5 เรื่องเข้าใจผิด ที่ทำให้แบรนด์เมินการตลาดบน “TikTok”
.
หากถามถึงแพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดแห่งปี 2020 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “TikTok” โซเชียลมีเดียสัญชาติจีน ที่กำลังได้รับความนิยมจากคนทั่วทุกมุมโลก จนทำให้บางประเทศมีแนวคิดที่จะแบน เนื่องจากมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ หากมองผิวเผิน TikTok เป็นเพียงแพลตฟอร์มสร้างความบันเทิงสำหรับครีเอเตอร์ ที่มีความสนใจทำคลิปเต้นหรือการแสดงตลก สนุกสนาน แต่หากเจาะลึกลงไปจะพบว่า Tiktok คือแพลตฟอร์มแห่งขุมทรัพย์สำหรับนักการตลาด หรือคนสร้างแบรนด์ต่างๆ ที่พร้อมจะเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างแท้จริง
.
อย่างไรก็ตาม แม้จะยอดฮิตในหมู่ผู้ใช้งาน แต่กลับเงียบเหงาในหมู่คนทำธุรกิจและนักการตลาด มีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่เห็นโอกาสจากแพลตฟอร์มแห่งขุมทรัพย์นี้ เนื่องจากยังมีความเข้าใจที่ผิด ๆ อยู่ วันนี้จึงขอนำเสนอ 5 เรื่องเข้าใจผิด ที่ทำให้แบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะเมินและไม่สนใจทำการตลาดบนแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า “TikTok”
.
1. เข้าใจผิดว่า TikTok เป็นเพียงแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิง
แม้ TikTok จะเน้นสร้างความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการร้อง เล่น หรือเต้นเพลงต่างๆ จนบางคลิปกลายเป็นไวรัลสุดฮิตที่คนทั่วบ้านทั่วเมืองต้องออกมาโชว์สเต็ปเต้นตาม แต่ในอีกด้านหนึ่ง รู้หรือไม่ว่า TikTok สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้ เช่น การสร้าง Challenge ให้ทำตาม หรือเต้น cover เพลงสินค้า หลาย ๆ แบรนด์ที่เห็นโอกาสก็หันมาครีเอทแคมเปญต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดจนเกินไป แต่กลับทำให้ลูกค้ารู้สึกสนุก มีความท้าทาย และความคุ้นเคยกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวอย่างแน่นแฟ้น
.
2. เข้าใจผิดว่า TikTok เป็นเพียงแพลตฟอร์มสำหรับเด็ก
ช่วงแรกๆ TikTok ได้รับความนิยมจากกลุ่ม Gen Z มากที่สุด ทำให้หลายแบรนด์คิดว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก สำหรับแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Y หรือ Gen อื่นๆ จึงอาจมองข้ามแพลตฟอร์มนี้ไป แต่ในปัจจุบัน TikTok ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มเด็ก ๆ เท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจากสถิติพบว่า อัตราการใช้งานกลุ่ม Gen Y เติบโตขึ้นมาก เห็นได้จากในบางประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย Gen Y มีอัตราการใช้งานมากกว่า Gen Z และสำหรับผู้ใช้งานในไทยพบว่ายังเป็น Gen Z ที่มียอดใช้งานมากที่สุด แต่ถึงอย่างไรผู้ประกอบการและนักการตลาดก็ไม่ควรมองข้าม แพลตฟอร์มนี้ เพราะเมื่อประเทศ Gen Y โตได้ ไทยก็ยังมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต
.
3. เข้าใจผิดว่า เมื่อยอดผู้ติดตามสูง จะส่งผลให้ยอดการมีส่วนร่วมลดลง
โดยปกตินักการตลาดและนักโฆษณาสร้างแบรนด์ต่าง ๆ มักจะคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มเดิมอย่าง “Facebook” ที่เมื่อมียอดผู้ติดตามสูง ส่งผลให้ยอด Engagement หรือการมีส่วนร่วมลดลง และจะถูกลดการมองเห็นโพสต์หากไม่ซื้อโฆษณา ส่งผลให้หลายๆ แบรนด์ต่างคิดว่า TikTok ก็เป็นแบบนั้นเช่นเดียวกัน แต่ความจริงกลับตรงกันข้ามเพราะยิ่งมีผู้ติดตามเยอะ ยิ่งส่งผลให้ยอดวิวสูงขึ้น และการมีส่วนร่วมก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่า TikTok มียอด Performance Rate มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ
.
4. เข้าใจผิดว่า ยอดผู้ติดตามต้องสูง คนถึงจะเห็นเยอะ
ข้อดีของ TikTok อีกหนึ่งข้อคือ การมี Algorithms ที่รู้ Insight ของผู้ใช้งาน โดยมีการนำเสนอเนื้อหาหรือคลิปต่างๆ ที่ตรงตามความสนใจของผู้ใช้งานในหน้า For You ซึ่งจากสถิติพบว่า 69% ของผู้ใช้ ใช้เวลาอยู่บนหน้า For You มากกว่า Following ที่ตัวเองติดตาม จึงแสดงให้เห็นว่ายอดของผู้ติดตาม ไม่ได้มีผลต่อการมองเห็นและเข้าถึงคอนเทนต์ได้ โดยการเข้าถึงจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีคนหยุดดู กดไลค์ คอมเมนท์ หรือกดแชร์มากแค่ไหน ระบบก็จะประมวลผลว่าควรแสดงคลิปนี้ให้คนเห็นมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งหมายความว่า หากครีเอทคลิปให้น่าสนใจและโดนใจผู้ใช้งานมากเท่าไหร่ โอกาสที่คลิปจะกลายเป็นหนึ่งในไวรัลสุดฮิตเพียงข้ามคืนก็ไม่ใช่เรื่องยาก
.
5. เข้าใจผิดว่า การตลาดบน TikTok ทำได้แค่เต้นเท่านั้น
อย่างที่หลายคนเข้าใจว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงเพราะคลิปส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นคลิปเต้นมากกว่า เพื่อขยายฐานผู้ใช้งานให้กว้างมากขึ้น TikTok จึงทำการเปิดตัวแฮชแท็กที่มีชื่อว่า #TikTokUni เพื่อเพิ่มการครีเอทเนื้อหาในด้านของสาระความรู้และประโยชน์ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องเต้นหรือทำคลิปตลก ซึ่งตัวอย่างครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้คือ เด็กวัยรุ่นอายุ 16 ปีที่นิวยอร์ก ทำคลิปสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กว่า 100 คลิปมีผู้ติดตามมากกว่า 6 แสนคน หรือจะเป็นในไทย ที่ใช้แฮชแท็กนี้ในการทำคลิปสอนทำอาหาร ขนม การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ภาษา แนะนำแอปเด็ด รวมถึง How to ต่างๆ ในรูปแบบของคลิปวิดิโอสั้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานมากมาย จึงเป็นที่น่าจับตามองสำหรับแฮชแท็ก #TikTokUni ว่าจะสามารถขยายฐานผู้ใช้ให้กว้างขวางขึ้นหรือไม่
.
ดังนั้น จากความเข้าใจผิดทั้ง 5 ข้อที่แบรนด์มีต่อ TikTok นั้น แท้จริงแล้ว แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่แบรนด์คิดอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะ TikTok เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิง เพียงแค่เริ่มเปิดใจศึกษา และมองให้ลึกลงไปว่านอกจากความสนุก ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ทั้งผู้ใช้งานและแบรนด์จะได้รับ
.
อีกทั้งจากความฮิตและความพยายามในการสร้างแบรนด์ให้ตอบโจทย์กับทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดนั้น ก็ทำให้เห็นว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาด นักโฆษณา สร้างแบรนด์ และคนทำธุรกิจไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป เพราะในอนาคต TikTok อาจกลายมาเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุก ๆ แบรนด์ในการสร้างการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภค เพื่อให้แบรนด์ของตนเองสามารถเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้
.
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/5-misconception-tiktok.html
.
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#TikTok #Social #Business
มาเลเซีย ภาษา 在 ภาษามาเลย์ ง๊ายง่าย..พูดได้ ฟังเป็น's post - Facebook 的推薦與評價
ภาษามาเล ย์ ง๊ายง่าย..พูดได้ฟังเป็น ช่วงเย็นๆก่อนค่ำนี้ แอดมินจะมาพูดถึง “คำกล่าวทักทาย” ใน Bahasa Melayu กันค่ะ How to say “Good morning” ... ... <看更多>
มาเลเซีย ภาษา 在 ภาษามาเลเซีย 1 (Bahasa Malaysia) การทักทาย - YouTube 的推薦與評價
คลิปให้ความรู้เกี่ยว ภาษามาเลเซีย (bahasa Malaysia) หรือ ภาษา มลายู (bahasa Melayu) หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า " มาเล ย์" (Malay) โดย อ. ... <看更多>