Robinhood อัดโปรต่อ ~ สำหรับเดือนนี้จะเป็นแคมเปญเหมาจ่ายค่าส่งอาหาร 5 ก.ม.แรก แค่ 10 บาท 👏👏👏
ก.ม.ที่ 6 - 10 จะคิดเพิ่ม ก.ม.ละ 7 บาท และตั้งแต่ ก.ม.ที่ 11 เป็นต้นไปจะคิดตามอัตราปกติ คือ ก.ม.ละ 9 บาทนะ
แคมเปญนี้สามารถใช้ร่วมกับโค้ดส่วนลดอื่น ๆ ได้ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 3 - 16 ส.ค. 2564 ครับผม
แค่ ส คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ
จากสรุปผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 2563 และข้อสังเกตุที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ซึ่งบุคคลที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับผู้สมัคร อบจ. และได้นายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
ภาคเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้
กำแพงเพชร = พปชร. เชียงใหม่ = พท.
เชียงราย = พท. น่าน = พท. นครสวรรค์ = พท. พะเยา = พปชร. พิจิตร = พท. พิษณุโลก = พปชร. แพร่ = พท. เพชรบูรณ์ = พปชร. แม่ฮ่องสอน = อิสระ ลำพูน = พท. ลำปาง = พท. สุโขทัย =ภจท. อุตรดิตถ์ = พท. อุทัยธานี = อิสระ
ภาคตะวันตก ได้นายก อบจ. ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. แบะเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้กาญจนบุรี = พท. ตาก =พปชร. ประจวบคีรีขันธ์ = ปชป. เพชรบุรี =พปชร. ราชบุรี = พปชร.
ภาคกลาง ได้ นายก อบจ.ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ ชัยนาท = พปชร. นครนายก = อิสระ นครปฐม = ชท. นนทบุรี =พท. ปทุมธานี = พท. พระนครศรีอยุธยา =ภจท. ลพบุรี = ภจท. สมุทรสาคร = พท. สมุทรสงคราม = พปชร. สมุทรปราการ =พปชร. สระบุรี = พปชร. สิงห์บุรี =พท. อ่างทอง = ชท. สุพรรณบุรี =ชท.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ อุบลราชธานี =พท. อุดรธานี =พท. หนองคาย =พท. อำนาจเจริญ =ภจท. สุรินทร์ =ภจท. กาฬสินธุ์ =พปชร. ขอนแก่น พท. ชัยภูมิ =ปชป. นครพนม = ภจท. นครราชสีมา =ภจท. บุรีรัมย์ =ภจท. มหาสารคาม =ภจท. ร้อยเอ็ด = พปชร. ยโสธร =พท. มุกดาหาร =พท. ศรีสะเกษ พปชร. เลย = ภจท. สกลนคร = พท. หนองบัวลำภู =ภจท. บึงกาฬ =ภจท.
ภาคตะวันออก ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ ชลบุรี =พปชร. จันทบุรี =อิสระ ฉะเชิงเทรา =พปชร. ตราด =อิสระปราจีนบุรี =ภจท. ระยอง =ปชป. สระแก้ว =พปชร.
ภาคใต้ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ กระบี่ =ภจท. ชุมพร =อิสระ ตรัง =ปชป. นครศรีธรรมราช= ปชป. นราธิวาส =ปชช. ปัตตานี =ปชช. พังงา =ปชป. พัทลุง= ปชป. ภูเก็ต =ปชป. ระนอง =อิสระ ยะลา =ปชช. สงขลา =ปชป. สตูล =ภจท. สุราษฎร์ธานี = ปชป.
วิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ อยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 บุคคลที่พรรคการเมืองสนับผู้สมัครนายก อบจ.
ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. และเครือข่ายที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ ในการสนับสนุน
1. พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคเพื่อไทย (พท.)สนับสนุนผู้สมัคร นายกฯ อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 21 จังหวัด แต่อย่างไรก็ตามที่ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้นายก อบจ. แค่ 9 จังหวัดเท่านั้น นอกนั้น ส.ส. และเครื่อข่ายพรรคเพื่อไทยสนับสนุน เป็นส่วนใหญ่
2. พรรคพลังประชารัฐ หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 17 จังหวัด
3. พรรคภูมิใจไทย หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคภูมิใจไทย (ภจท.)สนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ.ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
4. พรรคประชาธิปัตย์หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. ที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ
5. พรรรคชาติไทยพัฒนา หรือ กลุ่ม ส.ส.และเครื่อข่ายพรรคชาติไทยพัฒนา (ชท.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ.จำนวน 3 จังหวัด
6. พรรรคประชาชาติไทย หรือกลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาติไทย (ปชช.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. และได้ นายก อบจ. จำนวน 3 จังหวัด
7. ผู้สมัคร อิสระ (ส.ส.และเครือข่ายพรรคการเมือง อื่นๆ) กระจายสนับสนุนในฐานะส่วนตัว สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้ นายก อบจ. จำนวน 7 คน
ประเด็นที่ 2 ฐานเสียงของพรรคการเมือง
แสดงให้เห็นว่าฐานเสียงการเลือกนายก อบจ. กับฐานเสียงพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงหรือไม่เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
1. ฐานพรรคเพื่อไทย ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งพรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด
2.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคการเมืองผู้นำรัฐบาล มีปัญหาในการบริหารประเทศทางเศรษฐกิจ แต่โควิดและการปกป้องสถาบัน และล่าสุดนโยบายคนละครึ่งตีโจทย์รากหญ้า ทำให้แรงหนุนจากประชาชน มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สมัคร นายก อบจ. ได้เป็นนายก อบจ. ถึง 17 จังหวัด
3. พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบพรรคเปลี่ยนเป็น พรรคก้าวหน้า ที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสถาบัน เกิดแรงต้านจากประชาชนฐานเสียงจึงลดไป รวมทั้งไม่มีแรงสนับสนุนจากพรรคการเมือง อื่นเช่น พรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบ เทไปให้พรรคก้าวหน้า จึงได้คะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ สูงและได้ ส.ส.เขต แต่เมื่อเกิดปัญหาแรวต้านเกี่ยวการล้มล้างสถาบัน ทำให้ฐานเสียงของพรรค หดหายไป ทุกจังหวัด
4. พรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุน นายก อบจ. ที่มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
5.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเทียบกับคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. กับ การเลือกตั้ง นายก อบจ. กับสัดส่วนการได้รับเลือกนายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ซึ่งมีฐานเสียงส่วนใหญ่ภาคใต้
ข้อสังเกต ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายก อบจ. ก็ไม่ได้มาจากคนของพรรคประชาธิปัยต์ แต่ ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนสนับสนุนเท่านั้น ส่วนคนของพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนและพรรคประชาธิปัตย์รับทราบ กลับไม่ได้นายก อบจ.
อนึ่งซึ่งในจังหวัดนี้ เป็นจังหวัดเดียวที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยกจังหวัด จำนวน 6 คน และที่สำคัญฐานเสียงพรรคภูมิใจไทย พรรคก้าวหน้า กลับหายไป และอีกส่วนหนึ่งคะแนนของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ไม่ส่งคนลงสมัคร เทเสียงไปให้กับคนที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้คะแนนของคนที่ ได้ นายก อบจ สูงมาก
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แค่ ส คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ส.ส. นวัธ เตาะเจริญสุข สิ้นสุดความเป็น ส.ส.หรือยัง?
จากข่าว ส.ส. นวัธ เตาะเจริญสุข ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต ซึ่งก็มีศาลอุทธร์ ฎีกา คดียังไม่สิ้นสุด ประเด็นนี้ ส.ส. นวัธ หลุดจากความเป็น ส.ส. หรือยัง ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มีมาตรา ที่นำมาวินิจฉัย อยู่ ๓ มาตรา คือ มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๙๘
ประเด็น ที่ ๑ เอกสิทธิ์คุ้มกัน ส.ส.หรือไม่ เมื่อดู
“มาตรา ๑๒๕ ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน และเพื่อประโยชน์ในการประชุมสภา ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับเพื่อให้มาประชุมสภาได้
ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีต้องสั่งปล่อยทันทีถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ โดยศาลจะสั่งให้มีประกันหรือมีประกันและหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญาไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา”
ในกรณนี้หมดสมัยประชุมศาลก็ดำเนินการในการพิจารณาคดี พิพากษา การกระทำของ ส.ส. นวัธ เตาะเจริญสุข และศาลชั้นได้พิพากษาประหารชีวิต แต่คดียังไม่สิ้นสุด ยังมีอุทธรณ์ ฎีกา ดังนั้นเอกสิทธิ์คุ้มครอง มาตรา ๑๒๕ ย่อมไม่คุ้มครอง ส.ส. นวัธ
ประเด็นที่ ๒ ส.ส.นวัธ เตาะเจริญสุข หลุดจากความเป็น ส.ส. หรือไม่ เมื่อศาลพิพากษา ซึ่งข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลไม่ให้ประกันตัวในระหว่างการอุทธร์ด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เมื่อดูมาตรา ๑๐๑ ประกอบมาตรา ๙๘
“มาตรา ๑๐๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙๓
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙๗
(๖) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘
(๗) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕
(๘) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก
(๙) พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกตามมติของพรรคการเมืองนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นมิได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่พ้นสามสิบวันดังกล่าว
(๑๐) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น
(๑๑) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม
(๑๒) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
“มาตรา ๙๘ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
(๔) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๕) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(๖) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๗) เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๙) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๑๐) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
(๑๑) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
(๑๒) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๑๓) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๔) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี
(๑๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๖) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
(๑๗) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๑๘) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม”
เมื่อดูมาตรา ๑๐๑ ประกอบ มาตรา ๙๘ ทำให้น่าคิดว่าความเป็น ส.ส.ของนาย นวัธ เตาะเจริญสุข น่าจะหลุดจากความเป็น ส.ส. ตาม มาตรา ๑๐๑ (๖) มาตรา ๙๘ (๖) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เพราะศาลไม่ประกันตัว จึงถูกจำคุก แม้คดียังไม่สิ้นสุดก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตามมีนักกฎหมายเห็นว่า
"หากใช้ ๑๐๑ (๖) ประกอบ ๙๘ (๖) แค่ ส.ส.โดนตำรวจตั้งข้อหา ขอหมายจับ เอาเข้าห้องขัง ศาลไม่ให้ประกัน ก็ถือว่า "ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล" ต้องพ้น ส.ส. แล้วคุณจะไปเขียน ๑๐๑ (๑๓) ไว้ทำไมว่า "ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด"
ประเด็นต่อ ถ้าเห็นว่า ส.ส. นวัธ เตาะเจริญสุข พ้น ส.ส. ตาม มาตรา ๑๐๑ จะต้องดำเนินการอย่างไร
จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๘๒
มาตรา ๘๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๑๑ (๓) (๔) (๕) หรือ (๗) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง
มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง เป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย