ตอนที่ 2
หลังจากเคยรีโพสต์ตอนที่ 1 ไปแล้วนะคะ
โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ตอนที่ 2
*** โรงเรียนที่ดีที่สุด ***
หากเราอ่านหนังสือเล่มนี้ตอนที่เรามีลูกแล้ว
เราจะได้มุมมองที่ยอดเยี่ยมในเรื่องของการศึกษาที่เด็กควรจะได้รับ
การศึกษาในอุดมคติของเด็กทุกคน
พอกลับมาอ่านอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้
หมอคิดเลยค่ะว่า ระบบการศึกษาของประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลก
สงสัยว่าคนที่มีอิทธิพลในเรื่องการศึกษาจะเคยอ่านเล่มนี้ตอนเป็นเด็ก
โรงเรียนโทโมเอ...ยอมรับศักยภาพของเด็กทุกคน อย่างที่เด็กคนนั้นเป็น
เด็กทุกคนมีจุดเด่น...ไม่เว้นแม้แต่เด็กที่มีร่างกายพิการ
หนึ่งในบทที่ชอบที่สุด...ก็คือการแข่งกีฬาของโรงเรียน
เนื่องจากในห้องเรียนของโต๊ะโตะ มีเด็กที่ร่างกายพิการ ตัวเตี้ยแคระ ชื่อทาคาฮาชิคุง
(โต๊ะโตะจังบรรยาย เข้าใจว่าเป็นกลุ่มอาการ Dwarfism หรือ achondroplasia)
ครูใหญ่จัดการแข่งขัน..เป็นเกมส์ที่ให้มุดเข้าประตูที่มีขนาดเล็ก ซึ่งความสูงพอดีกับเด็กคนนี้
ในขณะที่เด็กคนอื่นต้องมะงุมมะงาหรา ก้มเพื่อลอดประตู...ทาคาฮาชิคุงก็เข้าเส้นชัย
และในวันนั้น ไม่ว่าแข่งอะไร ทาคาฮาชิก็ชนะอยุ่ร่ำไป
ทาคาฮาชิออกมารับเหรียญรางวัล...ด้วยความภาคภูมิใจ
และในความทรงจำของโต๊ะโตะจัง ครูใหญ่ผู้ใจดี เคยโกรธแค่ครั้งเดียว
คือตอนที่ครูประจำชั้นแซวทาคาฮาชิว่ามีหางหรือไม่
.
การเรียนการสอนของโรงเรียนโทโมเอ ที่โต๊ะโตะจังบรรยาย
เหมือนแนววอลดอร์ฟ ตรงที่สอนให้เด็กอ่อนโยน ช่วยเหลือตัวเอง และใกล้ชิดธรรมชาติ
และมีผสมกับมอนเตสซอรี่ ที่ให้นักเรียนเลือกด้วยตัวเอง
ว่าในแต่ละหนึ่งวันต้องการเรียนหรือเล่นอะไร เพียงแต่กำหนดกรอบกว้างๆ
เพื่อให้เค้ามีความรับผิดชอบตัวเองที่จะทำงานให้เสร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนด
ซึ่งการสอนปฐมวัยทั้งสองแบบนี้ ก็แพร่หลายมากในปัจจุบันนะคะ
.
แนวมอนเตสซอรี่ ปรัชญาคือ เด็กแต่ละคนมีศักยภาพในตัวที่จะพัฒนาได้ทุกคน
และเด็กเป็นคน”เลือก” ด้วยตัวเองว่าจะเรียนรู้อะไร ดังนั้นเค้าจะเรียน และทำสิ่งนั้นด้วยความกระตือรือร้น
เต็มไปด้วยสมาธิ...เคยมีหนังสือหลายๆเล่มเคยกล่าวถึงจุดร่วม ของคนระดับโลก
เช่น บิลล์เกต มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค และอีกหลายๆคน ว่าเรียนอนุบาลด้วยหลักสูตรนี้
ก็ว่ากันไปนะคะ..^-^
แต่จะชี้ให้เห็นว่า ปรัชญา หรือ หัวใจสำคัญของระบบที่ผ่านการคิดมาอย่างดีแล้วนั้น
เราเอามาใช้กับลูกที่บ้านได้ค่ะ...จัดมุมของเล่นที่มุมใดมุมหนึ่ง
แล้วให้เค้า เลิกที่จะหยิบมาเล่น เฝ้าดู แต่ไม่แทรกแซง
หรือง่ายที่สุด ให้อำนาจการตัดสินใจแก่ลูก (ให้เหมาะสมกับวัย จะโน้มน้าวก็ได้แต่ต้องมีเทคนิค)
เด็กจะได้รับรู้ถึงอำนาจในการตัดสินใจด้วยตัวเอง...มันยิ่งใหญ่มากนะคะ
วันหนึ่งลูกจะเลือกสิ่งที่ใช่ สำหรับตัวเอง เพราะเค้ารู้ว่าตัวเค้าเองตัดสินใจเพื่อตัวเองได้ตั้งแต่เด็ก
เหมือนที่มาร์คก้าวออกมาจากรั้วมหาลัย...ไม่ได้ออกมาอย่าง loser เพราะเรียนไม่ไหวนะคะ
แต่เดินมาเพราะเค้ามั่นใจว่ามีสิ่งที่ดีมากกว่าการเรียนในห้อง lecture รออยู่
ส่วนวอลดอร์ฟ ก็มีปรัชญาหลักเรื่องความรัก ความเคารพในตัวตนของเด็ก
ซึ่งข้อนี้ถ้าเราทำได้ ข้ออื่นก็จะตามมาทั้งหมด ตอนแรกมันอาจไม่ perfect แต่เราต้องฝึกตั้งแต่วันนี้ค่ะ
ลูกไม่ใช่ทรัพย์สินของเรา เค้ามีตัวตน มีความต้องการของตัวเอง มีความคิดของตัวเอง
ในช่วงเวลาที่เค้าต้องพึ่งพาเรานั้น...เราชี้ให้เห็นสิ่งที่ถูก เราเป็นโค้ช
จนเค้าแข็งแรงพอ เค้าจะโตเป็นผู้ใหญ่ที่รักตัวเอง มั่นใจในตัวตน พึ่งพาตัวเองได้
.
ดังนั้น ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกของลูกเรา
ไม่ต้องไปหาโรงเรียนแพงๆที่ไหน ไม่ต้องนั่งรถพาลูกไปเรียนไกลๆ
ก็บ้านนั่นแหละค่ะ
พ่อแม่นั่นแหละค่ะ...เอาแนวคิดมาประยุกต์ที่บ้าน ดีที่สุด
.
อีกบทที่สะท้อนเรื่องความบริสุทธิ์ของเด็กได้ดีมาก คือตอนที่โต๊ะโตะจังไปเดินเล่น
พบกับเด็กผู้ชายที่บ้านอยู่บนเนิน...เด็กคนนี้ท่าทางไม่เป็นมิตร และบึ้งตึง ไม่มีความสุข
พอเห็นโต๊ะโตะจัง ก็ตะโกนใส่หน้าโต๊ะโตะจังว่า “ไอ้เด็กเกาหลี”
ซึ่งในตอนนั้นโต๊ะโตะไม่เข้าใจ จึงไปถามแม่
แม่อธิบายให้โต๊ะโตะเข้าใจว่า เด็กผู้ชายคนนั้น เป็นคนเกาหลีที่มาอยู่ในญี่ปุ่น (ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2)
แต่ละวันมีแต่คนตะโกนใส่หน้า ด้วยคำว่า ไอ้เด็กเกาหลี
เด็กเลยเข้าใจว่าคำนี้เป็นคำด่า พอเจอคนที่ดูเหมือนด้อยกว่า
เลยแสดงออกเหมือนที่ตัวเองเคยโดน
.
สูตรของจักรวาล action = reaction
เด็กคนนี้ถูกปฏิบัติด้วยความรุนแรง สักวันเค้าจะส่งต่อสิ่งนั้นให้คนรอบตัว
คำพูดของผู้ใหญ่ที่ดูเหมือนคำล้อเล่น บางทีสำหรับเด็กมันไม่ใช่นะคะ
ต้องระวังตรงนี้ด้วย...พวกเราโตจนเป็นพ่อแม่คนแล้ว คงเข้าใจนะคะ
มีบางคำคนอื่นแซวเรา เห็นว่าสนุก แต่เราไม่ได้รู้สึกสนุกด้วย
เด็กบอบบางยิ่งกว่าเราอีกค่ะ และสมองก็พร้อมจะรับข้อมูลใหม่ๆ
เด็กรับรู้ผ่านสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ได้พอๆกับคำพูดเลยค่ะ
จะชมก็ชมจากใจ สบตา เราจะเห็นแววตาของลูกที่เปล่งประกายเลยค่ะเวลาเค้ารู้สึกภูมิใจ
จะล้อเล่น ก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำให้เค้ารู้สึกด้อยค่า
จะสอนหรือเตือนก็ต้องจริงจัง และสม่ำเสมอในเรื่องเดิมๆ..เค้ารับรู้ได้ค่ะ จากสีหน้า และน้ำเสียงที่เปลี่ยน
คำว่า “ปมด้อย” มันไม่มีในสารบบของเด็กแต่แรกอยู่แล้วค่ะ
แต่เป็นสิ่งที่คนยัดเยียดให้ทีหลัง...
ถ้าเราคิดว่าลูกมีอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นปมเด่น หรือปมด้อย (ในบรรทัดฐานของสังคมเรา)
เราเพียงแต่ไม่ต้องตอกย้ำสิ่งเหล่านั้น ให้หาโอกาสให้เค้าแสดงศักยภาพที่มีอยู่อีกตั้งหลายด้าน
หัดเป็นพ่อแม่ที่มองเห็นข้อดีเล็กๆน้อยๆของลูก และตอบสนองอย่างเหมาะสม
(ไม่ต้องอวยเว่อ หรือไม่ต้องกลัวเหลิงเพราะชม อันนี้สุดโต่งทั้งคู่)
เพื่อให้ลูกเป็นคนที่มั่นใจในศักยภาพของตัวเองตั้งแต่ภายในนะคะ
.
บทส่งท้ายจากการอ่านโต๊ะโตะจัง
.
เชื่อมั่นในตัวลูก ให้เกีรติลูก เพราะเค้าก็เป็นปัจเจกชนคนหนึ่ง
ถ ถ้าทำดี ก็ให้ตอบสนองทางบวกอย่างเหมาะสม ถ้าผิดก็สั่งสอน
คนที่อ่านแล้วคงจะรู้ว่าเรื่องนี้ เป็นชีวิตจริงของผู้เขียนคือคุณเท็ตซึโกะ
ซึ่งได้เติบโตกลายเป็นศิลปินดาราที่ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่น
และความพิเศษก็คือ คุณเท็ตซึโกะได้เล่าถึงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ของเพื่อนๆในโรงเรียนโทโมเอ
เค้าเหล่านั้น ประสบความสำเร็จ เป็นคนที่มีความสุขในชีวิต
ไม่เว้นแม้แต่ทาคาฮาชิคุง ซึ่งร่างกายพิการ ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นกัน
สิ่งนี้สำคัญยังไงคะ...เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า
success leave clue ทุกความสำเร็จทิ้งร่องรอยเสมอ
คงจะรู้แล้วนะคะว่าการที่เราใส่ใจดูแลหัวใจ ความนึกคิดของเด็กเล็ก
สำคัญต่อชีวิตในภายภาคหน้าของลูกยังไง
#โต๊ะโตะจัง
ปรัชญาคือ 在 ปรัชญาคืออะไร? | By อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ - Facebook 的推薦與評價
ปรัชญาคือ อะไร? และมีหัวข้อหลักๆอะไรบ้าง? ... วิทยาศาสตร์ และแนวคิดปรัชญา ใน The Matrix Resurrections ... ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคืออะไร ... <看更多>
ปรัชญาคือ 在 14 ตุลา 16 วันมหาวิปโยค - 第 66 頁 - Google 圖書結果 的推薦與評價
II า วา { ปื II อม 7 4433711 เม ช ผา 71^1111 ก็ เพราะ ปัญญา ของ นก ปรัชญา ... ฌ ฅ ผล ใน ปรัชญา และ วิทยาศาสตร์ ทั้งสิ้น ( นั่น คือ ยุ ใร ป ) คริสต์ - เชื่อ ... ... <看更多>
ปรัชญาคือ 在 ปรัชญาคืออะไร? - YouTube 的推薦與評價
ติววิทยาศาสตร์ออนไลน์. ปรัชญาคือ อะไร? 63,388 views63K views. Apr 9, 2020. 1.5K. Dislike. Share. Save. อาจวรงค์ จันทมาศ. อาจวรงค์ จันทมาศ. ... <看更多>