วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
「ธรรม6ประการ」的推薦目錄:
- 關於ธรรม6ประการ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最佳貼文
- 關於ธรรม6ประการ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ธรรม6ประการ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ธรรม6ประการ 在 รายการพบพระอาจารย์ “ ธรรม ๖ ประการ เพื่อความไม่เสื่อม ” (รีรัน) 的評價
- 關於ธรรม6ประการ 在 เจริญสติด้วยการละธรรม 6 ประการ | คอร์สเดินจิตสติปัฏฐาน 4 ตอนที่ 8 的評價
- 關於ธรรม6ประการ 在 สมบัติ 6 ประการ ของชาวพุทธ | มีเรื่องมาเล่ากับพระมหาวีรพงษ์ นิมฺมโล 的評價
- 關於ธรรม6ประการ 在 อนุตตริยะ 6 ประการ | (หัวข้อธรรมะ) | พุทธวจน - YouTube 的評價
- 關於ธรรม6ประการ 在 รายการสถานีธรรม : คารวะ 6 ประการของชาวพุทธ // ตอนที่ . 265 的評價
ธรรม6ประการ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ปรัชญากฎหมายไทยหลังการปฏิรูปกฎหมายและการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ภาระกิจการปฏิรูปสังคมก็ได้รับการสืบสานต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5ป (พระราชโอรส) สนธิสัญญาเบาว์ริ่งยังคงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เข้าสู่แบบวิถีสังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก ขณะเดียวกันควบคู่กับแผนการปฏิรูปสังคม (ปฏิรูปการปกครอง) ให้เป็นแบบสมัยใหม่ (Modernization) การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) และโดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมาย นับเนื่องจากปรัชญากฎหมายไทยแบบเดิมที่อิงอยู่กับพระธรรมศาสตร์หรือปรัชญาอินเดียโบราณ ได้ประสบการณ์เสื่อมถอยเป็นอย่างมาก หลังจากที่ประสบการณ์ปรับเปลี่ยนตัวมาแล้วระลอกหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4
จุดสำคัญยิ่งคือพร้อม ๆ กับเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายเดิม ปรัชญากฎหมายตะวันตกก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นเคียงคู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่รัฐกำลังเน้นความทันสมัยและการรวมศูนย์อำนาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กระบวบการสร้างทันสมัยและดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง รัฐหรือองค์พระมหากษัตริย์ได้สร้างเงื่อนไขที่สนับสนุนการรับหรือนำเข้ามาซึ่งปรัชญากฎหมายตะวันตก
การต่อสู้และความสำเร็จในรื้อฟื้นหรือรวมศูนย์อำนาจทำให้ยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้รับการเรียกขานให้เป็นยุคแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอันสมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในรัฐไทย จนอาจเรียกรัฐยุคนี้ว่า“รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Absolutist State)
น่าสนใจที่ภายใต้กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองภายในที่พยายามเปลี่ยนแปลงความไม่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง ได้สร้างผลกระทบต่อปรัชญากฎหมายไทย ขณะเดียวกันบนพื้นฐานของความสำเร็จในการสร้างสมบูรณาญาสิทธิและการปฏิรูประบบหรือสถาบันกฎหมายก็ได้นำไปสู่การรับหรือการนำเข้ามา (Reception) ซึ่งความคิดทางกฎหมายตะวันตกในแง่หลักกฎหมายโดยเฉพาะปรัชญากฎหมาย “แบบปฏิฐานนิยม”
(Legal Positivism) ของตะวันตก
1.การก่อตัวของปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายในสังคมไทย
การกำเนิดแห่งปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในช่วงปฏิรูปของการปกครองไทยมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ อีกทั้งเหตุปัจจัยนั้นยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างละเอียดอ่อน นับเนื่องจากเหตุปัจจัยด้านการคุกคามของตะวันตกต่อเอกราชของชาติ อิทธิพลของวัฒนธรรมความคิดตะวันตกจึงแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำ อันรวมทั้งความคิดสมัยใหม่แบบวิทยาศาสตร์นิยมหรือปฏิฐานนิยม (Positivism) (ซึ่งนักคิดปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลขณะนั้น คือ เจอเรมี เบนแธม หรือ จอห์น ออสติน) การต่อสู้ภายในเพื่อสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิและที่สำคัญคือการปฏิรูปกฎหมายเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องระบบกฎหมายไทย เพื่อต้องการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลคืนมา จากการที่ได้ลงนามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายไทยในสมัยนั้นป่าเถื่อน ล้าสมัย เช่น การพิสูจน์ด้วยการดำน้ำ การลุยไฟ เป็นต้น ดังนั้นคนอังกฤษเข้ามาอยู่ในไทย กระทำความผิดในไทยให้ขึ้นศาลอังกฤษ (ซึ่งมาตั้งอยู่ในไทย) เท่ากับว่าไทยยอมสละสิทธินี้เรียกว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล กลายเป็นแม่แบบที่ประเทศอื่นๆได้ทำสนธิสัญญากันอย่างรวดเร็วรวมอังกฤษด้วยกัน 15 ประเทศ ประกอบด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอแลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอร์เว เบลเยี่ยม อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี สเปน รัสเซียและญี่ปุ่น
เนื้อหาของการปฏิรูปกฎหมายประกอบทั้งการจัดระเบียบศาลให้เป็นแบบตะวันตกโดยการตั้งกระทรวงยุติธรรม การจัดและเลือกระบบกฎหมายแบบจำลองตะวันตก ซึ่งจะสืบเนื่องไปถึงการชำระสะสางกฎหมายโดยยกร่างตัวบทหรือประมวลกฎหมายสมัยที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างโรงเรียนกฎหมายเพื่อสอนนักกฎหมายที่สามารถใช้กฎหมายในระบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพิจารณารายละเอียดของการปฏิรูประบบกฎหมายที่นับว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน น่าจะมาจากปัญหาของการปฏิรูประบบกฎหมายไทย อยู่ 2 ประการ คือ ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงานในระบบกฎหมายใหม่กับปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ ดังนี้
1. ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงาน
ประเด็นนี้น่าจะถือเป็นมูลเหตุอันสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่การ “นำเข้า” ปรัชญากฎหมายตะวันตกแบบปฏิฐานนิยม เป็นอุปสรรคในด้านกำลังคนทำให้เกิดความจำเป็นในการจ้างนักกฎหมายต่างประเทศเข้ามาทำงาน และที่สำคัญคือ การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ โดยจำเพาะในช่วงแรก ๆ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระราชโอรสส่วนมากไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ จากจุดนี้เองที่นักปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ซึ่งมีอิทธิพลในแวดวงนิติศาสตร์ของอังกฤษ (English Jurisprudence) ได้มีโอกาสข้ามน้ำข้ามทะเลมาปรากฏในประเทศไทย โดยผ่านทางนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ออกไปศึกษาในประเทศอังกฤษ
2. ปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ
เนื่องจากในสมัยนั้นการออกกฎหมายในส่วนที่ใช้บังคับชาวต่างประเทศ จำเป็นที่ต้องให้รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องด้วยยินยอม (เพราะเราสูญเสียสิทธินอกอาณาเขตทางศาลอยู่ ประเทศที่อยู่เหนือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล จึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการยกร่างกฎหมายด้วย)
2.ความคิดทางปรัชญากฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
จากการที่รัชกาลที่ 5 ได้ส่งบุตร คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ไปศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ได้รับแนวคิดปรัชญากฎหมายปฏิฐานิยม ของ จอห์น ออสติน (John Austin) มาใช้และมาสอนในโรงเรียนสอนกฎหมายของไทย ซึ่งในเล็คเชอร์ว่าด้วยกฎหมายของพระองค์ได้ยืนยันว่า กฎหมายนั้น คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามธรรมดาต้องลงโทษ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำกล่าวเช่นนี้ค่อนข้างจะยืนยันในทฤษฎีปฏิฐานนิยม ตามแนวความคิดของจอห์น ออสติน ที่ถือว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์”
แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังได้กล่าวต่อไปว่า “อนึ่งคำอธิบายกฎหมายที่ว่ามาแล้วเพราะยังมีที่ติ” หรือในหนังสือคำอธิบายกฎหมายได้กล่าวไว้ว่า “คำอธิบายที่ได้ว่ามานั้นก็ไม่สู้ดีนักด้วยเหตุว่าไม่ตรงแก่ความจริงหลายประการ”
ข้อบกพร่องดังกล่าวเช่น
1. พระองค์เห็นว่าทฤษฎีนี้ มองข้ามสิ่งที่เป็นจารีตประเพณีในเ ล็คเชอร์ ว่าด้วยกฎหมาย
กล่าวว่า “ธรรมเนียมที่ได้ทำกันมาฤาที่เรียกว่า ธรรมเนียมซึ่งในเวลาไม่มีแบบ ทำให้ศาลเห็นทางในการวินิจฉัยความเหนือว่ากฎหมายบทหนึ่ง……”
2. ทฤษฎีนี้มองข้ามกฎหมายธรรมดา พระองค์ทรงแบ่งกฎหมายเป็น “กฎหมายแท้” หรือ “ข้อบังคับแท้” อันหมายถึงกฎหมายทั่วไปที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปคำสั่งของรัฐและอีกส่วนหนึ่งคือ “กฎหมายธรรมดา”
กฎหมายธรรมดา นั้นพระองค์ได้กล่าวว่า “ที่ไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ฤาไม่ได้เป็นคำสั่งด้วยวาจาของผู้มีอำนาจ แต่ที่นับว่าเป็นกฎหมายเพราะเหตุว่าความสันนิษฐานในวิชากฎหมายนั้นตีเสียว่ามีแบบแผนในการที่เกิดขึ้นในทุกเรื่องทุกชนิด ในเรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายเป็นอักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมดายกขึ้นใช้ไม่ผิดกับกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายธรรมชาตินั้นก็คือความประพฤติหรือแบบที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ ในโลกนี้หรือจะกล่าวเพื่อที่จะให้เป็นการจริงกว่านี้ว่าศาลคิดเทียบตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์จะให้คำข้อบังคับอื่น ๆ เป็นการเดินสะดวกต่อบ้านเมือง”
ข้อสังเกต การมองในแง่การตีความหมาย “กฎหมายธรรมดา” (กดธรรมดา) น่าจะหมายถึงกฎหมาย Common Law ในจารีตกฎหมายของอังกฤษซึ่งในระดับสำคัญมีความเชื่อมโยงด้านอิทธิพลทางความคิดหรือมีลักษณะคล้ายหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ หรือหลักกฎหมายธรรมชาติ (Jus Naturale) ที่ใช้กันอยู่นานนับแต่ครั้งสมัยโรมัน
โดยสรุป “กฎหมายธรรมชาติ” เป็นกฎหมายที่แตกต่างจาก “กฎหมายแท้” หรือ
“กฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้น” เพราะกฎหมายธรรมชาติไม่ได้เป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการตัดสินคดี เรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมชาติ เพราะกฎหมายธรรมชาติ คือ ความประพฤติหรือแบบแผนที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ
3. การไม่ยอมรับความยุติธรรมที่นำมาเป็นบทตัดสินคดีในความเป็นจริงทฤษฎีนี้ไม่
ยอมรับความยุติธรรม พระองค์มองว่าในความจริงแล้วต้องอ้างหลักยุติธรรม แต่ว่ามิใช่จะอ้างความยุติธรรมพร่ำเพรื่อ เหตุเพราะความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ดังคำกล่าวใน “คำอธิบายศึกษากฎหมาย“ (ความจริง) เป็นการเลื่อนลอยด้วยเหตุว่ายุติธรรมนั้นเป็นแต่ความเห็นของบุคลบางพวกดังนี้ ตรงกันข้ามจะเอาเป็นยุติไม่ได้
ข้อสังเกต ประเด็นวิจารณ์ต่อแนวความคิดต่อปัญหา “รัฏฐาธิปัตย์” อยู่ที่เรื่อง ข้อวิตกในอำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งอาจนำไปการออกกฎหมายโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ภายใต้แนวคิดที่เน้นแต่เรื่องความมั่นคงหรือความมีวินัยของสังคมเท่านั้น จุดบกพร่องสำคัญยังอยู่ที่ไม่มีการแยกแยะให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง “รัฏฐาธิปัตย์ถูกต้องตามกฎหมาย” (De Jure Sovereignty) และ “รัฏฐาธิปัตย์ในสถานที่เป็นจริง” (De Facto Sovereignty) ซึ่งอาจหมายถึงผู้ที่ขึ้นมามีอำนาจในการปกครองแผ่นดิน โดยใช้อำนาจและบังคับผู้อื่นให้เคารพเชื่อฟังตน ไม่ว่าโดยแบบการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร
ข้อวิตกต่อเรื่องลักษณะของอำนาจทางการเมืองของรัฐาธิปัตย์จึงทำให้มีผู้วิจารณ์ว่า ทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว (ปฏิฐานนิยม) มองกฎหมายในแง่แบบพิธีเก่านั้นหรือมองกฎหมายเป็นเพียงคำสั่งคำบังคับของผู้มีอำนาจอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงประเด็นมูลฐานของกฎหมายในแง่ของความตกลงยินยอมของผู้ปกครองและผู้ภายใต้ปกครอง โดยนัยนี้กฎหมายจึงกลายเป็น “ยานพาหนะที่สามารถบรรทุกสินค้าใด ๆ ก็ได้กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และไม่ยุติธรรมก็ใช้บังคับได้สมบูรณ์เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ดีที่สุด”
นอกจากนี้ในวิจารณ์ดังกล่าวยังหนุนรับข้อวิจารณ์ในแง่หลักการทางความคิดเรื่องแยกกฎหมายออกจากศีลธรรมหรือความยุติธรรม (ในทำนอง “อย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วหรือความยุติธรรม”) ซึ่งก็มีผู้มองว่าเป็นแนวคิดเชิงเครื่องมือนำไปสู่ระบบเผด็จการ
อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าคิดอยู่มากต่อความสมจริงในประเด็นข้อวิจารณ์ทางการเมืองต่อทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ภายหลังที่มีการแพร่หลายของทฤษฎีนี้มากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตามมาเมื่อการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยื้อแย่งการเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เป็นระลอกๆ ปัญหาเรื่องประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติในฐานะที่เป็น “คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” ได้กลายเป็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรง
ข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าว คงต้องมีการวิเคราะห์กันอย่างจริงจังอย่างไรก็ตามที่จุดนี้เมื่อกล่าวถึงการเผยแพร่คำสอนในปรัชญากฎหมายกฎหมายตะวันตก ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสในองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า)ในยุคแห่งการปฏิรูปกฎหมายและบ้านเมือง ถึงแม้ทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์จะได้รับการอธิบายสืบทอดต่อ ๆ กันมา หากทั้งนี้ในเวลาเดียวกันก็คงมิได้หมายถึงสาปสูญหมดความสำคัญของปรัชญากฎหมายแบบธรรมนิยมเสียเลยเพราะธรรมนิยมหรือกฎหมายพุทธนิยมยังมีความผูกติดกับแนวคิดปฏิฐานนิยมอยู่บ้าง
3.ปรัชญากฎหมายไทยหลังยุคปฏิรูปการปกครองไทยต่อยุคประชาธิปไตย
ปรัชญากฎหมายแบบตะวันตกที่นำเข้ามาโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็มีการแพร่การรับรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนกฎหมาย ภายหลังสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อมีการผลิตตำราหรือวารสารทางกฎหมายเผยแพร่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นั้นให้ความสำคัญต่อกฎหมายในเชิงจารีตประเพณีหรือประเพณีนิยม ซึ่งรัชกาลที่ 6 ชี้ถึงความคิดในเชิงปฏิบัตินิยมมากกว่าอุดมคตินิยม แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 นั้นจะสอดคล้องกับแนวความคิดของสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้จากจุดยืนทางความคิดแบบชาตินิยมหรืออนุรักษ์นิยมของรัชกาลที่ 6 และความเชื่อมของจุดยืนกับความคิดด้านกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว ที่กรมพระสวัสดิ์วัตน์วิศิษฐ์ อธิบดีศาลฎีกาเกี่ยวการยกเลิกระบบผัวเดียว หลายเมีย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางกฎหมายของไทยโบราณ
แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 ได้สะท้อนจุดยืนทางความคิดแบบอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมอย่างชัดเจน ดังคำขวัญที่พระองค์คิดค้นขึ้นแพร่หลาย คือ อุดมการณ์ “ชาติ–ศาสนา–พระมหากษัตริย์” ในฐานะอุดมการณ์แห่งชาติทรงย้ำความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทยและคนไทย พร้อมกับการปรามเรื่องการเลียนแบบฝรั่งในทำนองเป็นการกระทำของผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ข้อสำคัญอย่างยิ่งคือ ทรงเห็นว่า การปกครองแบบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญนั้นไม่เพียงเป็นการทำลายเอกภาพของชาติเท่านั้น หากเป็นการแสดงออกถึงการเป็นทาสของการเลียนแบบตะวันตกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้รัชกาลที่ 6 จะทรงพยายามเหนี่ยวรั้งระบบราชาธิปไตยเอาไว้ แต่พระประสงค์หรือพระราชดำรัสของพระองค์ก็มีสภาพเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์น้อยลงมาโดยเปรียบเทียบกรณีการแก้ไขกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว คงเป็นตัวอย่างหนึ่ง เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในการทัดทานการแก้ไขกฎหมายนี้ เจตจำนงหรือพระประสงค์ของพระองค์ก็มิอาจแปรความให้เป็นกฎหมายเสมอไป อิทธิพลแห่งวัฒนธรรมตะวันตกทั้งด้านสังคมและกฎหมายได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปร่างหรือธรรมชาติของกฎหมายและการขยายตัวซึ่งความคิดหรืออุดมการณ์เชิงความคิดของกฎหมายมากขึ้นในหมู่ชนระดับล่าง
ที่น่าสนใจอย่างมาก คือ กระแสความคิดเช่นนี้ได้รับการเหนี่ยวรั้งในท่ามกลางความไม่มั่นคงของพระราชอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของนักปรัชญากฎหมาย ปฏิฐานนิยมของตะวันตกบนบริบททางสังคมการเมืองที่ยังล้าหลังอยู่ หลังสิ้นยุคสมัยรัชกาลที่ 6 กระแสความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และที่สำคัญหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ผ่านทำให้เศรษฐกิจของรัฐไทยสมัยนั้นทรุดหนักและมาตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
4.ปรัชญากฎหมายไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สถานการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขความบกพร่องผ่านมา รวมทั้งเพื่อตอบสนองกระแสประชาธิปไตยทางการเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้อุบัติขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนำไปสู่การก่อตัวของรัฐชาติแบบไทย ๆ ที่มีลักษณะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ดังหลังจากนั้นการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อช่วงชิงอำนาจกันเองของชนชั้นปกครองการเป็นอุบัติการณ์เมืองปกติ หรือวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 80 ปี ที่ผ่านมา
การเติบโตของอิทธิพลแห่งหลักความคิดทางสังคมการเมืองตะวันตกปรัชญาความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและธรรมก็เสื่อมถอยลงทุกที ไม่มีสิ่งที่เป็นกระแสหลักของปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมที่เป็นปรัชญากฎหมายของทางการซึ่งเติบโตและผูกพันมายาวนานกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป อย่างไรก็ตามสมควรย้ำอีกครั้งว่าการเสื่อมของปรัชญาแบบพุทธนิยมทางกระแสหลัก จริงๆแล้วความเสื่อมเป็นมาตั้งแต่การสิ้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นับแต่การนำเข้าซึ่งความเจริญก้าวหน้าและวิทยาการแบบตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 5 (แม้กระนั้นความเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายทางการหรือปรัชญากฎหมายของรัฐแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นคนละประเด็นการสูญสิ้นปรัชญากฎหมายดังกล่าวในสังคมไทยโดยสิ้นเชิง)
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสภาพการระส่ำระส่ายทางการเมืองซึ่งมีการช่วงชิงอำนาจรัฐกันมาโดยตลอด แนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกบางสำนักได้รับการหยิบยืมเข้ามาอธิบายความชอบธรรมของการใช้อำนาจผู้ปกครองที่ได้อำนาจมาโดยการใช้กำลัง
กระนั้นก็ตามขณะเดียวกันที่มีอิทธิพลแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม นับวันนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษากฎหมายจากตะวันตกเพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่ความคิดทางปรัชญากฎหมายตะวันตกก็ขยายกว้างมากขึ้น มิได้จำกัดเฉพาะแต่ปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย หากเรื่องอิทธิพลหรือการยอมรับในปรัชญากฎหมายสกุลต่าง ๆ เช่นแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ กฎหมายนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นต้น
แนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์กฎมายเริ่มเข้ามีบทบาทบ้างในต่อสู้ต่อระบบการใช้อำนาจของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ยังไม่มีบทบาทมากนักเท่ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย จะเห็นได้จากคำพิพากษาของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญที่ปรากฏต่อเนื่องจนคล้ายเป็นบรรทัดฐานประเพณีไปแล้ว อาทิเช่น
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1153 / 1154 / 2495 : “…..การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้วเมื่อเป็นรัฐที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ความหมายว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…..”
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 : “ ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……”
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 1662 / 2502 : ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…”
4. คำพิพากษาฎีกาที่ 1234 / 2523 : “……แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ประกาศหรือคำสั่งนั้นยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
5. คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 ในประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 ใช้บังคับกับการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541ย้อนหลังได้ เพราะถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมาย
แนวคิดการยอมรับกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติได้สร้างประเด็นถกเถียงเชิงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอย่างมากในหมู่ผู้ไม่เห็นด้วย ในระยะหลัง ๆ นักวิชาการบางท่าน มองว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงการนักกฎหมายไทยไม่มีส่วนส่งเสริม สิทธิเสรีภาพของประชาชนเนื่องติดอยู่กับแนวคิดทางปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม
5.ธรรม : ต่อการตีความหมายในแง่ประชาธิปไตย, หลักนิติธรรมหรือสิทธิมนุษยชน
การวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวงในยุคหลัง 2475 จึงล้วนอ้างอิงความคิดหรือหลักการทางกฎมายสมัยใหม่แบบตะวันตก อาทิ เรื่องหลักนิติธรรม, สิทธิเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน เป็นสำคัญโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญาธรรมนิยมทางกฎหมายดั้งเดิมที่พูดถึงเหตุผลนิยมหรือมนุษย์นิยม
การรับเอาแนวคิดที่ต่อสู้กับแนวคิดต่ออำนาจรัฐตามแนวคิดปฏิฐานนิยมหรือแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะกรณี 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ กลับคืนมาจากผู้มีอำนาจของรัฐขณะนั้น โดยนำแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ามาเรียกร้องโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญากฎหมาย (พุทธ) ธรรมนิยมเข้าเลย ก่อให้เกิดขาดการยั้งคิด การตรึกตรองเท่าที่ควรจึงก่อให้เกิดการนองเลือด 14 ตุลาคม 2516 ขึ้นมา เพราะเหตุนี้การที่นำแนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพอย่างเกินตัวของกลุ่มคนไทยในสมัยนั้นทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
ต่อมาได้มีนักวิชาการบางท่าน (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศน์ วะสี) ได้ยืนยันแนวคิดหลังจากวิกฤตการณ์ทางสังคมการเมืองครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่เรียกว่า
“พฤษภาทมิฬ” ในวันที่ 17 – 20 พ.ค. 2535 ซึ่งได้ยืนยันว่าประชาธิปไตยคือ ธรรมรูปแบบหนึ่ง ความคิดที่ถือเอาธรรมะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐใด ๆ ย่อมมีศักยภาพในทางพลังความคิดอย่างสูง โดยเฉพาะในสังคมที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาช้านาน
ในทำนองเดียวกับเรื่องของประชาธิปไตยกรณีหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และสิทธิมนุษยชน (Human Right) ก็อาจแปลให้เป็นส่วนแห่งธรรมะร่วมสมัยได้เช่นกัน สบแต่รายละเอียดแห่งเนื้อหาของหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่เพื่อค้ำประกันหรือประคับประคองชีวิตและสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้ตั้งมั่นอยู่ได้เป็นปกติ ทั้งในแง่ของความเสมอภาคและแง่ของการมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ ให้พ้นจากภัยคุกคามของอำนาจรัฐที่ไม่มีความชอบธรรมในปัจจุบัน ดังนั้นปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมจึงกลับมามีบทบาท (อยู่บ้าง) ในสังคมไทยดังเห็นได้ในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ผสมผสานกับปรัชญาตะวันตกที่มีเกลื่อนกลืนลำบากลูกคอแต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมานับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ได้ถูกล้มล้างโดยคณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2549 (ฉบับชั่วคราว) ขึ้นมาบริหารประเทศ รองรับประกาศหรือคำสั่งของ คปค.ทั้งก่อนหน้าและหลังเป็นกฎหมาย ตามมาตรา 36และ37 เป็นการยอมรับโดยสดุดีว่าเป็นกฎหมายตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมายอย่างแท้จริง และได้ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยมมายังมาตรา 309 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
และที่สำคัญแนวคิดปรัชญาปฏิฐานนิยมยังได้มีอิทธิพลล้นเหลือต่อการเมืองปกครองไทยในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 ของหัวหน้า คสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) มีอำนาจอธิปไตยสูงสุดใน “ฐานะรัฏฐาธิปัตย์” เหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและอำนาจตุลาการ และการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นก็ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้จะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเป็น “หลักการปกครองแบบรัฐตำรวจ" (Police State) ในลักษณะเช่นเดียวกับ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มาตรา 17 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 21 บทบัญญัติธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 มาตรา 27 ดังนั้นการกระทำของหัวหน้า คสช. พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้อำนาจเป็นอย่างยิ่งและการใช้อำนาจจะต้องอยู่ภายใต้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนหลักความสมควรแก่เหตุ ซึ่ง “หลักสมควรแก่เหตุ” หรือ อาจเรียกว่า “หลักความได้สัดส่วน” เป็นหลักที่เรียกร้องให้ฝ่ายปกครองใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะอย่างพอเหมาะโดยใช้วิธีการหรือเครื่องมือที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย มาตรการที่ฝ่ายปกครองใช้จึงต้องเป็นมาตรการที่เหมาะสม ใช้เพียงเท่าที่จำเป็น และต้องได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
ธรรม6ประการ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
นิติศาสตร์เชิงพุทธ
รวบรวมจาก ปาฐกถาของ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต)
1.ตามกฎธรรมชาติ มนุษย์ไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น มนุษย์จะได้รับประโยชน์อันใด ก็ต่อเมื่อทำเหตุตามธรรมชาติ
2.กฎของมนุษย์คือ "วินัย" ต้องอิงอยู่บนความจริง ของธรรมชาติ คือ "ธรรม"และวินัยมีไว้ก็เพื่อเข้าถึงและได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติ
3.ระบบกฎหมาย เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง จะแก้ปัญหาได้แค่ไหนก็อยู่ที่ว่ามนุษย์จะเข้าถึงธรรมหรือความจริงได้เพียงใด
4.ศักยภาพอันสูงส่งของมนุษย์ คือ
1)เข้าถึงความจริงตามธรรมชาติ
2)เอาความรู้ในความจริงหรือธรรมนั้น มาจัดวางระเบียบแบบแผน
ในสังคมอย่างประสานสอดคล้อง
5.วัตถุประสงค์ของการตั้งกฎเกณฑ์ กติกาของสังคม
1) เพื่อสร้างสภาพที่มนุษย์จะอยู่กันด้วยสงบเรียบร้อยเป็นอันดี
2) เพื่อให้สภาพที่สงบเรียบร้อยนั้น เป็นเครื่องเกื้อหนุนต่อการที่มนุษย์เหล่านั้นทุก ๆ คนจะเข้าถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งๆ ขึ้นไป คือ เป็นการสร้างสภาพเอื้อต่อการที่บุคคลจะได้พัฒนาความสามารถที่จะมีชีวิตที่ดีเราจะเอากฎหมายมาบังคับให้คนมีศีล 5 ยังไม่ถูก
แต่ทำอย่างไรจะเอากฎหมายมาช่วยให้คนพัฒนาตนให้มีศีล 5หรือสร้างสภาพเอื้อต่อการที่คนจะพัฒนาตนให้มีศีล 5 เพื่อจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป
6.วินัย หรือ ระบบสมมติทั้งหมด คือ การที่มนุษย์นำเอาปัญญาและเจตจำนงซึ่งเป็นคุณสมบัติ ธรรมชาติอันวิเศษที่ตนมีอยู่มาเพิ่มเข้าไปเป็นปัจจัยพิเศษในกระบวนการ แห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติเพื่อให้กระบวนการของเหตุปัจจัยนั้นดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมของตนโดยสอดคล้องกับปัญญาและเจตจำนงของมนุษย์
7.พระพุทธเจ้า มีพระดำรัสว่า "เราเคารพธรรม (ถือหลักการแห่งความจริง ความถูกต้องดีงาม ตัวกฎธรรมชาติ)แต่เมื่อสงฆ์เติบใหญ เราก็เคารพสงฆ์ด้วย่"
พระดำรัสนี้แสดงว่า ธรรมเกิดก่อนสังคม เกิดก่อนหมู่ชน และเกิดก่อนมติเสียงส่วนใหญ่ (สงฆ์)ทั้งสองสิ่งจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สิ่งที่สงฆ์อนุมัติจึงอาจเป็นสิ่งที่ชอบธรรมหรือไม่ก็ได้
ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างสงฆ์นั้น จะขัดกับธรรมไม่ได้
8.พุทธศาสนามีหลักการ 2 ประการ คือ ธรรมกับวินัยในเรื่องของสังคม ถ้าผิด วินัยจัดการทันที
หมายความว่า วินัยมีวิธีดำเนินการเพื่อให้ธรรม สำเร็จเป็นผลในสังคม มิฉะนั้น ในที่สุด ถ้าเราไม่เอาใจใส่การปฏิบัติธรรมก็จะคลาดเคลื่อนไป และสังคมก็จะคลาดธรรม
เป็นอันว่า กรรมจึงมีสองแบบ คือ
1)กรรมในธรรม ที่เป็นกฎตามธรรมชาติ
2)กรรมในวินัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยสมมติ
9.ถ้าคนอยู่ในหลักการ ก็ไม่ต้องมีกฎหมายถ้ากฎหมายไม่ได้มีอยู่เพื่อหลักการ ก็ไม่ควรให้เป็นกฎหมาย
"วิ" แปลว่า ให้วิเศษ
"นี" แปลว่า นำ เป็นคำเดียวกับ คำว่า "นีติ"
รวมแล้ว เรียกว่า "วินัย" แปลว่า การนำไปให้วิเศษ
สมมติ และ วินัย ต้องตั้งอยู่บนหลักธรรมและมีสามัคคีเป็นฐานรองรับไว้ ถ้าไม่มีสามัคคี
สมมติก็อยู่ไม่ได้ อารยธรรมก็สั่นคลอน เพราะสังคมดำเนินไปได้ด้วยสมมติ และสามัคคีก็รองรับสมมติ
โดยทำให้คนยอมรับตามสมมตินั้น
ธรรม6ประการ 在 เจริญสติด้วยการละธรรม 6 ประการ | คอร์สเดินจิตสติปัฏฐาน 4 ตอนที่ 8 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
เจริญสติด้วยการละ ธรรม 6 ประการ | คอร์สเดินจิตสติปัฏฐาน 4 ตอนที่ 8 || 21 พ.ค. 66 (ค่ำ). 523 views · 2 months ago ...more ... ... <看更多>
ธรรม6ประการ 在 สมบัติ 6 ประการ ของชาวพุทธ | มีเรื่องมาเล่ากับพระมหาวีรพงษ์ นิมฺมโล 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
สมบัติ 6 ประการ ของชาวพุทธ | มีเรื่องมาเล่ากับพระมหาวีรพงษ์ นิมฺมโล | Ep.291. 101 views · 1 year ago ...more ... ธรรม ยาตราบนกลีบมวลมาลี. ... <看更多>
ธรรม6ประการ 在 รายการพบพระอาจารย์ “ ธรรม ๖ ประการ เพื่อความไม่เสื่อม ” (รีรัน) 的推薦與評價
ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-246175- 6 ติดตามได้ที่ช่องทางดังนี้ Facebook : https://www.facebook.com/Buddhawajanareal2020 Youtube ... ... <看更多>