“เกาหลีใต้” จากค่าแรงต่อคนที่ (เคย) ได้เท่าไทย ปัจจุบันพุ่งไกล! มากกว่า 4 เท่า!!
.
เมื่อย้อนกลับไปประมาณ 40-50 ปีก่อน เกาหลีใต้และไทย ค่อนข้างเป็นประเทศที่มีความคล้ายกัน ทั้งในฐานะที่เป็นประเทศที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก และประชากรยังมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่า ๆ กันที่ประมาณ 400-440 บาท แต่มาวันนี้ ปี 2020 ในขณะที่ไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 บาท แต่สำหรับเกาหลีใต้รายได้ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 80,000 บาท ซึ่งนับว่ารายได้พุ่งสูงขึ้น มากกว่าไทยถึง 4 เท่า!
.
หากถามว่าพวกเขาทำได้อย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศ จากที่เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลักและยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออก สู่การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก ทั้งยังพ่วงมาด้วยการเป็นผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเอเชียนั้น เนื่องจาก เกาหลีใต้มีความตื่นตัวและเร่งพัฒนาประเทศอยู่เสมอ รวมถึงแนวคิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเกาหลีใต้ที่ผ่านมา เป็นการปฏิรูปนโยบายที่มุ่งให้เกิดการเปิดประเทศสู่ระดับสากล ซึ่งแนวคิดที่เกาหลีใต้ใช้ในการพัฒนาประเทศนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
.
1.พัฒนาทักษะแรงงานในประเทศ เปลี่ยนจากประเทศพึ่งพาการเกษตร เป็นประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรม
ในยุคสมัยก่อน คนเกาหลีมีการทำการเกษตรเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่เพราะข้อเสียสำคัญที่ว่า ต้องใช้แรงงานเยอะ ใช้เวลาและทรัพยากรต่าง ๆ สูง แต่ผลผลิตกลับได้ไม่สูงมาก รวมถึงแรงงานในสมัยนั้นมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากยังไม่มีความรู้มากพอ ในปี 1950 เกาหลีใต้จึงได้วางแผนที่จะเปลี่ยนประเทศสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรม โดยเริ่มตั้งแต่การทำให้คนประเทศได้ศึกษาเล่าเรียน เพราะเมื่อมีความรู้ ก็สามารถทำงานในระบบอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งฐานการผลิตที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจในการมาลงทุนตั้งโรงงาน
.
2.พัฒนาในด้านการค้าขายระหว่างประเทศ
หลังจากที่เกาหลีใต้ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศมาสู่การเป็นอุตสาหกรรม ส่งผลให้การพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ ยิ่งเห็นผลชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากบริษัทในเกาหลีใต้สามารถเติบโต และสร้างแบรนด์ได้อย่างแข็งแรง อีกทั้งการส่งออกของประเทศก็มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 2 เท่า โดยเฉพาะในปี 2012 ที่อัตราการเติบโตของการส่งออกขยับขึ้นมาเป็น 56% ซึ่งเกินกว่าครึ่งของเศรษฐกิจเกาหลีใต้
.
3.ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจผู้ผลิตในประเทศ
เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการทุ่มงบให้กับงานวิจัยสูงมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสัดส่วนเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาการผลิตสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็น 4% ของ GDP โดยควบคู่กับการการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จากนั้นจึงใช้วิธีการศึกษา และเรียนรู้จากเทคโนโลยีเหล่านั้น แล้วนำมาพัฒนาในประเทศ จนกลายเป็นประเทศที่มีธุรกิจส่งออกสินค้าด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของเอเชีย ได้แก่ Samsung และ Hyundai
.
4.พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีสู่นวัตกรรมของโลกอนาคต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ อาจกำลังสั่นสะเทือนเนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศจีน ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมในจีนนั้น ใช้โมเดลเดียวกับเกาหลีใต้ คือการรับจ้างผลิต วิจัย พัฒนา รวมถึงการสร้างแบรนด์ได้เอง อีกทั้งจีนยังสามารถทำเองได้ทุกอย่าง ทำให้นัลงทุนต่างชาติเลิกนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้ ทำให้รายได้จึงหดหายไปด้วย ซึ่งเกาหลีใต้ก็ได้มีการแก้ปัญหาตรงนี้โดยการ ขายความเป็นเกาหลีให้เป็นที่รู้จักของชาวโลก รวมถึงพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี สร้างศูนย์กลางไอทีภายในประเทศ สร้างเมืองอัจฉริยะ โดยที่สุดแล้ว เกาหลีใต้ยังคงหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งผู้นำในอนาคต ที่มีการพึ่งพาระบบเครือข่ายพื้นฐานอย่าง 5G, AI และหุ่นยนต์
.
ทั้งหมดนี้คือแนวคิดการพัฒนาและบริหารประเทศของเกาหลีใต้ ที่สามารถนำพาตัวเองขึ้นมาสู่การเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในด้านต่าง ๆ ของโลกได้ ซึ่งเป็นเพราะว่าเขารู้และมองเห็นจุดยืนของตัวเอง รู้ว่าประเทศตัวเองนั้น โดดเด่นเรื่องใด และต้องการพัฒนาอะไร ซึ่งหากประเทศไทย ต้องการพัฒนาให้ประเทศไปสู่ระดับสากล และเป็นผู้นำของโลกได้นั้น อาจต้องมองหาทิศทางและโอกาสที่สามารถพาประเทศไปสู่การพัฒนาได้ โดยต้องสอดคล้องและช่วยส่งเสริมกับศักยภาพที่โดดเด่นของประเทศด้วย นั่นคือ การท่องเที่ยว และการส่งออก
.
ที่มา : https://www.stlouisfed.org/on-the-economy/2018/march/how-south-korea-economy-develop-quickly
https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?end=2017&locations=KR-TH&start=1960&view=chart
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#เกาหลีใต้ #พัฒนาประเทศ #ไทย
Search
การท่องเที่ยว วิจัย 在 สารคดีงานวิจัย เรื่อง วิถีท่องเที่ยว วิถีพอเพียง ความสัมพันธ์ของคน ... 的推薦與評價
จากการประชุม การท่องเที่ยว โลกมองว่า แหล่งท่องเที่ยงเชิงนิเวศจะได้รับการสนใจจากนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในกิจกรรมเฉพาะด้าน นักท่องเที่ยวต้องการเข้าถึงวัฒนธรรมมากขึ้น ... ... <看更多>