3 ปี ในอนุบาล
12 ปี ในโรงเรียน
4 ปี ในมหาวิทยาลัย
.
เรียนมาเกือบ 20 ปี เพื่อทำงานรับเงินเดือน 15,000 บาท
.
นี่คือ สิ่งที่ผมได้ยินเด็กจบใหม่ “บ่น” กันมากที่สุด ทั้งในวงสนทนา หรือ บนโซเชียลมีเดีย
.
ทุกครั้งที่ผมได้ยิน เด็กจบใหม่บ่นแบบนี้ ผมมักจะถามกลับไปว่า “แล้วไงต่อ ?”
.
แล้วไงต่อ ? บ่นไปแล้วได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นไหม
ต่อให้เรียนเพิ่มเป็น 30 ปี มันก็ได้เท่านี้
หรือต่อให้เปลี่ยนรัฐบาล ค่าจ้างก็ปรับขึ้นแค่ไม่กี่สิบบาทหรอก
.
ดังนั้น หยุดบ่น แล้ว ตั้งสติ !!
.
แล้วลองคิดตามนะครับ
.
ถ้าวันนี้คุณเดินไปซื้อของในตลาด เพื่อซื้อของสักอย่างหนึ่ง สมมติว่าเป็น เครื่องดูดฝุ่น
.
แล้วปรากฎว่า ทั้งตลาดมีคนขายเครื่องดูดฝุ่นเหมือนกันหมดเลย ทั้งรูปแบบ คุณสมบัติ ความสามารถ อายุการใช้งาน
.
คำถาม คือ คุณจะเลือกซื้อเครื่องดูดฝุ่นจากเจ้าไหน
.
คำตอบ คือ เจ้าที่ราคาถูกที่สุด จริงไหม ?
.
แล้วถ้าสมมติว่ามีอยู่เจ้าหนึ่ง ที่ขายเครื่องดูดฝุ่นพลังสูง เป็นหุ่นยนต์ สามารถดูดฝุ่นได้เอง แถมยังกวาดขยะได้ด้วย แต่ราคาแพงกว่าเจ้าอื่นๆ คุณคิดว่า จะมีคนยอมจ่ายเงินซื้อไหม
.
คำตอบ คือ มีเยอะแยะเลยจริงไหม ?
.
.
การจ้างงานก็เช่นกันครับ
.
ในแต่ละปี เรามีนักศึกษาจบใหม่มากกว่า 500,000 คน
.
ซึ่งแต่ละคนก็เรียนมาเหมือนกัน วุฒิเดียวกัน ทำทุกอย่างได้เหมือนกัน
.
คำถาม คือ แล้วมันมีเหตุผลอะไร ที่บริษัท หรือ นายจ้าง ต้องจ่ายแพงกว่า เพื่อจ้างคุณล่ะ ถ้าทุกอย่างเหมือนกัน เขาก็ต้องเลือกที่จะประหยัดเงินของตัวเองถูกไหม
.
ที่สำคัญ คุณต้องไม่ลืมว่า บริษัทเองเขาต้องแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ถ้าเขาจ้างคนที่ใครๆ ก็หาได้ บริษัทอื่นๆ ก็มี ทำอะไรได้เหมือนๆ กัน แล้วบริษัทจะไปแข่งขันกับใครได้
.
ดังนั้น สิ่งที่ต้องคิด จึงไม่ใช่การมานั่งชี้นิ้วโทษคนอื่น ว่าทำไมฉันเรียนมาเกือบ 20 ปี ลงทุนมาหลายแสน แต่กลับให้เงินเดือนแค่ 15,000 บาท
.
แต่ต้องหันกลับมาถามตัวเองว่า เราสามารถสร้างคุณค่ามากพอที่เขาจะให้มากกว่า 15,000 แล้วหรือยัง ?
.
ตัวผมเองก็เป็นเด็กจบใหม่ ที่เรียนจบมาประมาณ 2 ปี ไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัยชั้นนำ สาขาที่จบมาก็เป็นสาขาที่ใครๆ ก็บอกว่า หางานยาก เงินเดือนน้อย เพราะไม่มีความโดดเด่นอย่าง สาขานิเทศศาสตร์
.
ผมเริ่มต้นทำงานประจำโดยรับเงินเดือนขั้นต่ำเพียง 15,000 บาท เช่นกัน ที่สำคัญคือ จบมาในยุคโควิดนี่แหละ
.
ช่วงที่ผมทำงานประจำ ผมสังเกตเห็นว่า ไม่เคยเลยสักครั้ง ที่บริษัทจะหยุดประกาศรับสมัครพนักงานใหม่ บริษัทนั้นขาดคนอยู่ตลอด แถมในหลายตำแหน่ง เงินเดือนก็สูงกว่า 15,000 บาท ด้วยซ้ำ ในแต่ละวันมีคนเดินเข้ามาสัมภาษณ์งานมากมาย แต่ก็ไม่ตรงตามสเปคที่บริษัทต้องการ
.
นี่แสดงให้เห็นแล้วว่า งานที่เงินเดือนสูงนั้นยังมีที่ว่างมากมาย แต่ไม่สามารถหาคนที่เหมาะสมกับมันได้ต่างหาก
.
นี่คือความจริงที่ต้องยอมรับ
.
ต่อให้คุณ “บ่น” ให้ตาย หรือ เรียนนานสัก 30 ปี มันก็ไม่ช่วยให้คุณได้รับเงินเดือนมากขึ้นหรอก
.
เพราะไม่มีใครสนใจหรอกว่าคุณเรียนมานานแค่ไหน จ่ายค่าเทอมมามากเท่าไหร่ เขาสนใจแค่ว่าคุณทำผลงาน และ สร้างมูลค่า ได้มากขนาดไหนต่างหาก
.
เพราะฉะนั้น เปลี่ยนจากนั่ง “บ่น” แล้วไปหยิบ “หนังสือ” อ่าน เปลี่ยนจาก “โทษ” ชาวบ้าน แล้วไป “ฝึกฝน” ทักษะใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ตลาดดีกว่า
.
ทุกวันนี้มีหนังสือดีๆ มีสื่อการเรียนรู้ที่เปิดกว้างมากมาย ให้คุณได้เรียนรู้ และ ฝึกฝน
.
อย่าคิดว่าการเรียนรู้มันจบแค่ในห้องเรียน เพราะถ้าคุณเรียนมาเหมือนกับใครๆ มันก็ไม่มีอะไรที่แตกต่าง แต่คุณต้องรู้จักหาความรู้อื่นๆ ที่ไม่ได้มีสอนกันแค่ในมหาวิทยาลัยด้วย
.
ถ้าคุณสามารถทำตัวเองให้แตกต่างกว่าเด็กจบใหม่คนอื่นๆ และสร้างมูลค่าได้มากกว่าใคร ต่อให้คุณเรียกค่าตัว “แพง” แค่ไหน ก็มีแต่คนแย่งตัว
.
ก่อนจะโทษว่าไม่มีใครให้โอกาส ลองถามตัวเองดูว่า คุณมีความสามารถมากพอที่จะได้รับโอกาสนั้นแล้วหรือยัง
.
หากคุณทำตัวเองให้มีความสามารถมากพอ สุดท้ายแล้ว เมื่อโอกาสมาถึง คุณก็จะไปกับโอกาสนั้นได้อยู่ดี
.
แต่ถ้าความสามารถของคุณยังไม่พอ ต่อให้มีตำแหน่งงานเงินเดือนสูง หรือ มีโอกาสอยู่ตรงหน้า คุณก็คว้ามันมาไม่ได้
.
นี่คือ ความจริง ครับ ต่อให้คุณจะโทษฟ้าโทษดิน เรียกร้องความยุติธรรมจากใคร คุณก็หนีความจริงตรงนี้ไม่ได้
.
ก่อนจะออกไปเปลี่ยนโลก ให้เริ่มจากการเปลี่ยนโลกของตัวเองก่อน นั่นคือ “ทัศนคติ”
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過36萬的網紅FCAJOHN,也在其Youtube影片中提到,หนังสือเล่มนี้ รวบรวม 18 คำถาม ของคนที่ ลดน้ำหนักแล้วติดปัญหาต่างๆ นำมาสรุป ตอบได้อย่างเข้าใจง่าย พร้อมนำไปใช้ได้ทันที โดย หมอผิง ครับ อ่านง่ายมากๆ เ...
หนังสือ คำถาม 在 สมองไหล Facebook 的最讚貼文
เวลาเราตัดสินใจควักเงินจากกระเป๋าเพื่อซื้ออะไรสักอย่าง ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากความต้องการอยู่ 2 อย่างใหญ่ๆ คือ ต้องการเป็นเจ้าของ กับ ต้องการประสบการณ์
.
หรือ พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ “ซื้อสิ่งของ” เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ แก็ดเจ็ตต่างๆ กับ “ซื้อเรื่องราว” อย่าง ทริปเที่ยว ตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วชมฟุตบอล เป็นต้น
.
คำถาม คือ การใช้เงินซื้อของแบบไหน สร้างความสุขให้คนเราได้มากกว่ากัน ?
.
ทีมวิจัยของแวน โบแว่น นักจิตวิทยาสังคม ได้ทำแบบสอบถามทางโทรศัพท์โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่อายุ 20 ปี ถึง 60 ปี จำนวน 1,200 คน ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2000
.
โดยการวิจัยครั้งนี้ได้มีการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของครอบครัว และให้กลุ่มตัวอย่างเลือกสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และ เครื่องประดับ เป็นต้น ที่เคยซื้อด้วยวัตถุประสงค์ในการ “เป็นเจ้าของ” เพื่อความสุขของตัวเอง และ สิ่งของที่เป็น ทริปเที่ยว ตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วชมฟุตบอล และ ทัวร์สกี เป็นต้น ที่เคยซื้อด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ “ประสบการณ์” อย่างละชิ้น
.
หลังจากนั้นให้เลือกว่าระหว่างสิ่งของสองชิ้นที่เลือกมา ชิ้นไหนทำให้ตัวเองมีความสุขมากกว่ากัน
.
ผลการทดลองปรากฎว่า คนที่บอกว่าสิ่งของที่ซื้อเพื่อประสบการณ์ทำให้เขามีความสุขมากกว่าคิดเป็น 57 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนคนที่ตอบว่ามีความสุขจากสิ่งของที่ซื้อเพื่อความเป็นเจ้าของมากกว่ามีเพียง 34 เปอร์เซ็นต์
.
นี่เป็นผลการวิจัยที่ทำให้เห็นความจริงว่า คนส่วนใหญ่มองว่าการมีประสบการณ์จากการซื้อเรื่องราวนั้นได้มอบความสุขให้มากกว่าการซื้อสิ่งของ
.
คำถาม คือ อะไรทำให้ ประสบการณ์ มอบความสุขให้คนเรามากกว่า สิ่งของ ล่ะ ?
.
นั่นก็เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคนเราก็คือความสัมพันธ์ หากเราไปดูผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต เราจะพบว่าแทบไม่มีใครถามหาถึงกระเป๋าแบรนด์เนม รถหรู หรือ บ้านหลังใหญ่ มีแต่จะถามหาครอบครัว ลูกหลาน เพื่อนฝูง และ คนที่รัก
.
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของที่ให้ประสบการณ์กับเรานั้น มักจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์อยู่ เช่น ได้ไปเที่ยวกับครอบครัว กินอาหารร้านดังกับคนรัก ได้ไปดูฟุตบอลทีมรักกับเพื่อนสนิท ได้ไปชมการแสดงของศิลปินกับเพื่อนรัก
.
หรือ ต่อให้เราไปเที่ยวหรือชมการแสดงคนเดียว การได้พูดคุยกับคนต่างแดน หรือ ความประทับใจในฝีมือการแสดงของศิลปินคนโปรดก็ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับพวกเขา
.
แต่การซื้อสิ่งของ นั้นให้ความพอใจแค่ช่วงเวลาที่ได้เราเป็นเจ้าของมันเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกนั้นก็เบาบางลงจนบางครั้งก็เกิดความทุกข์เมื่อสิ่งของเหล่านั้นเริ่มเป็นส่วนเกินในบ้าน จะนำไปขายก็เสียหาย แต่ถ้ายังมีไว้ก็ไม่รู้จะไปเก็บที่ไหน
.
เพราะสิ่งที่มันจะอยู่กับเราตลอดไป ไม่ใช่สิ่งของที่ซื้อมาเก็บไว้ เเต่เป็นเรื่องราวที่ได้ไปพบเจอมาต่างหาก เพราะทุกครั้งที่นึกถึงมัน เรื่องราวเหล่านั้นมันก็ทำให้รู้สึกได้เติมเต็มความสุขทุกครั้ง เเม้ตอนนั้นอาจจะเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก เเต่พอมานึกถึงมันตอนนี้ มันกลับเป็นเรื่องตลกที่หยิบมาคุยทีไรก็ขรรมกันจนท้องเเข็งทุกที
.
เรามักจำไม่ได้หรอกว่าตอนไปเที่ยว เราเคยซื้ออะไร แต่เราจำได้เสมอว่าเราไป “กับใคร” และยังจำโมเม้นกับคนในช่วงเวลานั้นได้ดีเสมอ
.
อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้กำลังจะบอกให้คุณหยุดซื้อสิ่งของนะครับ เพราะความจริงแล้วเราสามารถปรับกรอบความคิดในการซื้อสิ่งของ จากซื้อเพราะอยากเป็นเจ้าของเป็นซื้อเพราะอยากได้ประสบการณ์จากมันได้
.
เช่น หากวันนี้คุณกำลังจะไปซื้อโต๊ะและเก้าอี้ หากคุณมองโดยใช้กรอบความคิดเพื่อเป็นเจ้าของ คุณก็จะเห็นมันเป็นแค่เครื่องเรือนที่ใช้ในบ้าน
.
แต่ถ้าคุณมองโดยใช้กรอบความคิดเพื่อประสบการณ์ เราจะมองเห็นและรู้สึกถึงช่วงเวลาที่ได้นั่งอ่านหนังสือ และ เขียนไดอารี่ บนชุดโต๊ะเก้าอี้ตัวนี้
.
หรือ ถ้าคุณไปซื้อโต๊ะกินข้าวก็ให้คิดว่าซื้อไปเพราะอยากสัมผัสช่วงเวลาดีๆ ที่ครอบครัวได้รวมตัวเพื่อรับประทานอาหารเย็นด้วยกัน
.
ถึงแม้ว่าจะซื้อของอย่างเดียวกัน แต่เราสามารถใช้กรอบความคิดในการมองที่ต่างกันได้
.
อย่างที่ อีริค ฟรอมม์ นักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 แนะนำเอาไว้ว่า “เราควรมีกรอบความคิดเพื่อประสบการณ์ เพราะมันจะทำให้เรามีความสุขและส่งผลให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่าการมีกรอบความคิดเพื่อการเป็นเจ้าของ”
.
.
Ref : หนังสือ THE FRAME ชนะตั้งแต่ความคิด หนังสือที่จะทำให้คุณมีชีวิตที่มีความสุขและมองทุกสิ่งด้วยสติปัญญา
หนังสือ คำถาม 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳解答
ถ้านี่คือประโยคคำถาม จะตอบยังไงดี
"จะมีประโยชน์อะไร ถ้าหาเงินได้มากมายแล้วไม่หาความสุขจากมัน"
นี่ผมนั่งนึกแล้วผมก็ได้คำตอบแค่ว่า "เออว่ะ แล้วจะมีประโยชน์อะไรวะ เราควรเอาเงินที่หามาได้ ไปซื้อนาฬิกาดีกว่า 5555"
แต่ Adam Ku นักธุรกิจชาวสิงคโปร์ เค้าคิดไม่เหมือนผม เพราะเค้าตอบว่า เค้าไม่เคยพบความสุขที่แท้จริงเลยจากการซื้อสินค้าแบรนด์เนม ถึงแม้ว่าการซื้อบางสิ่ง หรือการมีเงินมากมายจะทำให้เรามีความสุข แต่มันก็เกิดขึ้นได้ไม่นาน เพราะความสุขจากทุนนิยม ไม่มีวันคงทน มันเพียงให้ความสุขแบบเยียวยาเท่านั้น"
ตอนนี้ผมต้องการการเยียวยา เอานาฬิกามา แล้วเอาตังค์ไป ผ่าม พาม !
เอาจริง ๆ ผมก็เห็นด้วยกับ Adam Ku นะ ผมว่าตอนที่ผมซื้อนาฬิกา ช่วงที่มีความสุขที่สุดมันคือตอนหาข้อมูล ตอนเทียบสินค้า ตอนเลือกว่าจะซื้ออันไหนดี พอจ่ายเงินซื้อแล้วได้ของ เหมือนกระบวนการความสุขมันก็จบแค่ตรงนั้น
แต่ก็ยังอยากได้ความสุขชั่วคราวแบบนี้บ่อย ๆ อยู่เหมือนกันนะ 5555
เราทำงานเพื่อแลกผลตอบแทน เราหาเงินเพื่ออะไรซักอย่าง ไม่ว่าเงินจะน้อยหรือจะมาก ก็ต้องรู้จักตัวเราเองให้ดีว่าจะหาความสุขจากสิ่งที่หามาได้อย่างไร และถ้าให้ดี มองให้ออกว่าอะไรคือความสุขชั่วคราว อะไรคือความสุขที่ยั่งยืน
แล้วอย่าพลาดให้ความสุขชั่วคราว มาทำร้ายความสุขยั่งยืนจนกลายเป็นความทุกข์ไป ถ้าเป็นแบบนั้นการหาเงินของเราคงเหนื่อยขึ้นอีกหลายเท่าเลย จริงมั้ย
คำถาม ถ้าเราหาเงินได้มากมาย เราจะใช้มันหาความสุขแบบไหนกัน
Credit : หนังสือ #นี่เงินเดือนหรือเงินทอน โดย โอมศิริ วีระกุล
#HRTheNextGen
#มนุษย์เงินเดือน #HR2021
หนังสือ คำถาม 在 FCAJOHN Youtube 的最佳解答
หนังสือเล่มนี้ รวบรวม 18 คำถาม ของคนที่ ลดน้ำหนักแล้วติดปัญหาต่างๆ
นำมาสรุป ตอบได้อย่างเข้าใจง่าย พร้อมนำไปใช้ได้ทันที โดย หมอผิง ครับ
อ่านง่ายมากๆ เป็นตอน สั้นๆ
ผมได้แนะนำเทคนิคการใช้ หนังสือเล่มนี้ เพื่อปรับนิสัยเรา จะได้ ลดความอ้วน ได้อย่างยั่งยืน และ สุขภาพดี ไว้ด้วยครับ
Thank you Music :
Music: Spring In My Step - Silent Partner https://youtu.be/siCmqvfw_1g
--------------------------
แนะนำเครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย ได้คุณภาพ สั่งซื้อได้ตามลิ้งค์นี้
HBF-212 รุ่นถูกสุด : https://bit.ly/2zuWd64
HBF-222T แบบมีบลูทูธ : https://bit.ly/32f3qUf
HVF-375 แบบมีที่จับตรงมือ : https://bit.ly/2zwNWhK
--------------------------
Follow Me
Facebook : https://www.facebook.com/fcajohnnext
Instagram : https://www.instagram.com/fcajohnnext
Twitter : https://www.twitter.com/fcajohnnext
ติดต่องาน Line ID : JOHNFCA