"Actuary หรือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย" นี่แหละที่คือส่วนสำคัญสำหรับการคำนวณผลประโยชน์พนักงานของเราให้มีคุณภาพ และเชื่อถือได้อย่างแม่นยำ
.
#TAS19 #รับคำนวณผลประโยชน์พนักงาน #เกษียณ #เลิกจ้าง #เงินชดเชยสำรอง
.
- www.actuarialbiz.com -
...ถ้าจะพูดถึงอาชีพแปลกๆบนโลกนี้แล้ว จะเห็นว่ามีอาชีพที่คาดไม่ถึงมากมาย ไม่ว่าจะ นักนอนหลับมืออาชีพ นักจ้องสีทาบ้าน นักสืบขยะ แม้กระทั่งนักรีดพิษงู
...แต่ยังมีอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายและฟังดูเป็นอาชีพธรรมดา แต่ความจริงแล้วไม่ธรรมดา คือ "#แอคชัวรี"
...เชื่อว่าหลายคนคงไม่เคยรู้จักกับอาชีพ “แอคชัวรี” วันนี้แอดจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับอาชีพเฉพาะทางที่ยังเป็นที่ต้องการมาก อีกหนึ่งอาชีพในประเทศไทยกัน
... #นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือแอคชัวรี (Actuary) ปัจจุบันถือว่าได้เป็นอาชีพชั้นนำระดับแนวหน้าของโลกที่ยังมีความต้องการสูง และสามารถทำงานได้ทั่วโลก
...ความจริงแล้ว แอคชัวรีไม่ได้ทำงานแค่ในธุรกิจประกันภัยตามเชื่อเท่านั้นแต่สามารถทำงานได้ทั้งในบริษัทประกันภัย สถาบันการเงินต่างๆ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และหน่วยงานภาครัฐ จึงมีบทบาทสำคัญต่อทุกภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ
...พูดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพใหม่ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
________________________
- [ Top Job Secret ] -
#ทำน้อย #ได้มาก #ฉลาดเลือกงาน #อาชีพ #เคล็บลับ
「ธนาคารพาณิชย์ คือ」的推薦目錄:
- 關於ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 TAS19 คำนวณผลประโยชน์พนักงาน โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ABS Facebook 的精選貼文
- 關於ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 แนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำ ... 的評價
- 關於ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 ค่าใช้จ่ายกันสำรองคืออะไร? แล้วทำไมธนาคารต้องกันเงิน ... 的評價
ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"ธรรมนูญการคลัง วิธีการงบประมาณแผ่นดิน"
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 23:49:24 น.Tweet
คอลัมน์ ดุลยภาพดุลยพินิจ โดย ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1. การเลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ ผ่านพ้นไปแล้วถึงแม้ว่ายังไม่ได้ ส.ส.ครบถ้วน ต้องรอให้ กกต. ทำหน้าที่ "เลือกตั้งซ่อม" อีกระยะหนึ่ง ก็ได้รัฐบาลใหม่ตามระบบรัฐธรรมนูญ ในโอกาสนับว่าเหมาะสมที่จะช่วยกันคิด ไตร่ตรองและวิพากษ์หัวข้อจะปฏิรูปประเทศไทยอย่างไรดี? เชื่อว่าจะมีนักคิดต่างๆ นำเสนอความเห็นและการวิเคราะห์ครอบคลุมหลายมิติ เช่น ปฏิรูปการเมือง-ปฏิรูปเศรษฐกิจ-และปฏิรูปสังคมและวัฒนธรรม
ในฐานะนักเรียนเศรษฐศาสตร์ผมขอออกความเห็นเกี่ยวกับ "ธรรมนูญการคลัง" (fiscal constitution) ซึ่งถือว่าเป็นหลักการสำคัญ ควรบรรจุในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับนานาประเทศที่กำหนดธรรมนูญการคลังในกฎหมายสูงสุด พร้อมกับอธิบายเหตุผลประกอบ
2. "วิธีการงบประมาณแผ่นดิน" เป็นหัวเรื่องสำคัญของการทำงานของรัฐบาล ต้องยกร่างกฎหมายงบประมาณและขอความไว้วางใจจากรัฐสภา สังคมไทยจะมีวิธีการควบคุมการใช้จ่ายของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ลดความรั่วไหล ป้องกันทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างไร? ผมขอเสนอแนวความคิดบางประการ
1) การจัดทำงบประมาณควรอิงหลักวินัยทางการคลัง (fiscal discipline) ซึ่งความจริงวินัยการคลังไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2502 ใส่หลักวินัยการคลังในบางมาตรา คือ "กรอบการขาดดุลจะต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 20" และ "กรอบหนี้สาธารณะจะต้องไม่เกินกว่าระดับหนึ่ง" (ซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละยุคสมัย) ในอดีตไทยได้ชื่อว่ารักษาวินัยการคลังเป็นอย่างดียิ่ง --แต่ในยุคใหม่รัฐบาลจากการเลือกตั้ง หลักวินัยการคลังเริ่มสั่นคลอน และมีพัฒนาการด้านงบประมาณทั้งทางบวกและทางลบ ในที่นี้ขอไม่อภิปรายจุดดีเพราะไม่ใช่เวทียอวาที แต่จะขอวิพากษ์จุดอ่อนเพื่อเสนอแนะการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลง
ระหว่างที่เรียบเรียงบทความ ผู้เขียนได้อ่านตำราการคลังเล่มหนึ่งประกอบ ชื่อว่า Principles of Public Economics : A Public Choice Approach เขียนโดยศาสตราจารย์ Francesco Forte ตีพิมพ์ ค.ศ.2010 อ้างอิงสนธิสัญญามาสทริทช์ อันถือเป็นแม่บทของประชาคมยุโรป กำหนดหลักวินัยการคลังว่า ก) การขาดดุลงบประมาณรัฐบาลต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP และต้องลดลงในระยะยาว ข) หนี้สาธารณะต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 60 ของ GDP
ในทรรศนะของผู้เขียน การกำหนดเพดานหนี้สาธารณะของไทย ไม่ควรจะลอกเลียนแบบสนธิสัญญามาสทริทช์แบบดุ้น เหตุผลคือ ความสามารถเก็บภาษีของไทยเรา ต่ำกว่าประเทศในแถบยุโรปค่อนข้างมาก ไทยเราเก็บภาษีได้เพียงร้อยละ 17-18 ของ GDP ในขณะที่ประเทศแถบยุโรปเก็บภาษีได้ 30-40% ของ GDP จึงลอกกติกาแบบดุ้นๆ จึงอาจไม่เหมาะกับประเทศไทย กรอบหนี้สาธารณะแบบไทยอาจจะกำหนดเป็น 2 ระดับ ระดับแรก 40% หรือน้อยกว่านั้น ให้ถือเป็นเรื่องปกติ รัฐบาลไม่ต้องชี้แจง แต่เมื่อใดที่ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่านั้น คือ ระหว่าง 40-60% ให้รัฐบาลมีหน้าที่ชี้แจงต่อรัฐสภาและต่อสาธารณะ พร้อมกับให้อธิบายว่ามีแผนการปรับตัวอย่างไร (การเพิ่มรายได้เข้ารัฐ หรือลดรายจ่ายภาครัฐ) เพื่อให้กลับเข้าสู่พิสัยปกติ
2) "มาตรการประชานิยม" ความจริง ประชานิยมไม่ใช่สิ่งผิด ทุกพรรคการเมืองล้วนมีความประสงค์ให้ประชาชนนิยมและความเชื่อถือการทำงานของพรรค พรรคแข่งกันคิดนโยบายใหม่ๆเพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้ประชาชน โดยเฉพาะระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จากประสบการณ์ในอดีตเราได้เห็นตัวอย่าง "ประชานิยมที่ดี" ในหลายโครงการ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนหมู่บ้าน เป็นมาตรการเพิ่มพลังและใส่เงินทุนให้ประชาชนบริหาร แต่ในทางตรงกันข้ามเราเคยเห็นตัวอย่างของ "ประชานิยมแบบห่วย" เช่น โครงการแจกเงิน ไฟฟ้าน้ำประปาฟรี ข้อเสนอการยกหนี้ (กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา - หมายเหตุ เป็นคำประกาศหาเสียงของพรรคการเมือง ยังไม่ปฏิบัติจริง) เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยเพราะการบิดเบือนกลไกราคา การละเมิดสัญญาซึ่งผิดศีลธรรมอันดีงาม ประชาชนควรช่วยตัวเองในเรื่องค่าน้ำค่าไฟฟ้าค่ารถเมล์ สิ่งที่รัฐพึงจะช่วยเหลือประชาชนคือ การจัดการความเสี่ยงขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับตำราที่ระบุ บทบาทของภาครัฐในฐานะเป็น social insurer โครงการรับจำนำข้าว ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีเจตนาที่ดีในการช่วยเหลือชาวนา แต่มีจุดโหว่มากมาย และผิดทาง คือ ไปไกลเกินกว่าการ "แทรกแซงตลาด" กลายเป็นว่ารัฐบาลการรับซื้อข้าวทุกเมล็ดจากชาวนา ละเมิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบผสม เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์จำนำข้าวมากมายอยู่แล้ว จะขอไม่ขยายความ
3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพิจารณางบประมาณ คำถามว่า ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร? ผู้เขียนเห็นว่ามีความเป็นไปได้ คือ (ก) กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับนโยบายงบประมาณของสำนักงบประมาณ แทนวิธีการปัจจุบัน ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมีอำนาจสูงสุด ซึ่งเป็นวิธีการแบบโบราณ โปรดสังเกตว่าองค์กรยุคใหม่มักกำหนดให้มี "คณะกรรมการกำกับทิศทางหรือนโยบาย" เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัย ธนาคารพาณิชย์ (ข) คณะกรรมการงบประมาณควรจะเปิดที่ให้ตัวแทนภาคประชาชนและวิชาการจำนวนหนึ่ง (เช่น 50%) สมมุติเป็นตัวเลข 7-8 คน จากจำนวน 15 คน (ค) เสนอให้รัฐสภามี "ตัวช่วย" คือ สำนักงบประมาณรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์-กำกับ-สอบถามรัฐบาลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลและคุ้มค่าเงิน มีตัวอย่างในสหรัฐและอีกหลายสิบประเทศ ที่มีสำนักงบประมาณรัฐสภาโดยทำงานไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว แต่ทำงานในลักษณะ "คานอำนาจ" "อิงหลักวิชา" "ติดตามประเมินความคุ้มค่าของเงิน" และ "วิเคราะห์ผลกระทบของรายจ่ายต่ออนาคตระยะยาว" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกู้ยืมโครงการขนาดใหญ่
4) เสนอให้มีงบประมาณพื้นที่ ผสมผสานกับ งบประมาณฐานกรม พ.ร.บ.งบประมาณ 2502 ระบุให้ "กรม" เป็นหน่วยขอรับงบประมาณ กรมเป็นการบริหารแนวตั้ง สิ่งที่ขาดคือ หน่วยงานบริหารตามแนวนอน คือ จังหวัด จังหวัดจัดการตนเอง องค์กรปกครองท้องถิ่น หรืองบประมาณเพิ่มพลังประชาคม (SML) (ข) ควรจะให้ความสำคัญของ "งบประมาณแผนงาน" (program-budgeting) มากกว่า "งบประมาณแจกแจงรายการ" (line-item budgeting) การอภิปรายงบประมาณจะมีเนื้อหาสาระมากกว่าการอภิปรายเป็นรายการ (ค) งบประมาณรายจ่ายเชิงพื้นที่ กับ งบประมาณฐานกรม ควรจะสมดุลกัน หมายถึงสัดส่วนประมาณ 50:50 หน่วยงานพื้นที่หมายถึง "จังหวัด และ จังหวัดจัดการตนเอง" "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
5) งบประมาณเพิ่มพลังประชาคม หมายถึง การกันเงินงบประมาณส่วนหนึ่ง 5-10% เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มพลังภาคประชาสังคม หลักคิดนี้สอดคล้องกับแนวทาง Downsizing government หรือ Reinventing Government คือลดการทำงานภาครัฐ ให้หน่วยอื่นมาทำแทน ตรงกับคำกล่าวว่า "รัฐบาลคัดหางเสือ ไม่ต้องพาย" (steer the boat, do not roar the boat) ในประเทศได้ปรับตัวให้มี "สาขาที่สาม" (the third sector) คือไม่ใช่มีเพียงรัฐบาลและธุรกิจเอกชน ควรเปิดภาคประชาสาธารณะมาทำงานแทนรัฐ โดยรับการอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
3. ในโอกาสที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญหรือกำหนดกติกาสังคมกันใหม่ เชื่อว่าจะมีข้อเสนอใหม่ๆ มากมาย สำหรับผู้ที่สนใจการปฏิรูปเศรษฐกิจขอแนะนำหนังสือของอาจารย์ Francesco Forte ให้แง่คิดและประสบการณ์บริหารงบประมาณจากประชาคมยุโรปที่น่าสนใจ เช่น หลักความครอบคลุม (the coverage principle) หลักความกระจ่าง (the clarity principle) และหลักวิเคราะห์งบประมาณ (the principle of analyticity of the budget) ปรมาจารย์ James Buchanan เจ้าสำนักทางเลือกนโยบาย (school of public choices) และเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เขียนคำชมเชยหนังสือเล่มนี้ว่า "ผมเป็นแฟนของ Francesco Forte มาเป็นเวลานานแล้ว"
ระหว่างรอรัฐบาลใหม่ เราชวนกันมาพูดคุยพร้อมกับออกความเห็นการปฏิรูปประเทศไทยกันดีกว่า และท้ายที่สุดอย่าลืมบรรจุธรรมนูญการคลังไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
หน้า 6 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ 14 กุมภาพันธ์ 2557
ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 ค่าใช้จ่ายกันสำรองคืออะไร? แล้วทำไมธนาคารต้องกันเงิน ... 的推薦與評價
(เสี่ยงที่ว่าคืออาจจะชำระหนี้ไม่ไหว) ก็ต้องกันเงินสำรองสูงตามไปด้วย ทำให้กำไรของธนาคารลดลง ในช่วงปี 2563 ธนาคารตั้งสำรองไว้สูง เพื่อ ... ... <看更多>
ธนาคารพาณิชย์ คือ 在 แนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำ ... 的推薦與評價
ภายใต้แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน (แนวนโยบาย Financial Landscape) ... ... <看更多>