สรุป Crypto Wallet ทุกรูปแบบ ที่นักลงทุนคริปโท ควรรู้จัก /โดย ลงทุนแมน
ช่วงที่ผ่านมา คริปโทเคอร์เรนซี ได้กลายมาเป็นหนึ่งสินทรัพย์ที่ได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนและนักเก็งกำไร
แน่นอนว่าส่วนใหญ่ หลายคนจะให้ความสนใจกับผลตอบแทนที่หวือหวา
แต่สิ่งที่เรายังต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันเลย ก็คือเรื่องของความปลอดภัย
“Crypto Wallet” เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้เรา
รักษาความปลอดภัยแก่คริปโทเคอร์เรนซีของเราได้
Crypto Wallet คืออะไร
แล้วตอนนี้ มันมีกี่รูปแบบและสำคัญอย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Crypto Wallet แม้จะแปลภาษาไทยตรงตัวว่า “กระเป๋าเงินคริปโทเคอร์เรนซี”
แต่มันไม่ได้มีลักษณะเดียวกันกับกระเป๋าเงินที่เราใช้เก็บธนบัตรหรือเก็บเหรียญเลย
หากเทียบให้เห็นชัด Crypto Wallet ในที่นี้จะเหมือนกับ “กุญแจ” สำหรับเข้าถึงตู้เซฟมากกว่า
โดย Crypto Wallet ก็เรียกได้ว่าเป็นตัวกลางที่ทำให้เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลและทำธุรกรรมในบัญชีที่จัดเก็บคริปโทเคอร์เรนซีบนบล็อกเชนได้ นั่นเอง
ซึ่ง Crypto Wallet ประกอบไปด้วย 2 กุญแจ คือ Public Key และ Private Key
โดยทั้งสองประเภท จะเป็นชุดรหัสตัวเลขไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละกุญแจก็มีหน้าที่แตกต่างกัน
Public Key หรือ Address เปรียบเสมือนเลขที่บัญชีธนาคารของเรา
โดยเราสามารถให้ Public Key กับคนอื่น
เพื่อที่อีกฝั่งสามารถโอนเงินมาสู่บัญชีของเราได้ถูกต้อง
Private Key ก็ตรงตามชื่อ กุญแจส่วนตัว
โดยเราจะรู้ได้เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น
เพราะมันเปรียบเสมือนรหัสผ่านเข้าบัญชีธนาคารของเรา
ปกติ Private Key จะมีหน้าตาเป็นรหัสยาว ๆ จำยาก น้อยคนที่จะจำได้ เช่น 6bc87f0al58de02e32qc8o35 ส่งผลให้การนำไปใช้งานเป็นเรื่องที่ยาก
ปัจจุบัน จึงได้เกิดเทคนิคใหม่ในการเปลี่ยน Private Key ให้เป็นคำศัพท์ต่อ ๆ กันอย่างน้อย 12 คำ เพื่อที่ผู้ใช้งานจำได้ง่ายขึ้นและไม่ง่ายเกินไปจนคนอื่นเดารหัสได้ถูกต้อง สิ่งนี้เรียกว่า “Seed Phrase” นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น dog apple egg rain smile big eye friend you king boy love
ซึ่งหากมีใครรู้เลข Private Key ของเรา ไม่ว่าใครก็ตาม เขาคนนั้นก็จะสามารถเข้ามาทำธุรกรรมบนบัญชีเราได้
หรือหากเราลืมรหัสเสียเอง คริปโทเคอร์เรนซีที่เก็บไว้ก็จะหายไปในระบบตลอดกาล ไม่สามารถกู้รหัสผ่านเหมือนบัญชีธนาคารได้ เพราะมีเราเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้
ดังนั้นการดูแล Private Key จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคนที่ลงทุนในวงการคริปโทเคอร์เรนซี
เรื่องทั้งหมดนี้ทำให้ ในปัจจุบันเกิด Crypto Wallet หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองการใช้งานต่อนักลงทุนที่ต้องการแตกต่างกัน
โดย Crypto Wallet จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ Hot Wallet และ Cold Wallet
เริ่มกันที่ “Hot Wallet” คือ Wallet ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเกือบตลอดเวลา
ข้อดีคือ สะดวกต่อการใช้งาน จึงเหมาะกับกลุ่มเทรดเดอร์ที่ต้องเทรดอยู่บ่อยครั้ง
และยังเหมาะแก่การเก็บคริปโทเคอร์เรนซีจำนวนน้อย
แต่เมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็จะมีความเสี่ยงจากการโดนแฮกตามมา รวมถึงไวรัสและมัลแวร์ต่าง ๆ
Hot Wallet ที่นักลงทุนนิยมใช้กันคือ Web Wallet หรือ Wallet บนเว็บไซต์เทรดคริปโทเคอร์เรนซีทั่วไป
เช่น Bitkub, Binance, Zipmex และ Upbit
โดย Private Key ของเรา จะถูกดูแลโดยเว็บไซต์ที่ให้บริการ
เราเพียงแค่มี Username และรหัสผ่านของเว็บไซต์นั้นก็สามารถใช้งานได้เลย
ซึ่งความเสี่ยงอยู่ตรงนี้ หากเจ้าของบริหารไม่ดี จนคริปโทเคอร์เรนซีบริษัทถูกคนอื่นแฮกเอาไปเหมือนอย่างกรณี Mt. Gox แพลตฟอร์มซื้อขายที่เคยใหญ่สุดในโลก หรือแม้แต่เว็บไซต์เทรดขโมยเงินหนีไปเอง เหมือนอย่างกรณี Thodex แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีตุรกี เราก็จะไม่สามารถตามเงินคืนได้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งกับ Mt. Gox และ Thodex
จึงเป็นที่มาของคำว่า “Not Your Keys, Not Your Coins”
หรือแปลเป็นไทยว่า “หากไม่ใช่กุญแจคุณ เหรียญที่คุณมีก็ไม่ใช่ของคุณ”
สะท้อนให้เห็นว่าแม้เราจะมีผู้ดูแลให้ แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะปลอดภัย 100%
พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจอยากสร้างความปลอดภัยแก่คริปโทเคอร์เรนซีของตัวเองกันมากขึ้น
แต่ก็อยากได้ความสะดวกสบายในการใช้งานที่ง่ายกว่า
จึงเป็นที่มาของ Hot Wallet แบบที่สอง นั่นก็คือ Mobile Wallet เป็นแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เก็บ Private Key บนโทรศัพท์นั้นเลย ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานอย่างแน่นอน และมีฟังก์ชันให้ Back Up ข้อมูลอีกด้วย
แต่ความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับว่าโทรศัพท์ของเราปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่าแบบแรกอย่างมาก
และ Hot Wallet แบบสุดท้ายคือ Desktop Wallet
ซึ่งจะไม่ค่อยแตกต่างจากแบบที่สองนัก เพียงแค่อยู่ในรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความรวดเร็วในการใช้งานจึงน้อยกว่าแบบโทรศัพท์
ข้อระมัดระวังของการใช้ Wallet ประเภทนี้ คือ ต้องไม่ลืมว่า Private Key ของเราจะอยู่บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็เคยมีตัวอย่างความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกาเบรียล เอเบ็ด นักธุรกิจ เจ้าของบิตคอยน์ 800 เหรียญ ได้ประสบพบเจอกับปัญหา เพราะไม่สามารถถอนบิตคอยน์มาใช้งานได้ เนื่องจากนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวไปล้างเครื่อง
ดังนั้นหากใครเลือกใช้ Desktop Wallet จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อม Back Up ข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่ตลอด
ตัวอย่าง Hot Wallet ที่ให้บริการทั้งบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ เช่น Atomic Wallet, BitPay และ Exodus
และหาก Wallet ทั้งหมดที่กล่าวมา ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความปลอดภัยได้เพียงพอ
เราก็ยังมีกระเป๋าอีกประเภท คือ “Cold Wallet” หรือที่ไม่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ซึ่งความสะดวกในการใช้งานจะลดลง แต่ความปลอดภัยจะเพิ่มขึ้นสูงมาก
Hardware Wallet อุปกรณ์ที่หน้าตาคล้าย ๆ กับ Flash Drive
เช่น ของแบรนด์ Ledger, Trezor เป็นอีกสิ่งที่นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีสายจริงจังชอบใช้กัน
เพราะมีความปลอดภัยสูงอันดับต้น ๆ ในบรรดาทุก Wallet
โดย Private Key จะถูกจัดเก็บบน Hardware นั้น ๆ เลย
วิธีใช้งานก็เพียงแค่เราเสียบ Hardware เข้ากับคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นใส่รหัสผ่าน เท่านี้ก็สามารถทำธุรกรรมได้ตามใจ
สำหรับรูปแบบสุดท้ายของ Cold Wallet ก็คือ “กระดาษ”
คนที่ใช้วิธีนี้ส่วนใหญ่มักพิมพ์ Public Key และ Private Key ในรูปของ QR Code
และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งหากต้องการใช้ เพียงแค่สแกนเท่านั้น
แม้ว่าความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมข้อมูลแทบเป็นศูนย์
แต่การเก็บเป็นกระดาษมักมีปัญหาในการรักษาอยู่เสมอ
ทั้งจากการหลงลืมและเสียหายจากอุบัติเหตุ ที่เราไม่คาดคิด
สเตฟาน โทมัส โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในคนที่ประสบปัญหานี้โดยตรง
เขาจด Private Key ลงบนกระดาษ ซึ่งเวลาต่อมามันก็หายไป รวมถึงตัวเองก็จำรหัสไม่ได้
ส่งผลให้เขาต้องสูญเสียบิตคอยน์จำนวน 7,002 เหรียญ
หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 10,400 ล้านบาท..
ดังนั้นหากใครสนใจการเก็บรหัสประเภทนี้
ต้องมีความมั่นใจระดับหนึ่งว่า จะสามารถดูแลรักษา Wallet ได้
ไม่ใช่เลือกเพียงแค่เพราะอยากลดต้นทุนเท่านั้น
มาถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่า Crypto Wallet มีมากมายหลายรูปแบบ
ซึ่งก็ไม่มีอันไหนที่ดีหรือแย่ที่สุด ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักลงทุนแต่ละราย
เพราะสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ ไม่แพ้การศึกษาหาความรู้เรื่องสินทรัพย์ที่เราจะลงทุนนั้น
ก็คือเรื่องของ “ความปลอดภัย”
เพราะไม่ว่าเราจะเก่งและสร้างผลตอบแทนได้มากเท่าไร
แต่หากเราประมาทเรื่องความปลอดภัย
เงินที่เราอุตส่าห์หามาได้ มันก็อาจหายไปได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com/bitcoin-wallet
-https://www.nerdwallet.com/article/investing/best-bitcoin-cryptocurrency-wallet
-https://www.daytrading.com/crypto-wallet
-https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?release=y&id=UEt6YjQya2F0QVU9
-https://www.nytimes.com/2021/01/12/technology/bitcoin-passwords-wallets-fortunes.html
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過25萬的網紅iT24Hrs,也在其Youtube影片中提到,Digital Asset คืออะไร? สินทรัพย์ดิจิทัล และ ICO ที่ถูกกฎหมายไทยเป็นอย่างไร? พระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ พรก. สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร? ---------...
คริปโทเคอร์เรนซี คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
คริปโท และ Defi ความท้าทายครั้งใหม่ของ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. /โดย ลงทุนแมน
Dogecoin เหรียญหน้าหมาชิบะ ที่คนสร้างตั้งใจสร้างมาเพื่อล้อเลียน
- จำนวนเหรียญ ไม่ได้มีจำกัดเหมือน Bitcoin
- ไม่มีอะไรมา เป็นตัวค้ำประกันเหมือน Stablecoin
ทุกอย่างเสกมาจากอากาศ ไม่มีอะไรที่เป็นพื้นฐาน นอกจากมีคนดัง และมีคนร่วมวงซื้อเป็นจำนวนมาก
ตั้งแต่ต้นปีเหรียญ Dogecoin ขึ้นมาแล้ว 40 เท่า
และวันนี้ขึ้น 2 เท่า ภายในวันเดียว
ถ้าดูปริมาณการซื้อขายอ้างอิงใน bitkub
ภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เหรียญนี้ซื้อขายไปแล้ว 6,000 ล้านบาท
ถ้าให้ bitkub ได้ 0.25% จากจำนวนเงินฝั่งซื้อและฝั่งขาย
แปลว่า bitkub ได้เงินจากการซื้อขายเหรียญ Dogecoin ไปแล้ว 30 ล้านบาท ใน 24 ชั่วโมง (คิดจาก 6,000 x 0.25% x 2 และอาจมีการซื้อขายส่วนหนึ่งเป็นของ bitkub เองจากการเป็น market maker)
นี่ตัวอย่างความบ้าคลั่งของตลาด คริปโทเคอร์เรนซี ในตอนนี้..
และนั่นก็หมายความว่า
คนเป็นเจ้าของตลาดการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ก็ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ไปด้วย
ซึ่งไม่ใช่ bitkub เท่านั้น
ในโลกนี้ยังมีคนที่ใหญ่กว่า bitkub อีกหลายคน และหลายเท่า
อ้างอิงจาก Cointmarketcap
ข้อมูลบอกว่า bitkub เป็นตลาด Exchange ที่อยู่อันดับ 48 ของโลก (อันดับอาจเปลี่ยนไปในแต่ละวัน)
ซึ่งเมื่อวาน Coinbase ตลาดอันดับ 2 ของโลกเพิ่ง IPO เข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
แต่รู้ไหมว่าตอนนี้ Coinbase มีมูลค่ามากกว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของตลาดหุ้นทุกตลาดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็น NYSE, Nasdaq, London หรือแม้แต่ตลาด Futures, Options เบอร์หนึ่งของโลกอย่าง CME Group
เป็นครั้งแรกที่โลกได้รับรู้ว่า คนให้มูลค่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีมากกว่าตลาดหุ้น
นี่ยังไม่พูดถึง Binance ที่เป็นอันดับหนึ่งของตลาด Exchange คริปโทเคอร์เรนซีที่มีปริมาณการซื้อขายมากกว่า Coinbase กว่า 10 เท่า..
เมื่อวานก็มีหลายคนคำนวณกันว่า ถ้า Binance เข้าตลาดหุ้น บริษัท Binance จะเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเป็น Trillion Dollar ซึ่งเทียบเท่า Amazon, Apple, Microsoft, Google เลยทีเดียว
ก็เรียกได้ว่า Binance จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่สุด ของโลกนี้..
แล้วคริปโทเคอร์เรนซี เป็นแบบนี้ มีความท้าทายอะไรบ้าง ?
คริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้อ้างอิงกับสิ่งที่มีตัวตนในโลกนี้ (ถึงแม้ว่าตอนนี้เริ่มมีบางเหรียญที่อ้างอิงกับค่าเงินจริง หรือหุ้นในโลกจริง) ส่วนตลาดหุ้นแน่นอนว่าส่วนใหญ่จะอ้างอิง หุ้นของบริษัทที่ทำกิจการจริงในโลกนี้
เรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากกับผู้กำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. ที่กำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำกับดูแลภาคการเงิน
สำหรับนักเศรษฐศาตร์ที่มีความอนุรักษ์นิยม แน่นอนเขาจะบอกว่าของที่ไม่มีอยู่จริง มันจะมีมูลค่ามหาศาลได้อย่างไร
คำถามง่าย ๆ คือ ถ้าเรื่องนี้มันแค่เริ่มต้น ในวันต่อ ๆ ไป ราคา Dogecoin พุ่งขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขการซื้อขาย Dogecoin วันละ 6,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10,000 ล้านบาท หรือ 100,000 ล้านบาท
การที่ Dogecoin ที่มันเกิดขึ้นโดยไม่มีอะไรเลย คนสร้างก็บอกเองว่าตั้งใจจะล้อเล่น
มันก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายต่อ ก.ล.ต. ผู้กำกับดูแลโดยตรงเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์
และถ้าใครคิดว่า โลกของคริปโทเคอร์เรนซี เป็นแค่การขึ้นลงของเหรียญ ซึ่งเราไม่มีทางได้ใช้เหรียญนั้นจ่ายเงินซื้อสินค้าใด้ในชีวิตจริง ถึงตอนนี้คงไม่จำเป็นแล้วว่าเหรียญจะเอามาซื้อสินค้าได้จริงหรือไม่ เพราะลงทุนแมนคิดว่าเป็นเรื่องเล็กแล้ว เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะพูดถึงต่อจากนี้
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ระบบนิเวศของคริปโทเคอร์เรนซี เปลี่ยนไปมาก
คริปโทเคอร์เรนซี ได้ใช้สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า smart contract (ส่วนใหญ่อยู่บน Ethereum) ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อล้อไปกับโลกการเงินจริง ซึ่ง เขาจะเรียกกันว่า Decentralized Finance หรือ DeFi แปลง่าย ๆ ก็คือ โลกการเงินที่ไร้ตัวกลาง..
การกู้เงิน
การให้ยืมเงิน
การให้ดอกเบี้ย
การมีหลักประกันในการกู้ยืม
การบังคับขายหลักประกัน เมื่อมีความเสี่ยง
การแลกเปลี่ยนคู่คริปโทเคอร์เรนซี คล้ายตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างประเทศ
แล้วรู้หรือไม่ว่าธุรกรรมทั้งหมดนี้ ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการดูแลแม้แต่คนเดียว..
ทั้งหมดทำผ่านระบบอัตโนมัติ
ทั้งหมดโปร่งใส เพราะ ทุกอย่างเป็น Code ที่เปิดเผย ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ (แต่บาง Code ก็อาจมีช่องโหว่) ซึ่งต่างจากระบบธนาคารที่บางอย่างอาจไม่โปร่งใส และทำให้เกิดเรื่องทุจริตอยู่บ่อยครั้ง
อ้างอิงตาม Defipulse ตอนนี้มีมูลค่าที่อยู่ในระบบ DeFi มากถึง 1.8 ล้านล้านบาท เติบโต 70 เท่าในหนึ่งปี โดยอันดับ 1 ของตลาดนี้ชื่อ Compound มีเงินที่ให้กู้ยืมมากถึง 3 แสนล้านบาท และรู้หรือไม่ว่าอันดับที่ 14 ชื่อ Alpha Homora เป็นของคนไทย และมีเงินที่ให้กู้ยืมในระบบมากถึง 2.8 หมื่นล้านบาท
แล้วเรื่องนี้มีความท้าทายอะไร ?
คำถามง่าย ๆ คือ ถ้าเรื่องนี้มันแค่เริ่มต้น ในวันต่อ ๆ ไป การกู้ยืมเงินใน DeFi พุ่งขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาท หรือ 1,000,000 ล้านบาท
มันก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้กำกับดูแลระบบสินเชื่อในประเทศไทย ว่าจะทำอย่างไร ?
และรู้หรือไม่ว่า ดอกเบี้ยในการให้ยืมใน DeFi มันสูงจนน่าดึงดูดให้โยกเงินเข้าไปอยู่ในนั้นเสียด้วย..
นี่อาจเป็นจุดที่น่าท้าทายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ของ ก.ล.ต. และ ธนาคารแห่งประเทศไทย
และนี่อาจเป็นจุดที่น่าท้าทายที่สุดของนักลงทุนด้วยเช่นกัน
เพราะมันเป็นครั้งแรกที่ สิ่งสมมติขึ้นมาในโลกเสมือน แล้วเอามาซื้อขายกัน
มันจะมีมูลค่ามากกว่า สินค้าจริง ในโลกจริง
แต่ถ้าคิดดี ๆ แล้ว
ทุกอย่างในโลกนี้ แม้แต่เงินจริงที่เราถืออยู่
มันก็อาจจะเป็นแค่ “สิ่งสมมติ” เหมือนกัน ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
คริปโทเคอร์เรนซี คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
สรุป 5 วิธีประเมินมูลค่า คริปโทเคอร์เรนซี /โดย ลงทุนแมน
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 บิตคอยน์ได้ทำราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.9 ล้านบาท ต่อเหรียญ
คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมถึง 35.8 ล้านล้านบาท และถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับที่ 8 บนโลก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายคนก็ได้ตั้งคำถามว่ามูลค่าของบิตคอยน์ ถึงจุดสูงสุดแล้วหรือยัง และเราจะประเมินมูลค่าของสินทรัพย์นี้อย่างไร ?
และเมื่อไม่นานมานี้ CFA หรือสถาบันที่รับรองคุณวุฒิด้านวิชาชีพนักการเงินทั่วโลกได้ตีพิมพ์เอกสารที่กล่าวถึงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ด้วย
โดยวิธีการประเมินมูลค่าดังกล่าวเป็นการรวบรวมโดยคุณ Hougan และ คุณ Lawant ที่อยู่ในเอกสารเผยแพร่ของทาง CFA ซึ่งไม่ได้เป็นความเห็นจากสถาบันอย่างเป็นทางการ
วันนี้ เรามาดูกันว่ามีแนวทางประเมิน
มูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนหน้านี้ การประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างกระแสเงินสดขึ้นมา
จึงทำให้ยากต่อการประเมินมูลค่าอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม CFA ก็ได้ระบุว่ามี 5 แนวทางในการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี
ซึ่งก็ต้องบอกว่าแต่ละแนวทางมีสมมติฐานและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
เรามาเริ่มกันที่แนวทางที่ 1 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาแทนที่ทองคำ”
วิธีนี้จะเป็นการประเมินมูลค่าในลักษณะของการเปรียบเทียบ
ระหว่างมูลค่าตลาดของสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี กับมูลค่าของทองคำ
โดยเราต้องคาดการณ์ว่าคริปโทเคอร์เรนซีนั้นจะมาแทนทองคำเป็นสัดส่วนเท่าใด
เช่น หากเราคาดการณ์ว่าบิตคอยน์จะมาแทนที่ทองคำได้ราว 10%
ปัจจุบัน ทองคำ มีมูลค่าตลาด 342 ล้านล้านบาท
บิตคอยน์ มีมูลค่าตลาด 32 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 9.4% เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดทองคำ ก็จะดูสมเหตุสมผลกับที่เราคาดการณ์
แต่สำหรับใครที่คิดว่าบิตคอยน์จะมาแทนที่ทองคำได้ในสัดส่วน 5%
บิตคอยน์ ก็จะถือว่ามีมูลค่าที่สูงเกินไปแล้ว นั่นเอง
แนวทางที่ 2 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาแทนที่สกุลเงินทั่วไป”
แนวทางนี้จะเป็นวิธีเดียวกับการประเมินมูลค่าของเงินตราทั่วไปแบบดั้งเดิม
ที่ประเมินจากปริมาณและรอบหมุนของเงินในระบบ
โดยเราจะมี 4 ตัวแปรหลักที่สำคัญ แบ่งออกเป็น
- Money Supply (M) คือ มูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซีที่เราสนใจ
- Velocity of Money (V) คือ ความถี่ของการใช้คริปโทเคอร์เรนซีในรอบ 1 ปี
- Price Level (P) คือ มูลค่าเฉลี่ยของธุรกรรมการใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่เกิดขึ้น
- Quantity of Goods and Services (Q) คือ จำนวนธุรกรรมที่เกิดขึ้น
โดยสมการที่ได้ก็อยู่ในรูปแบบของ M x V = P x Q
ยกตัวอย่างเช่น หากบิตคอยน์มีปริมาณธุรกรรม 1 แสนล้านครั้ง ต่อปี (Q)
ในขณะที่มีการใช้จ่ายด้วยบิตคอยน์ราว 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อธุรกรรม (P)
หมายความว่า P x Q หรือ มูลค่าธุรกรรมทั้งหมดจะมีมูลค่าราว 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี
ทีนี้ หากว่าบิตคอยน์ ถูกเปลี่ยนมือ (V) เฉลี่ยราว 5 ครั้ง ต่อปี
เราก็สามารถคำนวณมูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี หรือ M ที่ควรจะเป็นได้ โดย M = P x Q / V
ซึ่งเท่ากับ 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นเอง
หลังจากนั้น เราก็สามารถนำมูลค่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีที่คำนวณได้
มาเทียบได้ว่าสูงหรือต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากน้อยขนาดไหน
แนวทางที่ 3 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นระบบเครือข่าย”
ปกติวิธีนี้จะนิยมใช้วัดมูลค่าสำหรับกลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์
เช่น Facebook, Instagram หรือ Twitter
โดยมูลค่าของบริษัทเหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะขึ้น
ในขณะที่ หากแพลตฟอร์มไม่มีผู้ใช้งาน บริษัทก็จะมีมูลค่าเท่ากับ “0”
โดยสมการของการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
ก็คือ นำจำนวนผู้ใช้งานบนคริปโทเคอร์เรนซียกกำลังด้วย 2
อย่างไรก็ตาม ทาง CFA ก็ได้ระบุว่ามีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพของผู้ใช้งาน
เพราะการได้มาของผู้ใช้งานในบางครั้ง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่าย
แต่เกิดมาจากการโฆษณา จึงทำให้วิธีนี้ ไม่ถูกนำมาพูดถึงมากนัก
แนวทางที่ 4 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นเสมือนสินค้าโภคภัณฑ์”
สินค้าโภคภัณฑ์คือ สินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันทั่วโลก
ยกตัวอย่าง เช่น น้ำมันดิบ, ยางพารา, ถ่านหิน, ข้าว, น้ำตาล
วิธีการประเมินมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
จะคำนวณจากต้นทุนในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้า
โดยต้นทุนหลักสำหรับคริปโทเคอร์เรนซี ก็คือ ค่าไฟฟ้า ค่าเซิร์ฟเวอร์ และค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการขุด
ซึ่งมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีที่ควรจะเป็นไม่ควรต่ำกว่าต้นทุนทั้งหมดนี้
แนวทางที่ 5 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นสินทรัพย์ที่มีจำนวนจำกัด”
วิธีนี้จะคำนวณด้วยโมเดลที่เรียกว่า Stock-to-Flow
ซึ่งวิธีดังกล่าวมักจะถูกนำมาคำนวณหามูลค่าของสินทรัพย์ที่หายาก เช่น ทองคำและเงิน
ทั้งนี้ Stock-to-Flow ถูกออกแบบมาใช้กับบิตคอยน์โดยเฉพาะ เนื่องจากบิตคอยน์มีลักษณะคล้ายกันกับทองคำและเงิน คือ มีอยู่อย่างจำกัด และมีความสามารถในการกักเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
โดยโมเดล Stock-to-Flow จะเป็นการเทียบสัดส่วนระหว่าง
มูลค่าบิตคอยน์ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลก หารด้วยมูลค่าที่ผลิตขึ้นใหม่ได้ในแต่ละปี
ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละปี มูลค่าของบิตคอยน์ทั้งหมดบนโลกจะเพิ่มขึ้น
ในขณะที่บิตคอยน์ก็จะผลิตยากขึ้นเพราะในทุก ๆ สี่ปีจะเกิดกระบวนการ Halving
หรือการลดผลตอบแทนจากการผลิตบิตคอยน์ลงครึ่งหนึ่ง
อีกความหมายหนึ่งก็คือ ขุดได้ยากขึ้น นั่นเอง
นั่นจึงทำให้การประเมินมูลค่าบิตคอยน์ด้วย Stock-to-Flow จะมีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นตลอดเวลา
ซึ่ง CFA ก็ได้ระบุว่าโมเดลนี้เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางประเมินมูลค่า แต่ไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะดูเหมือนว่าการเกิดขึ้นที่น้อยลงของบิตคอยน์ได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวแล้ว ซึ่งถ้าใช้วิธีนี้ในการประเมินมูลค่าก็จะไม่มีวันที่มูลค่าลดลงเลย มีแต่จะเพิ่มขึ้นไปตลอดกาล
ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเหมือนวิธีอื่น ที่มูลค่าที่เหมาะสมจะขึ้นลงตามปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
ถึงตรงนี้ เราก็คงพอจะรู้แล้วว่ามีวิธีอะไรบ้าง
ที่เราจะนำมาใช้เพื่อหามูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซี
แม้ว่าจะมีแนวทางการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีที่หลากหลาย
แต่ตอนนี้ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่มีโมเดลไหนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่า
เพราะถ้าหากเราไม่รู้มูลค่าที่เหมาะสมของสินทรัพย์ที่จะลงทุนเลย
การซื้อครั้งนั้น ก็อาจจะเรียกว่าเป็นการเก็งกำไร มากกว่าการลงทุน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://coinmarketcap.com/currencies/บิตคอยน์/
-https://www.cfainstitute.org/-/media/documents/article/rf-brief/rfbr-cryptoassets.ashx
-https://saylordotorg.github.io/text_developing-new-products-and-services/s04-12-there-is-power-in-numbers-netw.html
คริปโทเคอร์เรนซี คือ 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
Digital Asset คืออะไร? สินทรัพย์ดิจิทัล และ ICO ที่ถูกกฎหมายไทยเป็นอย่างไร?
พระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ พรก. สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร?
------------------
ปี 2020 เรากำลังจะเห็นการเกิดใหม่ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล การกลับมาของ ICO ในประเทศไทย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset คืออะไร?
เมื่อปี 2017 Bitcoin มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกถึง 20 เท่าภายในปีเดียว จากเหรียญละ 3 หมื่นบาท พุ่งไปถึง 6 แสนกว่าบาท และนั่นทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตัวกันสุดๆ กับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี blockchain
ประกอบกับการมาของเทคโนโลยี blockchain platform ยุคที่ 2 อย่าง Ethereum ที่ทำให้ใครๆก็สร้างเหรียญของตัวเองได้แถมยังสามารถใช้ smart contract สัญญาอัจฉริยะ ประยุกต์ทำธุรกิจได้หลากหลาย จึงตามมาด้วยกระแสการระดมทุนของ startup ด้วยการทำ ICO คือ Initial Coin Offering หรือที่เราเรียกว่าการออกเหรียญ
ปัจจุบันนี้ประเทศไทย มีบังคับใช้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset) กันแล้ว และได้มีการเข้ามาควบคุมการซื้อขายแลกเปลี่ยน คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัล (Digital Token) โดย กลต หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในตอนนี้ก็ยังไม่มีการทำ ICO (Initial Coin Offering) ในประเทศไทยอีกเลย
รายการ Digital Thailand ตอนนี้มาฟังบทสัมภาษณ์ ดร.นพนวลพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset และ ทิศทางการทำ ICO ตามแนวทาง ก.ล.ต. เป็นอย่างไร
เรื่องของ Smart Contract และ Whitepaper มีความสำคัญอย่างไรกับการทำ Initial Coin Offering (ICO) และเกี่ยวข้องกับ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset อย่างไรบ้าง
มาดูกันว่า วิวัฒนาการของ ICO หรือ initial coin offering ซึ่งเป็นการระดมทุนแบบหนึ่ง ในโลกและในประเทศไทยเป็นอย่างไร นอกจากรูปแบบของ Project Based ในการทำ ICO (initial coin offering) ที่ใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชน (Blockchain) ในการออก Token ของบริษัทต่างๆ หรือ กลุ่ม Startup ที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันก็มีการทำในรูปแบบของ Asset Back อีกด้วยซึ่งจะต้องมาดูกันว่า Asset Back นั้นทำกันอย่างไร
นิยามตามกฏหมายไทย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset มี 2 ประเภท คือ
1. Cryptocurrency ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ แบบเดียวกับเงินสด เช่น Bitcoin
2. โทเคนดิจิทัล (Digital Token) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
Investment token หรือ โทเคนเพื่อการลงทุน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน และ
Utility token ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง คล้ายกับ point หรือ คูปอง
โดยนักลงทุนที่ซื้อและถือโทเคน ก็จะมีสิทธิตามที่ระบุในเอกสารประกอบการเสนอขายโทเคน หรือที่เรียกว่า White Paper อาจจะเป็นสิทธิในส่วนแบ่งรายได้ ผลกำไร หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งใน White paper ก็จะต้องบอกรายละเอืยดต่างๆของโครงการไว้ด้วย เช่นว่าโครงการนี้ระดมทุนไปทำอะไร อย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
เนื้อหาในคลิบนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวของในขั้นตอนการทำ ICO ซึ่งมีดังนี้
Issuer ผู้ออกโทเคน หรือผู้ระดมทุน
ICO Portal ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล
Broker นายหน้าขายโทเคนดิจิทัล
Exchange ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล
ผู้ที่ต้องการตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตเป็น ICO Portal คลิก http://www.sec.or.th/TH/Pages/SHORTCUT/DIGITALASSET.aspx
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.sec.or.th
แจ้งร้องเรียน ก.ล.ต. โทร 1207
และหากใครสงสัยว่า Tokenization คืออะไร? ICO มีกี่แบบ? จะแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัลได้อย่างไร ICO Portal คือใคร? ICO Portal ทำอะไรบ้าง? ติดตามเพิ่มเติมได้ที่คลิปนี้
https://youtu.be/h3L5HGcKIWI
รายการ Digital Thailand ออกอากาศ 21 มีนาคม 2563 ทางช่อง 3 กด 33
ติดตามได้ทุกเช้าวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
#stayhome #withme #whitepaper #smartcontract #cryptocurrency #bitcoin #DigitalAsset #สินทรัพย์ดิจิทัล #
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/NOyhwzmdehM/hqdefault.jpg)