ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลรักษาสถานที่ปรินิพพานแห่งพระองค์ ช่วยอวยพรให้ทุกท่านเป็นผู้ดำรงอยู่ในความไม่ประมาทด้วยเทอญ
#กุสินารา หรือ กุศินคร (Kusinaga, Kushinagar) ที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
ในสมัยพุทธกาลบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ #สาลวโนทยาน หรือ #ป่าสาละ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
#สาลวโนทยาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ตามพระคัมภีร์กล่าวว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ และเป็นที่เกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายพระองค์
#สมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราซึ่งอยู่ในแคว้นมัลละ จัดเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญ การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพาน เชื่อกันว่าด้วยทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์อาจถูกกษัตริย์แคว้นต่างๆ แย่งชิงเพื่อทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองเหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็กๆ และก็จริงดังนั้น หลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน ผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยกกองทัพมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่เกิดสงคราม
หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว กุสินารากลายเป็นศูนย์กลางแห่งการสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบ ๆ สถูปใหญ่คือ #มหาปรินิพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินารา ประมาณ พ.ศ. 310 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ 100,000 กหาปณะ เพื่อเป็นค่าสร้างสถูป เจดีย์ และเสาศิลา จากนั้นเป็นเวลานับพันปีพื้นที่บริเวณนี้ก็ทรุดโทรมลง
ในปี พ.ศ. 2397 นายวิลสัน นักโบราณคดีอังกฤษ ได้ทำการพิสูจน์ขั้นต้นว่าหมู่บ้านกาเซียคือกุสินารา และมีขุดค้นเนินดินในสาลวโนทยาน โดย เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม และ นายคาร์ลลีเล่ ได้ขุดค้นพบพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ณ วิหารปรินิพพาน และสถูปจำนวนมากที่ผู้ศรัทธาได้สร้างไว้ในอดีตเมื่อครั้งพระพุทธศาสนายังรุ่งเรือง
ในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาปูชนียสถานแห่งนี้เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง 25 พุทธชยันตี โดยได้รื้อโครงสร้างวิหารปรินิพพานเก่าออกเพื่อสร้างมหาปรินิพพานวิหารใหม่ และมีบูรณะสร้างขึ้นใหม่จนมีสภาพสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
กุสินาราในปัจจุบันได้รับการบูรณะและมีปูชนียสถานสำคัญๆ ได้แก่ #สถูปปรินิพพาน สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช และ #มหาปรินิพพานวิหาร ภายในประดิษฐาน #พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ศิลปะมถุรา มีอายุกว่า 1,500 ปี ถือเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ #มกุฏพันธนเจดีย์ สภาพเป็นเนินดินก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากปรินิพพานสถูปไปทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้ในเมืองกุสินารามากมาย รวมทั้งมีวัดของไทย ชื่อ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ซึ่งชาวไทยที่มาสักการะสังเวชนียสถาน ณ กุสินารา นิยมมาพัก
Cr.pic FB
「พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน」的推薦目錄:
- 關於พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最佳解答
- 關於พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 "ปางโปรดอสุรินทราหู" เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคง ... 的評價
- 關於พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 ความจริง..ก่อน ปรินิพพาน... บทสรุป 2 | ไฮไลต์ ตอนที่ 12 ตามรอย ... 的評價
- 關於พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 Pin on นครปฐมศึกษา 的評價
- 關於พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 จาริก แสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย - เนปาล 8 วัน นมัสการสังเวชนีย ... 的評價
พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 ความจริง..ก่อน ปรินิพพาน... บทสรุป 2 | ไฮไลต์ ตอนที่ 12 ตามรอย ... 的推薦與評價
... พระพุทธ ศาสนา มาขยายความถึงสิ่ง ที่เป็นเหตุและผล ในแต่ละเส้นทางเกี่ยวกับ ... เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ติดตามฉบับเต็มได้ใน ...ตามรอยพระพุทธเจ้า EP ... ... <看更多>
พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 Pin on นครปฐมศึกษา 的推薦與評價
พระพุทธนิพพาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีพระสาวก ๓ รูปนั่งล้อบรอบ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารนอน. Save. ... <看更多>
พระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน 在 "ปางโปรดอสุรินทราหู" เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคง ... 的推薦與評價
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับสีหไสยาสน์ เสด็จดับขันธปรินิพพานในวันอังคาร จึงได้ถือเอา พระพุทธไสยาสน์ เป็น พระประจำวันอังคาร นอกจากนี้คนโบราณยังมีความ ... ... <看更多>