คำถาม คือ ควรกลับบ้านวันไหนดี คนที่ออกมาจากพื้นที่มีวางแผนไว้มั้ยคะ?
จากเหตุเพลิงไหม้โรงงานภายในซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จนมีคำสั่งให้ผู้ที่อยู่ในรัศมี 1 - 5 กิโลเมตรโดยรอบอพยพ เนื่องจากประชาชนอาจได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะหากได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมี #สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) รายการ #โรงหมอ มีข้อมูลด้านพิษวิทยาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มาฝากค่ะ
สไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นของเหลวงใส ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถกลายเป็นไอระเหยและลุกติดไฟได้ ถูกจัดให้อยู่ในวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ของเหลวไวไฟ ตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545 เมื่อสารนี้เกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
ทางด้านข้อมูลพิษวิทยา ได้แบ่งความเป็นพิษ 2 ลักษณะคือ พิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง
1. ความเป็นพิษเฉียบพลัน |
- #เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคือง
- #เมื่อเข้าตา จะส่งผลให้ตาเกิดการระคายเคือง
- #เมื่อหายใจหรือสูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อยุทางเดินหายใจ ทำให้ไอและหายใจลำบาก เมื่อดูดซึมจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดพิษ จะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงซึม
- #เมื่อกลืนกิน จะทำให้ระคายเคือง เป็นแผลไหม้ที่ปากและกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน อาเจียน และเซื่องซึม
2. ความเป็นพิษเรื้อรัง |
- ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในคน
- อาจจะทำให้เกิดมะเร็งในคนและสัตว์
- เพิ่มการแท้งในสตรีมีครรภ์ที่สัมผัสกับสารนี้
- ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของต่อมไทรอยด์และการมีประจำเดือนผิดปกติ รวมถึงมีผลต่อฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์
- ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ มีผลต่อระบบประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. นำผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
2. ถ้าผู้ประสบภัยหยุดหายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
3. ถ้าผู้ประสบภัยหายใจลำบาก ให้ใช้เครื่องให้ออกซินเจน
4. ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่มีการปนเปื้อนออกทันที่
5. หากสัมผัสกับสารนี้ ให้ล้างออกด้วยน้ำ หรือเมื่อเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างน้อย 15 - 20 นาที
6. กรณีไฟไหม้ผิวหนัง รีบทำให้เย็นทันทีเท่าที่ทำได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ถอดเสื้อผ้าออกถ้าเสื้อผ้าติดผิวหนัง
7. รักษาร่างกายผู้ประสบภัยให้อบอุ่น และนำส่งแพทย์
8. ผู้ปฐมพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สไตรีนโมโนเมอร์
สำหรับผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมพบว่า มีผลต่อดินค่อนข้างน้อยและเป็นสารที่ไม่ตกค้างในน้ำ แต่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยจะไปลดระยะเวลาการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เนื่องจากสารชนิดนี้มีความสามารถในการระเหยค่อนข้างสูง จึงสามารถทำลายชั้นโอโซนได้
#ThaiPBSPodcast
#ThaiPBS
「เมื่อถูกผิวหนัง」的推薦目錄:
เมื่อถูกผิวหนัง 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
"เตือนของเหลวใน เคสกลิตเตอร์ อันตราย"
วันนี้นักข่าวโทรมาถามเกี่ยวกับเรื่องที่ผมเคยโพสต์ไว้ตั้งแต่ 2 ปี ว่า "ของเหลวในเคสกลิตเตอร์ ทำเนื้อไก่ยุ่ยได้จริงๆ ครับ" ซึ่งเกิดจากข่าวในต่างประเทศ ที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งอายุแค่ 9 ขวบ
ไปนอนทับโทรศัพท์มือถือที่ใส่เคสแบบกลิตเตอร์ ซึ่งดูเป็นของเหลวมีโลหะสะท้อนแสงเป็นประกายลอยอยู่ใน้ำ แล้วของเหลวจากเคสกลิตเตอร์ก็ไหลมาโดนขาของเธอ จนเกิดอาการไหม้แบบสารเคมีกัด (chemical burn)
ตอนนั้น ผมได้ลองเอาเคสมือถือมาทดสอบ ซึ่งก็มี 3 แบบ คือ แบบที่เป็นกลิตเตอร์ลอยในของเหลวคล้ายน้ำมัน แบบที่มีน้ำกับน้ำมันผสมสีฟ้าและตุ๊กตุ่นเป็ดลอยอยู่ และแบบที่เป็นน้ำสีน้ำตาลทำรูปคล้ายขวดโคล่า (จากซ้ายไปขวา ในรูป)
พบว่าเมื่อเอาเนื้อไก่มาลองแช่น้ำที่ได้จากเคสแต่ละแบบ ก็พบว่าของเหลวจากเคสกลิตเตอร์ (แบบที่ 1) สามารถกัดเนื้อไก่ให้เปื่อยยุ่ยได้ เอาส้อมกดแล้วขาดเป็นชิ้นๆเลยหลังจากแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ... เมื่อลองวัดค่าพีเอช ดูความเป็นกรดด่าง
พบว่าเป็นกรดอ่อน pH ประมาณ 5 กลิ่นแปลกๆ ติดจมูกยังกับมีสารเคมีพวกคลอรีนปน ... คนที่ช่วยผ่าเคสกลิตเตอร์ แล้วมือเลอะของเหลวที่ว่า ก็รู้สึกแสบร้อนนิ้วมือที่โดนสารด้วย
ส่วนเคสรุ่นเป็ดลอยน้ำนั้น ไม่ได้มีอันตรายรุนแรงขนาดจะกัดเนื้อไก่ให้ยุ่ยได้ แต่ก็วัดพีเอชได้ค่าเป็นกรดอ่อนพอๆ กันกับเคสกลิตเตอร์ จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังเช่นกัน โดยมีคนเคยแจ้งด้วยว่าสัมผัสกับของเหลวนี้แล้วเกิด chemical burn ได้เช่นกัน
ผลจากการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการของอาจารย์อ๊อด Weerachai Phutdhawong ( https://www.facebook.com/phutdhawong/posts/975412175882426) ระบุว่า ของเหลวในเคสมือถือแบบกลิตเตอร์นี้ น่าจะต้องเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) โดยมีจุดเดือดเท่ากับ 174 องศาเซลเซียส และน่าจะเป็น "เด็คเคน (Decane)" ซึ่งเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่สามารถละลายพลาสติกได้ และปกติใช้เป็นสารชะล้างไขมันในโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อถูกผิวหนัง ทำให้ระคายเคืองแพ้ หากใครแพ้มาก ก็อันตรายตามอาการ หากสารเข้าตาก็อาจบอดได้
คำแนะนำ จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เคสมือถือชนิดกลิตเตอร์นี้ หรือถ้าใช้ ก็ต้องระวังการรั่วซึมออกมา เช่น ระวังไม่ไปนั่งทับ
หรือใช้ยี่ห้อที่มีราคาถูกและไม่ได้มาตรฐานการผลิต ... ถ้าบังเอิญสัมผัสถูกผิวหนัง ปรกติจะไม่ได้เกิดอาการแพ้หรือไหม้สารเคมีอย่างฉับพลันอะไร แต่อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ให้รีบล้างออกด้วยน้ำมากๆ หรือไปพบแพทย์ถ้ามีอาการรุนแรง
----------
สนใจหนังสือ "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" ติดต่อสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ สนพ. มติชน http://www.matichonbook.com/…/matichonb…/newbooks/-2997.html
เมื่อถูกผิวหนัง 在 Mahidol Channel - สารพิษอันตรายเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกิน... 的推薦與評價
2 - เมื่อได้รับสารพิษสัมผัสเข้าสู่ตาหรือทางผิวหนัง วิธีการปฐมพยาบาลในกรณีนี้ ให้เปิดน้ำหรือล้างตาด้วยน้ำที่ไหลผ่านตลอด เช่น สาย ... ... <看更多>
เมื่อถูกผิวหนัง 在 เมื่อได้รับ "สารพิษอันตราย" ปฐมพยาบาลอย่างไร? | พบหมอมหิดล [by ... 的推薦與評價
... จะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ลดความรุนแรงจากสารพิษได้ วันนี้เราจะได้รู้ถึงวิธีปฐมพยาบาล เมื่อ ได้รับสารพิษอันตรายที่ ถูก ต้อง จาก รศ.พญ. ... <看更多>