สิ่งที่ทำเราต่างจากคนอื่นคือ เราไม่กลัวผิด เวลาใช้ภาษา จะไทย/อังกฤษ พูดผิดเขียนผิด เราก็เรียนรู้และแก้ไป ใครมาทักว่าเราผิด เราก็ฟัง+แก้ไข พูดผิดนี่เกิดขึ้นบ่อยมาก บางทีลิ้นพัน บางทีพูดไม่ชัด บางทีพูดอะไรไม่รู้เรื่อง ;) เพราะเราคือมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅Channel RL,也在其Youtube影片中提到,กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วยบอกต่อเล่า เขียนคอมเม้นใต้คลิปมาคุยกันบ้าง พารามอเตอร์ (อังกฤษ: Paramotor) คืออากาศยานขนาดเล็ก ใช้เครื่องย...
「แก้ไข อังกฤษ」的推薦目錄:
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 LG and Friends Facebook 的精選貼文
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 Channel RL Youtube 的最佳解答
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 แก้ไขปัญหา ซ่อม เบาะแส ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร - YouTube 的評價
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 เพิ่มคำบรรยายและคำบรรยายวิดีโอ - YouTube ความช่วยเหลือ 的評價
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 12 ปัญหาภาษาอังกฤษคนไทย พร้อมวิธีแก้ไขให้เวิร์ค - Facebook 的評價
- 關於แก้ไข อังกฤษ 在 การแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (แก้ไข PDF ภาษาอังกฤษ) 的評價
แก้ไข อังกฤษ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ปรัชญากฎหมายไทยหลังการปฏิรูปกฎหมายและการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ภาระกิจการปฏิรูปสังคมก็ได้รับการสืบสานต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5ป (พระราชโอรส) สนธิสัญญาเบาว์ริ่งยังคงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เข้าสู่แบบวิถีสังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก ขณะเดียวกันควบคู่กับแผนการปฏิรูปสังคม (ปฏิรูปการปกครอง) ให้เป็นแบบสมัยใหม่ (Modernization) การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) และโดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมาย นับเนื่องจากปรัชญากฎหมายไทยแบบเดิมที่อิงอยู่กับพระธรรมศาสตร์หรือปรัชญาอินเดียโบราณ ได้ประสบการณ์เสื่อมถอยเป็นอย่างมาก หลังจากที่ประสบการณ์ปรับเปลี่ยนตัวมาแล้วระลอกหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4
จุดสำคัญยิ่งคือพร้อม ๆ กับเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายเดิม ปรัชญากฎหมายตะวันตกก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นเคียงคู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่รัฐกำลังเน้นความทันสมัยและการรวมศูนย์อำนาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กระบวบการสร้างทันสมัยและดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง รัฐหรือองค์พระมหากษัตริย์ได้สร้างเงื่อนไขที่สนับสนุนการรับหรือนำเข้ามาซึ่งปรัชญากฎหมายตะวันตก
การต่อสู้และความสำเร็จในรื้อฟื้นหรือรวมศูนย์อำนาจทำให้ยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้รับการเรียกขานให้เป็นยุคแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอันสมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในรัฐไทย จนอาจเรียกรัฐยุคนี้ว่า“รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Absolutist State)
น่าสนใจที่ภายใต้กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองภายในที่พยายามเปลี่ยนแปลงความไม่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง ได้สร้างผลกระทบต่อปรัชญากฎหมายไทย ขณะเดียวกันบนพื้นฐานของความสำเร็จในการสร้างสมบูรณาญาสิทธิและการปฏิรูประบบหรือสถาบันกฎหมายก็ได้นำไปสู่การรับหรือการนำเข้ามา (Reception) ซึ่งความคิดทางกฎหมายตะวันตกในแง่หลักกฎหมายโดยเฉพาะปรัชญากฎหมาย “แบบปฏิฐานนิยม”
(Legal Positivism) ของตะวันตก
1.การก่อตัวของปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายในสังคมไทย
การกำเนิดแห่งปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในช่วงปฏิรูปของการปกครองไทยมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ อีกทั้งเหตุปัจจัยนั้นยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างละเอียดอ่อน นับเนื่องจากเหตุปัจจัยด้านการคุกคามของตะวันตกต่อเอกราชของชาติ อิทธิพลของวัฒนธรรมความคิดตะวันตกจึงแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำ อันรวมทั้งความคิดสมัยใหม่แบบวิทยาศาสตร์นิยมหรือปฏิฐานนิยม (Positivism) (ซึ่งนักคิดปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลขณะนั้น คือ เจอเรมี เบนแธม หรือ จอห์น ออสติน) การต่อสู้ภายในเพื่อสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิและที่สำคัญคือการปฏิรูปกฎหมายเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องระบบกฎหมายไทย เพื่อต้องการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลคืนมา จากการที่ได้ลงนามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายไทยในสมัยนั้นป่าเถื่อน ล้าสมัย เช่น การพิสูจน์ด้วยการดำน้ำ การลุยไฟ เป็นต้น ดังนั้นคนอังกฤษเข้ามาอยู่ในไทย กระทำความผิดในไทยให้ขึ้นศาลอังกฤษ (ซึ่งมาตั้งอยู่ในไทย) เท่ากับว่าไทยยอมสละสิทธินี้เรียกว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล กลายเป็นแม่แบบที่ประเทศอื่นๆได้ทำสนธิสัญญากันอย่างรวดเร็วรวมอังกฤษด้วยกัน 15 ประเทศ ประกอบด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอแลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอร์เว เบลเยี่ยม อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี สเปน รัสเซียและญี่ปุ่น
เนื้อหาของการปฏิรูปกฎหมายประกอบทั้งการจัดระเบียบศาลให้เป็นแบบตะวันตกโดยการตั้งกระทรวงยุติธรรม การจัดและเลือกระบบกฎหมายแบบจำลองตะวันตก ซึ่งจะสืบเนื่องไปถึงการชำระสะสางกฎหมายโดยยกร่างตัวบทหรือประมวลกฎหมายสมัยที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างโรงเรียนกฎหมายเพื่อสอนนักกฎหมายที่สามารถใช้กฎหมายในระบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพิจารณารายละเอียดของการปฏิรูประบบกฎหมายที่นับว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน น่าจะมาจากปัญหาของการปฏิรูประบบกฎหมายไทย อยู่ 2 ประการ คือ ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงานในระบบกฎหมายใหม่กับปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ ดังนี้
1. ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงาน
ประเด็นนี้น่าจะถือเป็นมูลเหตุอันสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่การ “นำเข้า” ปรัชญากฎหมายตะวันตกแบบปฏิฐานนิยม เป็นอุปสรรคในด้านกำลังคนทำให้เกิดความจำเป็นในการจ้างนักกฎหมายต่างประเทศเข้ามาทำงาน และที่สำคัญคือ การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ โดยจำเพาะในช่วงแรก ๆ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระราชโอรสส่วนมากไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ จากจุดนี้เองที่นักปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ซึ่งมีอิทธิพลในแวดวงนิติศาสตร์ของอังกฤษ (English Jurisprudence) ได้มีโอกาสข้ามน้ำข้ามทะเลมาปรากฏในประเทศไทย โดยผ่านทางนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ออกไปศึกษาในประเทศอังกฤษ
2. ปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ
เนื่องจากในสมัยนั้นการออกกฎหมายในส่วนที่ใช้บังคับชาวต่างประเทศ จำเป็นที่ต้องให้รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องด้วยยินยอม (เพราะเราสูญเสียสิทธินอกอาณาเขตทางศาลอยู่ ประเทศที่อยู่เหนือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล จึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการยกร่างกฎหมายด้วย)
2.ความคิดทางปรัชญากฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
จากการที่รัชกาลที่ 5 ได้ส่งบุตร คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ไปศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ได้รับแนวคิดปรัชญากฎหมายปฏิฐานิยม ของ จอห์น ออสติน (John Austin) มาใช้และมาสอนในโรงเรียนสอนกฎหมายของไทย ซึ่งในเล็คเชอร์ว่าด้วยกฎหมายของพระองค์ได้ยืนยันว่า กฎหมายนั้น คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามธรรมดาต้องลงโทษ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำกล่าวเช่นนี้ค่อนข้างจะยืนยันในทฤษฎีปฏิฐานนิยม ตามแนวความคิดของจอห์น ออสติน ที่ถือว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์”
แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังได้กล่าวต่อไปว่า “อนึ่งคำอธิบายกฎหมายที่ว่ามาแล้วเพราะยังมีที่ติ” หรือในหนังสือคำอธิบายกฎหมายได้กล่าวไว้ว่า “คำอธิบายที่ได้ว่ามานั้นก็ไม่สู้ดีนักด้วยเหตุว่าไม่ตรงแก่ความจริงหลายประการ”
ข้อบกพร่องดังกล่าวเช่น
1. พระองค์เห็นว่าทฤษฎีนี้ มองข้ามสิ่งที่เป็นจารีตประเพณีในเ ล็คเชอร์ ว่าด้วยกฎหมาย
กล่าวว่า “ธรรมเนียมที่ได้ทำกันมาฤาที่เรียกว่า ธรรมเนียมซึ่งในเวลาไม่มีแบบ ทำให้ศาลเห็นทางในการวินิจฉัยความเหนือว่ากฎหมายบทหนึ่ง……”
2. ทฤษฎีนี้มองข้ามกฎหมายธรรมดา พระองค์ทรงแบ่งกฎหมายเป็น “กฎหมายแท้” หรือ “ข้อบังคับแท้” อันหมายถึงกฎหมายทั่วไปที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปคำสั่งของรัฐและอีกส่วนหนึ่งคือ “กฎหมายธรรมดา”
กฎหมายธรรมดา นั้นพระองค์ได้กล่าวว่า “ที่ไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ฤาไม่ได้เป็นคำสั่งด้วยวาจาของผู้มีอำนาจ แต่ที่นับว่าเป็นกฎหมายเพราะเหตุว่าความสันนิษฐานในวิชากฎหมายนั้นตีเสียว่ามีแบบแผนในการที่เกิดขึ้นในทุกเรื่องทุกชนิด ในเรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายเป็นอักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมดายกขึ้นใช้ไม่ผิดกับกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายธรรมชาตินั้นก็คือความประพฤติหรือแบบที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ ในโลกนี้หรือจะกล่าวเพื่อที่จะให้เป็นการจริงกว่านี้ว่าศาลคิดเทียบตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์จะให้คำข้อบังคับอื่น ๆ เป็นการเดินสะดวกต่อบ้านเมือง”
ข้อสังเกต การมองในแง่การตีความหมาย “กฎหมายธรรมดา” (กดธรรมดา) น่าจะหมายถึงกฎหมาย Common Law ในจารีตกฎหมายของอังกฤษซึ่งในระดับสำคัญมีความเชื่อมโยงด้านอิทธิพลทางความคิดหรือมีลักษณะคล้ายหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ หรือหลักกฎหมายธรรมชาติ (Jus Naturale) ที่ใช้กันอยู่นานนับแต่ครั้งสมัยโรมัน
โดยสรุป “กฎหมายธรรมชาติ” เป็นกฎหมายที่แตกต่างจาก “กฎหมายแท้” หรือ
“กฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้น” เพราะกฎหมายธรรมชาติไม่ได้เป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการตัดสินคดี เรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมชาติ เพราะกฎหมายธรรมชาติ คือ ความประพฤติหรือแบบแผนที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ
3. การไม่ยอมรับความยุติธรรมที่นำมาเป็นบทตัดสินคดีในความเป็นจริงทฤษฎีนี้ไม่
ยอมรับความยุติธรรม พระองค์มองว่าในความจริงแล้วต้องอ้างหลักยุติธรรม แต่ว่ามิใช่จะอ้างความยุติธรรมพร่ำเพรื่อ เหตุเพราะความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ดังคำกล่าวใน “คำอธิบายศึกษากฎหมาย“ (ความจริง) เป็นการเลื่อนลอยด้วยเหตุว่ายุติธรรมนั้นเป็นแต่ความเห็นของบุคลบางพวกดังนี้ ตรงกันข้ามจะเอาเป็นยุติไม่ได้
ข้อสังเกต ประเด็นวิจารณ์ต่อแนวความคิดต่อปัญหา “รัฏฐาธิปัตย์” อยู่ที่เรื่อง ข้อวิตกในอำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งอาจนำไปการออกกฎหมายโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ภายใต้แนวคิดที่เน้นแต่เรื่องความมั่นคงหรือความมีวินัยของสังคมเท่านั้น จุดบกพร่องสำคัญยังอยู่ที่ไม่มีการแยกแยะให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง “รัฏฐาธิปัตย์ถูกต้องตามกฎหมาย” (De Jure Sovereignty) และ “รัฏฐาธิปัตย์ในสถานที่เป็นจริง” (De Facto Sovereignty) ซึ่งอาจหมายถึงผู้ที่ขึ้นมามีอำนาจในการปกครองแผ่นดิน โดยใช้อำนาจและบังคับผู้อื่นให้เคารพเชื่อฟังตน ไม่ว่าโดยแบบการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร
ข้อวิตกต่อเรื่องลักษณะของอำนาจทางการเมืองของรัฐาธิปัตย์จึงทำให้มีผู้วิจารณ์ว่า ทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว (ปฏิฐานนิยม) มองกฎหมายในแง่แบบพิธีเก่านั้นหรือมองกฎหมายเป็นเพียงคำสั่งคำบังคับของผู้มีอำนาจอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงประเด็นมูลฐานของกฎหมายในแง่ของความตกลงยินยอมของผู้ปกครองและผู้ภายใต้ปกครอง โดยนัยนี้กฎหมายจึงกลายเป็น “ยานพาหนะที่สามารถบรรทุกสินค้าใด ๆ ก็ได้กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และไม่ยุติธรรมก็ใช้บังคับได้สมบูรณ์เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ดีที่สุด”
นอกจากนี้ในวิจารณ์ดังกล่าวยังหนุนรับข้อวิจารณ์ในแง่หลักการทางความคิดเรื่องแยกกฎหมายออกจากศีลธรรมหรือความยุติธรรม (ในทำนอง “อย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วหรือความยุติธรรม”) ซึ่งก็มีผู้มองว่าเป็นแนวคิดเชิงเครื่องมือนำไปสู่ระบบเผด็จการ
อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าคิดอยู่มากต่อความสมจริงในประเด็นข้อวิจารณ์ทางการเมืองต่อทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ภายหลังที่มีการแพร่หลายของทฤษฎีนี้มากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตามมาเมื่อการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยื้อแย่งการเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เป็นระลอกๆ ปัญหาเรื่องประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติในฐานะที่เป็น “คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” ได้กลายเป็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรง
ข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าว คงต้องมีการวิเคราะห์กันอย่างจริงจังอย่างไรก็ตามที่จุดนี้เมื่อกล่าวถึงการเผยแพร่คำสอนในปรัชญากฎหมายกฎหมายตะวันตก ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสในองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า)ในยุคแห่งการปฏิรูปกฎหมายและบ้านเมือง ถึงแม้ทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์จะได้รับการอธิบายสืบทอดต่อ ๆ กันมา หากทั้งนี้ในเวลาเดียวกันก็คงมิได้หมายถึงสาปสูญหมดความสำคัญของปรัชญากฎหมายแบบธรรมนิยมเสียเลยเพราะธรรมนิยมหรือกฎหมายพุทธนิยมยังมีความผูกติดกับแนวคิดปฏิฐานนิยมอยู่บ้าง
3.ปรัชญากฎหมายไทยหลังยุคปฏิรูปการปกครองไทยต่อยุคประชาธิปไตย
ปรัชญากฎหมายแบบตะวันตกที่นำเข้ามาโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็มีการแพร่การรับรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนกฎหมาย ภายหลังสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อมีการผลิตตำราหรือวารสารทางกฎหมายเผยแพร่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นั้นให้ความสำคัญต่อกฎหมายในเชิงจารีตประเพณีหรือประเพณีนิยม ซึ่งรัชกาลที่ 6 ชี้ถึงความคิดในเชิงปฏิบัตินิยมมากกว่าอุดมคตินิยม แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 นั้นจะสอดคล้องกับแนวความคิดของสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้จากจุดยืนทางความคิดแบบชาตินิยมหรืออนุรักษ์นิยมของรัชกาลที่ 6 และความเชื่อมของจุดยืนกับความคิดด้านกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว ที่กรมพระสวัสดิ์วัตน์วิศิษฐ์ อธิบดีศาลฎีกาเกี่ยวการยกเลิกระบบผัวเดียว หลายเมีย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางกฎหมายของไทยโบราณ
แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 ได้สะท้อนจุดยืนทางความคิดแบบอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมอย่างชัดเจน ดังคำขวัญที่พระองค์คิดค้นขึ้นแพร่หลาย คือ อุดมการณ์ “ชาติ–ศาสนา–พระมหากษัตริย์” ในฐานะอุดมการณ์แห่งชาติทรงย้ำความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทยและคนไทย พร้อมกับการปรามเรื่องการเลียนแบบฝรั่งในทำนองเป็นการกระทำของผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ข้อสำคัญอย่างยิ่งคือ ทรงเห็นว่า การปกครองแบบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญนั้นไม่เพียงเป็นการทำลายเอกภาพของชาติเท่านั้น หากเป็นการแสดงออกถึงการเป็นทาสของการเลียนแบบตะวันตกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้รัชกาลที่ 6 จะทรงพยายามเหนี่ยวรั้งระบบราชาธิปไตยเอาไว้ แต่พระประสงค์หรือพระราชดำรัสของพระองค์ก็มีสภาพเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์น้อยลงมาโดยเปรียบเทียบกรณีการแก้ไขกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว คงเป็นตัวอย่างหนึ่ง เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในการทัดทานการแก้ไขกฎหมายนี้ เจตจำนงหรือพระประสงค์ของพระองค์ก็มิอาจแปรความให้เป็นกฎหมายเสมอไป อิทธิพลแห่งวัฒนธรรมตะวันตกทั้งด้านสังคมและกฎหมายได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปร่างหรือธรรมชาติของกฎหมายและการขยายตัวซึ่งความคิดหรืออุดมการณ์เชิงความคิดของกฎหมายมากขึ้นในหมู่ชนระดับล่าง
ที่น่าสนใจอย่างมาก คือ กระแสความคิดเช่นนี้ได้รับการเหนี่ยวรั้งในท่ามกลางความไม่มั่นคงของพระราชอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของนักปรัชญากฎหมาย ปฏิฐานนิยมของตะวันตกบนบริบททางสังคมการเมืองที่ยังล้าหลังอยู่ หลังสิ้นยุคสมัยรัชกาลที่ 6 กระแสความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และที่สำคัญหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ผ่านทำให้เศรษฐกิจของรัฐไทยสมัยนั้นทรุดหนักและมาตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
4.ปรัชญากฎหมายไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สถานการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขความบกพร่องผ่านมา รวมทั้งเพื่อตอบสนองกระแสประชาธิปไตยทางการเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้อุบัติขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนำไปสู่การก่อตัวของรัฐชาติแบบไทย ๆ ที่มีลักษณะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ดังหลังจากนั้นการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อช่วงชิงอำนาจกันเองของชนชั้นปกครองการเป็นอุบัติการณ์เมืองปกติ หรือวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 80 ปี ที่ผ่านมา
การเติบโตของอิทธิพลแห่งหลักความคิดทางสังคมการเมืองตะวันตกปรัชญาความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและธรรมก็เสื่อมถอยลงทุกที ไม่มีสิ่งที่เป็นกระแสหลักของปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมที่เป็นปรัชญากฎหมายของทางการซึ่งเติบโตและผูกพันมายาวนานกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป อย่างไรก็ตามสมควรย้ำอีกครั้งว่าการเสื่อมของปรัชญาแบบพุทธนิยมทางกระแสหลัก จริงๆแล้วความเสื่อมเป็นมาตั้งแต่การสิ้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นับแต่การนำเข้าซึ่งความเจริญก้าวหน้าและวิทยาการแบบตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 5 (แม้กระนั้นความเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายทางการหรือปรัชญากฎหมายของรัฐแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นคนละประเด็นการสูญสิ้นปรัชญากฎหมายดังกล่าวในสังคมไทยโดยสิ้นเชิง)
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสภาพการระส่ำระส่ายทางการเมืองซึ่งมีการช่วงชิงอำนาจรัฐกันมาโดยตลอด แนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกบางสำนักได้รับการหยิบยืมเข้ามาอธิบายความชอบธรรมของการใช้อำนาจผู้ปกครองที่ได้อำนาจมาโดยการใช้กำลัง
กระนั้นก็ตามขณะเดียวกันที่มีอิทธิพลแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม นับวันนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษากฎหมายจากตะวันตกเพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่ความคิดทางปรัชญากฎหมายตะวันตกก็ขยายกว้างมากขึ้น มิได้จำกัดเฉพาะแต่ปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย หากเรื่องอิทธิพลหรือการยอมรับในปรัชญากฎหมายสกุลต่าง ๆ เช่นแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ กฎหมายนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นต้น
แนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์กฎมายเริ่มเข้ามีบทบาทบ้างในต่อสู้ต่อระบบการใช้อำนาจของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ยังไม่มีบทบาทมากนักเท่ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย จะเห็นได้จากคำพิพากษาของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญที่ปรากฏต่อเนื่องจนคล้ายเป็นบรรทัดฐานประเพณีไปแล้ว อาทิเช่น
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1153 / 1154 / 2495 : “…..การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้วเมื่อเป็นรัฐที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ความหมายว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…..”
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 : “ ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……”
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 1662 / 2502 : ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…”
4. คำพิพากษาฎีกาที่ 1234 / 2523 : “……แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ประกาศหรือคำสั่งนั้นยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
5. คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 ในประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 ใช้บังคับกับการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541ย้อนหลังได้ เพราะถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมาย
แนวคิดการยอมรับกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติได้สร้างประเด็นถกเถียงเชิงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอย่างมากในหมู่ผู้ไม่เห็นด้วย ในระยะหลัง ๆ นักวิชาการบางท่าน มองว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงการนักกฎหมายไทยไม่มีส่วนส่งเสริม สิทธิเสรีภาพของประชาชนเนื่องติดอยู่กับแนวคิดทางปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม
5.ธรรม : ต่อการตีความหมายในแง่ประชาธิปไตย, หลักนิติธรรมหรือสิทธิมนุษยชน
การวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวงในยุคหลัง 2475 จึงล้วนอ้างอิงความคิดหรือหลักการทางกฎมายสมัยใหม่แบบตะวันตก อาทิ เรื่องหลักนิติธรรม, สิทธิเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน เป็นสำคัญโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญาธรรมนิยมทางกฎหมายดั้งเดิมที่พูดถึงเหตุผลนิยมหรือมนุษย์นิยม
การรับเอาแนวคิดที่ต่อสู้กับแนวคิดต่ออำนาจรัฐตามแนวคิดปฏิฐานนิยมหรือแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะกรณี 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ กลับคืนมาจากผู้มีอำนาจของรัฐขณะนั้น โดยนำแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ามาเรียกร้องโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญากฎหมาย (พุทธ) ธรรมนิยมเข้าเลย ก่อให้เกิดขาดการยั้งคิด การตรึกตรองเท่าที่ควรจึงก่อให้เกิดการนองเลือด 14 ตุลาคม 2516 ขึ้นมา เพราะเหตุนี้การที่นำแนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพอย่างเกินตัวของกลุ่มคนไทยในสมัยนั้นทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
ต่อมาได้มีนักวิชาการบางท่าน (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศน์ วะสี) ได้ยืนยันแนวคิดหลังจากวิกฤตการณ์ทางสังคมการเมืองครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่เรียกว่า
“พฤษภาทมิฬ” ในวันที่ 17 – 20 พ.ค. 2535 ซึ่งได้ยืนยันว่าประชาธิปไตยคือ ธรรมรูปแบบหนึ่ง ความคิดที่ถือเอาธรรมะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐใด ๆ ย่อมมีศักยภาพในทางพลังความคิดอย่างสูง โดยเฉพาะในสังคมที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาช้านาน
ในทำนองเดียวกับเรื่องของประชาธิปไตยกรณีหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และสิทธิมนุษยชน (Human Right) ก็อาจแปลให้เป็นส่วนแห่งธรรมะร่วมสมัยได้เช่นกัน สบแต่รายละเอียดแห่งเนื้อหาของหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่เพื่อค้ำประกันหรือประคับประคองชีวิตและสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้ตั้งมั่นอยู่ได้เป็นปกติ ทั้งในแง่ของความเสมอภาคและแง่ของการมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ ให้พ้นจากภัยคุกคามของอำนาจรัฐที่ไม่มีความชอบธรรมในปัจจุบัน ดังนั้นปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมจึงกลับมามีบทบาท (อยู่บ้าง) ในสังคมไทยดังเห็นได้ในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ผสมผสานกับปรัชญาตะวันตกที่มีเกลื่อนกลืนลำบากลูกคอแต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมานับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ได้ถูกล้มล้างโดยคณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2549 (ฉบับชั่วคราว) ขึ้นมาบริหารประเทศ รองรับประกาศหรือคำสั่งของ คปค.ทั้งก่อนหน้าและหลังเป็นกฎหมาย ตามมาตรา 36และ37 เป็นการยอมรับโดยสดุดีว่าเป็นกฎหมายตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมายอย่างแท้จริง และได้ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยมมายังมาตรา 309 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
และที่สำคัญแนวคิดปรัชญาปฏิฐานนิยมยังได้มีอิทธิพลล้นเหลือต่อการเมืองปกครองไทยในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 ของหัวหน้า คสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) มีอำนาจอธิปไตยสูงสุดใน “ฐานะรัฏฐาธิปัตย์” เหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและอำนาจตุลาการ และการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นก็ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้จะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเป็น “หลักการปกครองแบบรัฐตำรวจ" (Police State) ในลักษณะเช่นเดียวกับ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มาตรา 17 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 21 บทบัญญัติธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 มาตรา 27 ดังนั้นการกระทำของหัวหน้า คสช. พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้อำนาจเป็นอย่างยิ่งและการใช้อำนาจจะต้องอยู่ภายใต้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนหลักความสมควรแก่เหตุ ซึ่ง “หลักสมควรแก่เหตุ” หรือ อาจเรียกว่า “หลักความได้สัดส่วน” เป็นหลักที่เรียกร้องให้ฝ่ายปกครองใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะอย่างพอเหมาะโดยใช้วิธีการหรือเครื่องมือที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย มาตรการที่ฝ่ายปกครองใช้จึงต้องเป็นมาตรการที่เหมาะสม ใช้เพียงเท่าที่จำเป็น และต้องได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
แก้ไข อังกฤษ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ปรัชญากฎหมายไทยหลังการปฏิรูปกฎหมายและการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ภาระกิจการปฏิรูปสังคมก็ได้รับการสืบสานต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5ป (พระราชโอรส) สนธิสัญญาเบาว์ริ่งยังคงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เข้าสู่แบบวิถีสังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก ขณะเดียวกันควบคู่กับแผนการปฏิรูปสังคม (ปฏิรูปการปกครอง) ให้เป็นแบบสมัยใหม่ (Modernization) การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) และโดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมาย นับเนื่องจากปรัชญากฎหมายไทยแบบเดิมที่อิงอยู่กับพระธรรมศาสตร์หรือปรัชญาอินเดียโบราณ ได้ประสบการณ์เสื่อมถอยเป็นอย่างมาก หลังจากที่ประสบการณ์ปรับเปลี่ยนตัวมาแล้วระลอกหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4
จุดสำคัญยิ่งคือพร้อม ๆ กับเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายเดิม ปรัชญากฎหมายตะวันตกก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นเคียงคู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่รัฐกำลังเน้นความทันสมัยและการรวมศูนย์อำนาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กระบวบการสร้างทันสมัยและดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง รัฐหรือองค์พระมหากษัตริย์ได้สร้างเงื่อนไขที่สนับสนุนการรับหรือนำเข้ามาซึ่งปรัชญากฎหมายตะวันตก
การต่อสู้และความสำเร็จในรื้อฟื้นหรือรวมศูนย์อำนาจทำให้ยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้รับการเรียกขานให้เป็นยุคแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอันสมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในรัฐไทย จนอาจเรียกรัฐยุคนี้ว่า“รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Absolutist State)
น่าสนใจที่ภายใต้กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองภายในที่พยายามเปลี่ยนแปลงความไม่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแท้จริง ได้สร้างผลกระทบต่อปรัชญากฎหมายไทย ขณะเดียวกันบนพื้นฐานของความสำเร็จในการสร้างสมบูรณาญาสิทธิและการปฏิรูประบบหรือสถาบันกฎหมายก็ได้นำไปสู่การรับหรือการนำเข้ามา (Reception) ซึ่งความคิดทางกฎหมายตะวันตกในแง่หลักกฎหมายโดยเฉพาะปรัชญากฎหมาย “แบบปฏิฐานนิยม”
(Legal Positivism) ของตะวันตก
1.การก่อตัวของปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายในสังคมไทย
การกำเนิดแห่งปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในช่วงปฏิรูปของการปกครองไทยมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ อีกทั้งเหตุปัจจัยนั้นยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างละเอียดอ่อน นับเนื่องจากเหตุปัจจัยด้านการคุกคามของตะวันตกต่อเอกราชของชาติ อิทธิพลของวัฒนธรรมความคิดตะวันตกจึงแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำ อันรวมทั้งความคิดสมัยใหม่แบบวิทยาศาสตร์นิยมหรือปฏิฐานนิยม (Positivism) (ซึ่งนักคิดปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลขณะนั้น คือ เจอเรมี เบนแธม หรือ จอห์น ออสติน) การต่อสู้ภายในเพื่อสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิและที่สำคัญคือการปฏิรูปกฎหมายเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องระบบกฎหมายไทย เพื่อต้องการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลคืนมา จากการที่ได้ลงนามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายไทยในสมัยนั้นป่าเถื่อน ล้าสมัย เช่น การพิสูจน์ด้วยการดำน้ำ การลุยไฟ เป็นต้น ดังนั้นคนอังกฤษเข้ามาอยู่ในไทย กระทำความผิดในไทยให้ขึ้นศาลอังกฤษ (ซึ่งมาตั้งอยู่ในไทย) เท่ากับว่าไทยยอมสละสิทธินี้เรียกว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล กลายเป็นแม่แบบที่ประเทศอื่นๆได้ทำสนธิสัญญากันอย่างรวดเร็วรวมอังกฤษด้วยกัน 15 ประเทศ ประกอบด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอแลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอร์เว เบลเยี่ยม อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี สเปน รัสเซียและญี่ปุ่น
เนื้อหาของการปฏิรูปกฎหมายประกอบทั้งการจัดระเบียบศาลให้เป็นแบบตะวันตกโดยการตั้งกระทรวงยุติธรรม การจัดและเลือกระบบกฎหมายแบบจำลองตะวันตก ซึ่งจะสืบเนื่องไปถึงการชำระสะสางกฎหมายโดยยกร่างตัวบทหรือประมวลกฎหมายสมัยที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างโรงเรียนกฎหมายเพื่อสอนนักกฎหมายที่สามารถใช้กฎหมายในระบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพิจารณารายละเอียดของการปฏิรูประบบกฎหมายที่นับว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน น่าจะมาจากปัญหาของการปฏิรูประบบกฎหมายไทย อยู่ 2 ประการ คือ ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงานในระบบกฎหมายใหม่กับปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ ดังนี้
1. ปัญหาอันเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคคลทำงาน
ประเด็นนี้น่าจะถือเป็นมูลเหตุอันสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่การ “นำเข้า” ปรัชญากฎหมายตะวันตกแบบปฏิฐานนิยม เป็นอุปสรรคในด้านกำลังคนทำให้เกิดความจำเป็นในการจ้างนักกฎหมายต่างประเทศเข้ามาทำงาน และที่สำคัญคือ การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ โดยจำเพาะในช่วงแรก ๆ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระราชโอรสส่วนมากไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ จากจุดนี้เองที่นักปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ซึ่งมีอิทธิพลในแวดวงนิติศาสตร์ของอังกฤษ (English Jurisprudence) ได้มีโอกาสข้ามน้ำข้ามทะเลมาปรากฏในประเทศไทย โดยผ่านทางนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ออกไปศึกษาในประเทศอังกฤษ
2. ปัญหาจากการยินยอมจากรัฐบาลต่างประเทศ
เนื่องจากในสมัยนั้นการออกกฎหมายในส่วนที่ใช้บังคับชาวต่างประเทศ จำเป็นที่ต้องให้รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องด้วยยินยอม (เพราะเราสูญเสียสิทธินอกอาณาเขตทางศาลอยู่ ประเทศที่อยู่เหนือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาล จึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการยกร่างกฎหมายด้วย)
2.ความคิดทางปรัชญากฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
จากการที่รัชกาลที่ 5 ได้ส่งบุตร คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ไปศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ได้รับแนวคิดปรัชญากฎหมายปฏิฐานิยม ของ จอห์น ออสติน (John Austin) มาใช้และมาสอนในโรงเรียนสอนกฎหมายของไทย ซึ่งในเล็คเชอร์ว่าด้วยกฎหมายของพระองค์ได้ยืนยันว่า กฎหมายนั้น คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามธรรมดาต้องลงโทษ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำกล่าวเช่นนี้ค่อนข้างจะยืนยันในทฤษฎีปฏิฐานนิยม ตามแนวความคิดของจอห์น ออสติน ที่ถือว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์”
แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังได้กล่าวต่อไปว่า “อนึ่งคำอธิบายกฎหมายที่ว่ามาแล้วเพราะยังมีที่ติ” หรือในหนังสือคำอธิบายกฎหมายได้กล่าวไว้ว่า “คำอธิบายที่ได้ว่ามานั้นก็ไม่สู้ดีนักด้วยเหตุว่าไม่ตรงแก่ความจริงหลายประการ”
ข้อบกพร่องดังกล่าวเช่น
1. พระองค์เห็นว่าทฤษฎีนี้ มองข้ามสิ่งที่เป็นจารีตประเพณีในเ ล็คเชอร์ ว่าด้วยกฎหมาย
กล่าวว่า “ธรรมเนียมที่ได้ทำกันมาฤาที่เรียกว่า ธรรมเนียมซึ่งในเวลาไม่มีแบบ ทำให้ศาลเห็นทางในการวินิจฉัยความเหนือว่ากฎหมายบทหนึ่ง……”
2. ทฤษฎีนี้มองข้ามกฎหมายธรรมดา พระองค์ทรงแบ่งกฎหมายเป็น “กฎหมายแท้” หรือ “ข้อบังคับแท้” อันหมายถึงกฎหมายทั่วไปที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปคำสั่งของรัฐและอีกส่วนหนึ่งคือ “กฎหมายธรรมดา”
กฎหมายธรรมดา นั้นพระองค์ได้กล่าวว่า “ที่ไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ฤาไม่ได้เป็นคำสั่งด้วยวาจาของผู้มีอำนาจ แต่ที่นับว่าเป็นกฎหมายเพราะเหตุว่าความสันนิษฐานในวิชากฎหมายนั้นตีเสียว่ามีแบบแผนในการที่เกิดขึ้นในทุกเรื่องทุกชนิด ในเรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายเป็นอักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมดายกขึ้นใช้ไม่ผิดกับกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายธรรมชาตินั้นก็คือความประพฤติหรือแบบที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ ในโลกนี้หรือจะกล่าวเพื่อที่จะให้เป็นการจริงกว่านี้ว่าศาลคิดเทียบตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์จะให้คำข้อบังคับอื่น ๆ เป็นการเดินสะดวกต่อบ้านเมือง”
ข้อสังเกต การมองในแง่การตีความหมาย “กฎหมายธรรมดา” (กดธรรมดา) น่าจะหมายถึงกฎหมาย Common Law ในจารีตกฎหมายของอังกฤษซึ่งในระดับสำคัญมีความเชื่อมโยงด้านอิทธิพลทางความคิดหรือมีลักษณะคล้ายหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ หรือหลักกฎหมายธรรมชาติ (Jus Naturale) ที่ใช้กันอยู่นานนับแต่ครั้งสมัยโรมัน
โดยสรุป “กฎหมายธรรมชาติ” เป็นกฎหมายที่แตกต่างจาก “กฎหมายแท้” หรือ
“กฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้น” เพราะกฎหมายธรรมชาติไม่ได้เป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการตัดสินคดี เรื่องใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายธรรมชาติ เพราะกฎหมายธรรมชาติ คือ ความประพฤติหรือแบบแผนที่นิยมกันในฝูงชนต่าง ๆ
3. การไม่ยอมรับความยุติธรรมที่นำมาเป็นบทตัดสินคดีในความเป็นจริงทฤษฎีนี้ไม่
ยอมรับความยุติธรรม พระองค์มองว่าในความจริงแล้วต้องอ้างหลักยุติธรรม แต่ว่ามิใช่จะอ้างความยุติธรรมพร่ำเพรื่อ เหตุเพราะความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ดังคำกล่าวใน “คำอธิบายศึกษากฎหมาย“ (ความจริง) เป็นการเลื่อนลอยด้วยเหตุว่ายุติธรรมนั้นเป็นแต่ความเห็นของบุคลบางพวกดังนี้ ตรงกันข้ามจะเอาเป็นยุติไม่ได้
ข้อสังเกต ประเด็นวิจารณ์ต่อแนวความคิดต่อปัญหา “รัฏฐาธิปัตย์” อยู่ที่เรื่อง ข้อวิตกในอำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งอาจนำไปการออกกฎหมายโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ภายใต้แนวคิดที่เน้นแต่เรื่องความมั่นคงหรือความมีวินัยของสังคมเท่านั้น จุดบกพร่องสำคัญยังอยู่ที่ไม่มีการแยกแยะให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง “รัฏฐาธิปัตย์ถูกต้องตามกฎหมาย” (De Jure Sovereignty) และ “รัฏฐาธิปัตย์ในสถานที่เป็นจริง” (De Facto Sovereignty) ซึ่งอาจหมายถึงผู้ที่ขึ้นมามีอำนาจในการปกครองแผ่นดิน โดยใช้อำนาจและบังคับผู้อื่นให้เคารพเชื่อฟังตน ไม่ว่าโดยแบบการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร
ข้อวิตกต่อเรื่องลักษณะของอำนาจทางการเมืองของรัฐาธิปัตย์จึงทำให้มีผู้วิจารณ์ว่า ทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว (ปฏิฐานนิยม) มองกฎหมายในแง่แบบพิธีเก่านั้นหรือมองกฎหมายเป็นเพียงคำสั่งคำบังคับของผู้มีอำนาจอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงประเด็นมูลฐานของกฎหมายในแง่ของความตกลงยินยอมของผู้ปกครองและผู้ภายใต้ปกครอง โดยนัยนี้กฎหมายจึงกลายเป็น “ยานพาหนะที่สามารถบรรทุกสินค้าใด ๆ ก็ได้กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และไม่ยุติธรรมก็ใช้บังคับได้สมบูรณ์เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ดีที่สุด”
นอกจากนี้ในวิจารณ์ดังกล่าวยังหนุนรับข้อวิจารณ์ในแง่หลักการทางความคิดเรื่องแยกกฎหมายออกจากศีลธรรมหรือความยุติธรรม (ในทำนอง “อย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วหรือความยุติธรรม”) ซึ่งก็มีผู้มองว่าเป็นแนวคิดเชิงเครื่องมือนำไปสู่ระบบเผด็จการ
อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าคิดอยู่มากต่อความสมจริงในประเด็นข้อวิจารณ์ทางการเมืองต่อทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ภายหลังที่มีการแพร่หลายของทฤษฎีนี้มากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตามมาเมื่อการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยื้อแย่งการเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เป็นระลอกๆ ปัญหาเรื่องประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติในฐานะที่เป็น “คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” ได้กลายเป็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรง
ข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าว คงต้องมีการวิเคราะห์กันอย่างจริงจังอย่างไรก็ตามที่จุดนี้เมื่อกล่าวถึงการเผยแพร่คำสอนในปรัชญากฎหมายกฎหมายตะวันตก ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสในองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า)ในยุคแห่งการปฏิรูปกฎหมายและบ้านเมือง ถึงแม้ทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์จะได้รับการอธิบายสืบทอดต่อ ๆ กันมา หากทั้งนี้ในเวลาเดียวกันก็คงมิได้หมายถึงสาปสูญหมดความสำคัญของปรัชญากฎหมายแบบธรรมนิยมเสียเลยเพราะธรรมนิยมหรือกฎหมายพุทธนิยมยังมีความผูกติดกับแนวคิดปฏิฐานนิยมอยู่บ้าง
3.ปรัชญากฎหมายไทยหลังยุคปฏิรูปการปกครองไทยต่อยุคประชาธิปไตย
ปรัชญากฎหมายแบบตะวันตกที่นำเข้ามาโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็มีการแพร่การรับรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนกฎหมาย ภายหลังสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อมีการผลิตตำราหรือวารสารทางกฎหมายเผยแพร่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นั้นให้ความสำคัญต่อกฎหมายในเชิงจารีตประเพณีหรือประเพณีนิยม ซึ่งรัชกาลที่ 6 ชี้ถึงความคิดในเชิงปฏิบัตินิยมมากกว่าอุดมคตินิยม แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 นั้นจะสอดคล้องกับแนวความคิดของสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้จากจุดยืนทางความคิดแบบชาตินิยมหรืออนุรักษ์นิยมของรัชกาลที่ 6 และความเชื่อมของจุดยืนกับความคิดด้านกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว ที่กรมพระสวัสดิ์วัตน์วิศิษฐ์ อธิบดีศาลฎีกาเกี่ยวการยกเลิกระบบผัวเดียว หลายเมีย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางกฎหมายของไทยโบราณ
แนวความคิดของรัชกาลที่ 6 ได้สะท้อนจุดยืนทางความคิดแบบอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมอย่างชัดเจน ดังคำขวัญที่พระองค์คิดค้นขึ้นแพร่หลาย คือ อุดมการณ์ “ชาติ–ศาสนา–พระมหากษัตริย์” ในฐานะอุดมการณ์แห่งชาติทรงย้ำความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทยและคนไทย พร้อมกับการปรามเรื่องการเลียนแบบฝรั่งในทำนองเป็นการกระทำของผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ข้อสำคัญอย่างยิ่งคือ ทรงเห็นว่า การปกครองแบบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญนั้นไม่เพียงเป็นการทำลายเอกภาพของชาติเท่านั้น หากเป็นการแสดงออกถึงการเป็นทาสของการเลียนแบบตะวันตกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้รัชกาลที่ 6 จะทรงพยายามเหนี่ยวรั้งระบบราชาธิปไตยเอาไว้ แต่พระประสงค์หรือพระราชดำรัสของพระองค์ก็มีสภาพเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์น้อยลงมาโดยเปรียบเทียบกรณีการแก้ไขกฎหมายผัวเดียว เมียเดียว คงเป็นตัวอย่างหนึ่ง เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในการทัดทานการแก้ไขกฎหมายนี้ เจตจำนงหรือพระประสงค์ของพระองค์ก็มิอาจแปรความให้เป็นกฎหมายเสมอไป อิทธิพลแห่งวัฒนธรรมตะวันตกทั้งด้านสังคมและกฎหมายได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปร่างหรือธรรมชาติของกฎหมายและการขยายตัวซึ่งความคิดหรืออุดมการณ์เชิงความคิดของกฎหมายมากขึ้นในหมู่ชนระดับล่าง
ที่น่าสนใจอย่างมาก คือ กระแสความคิดเช่นนี้ได้รับการเหนี่ยวรั้งในท่ามกลางความไม่มั่นคงของพระราชอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของนักปรัชญากฎหมาย ปฏิฐานนิยมของตะวันตกบนบริบททางสังคมการเมืองที่ยังล้าหลังอยู่ หลังสิ้นยุคสมัยรัชกาลที่ 6 กระแสความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และที่สำคัญหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ผ่านทำให้เศรษฐกิจของรัฐไทยสมัยนั้นทรุดหนักและมาตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
4.ปรัชญากฎหมายไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สถานการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขความบกพร่องผ่านมา รวมทั้งเพื่อตอบสนองกระแสประชาธิปไตยทางการเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้อุบัติขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนำไปสู่การก่อตัวของรัฐชาติแบบไทย ๆ ที่มีลักษณะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ดังหลังจากนั้นการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อช่วงชิงอำนาจกันเองของชนชั้นปกครองการเป็นอุบัติการณ์เมืองปกติ หรือวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 80 ปี ที่ผ่านมา
การเติบโตของอิทธิพลแห่งหลักความคิดทางสังคมการเมืองตะวันตกปรัชญาความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและธรรมก็เสื่อมถอยลงทุกที ไม่มีสิ่งที่เป็นกระแสหลักของปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมที่เป็นปรัชญากฎหมายของทางการซึ่งเติบโตและผูกพันมายาวนานกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป อย่างไรก็ตามสมควรย้ำอีกครั้งว่าการเสื่อมของปรัชญาแบบพุทธนิยมทางกระแสหลัก จริงๆแล้วความเสื่อมเป็นมาตั้งแต่การสิ้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นับแต่การนำเข้าซึ่งความเจริญก้าวหน้าและวิทยาการแบบตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 5 (แม้กระนั้นความเสื่อมถอยของปรัชญากฎหมายทางการหรือปรัชญากฎหมายของรัฐแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นคนละประเด็นการสูญสิ้นปรัชญากฎหมายดังกล่าวในสังคมไทยโดยสิ้นเชิง)
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสภาพการระส่ำระส่ายทางการเมืองซึ่งมีการช่วงชิงอำนาจรัฐกันมาโดยตลอด แนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกบางสำนักได้รับการหยิบยืมเข้ามาอธิบายความชอบธรรมของการใช้อำนาจผู้ปกครองที่ได้อำนาจมาโดยการใช้กำลัง
กระนั้นก็ตามขณะเดียวกันที่มีอิทธิพลแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม นับวันนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษากฎหมายจากตะวันตกเพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่ความคิดทางปรัชญากฎหมายตะวันตกก็ขยายกว้างมากขึ้น มิได้จำกัดเฉพาะแต่ปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย หากเรื่องอิทธิพลหรือการยอมรับในปรัชญากฎหมายสกุลต่าง ๆ เช่นแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ กฎหมายนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นต้น
แนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ แนวคิดปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์กฎมายเริ่มเข้ามีบทบาทบ้างในต่อสู้ต่อระบบการใช้อำนาจของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ยังไม่มีบทบาทมากนักเท่ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย จะเห็นได้จากคำพิพากษาของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญที่ปรากฏต่อเนื่องจนคล้ายเป็นบรรทัดฐานประเพณีไปแล้ว อาทิเช่น
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1153 / 1154 / 2495 : “…..การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้วเมื่อเป็นรัฐที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ความหมายว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…..”
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 : “ ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……”
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 1662 / 2502 : ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…”
4. คำพิพากษาฎีกาที่ 1234 / 2523 : “……แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ประกาศหรือคำสั่งนั้นยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
5. คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 ในประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 ใช้บังคับกับการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541ย้อนหลังได้ เพราะถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมาย
แนวคิดการยอมรับกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติได้สร้างประเด็นถกเถียงเชิงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอย่างมากในหมู่ผู้ไม่เห็นด้วย ในระยะหลัง ๆ นักวิชาการบางท่าน มองว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงการนักกฎหมายไทยไม่มีส่วนส่งเสริม สิทธิเสรีภาพของประชาชนเนื่องติดอยู่กับแนวคิดทางปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม
5.ธรรม : ต่อการตีความหมายในแง่ประชาธิปไตย, หลักนิติธรรมหรือสิทธิมนุษยชน
การวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวงในยุคหลัง 2475 จึงล้วนอ้างอิงความคิดหรือหลักการทางกฎมายสมัยใหม่แบบตะวันตก อาทิ เรื่องหลักนิติธรรม, สิทธิเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน เป็นสำคัญโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญาธรรมนิยมทางกฎหมายดั้งเดิมที่พูดถึงเหตุผลนิยมหรือมนุษย์นิยม
การรับเอาแนวคิดที่ต่อสู้กับแนวคิดต่ออำนาจรัฐตามแนวคิดปฏิฐานนิยมหรือแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะกรณี 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ กลับคืนมาจากผู้มีอำนาจของรัฐขณะนั้น โดยนำแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ามาเรียกร้องโดยไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับปรัชญากฎหมาย (พุทธ) ธรรมนิยมเข้าเลย ก่อให้เกิดขาดการยั้งคิด การตรึกตรองเท่าที่ควรจึงก่อให้เกิดการนองเลือด 14 ตุลาคม 2516 ขึ้นมา เพราะเหตุนี้การที่นำแนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพอย่างเกินตัวของกลุ่มคนไทยในสมัยนั้นทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
ต่อมาได้มีนักวิชาการบางท่าน (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศน์ วะสี) ได้ยืนยันแนวคิดหลังจากวิกฤตการณ์ทางสังคมการเมืองครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่เรียกว่า
“พฤษภาทมิฬ” ในวันที่ 17 – 20 พ.ค. 2535 ซึ่งได้ยืนยันว่าประชาธิปไตยคือ ธรรมรูปแบบหนึ่ง ความคิดที่ถือเอาธรรมะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือกฎหมายหรือการใช้อำนาจรัฐใด ๆ ย่อมมีศักยภาพในทางพลังความคิดอย่างสูง โดยเฉพาะในสังคมที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาช้านาน
ในทำนองเดียวกับเรื่องของประชาธิปไตยกรณีหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และสิทธิมนุษยชน (Human Right) ก็อาจแปลให้เป็นส่วนแห่งธรรมะร่วมสมัยได้เช่นกัน สบแต่รายละเอียดแห่งเนื้อหาของหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่เพื่อค้ำประกันหรือประคับประคองชีวิตและสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้ตั้งมั่นอยู่ได้เป็นปกติ ทั้งในแง่ของความเสมอภาคและแง่ของการมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ ให้พ้นจากภัยคุกคามของอำนาจรัฐที่ไม่มีความชอบธรรมในปัจจุบัน ดังนั้นปรัชญากฎหมายแบบ (พุทธ) ธรรมนิยมจึงกลับมามีบทบาท (อยู่บ้าง) ในสังคมไทยดังเห็นได้ในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ผสมผสานกับปรัชญาตะวันตกที่มีเกลื่อนกลืนลำบากลูกคอแต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมานับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ได้ถูกล้มล้างโดยคณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2549 (ฉบับชั่วคราว) ขึ้นมาบริหารประเทศ รองรับประกาศหรือคำสั่งของ คปค.ทั้งก่อนหน้าและหลังเป็นกฎหมาย ตามมาตรา 36และ37 เป็นการยอมรับโดยสดุดีว่าเป็นกฎหมายตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมายอย่างแท้จริง และได้ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยมมายังมาตรา 309 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
แก้ไข อังกฤษ 在 Channel RL Youtube 的最佳解答
กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วยบอกต่อเล่า เขียนคอมเม้นใต้คลิปมาคุยกันบ้าง
พารามอเตอร์ (อังกฤษ: Paramotor) คืออากาศยานขนาดเล็ก ใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กที่นักบินสามารถแบกบนหลังเหมือนแบกเป้ ประกอบกับร่มแบบมาตรฐานคล้ายกับที่ใช้ร่อนจากภูเขา แต่ด้วยเครื่องยนต์ทำให้พารามอเตอร์สามารถบินขึ้นลงได้อย่างอิสระมากว่าร่มร่อน( paraglide)
พารามอเตอร์ เป็นรูปแบบการบินที่ปลอดภัย และประหยัดที่สุด อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการบินสามารถจัดเตรียมเก็บขึ้นรถยนต์เพื่อเตรียมพร้อม บินได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที อัตราความเร็วในการบินจะอยู่ที่ประมาณ 40-55 กม./ชม. ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของร่มด้วย เชื้อเพลิง 10 ลิตร จะบินได้ประมาณ 3 ชม. ดังนั้นถ้าสภาวะอากาศเอื้ออำนวย การบินแต่ละครั้งจึงไปได้ไกลกว่า 100 กม.
พารามอเตอร์ มีข้อเด่นอีกอย่างคือ ใช้พื้นที่ในการบินขึ้นลงที่สั้น จึงบินขึ้นลงในพื้นที่ที่จำกัดได้ อย่างเช่นสนามฟุตบอล เป็นต้น นักบินสามารถตรวจสอบเตรียมความพร้อมที่จะบินขึ้นได้ในเพียงไม่กี่ขั้นตอน และเมื่อ take ofแล้ว ก็สามารถบินอยู่ได้นานตราบเท่าที่เครื่องยนต์ยังทำงาน ซึ่งเมื่อไต่ขึ้นได้ระดับก็สามารถเบาเครื่องเพื่อประหยัดเชื้อเพลิงได้ทำให้ การบินข้ามประเทศเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เพราะนักบินสามารถใช้เทคนิคการบินที่เรียกว่า Ridge-lift ซึ่งอาศัยแรงยกจากอากาศร้อนหรือลมจากภูเขาช่วย ดังนั้นถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะมีปัญหา นักบินก็สามารถร่อนลงสู่พื้นดินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอันที่จริงแล้วนักบินทุกคน ต้องได้รับการฝึกพื้นฐานถึงเรื่องการดับเครื่องยนต์ก่อนร่อนลงนี้อยู่แล้ว
การบินในระดับความสูงที่ 500-1,000 ฟิต เป็นเรื่องที่น่าสนุก นักบินสามารถไต่ระดับความสูงขึ้นไปได้ถึง 10,000 ฟิต สถิติโลกบันทึกไว้ว่า ความสูงที่ทำไว้สูงสุดคือ 18,000 ฟิต จากระดับน้ำทะเล
เครื่องยนต์ที่ใช้กันแพร่หลายเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ สูบเดียว 210 ซีซี. ให้กำลัง 12-15 แรงม้า ในรุ่นที่ใช้ในการแข่งขันสามารถปรับแต่งเครื่องยนต์ขึ้นไปถึง 22-25 แรงม้า น้ำหนักสุทธิของชุดbackpackปกติแล้วจะน้อยกว่า 25 kg.พารามอเตอร์ ใช้เพื่อการสันทนาการ,การแข่งขัน,การถ่ายภาพทางอากาศ,การสำรวจป่าและทรัพยากร,การทหาร และอื่นๆ
แอฟริกาใต้ เป็นแหล่งผลิตพารามอเตอร์ที่มีชื่อเสียง และ ยังเคยเป็นเจ้าภาพจัด แข่งขัน World championship เมื่อปี 1996 ที่ Cato Ridge, Durban.
สถิติโลก แก้ไข
สามารถบินได้ระยะทางไกล 443 km ในปี 1997
ไต่ระดับความสูงจาก 3,000-10,000 ฟิต ใน 31 นาที 20 วินาที เมื่อปี 1996
การเดินทางไกลที่สุดคือจาก มอสโคว-ขั้วโลกเหนือ
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
สยามพารามอเตอร์
ไทยพารามอเตอร์
แก้ไข อังกฤษ 在 เพิ่มคำบรรยายและคำบรรยายวิดีโอ - YouTube ความช่วยเหลือ 的推薦與評價
ลงชื่อเข้าใช้ YouTube Studio; เลือกคำบรรยายจากเมนูด้านซ้าย; คลิกวิดีโอที่ต้องการแก้ไข; คลิกเพิ่มภาษา แล้วเลือกภาษา; คลิกเพิ่มใต้คำบรรยาย. ... <看更多>
แก้ไข อังกฤษ 在 12 ปัญหาภาษาอังกฤษคนไทย พร้อมวิธีแก้ไขให้เวิร์ค - Facebook 的推薦與評價
สวัสดีครับ ครูพี่ปาล์มและทีมขอขอบคุณที่ให้การติดตาม English Academy นะครับ. 5 yrs Report. ... <看更多>
แก้ไข อังกฤษ 在 แก้ไขปัญหา ซ่อม เบาะแส ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร - YouTube 的推薦與評價
สอบถามเรื่องคอร์สได้ที่ไลน์ @ajarnadam หรือโทร 02 612 9300รายละเอียดคอร์ส http://www.ajarnadam.tv/เรียนกับอดัม: ... ... <看更多>