到厭煩了:https://bit.ly/30T4ZXb
→ 2016年的政治環境為何如此充滿對立:https://bbc.in/2Sv7H2a"
\每週7天,每天7點,每次7分鐘,和我們一起了解更多有趣的生活議題吧!/
🥁七七仔們如果想寄東西關懷七七團隊與志祺,傳送門如下:
106台北市大安區羅斯福路二段111號8樓
如有業務需求,請洽:hi@simpleinfo.cc
u.s. senate 在 United States Senate - Wikipedia 的相關結果
The United States Senate is the upper chamber of the United States Congress, with the House of Representatives being the lower chamber. ... <看更多>
u.s. senate 在 United States Senate | Definition, History, & Facts | Britannica 的相關結果
United States Senate, one of the two houses of the legislature (Congress) of the United States, established in 1789 under the Constitution. ... <看更多>
u.s. senate 在 U.S. Senate 的相關結果
United States Senate Logo ... proceed to executive session to resume consideration of the nomination Samantha D. Elliott, ... Recent Senate Roll Call Votes. ... <看更多>