ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- สิทธิบัตร (Paent)
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
- แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Inegrated Circuit)
- ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indicaion)
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท
ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น
เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่
- เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น
- เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับการบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
- เครื่องหมายรับรอง (Certificaion mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
- เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาบบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนไทย จำกัด เป็นต้น
ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามความสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ
ชื่อทางการค้า หมาถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ๔ ฉบับ คือ
- พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒
- พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ท แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางาการค้าระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต
ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
(Trade Related Intellectual Property Rights : TRIPs)
ภูมิหลัง
๑. ประเทศสมาชิกความตกลงแกตต์ (ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกก่อตั้ง WTO ในปี ๒๕๓๘) ได้เจรจาจัดทำความตกลง TRIPs ในช่วงการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย (ปี ๒๕๓๗-๒๕๓๙) ซึ่งเป็นการนำกฎระเบียบเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาสู่ระบบการค้าหลายฝ่ายเป็นครั้งแรก จึงเกิดเป็นความตกลง TRIPs ภายใต้กรอบ WTO เพื่อกำหนดระดับของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสมาชิก WTO แต่ละประเทศ จะต้องให้แก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ความตกลงฯ ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
· การใช้หลักการพื้นฐานของระบบการค้าและความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ
· การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพียงพอ
· การใช้บังคับสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ
· การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศสมาชิก WTO
· ระยะเวลาปรับตัวในช่วงการนำระบบใหม่มาใช้
๒. ขอบเขตความตกลง TRIPs
· ลิขสิทธิ์และสิทธิที่เกี่ยวข้อง
· เครื่องหมายการค้า รวมทั้งเครื่องหมายบริการ
· สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
· การออกแบบผลิตภัณฑ์
· สิทธิบัตร
· Layout-design (topographies) ของแผงวงจรรวม
· ความลับ รวมทั้งความลับทางการค้า
๓. ปัจจุบันการเจรจาภายใต้กรอบ WTO ในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า เป็นการเจรจาในประเด็นตามมติของที่ประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๒๕๔๔ ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ (ปฏิญญารัฐมนตรีโดฮา) ดังนี้
๓.๑ ให้คณะมนตรีด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าหาทางแก้ไขปัญหาจากการออกมาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing) ตามที่ระบุไว้ในความตกลง TRIPs เพื่อให้ประเทศสมาชิกที่ไม่สามารถหรือมีความสามารถไม่เพียงพอในการผลิตยารักษาโรคสามารถซื้อยารักษาโรคในราคาถูกได้ ซึ่งความตกลง TRIPs ได้อนุญาตให้ประเทศสมาชิกออกมาตรการบังคับใช้สิทธิได้ตามความจำเป็น แต่จำกัดการใช้ดังกล่าวให้อยู่ภายในประเทศสมาชิกนั้นเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีของยารักษาโรค ประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตรยา จึงสามารถผลิตยาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตร แต่ต้องผลิตเพื่อจำหน่าย/ใช้ในประเทศได้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น
๓.๒ ให้เจรจาจัดทำระบบการแจ้งและจดทะเบียนพหุภาคีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าไวน์และสุราให้เสร็จภายในการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 5 (5th MC) ในปี ๒๕๔๖ ทั้งนี้ความตกลง TRIPs มีข้อกำหนดให้คณะมนตรีฯเจรจาเรื่องนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าไวน์
๓.๓ คณะมนตรีฯพิจารณาการขยายความคุ้มครองระดับพิเศษสำหรับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมสินค้านอกเหนือจากไวน์และสุรา โดยให้รายงานผลภายในสิ้นปี ๒๕๔๕
อนุสิทธิบัตร คือ 在 IPAC - 💁♀️สิทธิบัตรมีประเภทอะไรบ้างและมีความคุ้มครอง ... 的推薦與評價
อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ . สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ ... <看更多>
อนุสิทธิบัตร คือ 在 ขั้นตอนการยื่นจดอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตร | AHS Research Chat EP ... 的推薦與評價
รายการ AHS Research Chat EP.11 ตอน “ขั้นตอนการยื่นจด อนุสิทธิบัตร /สิทธิบัตร” วิทยากรโดย รศ.ดร. ... 2565 # อนุสิทธิบัตร #สิทธิบัตร #TU. ... ทรัพย์สินทางปัญญา คือ อะไร? ... <看更多>