กรณีศึกษา การทรานส์ฟอร์ม วัดเส้าหลิน สู่ธุรกิจท่องเที่ยว
วัดเส้าหลิน ที่โด่งดังไปทั่วโลก ปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่สำคัญทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆ จนมีแผนใกล้ IPO อีกด้วย ปัจจุบันวัดเส้าหลินประกอบธุรกิจอะไรบ้าง ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
-------------------
8.8 นี้ อย่าลืมเปิด Radars Point ก่อนช้อป
.
ได้ Point คืนไปลงทุนง่าย ๆ ในบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เช่น PTTOR, Apple, Amazon, Facebook ใครจะไปรู้ในอนาคตอาจมีแผนลงทุนในวัดเส้าหลินก็ได้
.
พิเศษ! สำหรับแฟนเพจลงทุนแมน และเป็นผู้ใช้ใหม่ กรอกโค้ดลับ "1000M" รับฟรี 8 Point นำไปลองลงทุนกันฟรี ๆ ได้เลย
.
ดาวน์โหลดที่นี่ > https://radarspoint.page.link/longtunman
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://blog.radarspoint.com/radars-point
.
#RadarsPoint
#ลงทุนง่ายๆไม่ต้องใช้เงิน
「กรณีศึกษา amazon」的推薦目錄:
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน - กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่... 的評價
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน - กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่ ของคน ... 的評價
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 กรณีศึกษา ธุรกิจ Cafe Amazon - YouTube 的評價
- 關於กรณีศึกษา amazon 在 Amazon Drive | Driving, Amazon, Inbox screenshot - Pinterest 的評價
กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา ดีลซื้อกิจการ ครั้งใหญ่สุดของ Apple /โดย ลงทุนแมน
หากเราพูดถึงดีลการซื้อกิจการระดับแสนล้าน ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในโลก
Microsoft ซื้อแพลตฟอร์มจัดหางาน LinkedIn 8.3 แสนล้านบาท
Facebook ซื้อแอปพลิเคชันแช็ต WhatsApp 6.1 แสนล้านบาท
Amazon ซื้อค้าปลีกรายใหญ่ Whole Foods Market 4.4 แสนล้านบาท
Google ซื้อกิจการ Motorola Mobility 4.0 แสนล้านบาท
ดีลธุรกิจระดับแสนล้านที่กล่าวมา ล้วนกลายเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาเติมเต็มบริษัทเทคโนโลยี
ให้มีประสิทธิภาพและมีบริการที่ครอบคลุมขึ้น
แต่ในรายชื่อที่ว่ามานี้ ยังไม่มีชื่อของ Apple บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
ที่มีมูลค่าบริษัท 71.2 ล้านล้านบาท นั่นก็เพราะว่ากิจการที่บริษัท
ซื้อเข้ามาแพงที่สุดกลับมีมูลค่าไม่แพงมากนัก
โดยบริษัทที่ว่านั้น Apple ได้เข้าซื้อกิจการไปตั้งแต่ปี 2014 หรือราว 7 ปีก่อน
ด้วยมูลค่าเพียง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 9.5 หมื่นล้านบาท
แล้วบริษัทแห่งนั้น คือบริษัทอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การเข้าซื้อกิจการที่มีมูลค่าสูงสุดของ Apple คือ บริษัทผลิตหูฟังที่มีชื่อว่า “Beats Electronics”
Beats Electronics เป็นบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องเสียง
โดยผลิตภัณฑ์หลัก คือหูฟังและลำโพง
ซึ่งปัจจุบันดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้บริษัท Apple เป็นที่เรียบร้อย
Beats หรือ Beats by Dr. Dre มีที่มาจากแรปเปอร์ชาวอเมริกัน Andre Romelle Young
ที่ในปี 2006 เขากับ Jimmy Iovine ผู้บริหารค่ายเพลงชื่อดัง
ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Beats Electronics
โดยต้องการเป็นผู้ผลิตหูฟังระดับพรีเมียมและได้ทำการเปิดตัว หูฟัง อันแรกในปี 2008
แต่เส้นทางกลับไม่ง่ายอย่างที่พวกเขาคิด
แม้สินค้าจะมีคุณภาพดี แต่ด้วยความที่คนยังไม่รู้จักแบรนด์
และราคาที่แพงถึง 10,500 บาท หูฟังรุ่นแรกที่ผลิตออกมาจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
จุดเริ่มต้นของ Beats เริ่มขึ้นจากการที่บริษัททำการตลาดผ่านแบรนด์หรือศิลปินที่มีชื่อเสียง
- ในช่วงปี 2009 Beats เปิดตัวหูฟัง Heartbeats โดยมี Lady Gaga ร่วมออกแบบและเป็นพรีเซนเตอร์ โดยเป็นหูฟังแบบ In-ear ที่เน้นความเป็นแฟชั่น
- ปลายปี 2009 ร่วมมือกับ HP โดย HP ทำการเปิดตัว Envy 15 โน้ตบุ๊กที่มาพร้อมกับระบบเสียงจาก Beats ซึ่งเป็นรุ่น Limited Edition โดยปุ่ม “B” ถูกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์โลโก Beats
- ปี 2012 ได้ร่วมมือกับ Chrysler ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา เปิดตัวรถยนต์รุ่น 300S ซึ่งมีระบบเสียงจาก Beats
- ปี 2012 เช่นเดียวกัน ได้ทำการแจกหูฟังให้กับนักกีฬาทีมชาติอังกฤษ ในการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน เพื่อให้มีภาพของนักกีฬากำลังใส่หูฟังของ Beats ที่ถูกถ่ายทอดไปทั่วโลก
หลังจากการทำการตลาดอย่างหนัก ทำให้คนเริ่มรู้จักแบรนด์ Beats และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
จนในปี 2012 ส่วนแบ่งการตลาดของ Beats ในตลาดหูฟังระดับพรีเมียมสูงถึง 64%
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของ Beats เกิดขึ้นเมื่อปี 2012 คือการเข้าซื้อกิจการ MOG ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง โดยมีสาเหตุการเข้าซื้อก็เพราะว่าทางบริษัทสามารถนำองค์ความรู้ของ MOG เพื่อมาพัฒนาเป็นของตัวเอง
และแล้วต้นปี 2014 “Beats Music” ก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ซึ่งหลังจากเปิดตัวได้ 3 เดือน มีผู้ใช้งานสูงถึง 110,000 ราย
ณ จุดนี้เองที่ไปเข้าตา Apple
เนื่องจากในตอนนั้น iTunes ของ Apple ไม่สามารถสู้กับทาง Spotify ได้เลย
Beats Music จึงเป็นเหมือนคำตอบที่ Apple กำลังตามหา
ในปีเดียวกันนั้นเอง Apple จึงตัดสินใจซื้อกิจการ Beats Electronics ทั้งหมดด้วยมูลค่า 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเข้าซื้อกิจการที่มูลค่ามากที่สุดของ Apple ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว
คำถามที่ตามมาก็คือ Apple ซื้อ Beats ไป ได้อะไรกลับมาบ้าง ?
เหตุผลที่ Apple ตัดสินใจลงทุนด้วยจำนวนเงินขนาดนี้
ทาง Eddy Cue รองประธานอาวุโสด้านอินเทอร์เน็ตและการบริการของ Apple
ได้ให้เหตุผลแบ่งเป็น 2 ข้อหลัก ๆ ออกเป็น
1. ความสามารถของ Dr. Dre และ Jimmy Iovine
Beats Electronics เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ Dr. Dre และ Jimmy Iovine
ซึ่งคนหนึ่งเป็นนักร้องแรปเปอร์ที่ประสบความสำเร็จ อีกคนมีประสบการณ์ด้านดนตรี
ทั้งสองมีความเข้าใจโลกของเพลง เข้าใจว่าผู้คนต้องการฟังอะไร ฟังอย่างไร และฟังในรูปแบบไหน
จึงไม่แปลกใจเลยที่บริษัทเติบโตและมีรายได้สูงถึง 37,692 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียง 8 ปี
การที่ได้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดนตรีเข้ามาร่วมทีม
จะทำให้ธุรกิจใหม่ของ Apple มีความเข้าใจและเลือกที่จะพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
2. ผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ของ Beats
- แบรนด์หูฟัง Beats ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในกลุ่มระดับพรีเมียม
ซึ่งระดับนี้ก็อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Apple
- Beats Music คืออีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้ Apple ตัดสินใจในครั้งนี้
เพราะต้องการองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาสตรีมมิงของตัวเอง
ซึ่งปัจจุบันพัฒนามาเป็น “Apple Music” นั่นเอง
นอกเหนือจากเหตุผลที่ทางรองประธานอาวุโสได้ให้เหตุผลไว้
อีกเรื่องที่ Apple ได้จาก Beats ก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีในการพัฒนาหูฟัง
ที่ทางบริษัทได้รุกเข้าสู่ตลาดหูฟังอย่างเต็มตัวครั้งแรกในปี 2016 กับ AirPods
หลังจากการเข้าซื้อกิจการเพียง 2 ปี
ก่อนที่จะปล่อยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็น AirPods หรือ AirPods Max
รวมถึงล่าสุด ที่มีการนำแบรนด์ Beats ไปพัฒนาสินค้ากลุ่ม True Wireless เพิ่มเติม
ปัจจุบัน Apple กลายมาเป็นบริษัทที่แม้จะไม่ได้เป็นบริษัทผู้ผลิตหูฟัง
แต่มีส่วนแบ่งการตลาดหูฟังประเภท True Wireless สูงที่สุดในโลก
โดยในปี 2020 Apple มีส่วนแบ่งในธุรกิจดังกล่าวมากถึง 31%
จากตรงนี้ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Beats เองได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญ
ที่ทำให้ Apple ประสบความสำเร็จในผลิตภัณฑ์กลุ่มหูฟังรวมถึงการพัฒนาบริการสตรีมมิง
แม้ว่ามูลค่ากิจการที่ Apple จ่ายให้กับ Beats เหมือนว่าจะน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับการเข้าซื้อกิจการของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อื่นพอสมควร
แต่ถ้าพูดถึงความคุ้มค่าแล้ว Beats ก็เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในดีลการเข้าซื้อกิจการที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้ดีลไหนในโลก เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Beats_Electronics
-https://en.wikipedia.org/wiki/Beats_Music
-https://www.forbes.com/sites/zackomalleygreenburg/2018/03/08/dr-dres-3-billion-monster-the-secret-history-of-beats-3-kings-book-excerpt/?sh=37bf6d4c258d
-https://www.macthai.com/2014/05/27/history-of-beats-electronics-before-apple-acquisition/
-https://www.latimes.com/business/technology/la-fi-tn-apple-beats-brief-history-20140528-story.html
-https://medium.com/macoclock/why-did-apple-buy-beats-for-3-2-billion-92d3a5cab764
-https://www.reuters.com/article/idUS71812687520120321
-https://www.automotiverhythms.com/chrysler-a-beats-by-dr-dre-partner/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Jimmy_Iovine
-https://www.ukessays.com/essays/marketing/beats-by-dre-marketing-analysis-7363.php
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_mergers_and_acquisitions_by_Apple
-https://www.statista.com/statistics/325991/beats-music/
กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา Etsy ขายของอย่างไร ให้ชนะ Amazon / โดย ลงทุนแมน
เมื่อพูดถึงธุรกิจสินค้า Handmade หรือ “ผลิตภัณฑ์ทำมือ”
เรามักจะคิดถึงสินค้าเฉพาะกลุ่ม ที่มีลูกค้าจำนวนน้อย
และก็น่าจะสร้างรายได้ที่ไม่มาก
แต่รู้หรือไม่ว่า มีแพลตฟอร์มหนึ่งชื่อว่า “Etsy” อ่านว่า “เอ็ต-ซี”
ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นแหล่งซื้อขายสินค้าทำมือโดยเฉพาะ
และด้วยความที่แพลตฟอร์มแห่งนี้มีจุดเริ่มต้น
จากประเทศสหรัฐอเมริกา แถมเป็นแหล่งซื้อขายสินค้า
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ การเผชิญหน้ากับเจ้าตลาดอย่าง Amazon
อย่างไรก็ตาม Etsy ก็สามารถสร้างการเติบโตได้แบบก้าวกระโดด
โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้มากถึง 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
และปัจจุบันบริษัทแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 8.1 แสนล้านบาท
แล้วทำไม Etsy ถึงต่อกรกับ Amazon ได้สำเร็จ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 2005 มีชายหนุ่ม 3 คนที่อาศัยในอะพาร์ตเมนต์ย่านนิวยอร์ก
คือคุณ Rob Kalin, Chris Maguire และ Haim Schoppik
ร่วมกันทำโปรเจกต์ที่มีชื่อว่า “getcrafty.com”
โดยเว็บไซต์นี้เป็นบอร์ดออนไลน์ที่ไว้ให้เหล่าช่างฝีมือและศิลปินต่าง ๆ
เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน
ซึ่งระหว่างนั้น คุณ Rob Kalin สังเกตเห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้ต่างกำลังเจอปัญหาหนึ่งร่วมกัน
คือการหาสถานที่ออนไลน์ ที่จะช่วยส่งเสริมการขายสินค้าของพวกเขา
แม้ว่า ณ ขณะนั้นจะมี eBay แล้วก็ตาม แต่กลับไม่เป็นที่น่าพึงพอใจนัก
เนื่องจากตัวเว็บไซต์มีความยากในการใช้งานและเก็บค่าธรรมเนียมสูงจนเกินไป
จึงทำให้ทั้ง 3 คนตัดสินใจสร้างเว็บไซต์ Etsy ขึ้นมา
โดยมีคอนเซปต์ก็คือ เว็บไซต์แห่งนี้จะต้องเป็นแหล่งรวมสินค้า Handmade
และต้องเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เหล่าช่างฝีมือและศิลปินประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจ
จากไอเดียดังกล่าว Etsy จึงได้เน้นการออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้ง่าย
ในระดับที่ผู้ไม่ชำนาญด้านออนไลน์ ก็สามารถเข้าใจการทำงานเบื้องต้นได้ในทันที
นอกจากนี้ Etsy ยังมีระบบให้ความช่วยเหลือโดยสามารถแจ้งปัญหาได้โดยตรง
รวมถึงมีการช่วยโปรโมตสินค้าของเหล่าช่างฝีมือและศิลปินให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ Etsy เก็บค่าธรรมเนียมต่ำทำให้หลังจากเปิดตัวไม่นาน
ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี จากช่างฝีมือและศิลปินต่าง ๆ เกิดกระแสปากต่อปาก
จนในที่สุด Etsy ก็ได้กลายมาเป็นชุมชนออนไลน์สำหรับเหล่าสินค้า Handmade
จากลักษณะธุรกิจที่ว่ามา ทำให้ Etsy มีโมเดลรายได้มาจาก 2 ช่องทาง
1. ค่าธรรมเนียมจาก Marketplace
จะหักครั้งแรกเมื่อวางสินค้าลงบนแพลตฟอร์มที่ 6 บาทต่อสินค้า
และครั้งที่สองเมื่อมีการซื้อขายสินค้าสำเร็จที่ 3% จากราคาสินค้า
ก่อนที่จะปรับเป็น 5% ในเวลาต่อมา
2. ค่าบริการจากพื้นที่โฆษณาบนแพลตฟอร์ม
รวมถึงมีบริการ Etsy Plus ที่ช่วยเรื่องระบบบริหารการทำการตลาด
เมื่อเวลาผ่านไป Etsy ก็เริ่มเติบโตเป็นบริษัทใหญ่
จนในปี 2015 ก็สามารถระดมทุน และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม เมื่อ Etsy มีความเป็นอีคอมเมิร์ซ
นั่นจึงทำให้ยักษ์ใหญ่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันอย่าง Amazon เข้ามาแข่งขันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดย Amazon ได้เปิดตัว “Amazon Handmade” เพื่อเข้ามารุกตลาดสินค้า Handmade แทบจะในทันที
และสิ่งที่ Amazon ทำเพื่อดึงฐานผู้ใช้งานก็คือ การยกเว้นค่าธรรมเนียมในปีแรก
บวกกับความเป็นแพลตฟอร์มที่คนส่วนใหญ่มักใช้กัน
ทำให้ฝั่งเหล่าผู้ขายเริ่มเปลี่ยนไปใช้ Amazon Handmade กันมากขึ้น
ซึ่ง ณ ตอนนั้น หลายคนก็คิดว่า Etsy น่าจะจบแล้ว
เพราะ Amazon มีเงินทุนเยอะกว่าและฐานลูกค้าที่มากกว่า
แต่รู้หรือไม่ว่าเหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น
เพราะหลังจากที่ผู้ขายหันไปใช้ Amazon Handmade ได้ไม่นาน
ก็กลับมาใช้ Etsy อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางคนยังบอกอีกด้วยว่าจะไม่กลับไปใช้ Amazon อีก
เหตุใด Amazon Handmade จึงไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ?
เรื่องแรกก็คือ การค้นหาสินค้าบน Amazon Handmade ทำได้แย่กว่า Etsy
ใครหลายคนอาจคิดว่า Amazon น่าจะทำได้ดีกว่า แต่ความจริงกลับไม่ใช่
เพราะสินค้า Handmade มีความยากเรื่องความหลากหลายและความเฉพาะตัวของแต่ละสินค้า
ซึ่งต่างจากสินค้าทั่วไป ที่แบ่งแยกประเภทกันชัดเจน
Etsy สามารถทำได้ดีกว่า เพราะว่า Etsy นั้นได้ลงทุนไปมหาศาลกับระบบการค้นหาระดับรายบุคคล
ถึงขนาดที่ว่า แม้ลูกค้า 2 คนจะพิมพ์คำเดียวกัน แต่สินค้าที่ถูกแสดงขึ้นมาจะแตกต่างกัน
โดยเหตุผลที่แตกต่างกันนั้น ก็เพราะว่าการค้นหาของเรา
จะขึ้นอยู่กับว่าลูกค้ากดถูกใจสินค้าประเภทใดมาบ้าง
ตั้งร้านค้าใดเป็นร้านโปรด หรือซื้อสินค้าประเภทใดบ้าง
พูดง่าย ๆ ก็คือ ทางบริษัทเข้าใจกลุ่มผู้ใช้งานและผู้สร้างสรรค์งาน Handmade อย่างแท้จริง
จึงสามารถให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างตรงจุด
และนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Etsy เอาชนะ Amazon Handmade
นอกจากนี้ ก็ยังมีเรื่องของการบริการต่อผู้ใช้งาน
ด้วยความเป็นสินค้า Handmade ที่มีรายละเอียดแตกต่างจากสินค้าทั่วไป
หากผู้ซื้อเกิดการร้องเรียนกับผู้ขาย ทางบริษัท Etsy ก็จะเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างจริงจัง
ในขณะที่ Amazon ให้ความสำคัญกับฝั่งผู้ซื้อมากกว่า ซึ่งทำให้ผู้ขายบางส่วนไม่พอใจ
นอกจากนี้ มันก็จะมีรายละเอียดเชิงโครงสร้างอีก เช่น
Amazon ออกแบบระบบซื้อสินค้าในปริมาณมาก มาสต็อกที่คลังสินค้า
เพื่อที่จะได้จัดส่งสินค้าได้ทันที
แต่สำหรับ Etsy ที่สินค้า Handmade ส่วนใหญ่จะต้องรอเวลาในการผลิตแต่ละชิ้นจึงไม่สามารถสต็อกสินค้าได้เหมือนสินค้าทั่วไป การบริหารสินค้าจึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
สำหรับผลสำรวจจากฝั่งผู้ซื้อ
88% ของผู้ใช้ Etsy บอกว่าสินค้าบนแพลตฟอร์มนี้ไม่สามารถหาได้จากที่ไหน
ทำให้สินค้าใน Etsy มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงเป็นที่ถูกใจของลูกค้าเหล่านี้
และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด จึงทำให้ในที่สุด
Amazon พ่ายแพ้ให้กับ Etsy ในตลาดสินค้า Handmade
ทีนี้เราลองมาดูผลประกอบการของ Etsy
ปี 2017 รายได้ 13,800 ล้านบาท กำไร 2,560 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 18,900 ล้านบาท กำไร 2,400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 25,500 ล้านบาท กำไร 3,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 54,000 ล้านบาท กำไร 10,900 ล้านบาท
รายได้มีการเติบโตเฉลี่ย 58% ต่อปี
กำไรเติบโตเฉลี่ย 62% ต่อปี
ในขณะที่ Etsy มีจำนวนผู้ซื้อ 82 ล้านคน และผู้ขาย 4 ล้านคนบนระบบ
จากตัวเลขการเติบโต และผู้ใช้งานในระบบก็นับได้ว่าเป็นกิจการที่มีความแข็งแกร่ง
และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
และแม้ว่าปี 2020 ที่ผ่านมาจะเจอกับวิกฤติโควิด 19 ก็ตาม
แต่ Etsy ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาแพลตฟอร์ม และส่งเสริมธุรกิจของเหล่าศิลปินและช่างฝีมือ
เช่น การเป็นพาร์ตเนอร์กับ Pinterest โซเชียลมีเดียที่เป็นแหล่งรวมภาพงานศิลป์
หรือการนำเทคโนโลยี AR เข้ามาสนับสนุนให้ผู้คนมีโอกาสที่จะซื้อสินค้ามากขึ้น
ทั้งหมดนี้ก็ได้ทำให้ Etsy มีอัตราการเติบโตมากที่สุดในปีวิกฤติ
ถึงตรงนี้ ต้องบอกว่า Etsy ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะจริง ๆ แล้ว หลายคนมักพูดกันว่าหากเราเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ
เราก็ไม่ต่างอะไรไปจากปลาตัวเล็ก ที่กำลังว่ายเข้าไปอยู่ในฝูงปลาขนาดใหญ่
และสักวันหนึ่ง เราก็น่าจะโดนกิน
แต่ Etsy ได้สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไร
ไม่เกี่ยวเลยว่าเราจะเริ่มทีหลัง หรือเล็กกว่าคนอื่นขนาดไหน
สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าและกลุ่มผู้ใช้งานของเรา
และตอบโจทย์ที่พวกเขาต้องการได้อย่างตรงจุด
หากทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะเป็นป้อมปราการที่ทำให้เราเติบโต
อย่าง Etsy ที่ทุกวันนี้ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 8 แสนล้านบาท ไปแล้วนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.nytimes.com/2017/11/25/business/etsy-josh-silverman.html#:~:text=Etsy%20was%20founded%20in%202005,of%20buyers%20and%20sellers%2C%20Mr.
-https://www.fool.com/investing/2021/02/11/3-reasons-etsys-marketplace-is-growing/
-https://www.thelist.com/197941/the-untold-truth-of-etsy/
-https://medium.com/actoncapital/handmade-millionaire-how-etsys-founder-struggled-to-make-commerce-human-fe2033803648
-https://www.wired.com/2016/10/how-etsy-dodged-destruction-at-the-hands-of-amazon/
-https://www.cnbc.com/2018/05/09/etsy-ceo-on-amazon-handmade-it-doesnt-really-threaten-our-business.html
-https://community.etsy.com/t5/Marketing-Your-Business/Why-Amazon-Handmade-sucks/td-p/125152915
กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน - กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่ ของคน ... 的推薦與評價
กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่ ของคนขายสินค้าออนไลน์ Amazon Global Selling X ลงทุนแมน “ที่ใดมีผู้คน ที่นั่นย่อมมีโอกาส”... ... <看更多>
กรณีศึกษา amazon 在 กรณีศึกษา ธุรกิจ Cafe Amazon - YouTube 的推薦與評價
น.ส.กรรณิการ์ พร้อมสุข 5932410003น.ส.ปนิตา พุ่มเเก้ว 5932410004น.ส.โสภัชย์ เอี่ยมโอฬาร 5632c10057นายณัฐภัทร พารักษา 6132D10110นางสาวมะลิสา ... ... <看更多>
กรณีศึกษา amazon 在 ลงทุนแมน - กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่... 的推薦與評價
กรณีศึกษา Amazon.com โอกาสอันกว้างใหญ่ ของคนขายสินค้าออนไลน์ Amazon Global Selling X ลงทุนแมน “ที่ใดมีผู้คน ที่นั่นย่อมมีโอกาส”... ... <看更多>