ม. ธรรมศาสตร์ จับมือ SkillLane ออกหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ 100% เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะของยุคดิจิทัล
อ่าน >> https://www.dailygizmo.tv/…/tu-skilllane-online-master-deg…/
#education #SkillLane #การศึกษา #ข่าวไอที #ธรรมศาสตร์ #ปริญญาโท #DailygizmoTV #Ceemeagain
「ปริญญาโท ธรรมศาสตร์」的推薦目錄:
- 關於ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 Ceemeagain Facebook 的最佳解答
- 關於ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的精選貼文
- 關於ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 Thammasat University - มาแน่! หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์... 的評價
- 關於ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 หลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะ ... - YouTube 的評價
ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的精選貼文
ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ม.ธรรมศาสตร์ รับสมัครอาจารย์ คุณวุฒิ ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก 1 ตำแหน่ง ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ประกันภัย สถิติ หรือ สถิติประยุกต์ หมดเขตรับสมัคร 31 กรกฎาคม 2557 รายละเอียดตามภาพที่แนบครับ
ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ปรัชญากฎหมายไทย
(สรุปมาจากคำบรรยาย ของ รองศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ในสมัยเรียน ปริญญาโท เมื่อ ปี 2542 และได้นำมาเสริมความจากการค้นคว้าเพิ่มของผมเอง)
การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย คือ กำหนดขึ้นโดยดำริพื้นฐานที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับองค์ความรู้ในวิชานิติปรัชญาของไทย แทนที่การเรียนหรือการรับรู้แต่ปรัชญาตะวันตกอย่างเดียว ความรู้ความเข้าใจในปรัชญากฎหมายไทย นับเป็นการอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลในการศึกษาที่มิให้ภูมิปัญญาตะวันตกครอบงำ การรับรู้โดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้หมายความว่า เรากำลังลดคุณค่าของปรัชญากฎหมายตะวันตกพอ ๆ กับมิใช่ความหมายในการชักนำกระแสนิยม ความเป็นไทยขึ้นแบบกึ่งงมงายหรืออาจเรียกอนุรักษ์ความเป็นไทยอย่างสุดขั้ว
เมื่อเราศึกษาปรัชญาตะวันตกก็เหมือนกับการมองออกไปภายนอกตัวเองหรือศึกษาหรือสิ่งรอบข้างว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่ดีหรือไม่ดี ดังนั้นเราก็สมควรที่จะหันย้อนมาดูตัวเองหรือหันมาสนใจกฎหมายไทย เพื่อจะคิดหรือตัดสินใจปัญหาใด ๆ ด้วยความรอบคอบ เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว นักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของตะวันตก คือ โสเกรติส พยายามที่สอนให้คนเราจงรู้จักตัวเอง (Know thyself)และการคำเรพเชื่อฟังกฎหมายไม่ว่ากฎหมายนั้นดีหรือไม่ก็ตามเราต้อง "เคารพเชื่อฟังกฎหมาย" แม้นัยความหมายอาจไม่ตรงทีเดียวนักกับสิ่งที่เรากำลังค้นหาในปรัชญากฎหมายไทย แต่เราน่าจะพูดได้เช่นกันว่าการแสวงหาตัวตนแห่งปรัชญากฎหมายในสังคมไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางวิชาการแล้วยังเป็นการเชื่อมโยงไปสู่การค้นหาทำความรู้จักตนเองที่เป็นปัจเจกของแต่ละคนแท้จริงแล้ว แก่นสารของปรัชญากฎหมายไทยมุ่งสู่การเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมหรือความยุติธรรม อย่างสูงสุดอันเป็นอุดมคติทางกฎหมายแต่ดั้งเดิม ซึ่งเวลาเดียวกันผสมผสานภาพเชิงซ้อนของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอุดมคติทางกฎหมายที่เป็นจริงในสังคมไทยแต่ละยุคสมัย รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ปรัชญากฎหมายกับอำนาจรัฐไทยอันยาวนาน น่าจะนำไปสู่บทวินิจฉัยเชิงอนุมานของผู้ศึกษาแต่ละคนต่อเรื่อง “ธรรมชาติของกฎหมาย” ได้ดีที่สุดในบั้นปลาย จริงอยู่การฉายภาพเชิงซ้อนระหว่างปรัชญากฎหมายไทยเชิงอุดมคติกับสถานการณ์ที่ดูขัดแย้งกับข้างต้น
การศึกษาปรัชญากฎหมายจึงค่อนข้างจะมอง “เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์หรือการเมืองไทย” เพื่อที่จะต้องการขยายรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังความเป็นไปของปรัชญากฎหมายไทย บริบททางสังคมด้านต่างๆ ไม่ว่าในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมหรือการเมืองล้วนเป็นแหล่งอิทธิพลต่อชีวิตที่เป็นจริงของปรัชญากฎหมายไทย ความสำคัญในเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์แหล่งอิทธิพลเหล่านั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หรืออาจจะมากกว่าการอธิบายหรือพูดพร่ำถึงหลักการเชิงนามธรรมของปรัชญากฎหมายไทยด้วยซ้ำ การให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริบททางสังคมด้านต่าง ๆ เบื้องหลังปรัชญากฎหมายไทย เพื่อนักศึกษาเข้าถึงภาพรวมแห่งความเป็นจริงต่าง ๆได้สมบูรณ์มากขึ้น แน่นอนในโลกแห่งความเป็นจริง (ของชีวิตและสังคม) ย่อมผสมผสานทั้งสีขาวและสีดำอยู่ในตัว โลกแห่งวิชาการบริสุทธิ์จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นในการอธิบายวิเคราะห์ตีความกระทั่งวิจารณ์ความเป็นจริงส่วนต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ พ้นจากนี้กระบวนการทางวิชาการดังกล่าวหาใช่เป็นภารกิจที่หลุดลอย/แยกขาดออกจากความเป็นไปแห่งตัวผู้กระทำไม่ หากลึกๆ ยังสัมพันธ์กับระดับแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวผู้กระทำอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการศึกษาปรัชญากฎหมายไทยเราต้องจำลองภาพอุดมคติและความเป็นจริงแห่งปรัชญากฎหมายไทยให้เป็นระบบมากที่สุด เรียกอีกประเภทหนึ่งว่าความรู้ หากเรายอมรับว่าโดยธรรมชาติแล้ว ความรู้กับความเป็นจริงท่าใช่เป็นสิ่งเดียวกันที่เดียวและความรู้ทุกชนิดมีระดับความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เสมอเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความจำกัดในธรรมชาติ ความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาพึงต้องตระหนักไว้อย่างมั่นคงควบคู่กับการตระหนักถึงความจำกัดบกพร่อง ภูมิปัญหาหรือภูมิจิตที่ดำรงอยู่เป็นวิสัยปกติของผู้บรรยายวิชานี้
ดังนั้นการศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ที่ผ่านมาจะมีปัญหาในเรื่องการศึกษา เพราะนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมายังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาในสมัยโบราณนั้นมักจะถูกปิดกั้น โดยเฉพาะในเรื่องกฎหมาย ราษฎรจะถูกหวงกั้นไม่ให้รู้กฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจเห็นว่าถ้าราษฎรมีความรู้มากจะทำให้ปกครองลำบาก ความคิดทวงกั้นมิให้ราษฎรรู้กฎหมายนี้แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีการเผาหนังสือของ นายโหมด อมาตยกุล ซึ่งได้พยายามพิมพ์หนังสือกฎหมายตราสามดวง
ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นว่า สภาพการรับรู้เรื่องกฎหมายของไทยเลือนลางอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการขาดการศึกษา อนุญาตให้เรียนได้แต่วิชาที่เป็นประโยชน์ต่อศักดินาโดยมีจุดมุ่งหมาย กดให้คนโง่ การปิดกั้นเรื่องการศึกษากฎหมายในสมัยโบราณดังกล่าว คงดำเนินมาหลายร้อยปีจนถึงยุคปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องมาจากอิทธิพลและบทบาทตะวันตก ในปี พ.ศ. 2416 หมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกาได้พิมพ์กฎหมายตรา 3 ดวง ออกเผยแพร่ ซึ่งไทยเองก็ไม่พอใจนักแต่ก็จำต้องปล่อยเลยผ่านไม่กล้าขัดขวาง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจาก หมอบรัดเลย์ เป็นชาวต่างประเทศ หลังจากนั้นการศึกษากฎหมายก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันสอนกฎหมายกันอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 รัฐบาลได้จ้าง มิสเตอร์ โรแลง ยัคคะมินส์ ชาวเบลเยี่ยม (มีนักกฎหมายไทยบางท่าน ตั้งข้อสังเกต ว่า น่าจะเป็นบิดากฎหมายไทย ) มารับราชการเป็นที่ปรึกษาทั่วไปได้ถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 ในการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น เนื่องจากเห็นว่าการเล่าเรียนกฎหมายขณะนั้นยังอยู่ในวงแคบไม่มีโรงเรียนสอนวิชานี้โดยตรง ทั้งการศาลยุติธรรมยังล้าหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นข้ออ้างให้มหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาแทรกแซงไทย ขณะนั้นเป็นเหตุในการตั้งศาลกงศุล อันนำมาซึ่งความลำบากใจแก่ฝ่ายไทยอย่างมากในการถูกหลู่อำนาจอธิปไตยทางการศาลหรืออาจเรียกว่า “การสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาล” ข้อเสนอของ ยัคคะมินส์ ดังกล่าวได้รับการเห็นพ้องจากองค์พระประมุข คือ รัชกาลที่ 5 จนกระทั้งกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระโอรสสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ดและมาเป็นผู้ดำเนินการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายดังกล่าว
นับจากการก่อตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา พัฒนาการของการเรียนการสอนกฎหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื้อหาวิชาที่เปิดสอนหรือสอบในช่วงแรกๆ ยังเน้นหนักที่กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความและกฎหมายต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ก็มีการแก้ไขหลักสูตรของโรงเรียนสอนกฎหมายเพิ่มเติมวิชา “ธรรมศาสตร์” และ “พงศาวดารกฎหมาย” ขึ้นมา โดยเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายธรรมศาสตร์พาดพิงเรื่องนิติปรัชญา ในเวลาเดียวกัน “หัวข้อเล็กเชอร์ธรรมศาสตร์” ของพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ ก็พิมพ์เผยแพร่ โดยมีคำอธิบายเนื้อด้านนิติปรัชญา (แบบตะวันตก) แทรกประกอบด้วยเช่นกัน
ข้อสังเกต ธรรมศาสตร์นั้นมีคำอธิบายปรัชญาแบบตะวันตกเข้ามาแทรกโดยเฉพาะแนวความคิดของ แบนเธม กับ จอห์น ออสติน ซึ่งเป็นปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม ทำให้แนวคิดปฏิฐานนิยมมีบทบาทมากในการเรียนการสอนกฎหมายของไทยในขณะนั้น มาผสมผสานกับปรัชญากฎหมายไทยที่มีอยู่ในอดีตคือเรื่อง “ธรรมะ” (แนวคิดของปฏิฐานนิยม โดยเฉพาะแนวคิดของ จอห์น ออสติน มีอิทธิพลต่อพระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์เป็นอย่างมาก)
อย่างไรก็ตาม วิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้นห่างไกลความสำคัญอยู่มาก คือ ไม่ค่อยมีใครค่อยให้ความสำคัญนักในขณะนั้น ความพยายามผลักดันให้เกิดวิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้น เริ่มต้นจาก ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย ได้พยายามให้มีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 15 ปี กว่าจะบรรลุผลสำเร็จ การสอนวิชานิติปรัชญาโดยตรงปรากฏขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2515 โดย ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญและริเริ่มสอนเป็นและต่อมาวิชานิติปรัชญาเริ่มกลายเป็นวิชาที่ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต ที่มีการปรับปรุงแก้ไขหรือเขียนขึ้นใหม่ตามสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ต่างได้บรรจุวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบัน
(เมื่อพิจารณาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต่างก็ลดความสำคัญวิชานี้ลงไปเรื่อยๆ จากในรายวิชาบังคับ กลายมาเป็นวิชาเลือก รวมไปถึงผู้สนใจในรายวิขานี้ มีลดน้อยลงไปเรื่อยๆขึ้นทุก เพราะเขามองว่าเป็นเรื่องของนามธรรม เราจึงละเลยเรื่องของจิตใต้สำนึกของความดี ความถูกต้อง ลง กลับมุ่งมั่นพุ่งเป้าไปสู่ การสอนตัวเอาตัวรอดในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่สำคัญ)
ข้อสังเกต เมื่อย้อนหลังที่ผ่านมาปรัชญากฎหมายไทยโดยเฉพาะ แม้การยอมรับในวิชานิติปรัชญาจะเป็นไปอย่างแพร่หลายดังกล่าว หากทว่าวิชานิติปรัชญาที่ประสบความสำเร็จเช่นว่า มีลักษณะเป็นวิชานิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะเอกสารหรือตำราที่พิมพ์ออกมานั้นจะเป็นนิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมด
ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาปรัชญากฎหมายไทย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทยหรือสามารถโยงเปรียบเทียบกับปรัชญากฎหมายตะวันตกสำหรับความเข้าใจซาบซึ้งต่อจุดดีจุดด้อยของภูมิปัญญาแต่ละฝ่าย ถึงที่สุดแล้วคงเป็น มรรควิถี สำคัญที่จะนำไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ เชิงปฏิบัติการทางด้านกฎหมายที่รอบคอบและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดโลกทรรศน์ของตัวเองเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นธรรม การวินิจฉัยเชิงคุณค่าด้านความยุติธรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับเอกชนหรือสังคมหรือแม้การแก้ไขปัญหารากฐานทางความคิดเพื่อจะปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพ แห่งบริบททางด้านสังคมด้านต่าง ๆ ของไทย ที่เรียกว่า “นิติวิธีทางกฎหมาย” (Juristic Medthod)
การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย จะในยุคต่าง ๆ ศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ได้แก่ ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี ยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความคิดปรัชญาทางกฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และปรัชญากฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475และแนวคิดปรัชญากฎหมายตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน(2550)
จากปรัชญาตะวันตกสู่ปรัชญากฎหมายไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาในความหมายทั่วไปอาจจะหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้จริงซึ่งแปลมาจาก คำว่า “Philosophy“ แต่คำในภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นต้นกำเนิดปรัชญา แปลว่า “เป็นความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งคำว่าปรัชญานี้ถ้าใช้เป็นภาษาบาลีจะตรงกับ คำว่า “ปัญญา” ซึ่งหมายถึง ความรู้แจ้ง ความรอบรู้ความฉลาด ต่อมาประมาณ 8 – 9 ปี ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงได้มีผู้นำเอาคำ “ปรัชญา” นี้มาใช้เป็นศัพท์บรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หากแปลความหมายเป็นแบบคำภาษาอังกฤษ (Philosophy ) หมายถึง วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้มีความคิดเห็นแตกต่างของขีดขั้นการบรรลุถึงความรู้สัจจะ ในแง่นี้จึงมีการอธิบายความหมาย คำว่า ปรัชญาของอินเดีย (สันสกฤต) คือ ความรู้หรือปัญญาที่ถึงที่สุดเด็ดขาดไปแล้ว (ความรู้ภายหลังเมื่อสิ้นความสงสัยแล้ว) ส่วนคำว่า Philosophy นั้นยังไม่เด็ดขาด ยังค้นหาอยู่หรือยังคลำอยู่ ยังไม่มีจุดจบหรือจุดสุดท้าย อันเป็นเรื่องการคิดคำนวณหรือการตั้งสมมุติฐานด้วยเหตุผลที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งน่าจะแปลว่า Philosophy ส่วนความหมายของ “คณิตสัจจะ” หรือสัจจะแห่งการคำนวณมากกว่า อันมีความหมายคล้าย คำว่า “ทรศน” “ทรรศนะ”
ปรัชญาอินเดียมีเป้าหมายที่ชัดเจน กล่าวคือ การหาคำตอบทางศาสนาและศีลธรรม มิใช่การขบคิดปัญหาในเชิงตรรกศาสตร์ เพื่อรู้อย่างปรัชญาตะวันตกที่เป็นความรู้ เป็นไปเพื่อความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ปรัชญาอินเดียก็มิใช่จะไม่มีลักษณะของการคิดหาเหตุผลอย่างปรัชญาตะวันตกมีอยู่
ปรัชญาอินเดียมิใช่เป็นตัวแทนของปรัชญาตะวันออกที่เน้นการแสวงหาคำตอบ ปรัชญาจีน ก็เน้นความสำคัญทางด้านจริยธรรมมากกว่าความสามารถด้านสติปัญญา สนใจปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากกว่าปัญหาในเชิงนามธรรม โดยทั่วไปนักปรัชญาจีนตั้งปัญหาข้อคิดว่า “จะทำอย่างไร” มากกว่าที่จะคิดค้นว่า “ทำไมมันจึงเป็น” จุดเน้นด้านจริยธรรมส่วนนี้ของปรัชญาจีนยังดำเนินควบคู่กับวิธีการศึกษาที่เน้นการแสวงหาความรู้ทางจิตวิญญาณ หรือความรู้ที่ได้จากความเข้าใจที่เกิดขึ้นในจิตอย่างฉับพลัน รวมทั้งการภาวนาและวิธีการฝึกฝนอบรมตัวเอง ในขณะที่ปรัชญาตะวันตกมีการแบ่งแยกสาขาออกไปต่าง ๆ อาทิเช่น อภิปรัชญา ตรรกวิทยา ญาณวิทยาหรือสุนทรีศาสตร์ ซึ่งปรัชญาจีนแทบไม่มีการแยกคนออกจากความต้องการทางจริยธรรมและปฏิบัติในชีวิตของบุคคลเลย ประเด็นถกเถียงทั้งหมดของปรัชญาจีนอยู่ที่ว่า จะอบรมฝึกฝนตนให้ดีอย่างไร และจะช่วยสังคมให้เรียบร้อยด้วยวิธีการแบบไหน อันเป็นลักษณะมนุษยภาพนิยม ที่หนักไปทางด้านจริยธรรมบวกกับการเมือง และที่สำคัญอย่างยิ่งในหัวใจของปรัชญาจีนยังเน้นเรื่องความกลมกลืนประสานการสืบเนื่องกับของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายในโลก ดังที่เห็นในเรื่องปรัชญาเอกภาพของสวรรค์และมนุษย์ของขงจื๊อ ภาวะแห่งดุลยธรรมของสรรพสิ่งทั้งปวงตามคำสอนของ จวงจื๊อ หรือเอกภาพแห่งหยินและหยางในลัทธิเต๋า
สรุป ข้อถกเถียงปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออกนั้นน่าจะเป็นประเด็นให้ได้พบกับคำตอบถึงความมีหรือไม่มีคุณค่าในการถกเถียงอย่างไม่รู้จบเกี่ยวกับ การแยกหรือไม่แยกปรัชญาออกจากเรื่องของเหตุผลบริสุทธิ์ ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์และอะไรคือประเด็นหลักที่ควรไตร่ตรองอย่างแท้จริง มากกว่าประเด็นถกเถียงเอาแพ้ชนะกันว่า “ปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก ฝ่ายใดเป็นปรัชญาที่แท้จริงหรือความเป็นปรัชญามากกว่ากัน”
ข้อสังเกต เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาเปรียบเทียบปรัชญากฎหมายตะวันตกกับกฎหมายไทยซึ่งปรัชญากฎหมายไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญากฎหมายตะวันออก ดังนั้น ปรัชญากฎหมายไทยจึงผูกพันกับคำสอนในทางศาสนาและความเชื่อในทางศาสนาที่ยึดถือกันอยู่ในสังคมไทย
แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของสัมพันธ์ภาพระหว่างปรัชญากับศาสนาที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย รวมทั้งปัญหาเรื่องผลกระทบของขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นสังคมสมัยใหม่จากการถูกบีบจากประเทศอาณานิคมตะวันตก ทำให้ไทยใช้ปรัชญาประยุกต์ กล่าวคือ ปรัชญากฎหมายหรือนิติปรัชญาเป็นการศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1.การศึกษาถึงภาพรวมของกฎหมายในเชิงปรัชญาโดยเฉพาะ เรื่องธรรมชาติของกฎหมายหรือประเด็นความสัมพันธ์ของกฎหมายกับจริยธรรมหรือความยุติธรรม อันเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าถึงสิ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นวิญญาณของกฎหมาย ลักษณะสำคัญของปรัชญากฎหมายจึงเป็นการศึกษากฎหมายในความหมายที่กว้างที่สุดอย่างเป็นนามธรรมรวม ๆ ว่ามีธรรมชาติอันแท้จริงอย่างไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
2.ศึกษาถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับมนุษย์ ปัญหาเรื่องการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับเรื่องบทบาททางสังคมของกฎหมายในด้านต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาถึงปรัชญากฎหมายไทย ภายใต้อิทธิพลประเทศตะวันตะวันตกที่ได้รับปรัชญาตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าที่ผ่านมาในอดีตเราไม่อาจปฏิเสธปรัชญากฎหมายไทยทั้งในยุคโบราณจวบจนสมัยปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากสมมุติว่าเรายอมรับว่าคนไทยก็มีปรัชญา คนไทยมีการใช้กฎหมายเป็นประเพณีการปกครองบ้านเมืองมาแต่ยุคโบราณแล้ว เรื่องโลกทรรศนะของคนไทยที่มีต่อธรรมชาติของกฎหมายหรือกฎหมายในความหมายทั่วไปย่อมดำรงอยู่โดยมิพักต้องสงสัย แม่จะไม่ไม่มีการแยกแยะเป็นสำนักคิดต่าง ๆ แข่งขันกันเองแบบตะวันตกก็ตาม
ปรัชญากฎหมายไทยก่อนยุคที่ อิทธิพลความคิดตะวันตกจะเข้ามามีอิทธิพล (นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 )ลงมา) จะวางรากฐานอยู่บนความคิดทั่วไปของปรัชญาตะวันออกที่ผนวกปรัชญากับศาสนาเข้ากันอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอิทธิพลความคิดในศาสนาพุทธ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมอธิบายภาพรวมของกฎหมายจากฐานอุดมคติทางศาสนาที่เน้นศีลธรรมเรื่องธรรมะ มิใช่เป็นเรื่องของการใช้อำนาจล้วน ๆ ของฆาราวาส (ผู้ใหญ่บ้านในแผ่นดิน) ความเชื่อมโยงปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมกับศาสนา (นั้นเป็นที่สังเกตว่าละมายคล้ายคลึงกับปรัชญากฎหมายตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาสำนักกฎหมายธรรมชาติ) อิทธิพลความสัมพันธ์พุทธศาสนากับปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม ได้สื่อผ่านทางความคิดหรือคำสอนทางพุทธศาสนาต่างๆ สู่ประชาชนระดับล่างที่ผ่านมาต่างก็แฝงด้วยความคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้ปกครองตามไปด้วย คติ เรื่อง ทศพิศราชธรรมหรือธรรมราชา ไตรภูมิพระร่วงหรือวรรณคดีทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญอื่นๆ ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ซึ่งได้มีการเขียนเรื่องดังกล่าว ความรู้สึกหรือความเชื่อในจิตสำนึกคนไทยโบราณต่อสิ่งคู่กันระหว่างอำนาจและธรรมะ จึงน่าจะดำรงอยู่มาช้านานแล้ว
ข้อสรุปนี้ จึงน่าจะโยงกลับมาหาคำตอบเกี่ยวกับความเข้าใจต่อปรัชญากฎหมายของคนไทยในอดีตได้หากมองเห็นถึงธรรมชาติแห่งการใช้อำนาจที่ปรากฏอยู่เป็นข้อเท็จจริงภายนอกของกฎหมาย ในอีกแง่มุมหนึ่งเมื่อจากอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความเข้าใจหรือจิตสำนึกของคน ซึ่งในโบราณคนไทย ใช้คำว่า
“ธรรมะ” แทนคำว่า “กฎหมาย” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับเรียกกฎหมายแม่บทสำคัญว่า “พระธรรมศาสตร์” ดังปรากฏถ้อยคำในศิลาจารึก (หลักที่ 38)
ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 หลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะ ... - YouTube 的推薦與評價
หลักสูตร ปริญญาโท -เอก สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. 116 views · 8 months ago ...more. Try YouTube Kids. An app made ... ... <看更多>
ปริญญาโท ธรรมศาสตร์ 在 Thammasat University - มาแน่! หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์... 的推薦與評價
ริว หมีรับปริญญา ตอนที่เรียนออนไลน์ จะมีสถานะเป็นศิษย์ธรรมศาสตร์ค่ะ เมื่อมีคุณสมบัติครบแล้ว ค่อยมาสมัครเป็นนักศึกษาเพื่อทำ IS ค่ะ คุณสมบัติของนักศึกษาปริญญา ... ... <看更多>