Lenovo จากบริษัทไม่มีใครรู้จัก สู่แบรนด์คอมพิวเตอร์ ขายดีสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ได้มากที่สุดในโลกก็คือ “Lenovo” แบรนด์จากประเทศจีน ที่สามารถแซง HP และ Dell จากสหรัฐอเมริกา จนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2013 และยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ได้จนถึงปัจจุบัน
Lenovo ยังถือเป็นบริษัทจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกได้เป็นบริษัทแรก ๆ ก่อนบริษัทระดับโลกในยุคปัจจุบันอย่างเช่น Alibaba, Tencent, Huawei และ Xiaomi
แล้ว Lenovo ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากข้อมูลของ Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก จำนวน PC ที่ส่งมอบทั้งปี 2020 แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดโลกได้มากที่สุดก็คือ
อันดับ 1 Lenovo จากจีน 24.9%
อันดับ 2 HP จากสหรัฐอเมริกา 21.2%
อันดับ 3 Dell จากสหรัฐอเมริกา 16.4%
อันดับ 4 Apple จากสหรัฐอเมริกา 8.2%
อันดับ 5 Asus จากไต้หวัน 6.0%
คำว่า PC ในความหมายของ Gartner จะแปลว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อป
แล้วก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทที่ขาย PC ได้มากที่สุดในโลก Lenovo มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในปี 1984 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
“Liu Chuanzhi” เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS)
ตอนนั้น คุณ Liu รู้สึกว่าสิ่งที่คิดค้น มักจะจบลงแค่ในห้องทดลองและไม่ได้ถูกต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์กับคนหมู่มาก
คุณ Liu ในวัย 40 ปี จึงขอเงินทุนจาก CAS มาได้ 2 แสนหยวน หรือราว 1 ล้านบาท เพื่อเปิดบริษัทเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีเอง
หลังจากได้ทุนมาแล้ว เขาก็ได้รวบรวมทีมงานที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนอีก 10 คนและได้ก่อตั้งบริษัท ในตอนแรกชื่อว่า “Legend”
ในเวลานั้น ถือเป็นจังหวะที่ดี เพราะประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากยุคเหมาเจ๋อตง ที่ระบบเศรษฐกิจถูกวางแผนโดยรัฐและไม่ค้าขายกับต่างประเทศ มาเป็นยุคเติ้งเสี่ยวผิง ที่เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ
โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นและเริ่มค้าขายกับต่างประเทศ
แต่ Legend มีอุปสรรคสำคัญก็คือ ด้วยความที่ทีมงานมีพื้นฐานมาจากการเป็นนักวิจัย การเลือกประเภทสินค้าจึงไม่ค่อยตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งก็ได้ทำให้บริษัทต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง
โดย Legend เริ่มจากการนำเข้าโทรทัศน์สีมาขายแต่ล้มเหลว
จึงเปลี่ยนมาพัฒนานาฬิกาข้อมือดิจิทัล แต่ก็ล้มเหลว
พอเปลี่ยนมาให้บริการตรวจสอบคุณภาพคอมพิวเตอร์ก่อนถึงมือลูกค้า ก็ยังคงล้มเหลว
จนกระทั่ง Legend หันมาลงทุนพัฒนาแผ่นวงจรพิมพ์ หรือ PCB เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของ IBM ที่นำเข้ามา ใช้งานเป็นภาษาจีนได้ ซึ่งก็ถือว่าได้ผลตอบรับดี
หลังจากนั้น Legend จึงได้เริ่มนำเข้าคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ แล้วขายระบบภาษาจีนพ่วงด้วย
ทำให้คอมพิวเตอร์ที่บริษัทนำเข้ามา ขายดีมาก ซึ่งนี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนแรกที่สำคัญ เพราะ Legend ได้เริ่มเรียนรู้ความต้องการของตลาด จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ
ในเวลาต่อมา Legend จึงต่อยอดกิจการด้วยการไปตั้งบริษัทย่อยที่ฮ่องกง เพื่อผลิตและส่งออก PCB จนกระทั่งในปี 1990 บริษัทก็ได้เริ่มผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ของตัวเองและสามารถนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ในปี 1994
ผลิตภัณฑ์แรก ๆ ของ Legend ที่ประสบความสำเร็จคือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ก่อนที่บริษัทจะเริ่มผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแล็ปท็อปตามมา
จนในที่สุด Legend ก็มีรายได้หลักมาจากการขายคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองและได้กลายเป็นแบรนด์คอมพิวเตอร์ที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 43% ในปี 1998
ซึ่งนอกจากการวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์แล้ว กลยุทธ์ที่ทำให้ Legend ครองตลาดจีนได้ก็คือการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจัดจำหน่าย
หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศแล้ว Legend จึงตั้งเป้าหมายใหญ่ขึ้น
ด้วยการก้าวสู่ตลาดโลก ภายใต้การนำของ CEO คนใหม่ที่ชื่อว่า “Yang Yuanqing”
คุณ Yang เริ่มงานที่ Legend ตั้งแต่ตอนที่บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานครั้งแรกเมื่อปี 1988 โดยเริ่มจากตำแหน่งพนักงานขาย ซึ่งก็สร้างผลงานได้โดดเด่น จนไปเข้าตาประธานบริษัทอย่างคุณ Liu
คุณ Yang จึงได้เลื่อนขั้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ PC ในวัยเพียง 29 ปี
ก่อนที่จะรับตำแหน่ง CEO ในปี 2001 ขณะที่อายุ 37 ปี
เพื่อเตรียมก้าวสู่ตลาดโลก Legend จึงรีแบรนด์ในปี 2003 ด้วยการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Lenovo” ซึ่งมาจากคำว่า “Le” จากชื่อบริษัทเดิม Legend รวมกับคำว่า “Novo” ที่แปลว่า ใหม่ ในภาษาละติน
ต่อมาในปี 2004 บริษัท IBM ได้ประกาศขายธุรกิจคอมพิวเตอร์
ซึ่ง IBM เป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา โดยนับเป็นบริษัทแรก ๆ ในโลกที่เริ่มขาย คอมพิวเตอร์จนมีแล็ปท็อป “ThinkPad” ที่โด่งดัง และครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 3 ของโลกในขณะนั้น เป็นรองจาก Dell และ HP
แต่สาเหตุสำคัญที่ IBM ตัดสินใจขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ เพราะมองว่าเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกคู่แข่งเลียนแบบได้ง่าย แถมยังแข่งกันตัดราคาขาย ทำให้อัตราการทำกำไรต่ำ บริษัทจึงอยากโฟกัสธุรกิจที่สร้างกำไรได้ดี อย่างพวกซอฟต์แวร์และกลุ่มให้บริการ มากกว่า
ที่น่าสนใจก็คือ ทั้งที่ Dell ก็เสนอซื้อเช่นกัน แต่ IBM กลับเลือกขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Lenovo ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นบริษัทจากประเทศจีนที่แทบไม่มีคนรู้จัก
โดย IBM ให้เหตุผลว่าตอนนั้นรัฐบาลจีนกำลังผลักดันบริษัทจากจีนให้ได้เติบโตในระดับโลก
IBM จึงตอบสนองความต้องการของรัฐบาลจีน เพื่อเปิดโอกาสให้ IBM เข้าไปบุกตลาดจีนได้ง่ายขึ้น
Lenovo ที่อยากขายสินค้าไปทั่วโลก จึงตกลงซื้อธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ IBM ในปี 2005 ด้วยมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทแรก ๆ ของจีน ที่มีดีลการเข้าซื้อกิจการต่างประเทศ
นั่นจึงทำให้ Lenovo ได้โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ของ IBM ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ได้ช่องทางการจัดจำหน่ายและฐานลูกค้าทั่วโลก รวมถึงได้ทีมงานจาก IBM ซึ่งทำให้บริษัทมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
ที่สำคัญก็คือ ไลน์ผลิตภัณฑ์กลุ่ม “Think” ที่ขายดีที่สุดของ IBM อย่าง ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อป และ ThinkCentre ที่เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ก็จะเปลี่ยนโลโกจาก IBM มาเป็น Lenovo
และนี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ Lenovo ซึ่งแต่เดิมแทบไม่มียอดขายในต่างประเทศเลย สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดจากบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก ขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 ของโลก แทนที่ IBM ทันที
นอกจากนี้ การรวมพนักงานนานาชาติของทั้ง 2 บริษัท ทำให้ Lenovo ปรับโครงสร้างกรรมการบริษัทและทีมบริหารให้มีสัดส่วนชาวจีนและอเมริกันเท่า ๆ กัน
อีกมุมที่ Lenovo ให้ความสำคัญไม่แพ้การมีสินค้าขายไปทั่วโลก ก็คือการปรับวัฒนธรรมองค์กร ธรรมาภิบาล รวมถึงมาตรฐานบัญชี ให้มีความเป็นสากล
ยกตัวอย่างเช่น แม้ในตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงจะกำหนดให้ส่งงบประมาณเพียงปีละ 2 ครั้ง แต่ CFO หญิงผู้วางรากฐานที่สำคัญให้ Lenovo อย่างคุณ Mary Ma เลือกให้บริษัทเปิดเผยงบประมาณปีละ 4 ครั้งเป็นรายไตรมาส ตามมาตรฐานสากล
จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ Lenovo จึงเปลี่ยนจากบริษัทท้องถิ่น มาเป็นบริษัทข้ามชาติ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทข้ามชาติแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีน
แต่หลังจากนั้นไม่นาน Lenovo ก็ต้องเจอความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะผลจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 ทำให้ผลประกอบการปี 2009 ของบริษัทพลิกเป็นขาดทุนมากถึง 7.4 พันล้านบาท
ในปี 2009 คุณ Yang ที่ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นประธานกรรมการบริษัทในปี 2004 ได้ขอกลับมารับตำแหน่งเป็น CEO อีกครั้งเพื่อนำบริษัทให้กลับมามีกำไร รวมถึงเร่งเพิ่มยอดขายและขยายส่วนแบ่งตลาด ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่คุณ Yang ขอเวลา 4 ปี แล้วค่อยวัดผล
คุณ Yang เริ่มจากการฟื้นฟูตลาดเดิมที่ทำกำไรได้ดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ ฐานลูกค้าเดิมจาก IBM อย่าง PC สำหรับลูกค้าองค์กร และฐานลูกค้าเดิมของ Lenovo อย่างตลาดในประเทศจีน
ขณะเดียวกันก็บุกตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตแรงและมีจำนวนประชากรมาก อย่างเช่น อินเดีย เพื่อขยายฐานลูกค้าไม่ให้พึ่งพาชาวจีน มากเกินไป
ซึ่งกลยุทธ์เชิงรุกนี้ช่วยเพิ่มรายได้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังต้องแลกกับการทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
Lenovo จึงได้เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายขึ้นนอกเหนือจาก ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อปพรีเมียมราคาสูง อย่างเช่น IdeaPad ที่เป็นแล็ปท็อปราคาเข้าถึงง่าย รวมถึง Yoga ที่ฟังก์ชันการใช้งานเป็นได้ทั้งแล็ปท็อปและแท็บเล็ต
นอกจากนี้ Lenovo ได้เร่งขยายส่วนแบ่งตลาดจากการควบรวมกิจการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2011 Lenovo ซื้อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เยอรมันที่ชื่อ Medion ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Lenovo ในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทันที และ Lenovo ยังตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัท NEC ของญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็นบริษัท PC ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
ปี 2012 Lenovo ซื้อบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่สุดในบราซิลที่ชื่อ CCE ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเจาะตลาดอเมริกาใต้
ปี 2018 Lenovo ซื้อกิจการคอมพิวเตอร์ของ Fujitsu ประเทศญี่ปุ่น
ผลลัพธ์จากแผนงานที่นำทีมโดยคุณ Yang หลังจากวิกฤติการเงินโลก ก็ถือว่าเกินความคาดหมาย
เพราะ Lenovo สามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากประเทศอื่น ๆ และลดสัดส่วนจากจีนลงได้ จาก 46% ในปี 2010 เหลือเพียง 23% ในปัจจุบัน โดยรายได้ของ Lenovo กว่า 80% ยังมาจากธุรกิจคอมพิวเตอร์
ในด้านของส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ Lenovo สามารถชนะ Dell จนขึ้นมาเป็นที่ 2 ของโลกได้เป็นครั้งแรกในปี 2011 ก่อนที่จะแซง HP ขึ้นมาเป็นที่ 1 ของโลกในอีก 2 ปีถัดมา และยังครองอันดับ 1 มาจนถึงปัจจุบัน
ความสำเร็จของการปลุกปั้นธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ Lenovo ก็ได้ทำให้ คุณ Yang ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน CEO ที่เก่งที่สุดในโลก รวมถึงผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Liu ที่ได้รับฉายาว่าเป็น “ไฮเทคฮีโรแห่งประเทศจีน”
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
คุณ Liu Chuanzhi ผู้ก่อตั้ง Lenovo มีลูก 2 คน
หนึ่งในนั้นคือลูกสาวที่ชื่อว่า Liu Qing หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “Jean Liu”
หลังจากที่ Jean Liu จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และทำงานที่ Goldman Sachs มา 12 ปี
เธอก็ย้ายมารับตำแหน่งเป็น COO ให้กับบริษัทสตาร์ตอัปของจีนที่ชื่อ Didi Dache
เธอมีบทบาทสำคัญในการควบรวมกิจการระหว่าง Didi Dache กับบริษัทคู่แข่งอย่าง Kuaidi Dache ในปี 2015 ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่เป็น “Didi Chuxing” แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่และส่งอาหารอันดับ 1 ของจีน
ปัจจุบัน เธอดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญของ Didi Chuxing ร่วมกับผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Cheng Wei ที่ดำรงตำแหน่งเป็น CEO และประธานกรรมการ จนถูกจัดอันดับจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 คน ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกเมื่อปี 2017
ซึ่งก็เรียกได้ว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.economist.com/business/2013/01/12/from-guard-shack-to-global-giant
-https://www.economist.com/business/2001/09/13/legend-in-the-making
-https://www.ft.com/content/2bb25562-4ae0-11d9-a0ca-00000e2511c8
-https://www.cnbc.com/2016/12/01/china-based-lenovos-ride-to-top-spot-of-pc-business.html
-https://www.marketwatch.com/story/why-ibm-selling-server-unit-to-lenovo-is-bad-news-for-hp-1390500250
-https://www.wsj.com/articles/the-worlds-largest-pc-maker-is-no-longer-a-bargain-11550742853
-https://www.theverge.com/2012/1/3/2677691/ex-ibm-ceo-revisits-selling-pc-business-samuel-palmisano
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lenovo
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Market_share_of_personal_computer_vendors
-https://investor.lenovo.com/en/financial/results.php
「didi wiki」的推薦目錄:
- 關於didi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於didi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於didi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於didi wiki 在 Didi Wiki | Facebook 的評價
- 關於didi wiki 在 didi-wiki/NEWS at master · Mr-Kumar-Abhishek/didi ... - GitHub 的評價
- 關於didi wiki 在 sabash didi - YouTube 的評價
- 關於didi wiki 在 Getting Started · koenvw/didi Wiki · GitHub 的評價
didi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปเรื่อง รัฐบาลจีน ทุบนายทุน ทำให้หุ้นเทคจีนลงแรง ในตอนนี้ /โดย ลงทุนแมน
รัฐ จัดระเบียบ ทุน น่าจะเป็นคำอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีนตอนนี้ได้เห็นภาพที่สุด
รัฐ คือ ทางการจีน
ทุน คือ บริษัทเทคโนโลยีจีนยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องใหญ่สุดในรอบหลายปีของตลาดทุนจีน
ใครโดนไปแล้วบ้าง แล้วใครกำลังจะโดนอีก
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ใครติดตามข่าวจะเห็นเรื่อง การจัดการการผูกขาดทางการค้ากับบริษัทเทคโนโลยีจีนยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย โดยเริ่มต้นจาก
- เครือ Alibaba ที่หยุดการ IPO ของ Ant Group เจ้าของ FinTech ที่ใหญ่สุดในโลก จากแจ็ก หม่า ที่เป็นคนพูดเยอะกลายเป็นต้องเงียบไม่ออกสื่อ
และอีกหลายบริษัท ในหลายกลุ่มทุน
- Meituan Dianping แอปพลิเคชัน Food Delivery อันดับ 1 ของจีน
- Tencent Music แอปพลิเคชันฟังเพลงอันดับ 1 ของจีน โดนรัฐบาลจีนปรับเรื่องผูกขาดลิขสิทธิ์ธุรกิจเพลง
- Didi Chuxing แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่อันดับ 1 ของจีน ที่เพิ่ง IPO ที่ตลาดหุ้น Nasdaq โดนรัฐบาลจีนสั่งลบแอปพลิเคชันออกจาก App Store และ Play Store ห้ามมีผู้ใช้งานใหม่ โดยรัฐบาลจีนบอกว่ากังวลต่อความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญของจีน
และล่าสุดคือธุรกิจกวดวิชา ซึ่งรัฐบาลจีนมองว่าจะกลายเป็นปัญหาของจีนในอนาคตได้ เพราะตอนนี้เด็กจีนเรียนหนักเกินไป ภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ที่จ่ายให้ธุรกิจกวดวิชาเหล่านี้ ก็สูงเกินไป หรือมองอีกนัยหนึ่งก็คือ ธุรกิจ AST (After School Tutoring) หรือกวดวิชาในจีนเหล่านี้ กำลังใหญ่และทรงอิทธิพลเกินไป
ทำให้ล่าสุดรัฐบาลจีนประกาศให้ธุรกิจกวดวิชาที่สอนเนื้อหาเหมือนในห้องเรียน ต้องเป็นธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร และผู้ทำธุรกิจเดิมหรือผู้จะทำธุรกิจใหม่จะไม่สามารถระดมทุนในตลาดทุนได้
การที่รัฐเข้ามาควบคุม ผ่านการออกกฎที่กระทบกับการทำธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อความกังวลของนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก สังเกตได้จากการเร่งเทขายหุ้นเทคโนโลยีจีน ทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดหุ้นฮ่องกง และตลาดหุ้นจีน
เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทันที คือ การปรับตัวลงของราคาหุ้นที่เกี่ยวข้อง
บริษัทเทคโนโลยีจีน มูลค่าหายไปเฉลี่ย 40% จากจุดสูงสุด
แต่ดูเหมือนว่า หุ้นที่ถูกกระทบหนักที่สุด ก็คือหุ้นกลุ่ม Education Technology ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้บางรายปรับตัวลง 90% จากจุดสูงสุด
ทำไมรัฐบาลจีนถึงมองว่า ธุรกิจกวดวิชา เป็นธุรกิจที่ควรจัดระเบียบ ?
จากการสำรวจ ภาระค่าใช้จ่าย 3 อันดับสำคัญของคนจีนในยุคนี้ คือ ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาลูก และ ค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงตีความได้ไม่ยากว่า นี่คือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทางการจีนต้องเข้ามาจัดการ
รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจกวดวิชาในจีน ถูกประเมินว่ามีมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท
คนจีนมีความเชื่อว่า การศึกษาสามารถเปลี่ยนชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่า ทำไมพ่อแม่ชาวจีน ถึงให้ความสำคัญ และยอมทุ่มเทค่าใช้จ่ายเพื่อให้ลูกเข้าถึงการศึกษาที่ดีที่สุด
จากผลสำรวจของคนจีนในเมืองใหญ่ พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับการเรียนกวดวิชาของลูก จะอยู่ที่คนละ 40,000-50,000 บาทต่อเดือน
ภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนจีนไม่อยากมีลูก และประเด็นนี้กำลังส่งผลต่อเรื่องปัญหาประชากรของจีน โดยมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 ประชากรจีนจะเริ่มหดตัวลง พร้อม ๆกับสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวเหล่านี้ สิ่งที่รัฐบาลจีนทำ นอกเหนือจากนโยบายคลายกำเนิดที่ประกาศไปก่อนหน้า คือการพยายามลดภาระค่าใช้จ่ายของการมีลูก และทำให้คนกลับมาอยากมีลูกเพิ่มขึ้น
และล่าสุดรัฐบาลจีนได้ออกนโยบาย Double Reduction Policy (双减) คือ นโยบายที่มุ่งเน้นการลดปริมาณการบ้าน และลดชั่วโมงเรียนพิเศษ ของเด็กจีน จึงถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาและหวังลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของคนจีน
สาระสำคัญของนโยบายนี้ คือการลดความเครียดของเด็ก ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ โดยนโยบายนี้ครอบคลุมสำหรับการเรียนกวดวิชาของระดับชั้น K9 ลงมา หรือเทียบเท่า ม.3 ในไทย ซึ่งเป็นระบบการศึกษาภาคบังคับของจีน
นโยบายนี้จะบังคับให้ธุรกิจ AST ในจีน เปลี่ยนมาเป็น บริษัทที่ไม่เเสวงหาผลกำไร รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลจีน จะไม่ให้มีบริษัทติวเตอร์เปิดใหม่ที่มีการสอนซ้ำกับหลักสูตรภาคบังคับของโรงเรียนปกติ และห้ามธุรกิจกวดวิชาเหล่านี้เข้าระดมทุน ห้ามทำโฆษณาเชิญชวนขายคอร์สเรียน และห้ามโรงเรียนกวดวิชาสอนในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดเทศกาล และช่วงปิดเทอม
นอกจากธุรกิจการศึกษาของจีนที่โดนจัดการไปแล้ว รู้หรือไม่ว่า อีกหนึ่งภาคธุรกิจที่เป็นเป้าหมายต่อไปของจีน คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เพราะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องค่อนข้างสูง จากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการเก็งกำไร
ทำให้ทางการจีน ออกมาตรการลดความร้อนแรง ทั้งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกกฎควบคุมแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังในจีน อย่าง Lianjia ที่ทำแพลตฟอร์ม นายหน้า ซื้อ ขาย เช่า ที่อยู่อาศัยครบวงจร
ในประเทศจีน Lianjia ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในจีน คิดเป็นสัดส่วน 52% และที่ผ่านมาเพิ่งโดนทางการจีน สั่งปรับในประเด็นการผูกขาดตลาด นั่นก็คือ หากจะประกาศขาย เช่า ที่อยู่อาศัยใน Lianjia แล้วห้ามไปประกาศในแพลตฟอร์มอื่น จากมาตรการเหล่านี้ทำให้หุ้น KE Holdings ก็ปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดแล้วเกือบ 70%
จากการสังเกต จะเห็นว่า การเข้ามาควบคุมของรัฐบาลจีนส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นในธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีขนาดใหญ่ และมีการผูกขาด จนทำให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งในการทำมาหากิน และการใช้ชีวิตของประชาชนตามมา
อย่างไรก็ดี การเข้ามาควบคุมโดยใช้นโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ ที่รัฐบาลมุ่งหวังจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะยาว จะตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม
หนึ่งในตัวอย่าง ที่พอจะสะท้อนได้ จากสื่อจีนที่ไปสัมภาษณ์ผู้ปกครอง หลังนโยบาย Double Reduction ได้ประกาศบังคับใช้ โรงเรียนกวดวิชาหลายโรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอน พบว่าพ่อแม่ส่วนหนึ่ง มองว่าไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพราะตอนนี้ต้องดิ้นรนไปหาติวเตอร์ส่วนตัวมาสอนลูกแทน ซึ่งราคาต่อชั่วโมงของติวเตอร์เหล่านี้ ตอนนี้สูงถึงชั่วโมงละ 2,000-4,000 บาท เรียกว่าปรับตัวสูงขึ้นมาก จนแพงกว่าการจ่ายค่าคอร์สออนไลน์ให้กับบรรดาธุรกิจ AST หลายเท่าตัว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจีนหลังจากนี้ คงต้องรอติดตามในระยะยาวว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างที่ทางการจีนหวังไว้ได้หรือไม่
แต่สิ่งที่สะท้อนทันทีในระยะสั้น คือ การเทขายของหุ้นเทคโนโลยีจีน ที่สร้างแรงกระเพื่อมไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก
โดยถ้าประเมินจากดัชนีหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ (NASDAQ Golden Dragon China Index) ถ้านับจากจุดสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มูลค่าของหุ้นกลุ่มนี้ได้หายไปแล้วกว่า 24.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการปรับตัวลดลงมากว่า 45% แล้วนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://qz.com/2037818/china-is-extending-its-regulatory-storm-from-tech-to-education/
-https://www.reuters.com/world/china/chinese-parents-fret-after-government-bans-for-profit-tutoring-firms-2021-07-26/
-https://urldefense.com/v3/__http:/www.clsa.com/*ev/*Aw0H8G4Or2zL_czaDrP_dwgPGkSUPbLwJvu2NikZeg__;Ly8!!G1i-!f-6a-s5L1WM_qIToEXScAIcFWc5paEjE6_UeoaWDJGtzRUkKTPbNnB0lXhrQB43NzBgqgDAbUg$
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lianjia
-https://www.straitstimes.com/business/companies-markets/china-stocks-in-us-suffer-biggest-two-day-wipeout-since-2008
-https://www.reuters.com/business/finance/exclusive-china-planning-new-crackdown-private-tutoring-sector-sources-2021-05-12/
didi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Uber บริษัทที่มีคู่แข่งเกิดขึ้น เต็มไปหมด /โดย ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Uber” เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจแพลตฟอร์มเรียกรถ
ที่เข้ามา DISRUPT รูปแบบบริการขนส่งให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายบริษัท
พัฒนาแพลตฟอร์มในลักษณะเดียวกัน มาแข่งขันกับรุ่นพี่อย่างดุเดือด
จนตอนนี้ Uber มีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด
แล้วใครคือคู่แข่งของ Uber บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อปี 2009 หรือ 11 ปีที่แล้ว
Uber สร้างแพลตฟอร์มเรียกรถ จากแนวคิด Sharing Economy ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้มีรถกับผู้ต้องการใช้รถ
และด้วยระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Uber มีผู้ใช้งาน 110 ล้านคน จาก 785 เมืองทั่วโลก
โดยบริษัทมีรายได้ 440,000 ล้านบาท และมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ราว 1,420,000 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าว หลายคนอาจคิดว่า Uber สามารถครองโลกได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
แต่ความจริง พวกเขาต้องเผชิญกับสงครามแพลตฟอร์มเรียกรถ ในแทบทุกแห่งที่ไปทำธุรกิจ
จริงอยู่ที่ช่วงแรก Uber คือผู้นำที่เข้าไปสร้างตลาด Ridesharing
แต่พอเวลาผ่านไป ผู้เล่นรายอื่นที่เห็นโอกาส ก็พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเองบ้าง
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทที่ Uber ต้องแข่งขันด้วยในแต่ละพื้นที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา: Lyft
จำนวนผู้ใช้งาน: 23 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 230,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Lyft ให้บริการอยู่ใน 656 เมือง ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
มีส่วนแบ่งตลาด 29% สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Uber ที่ครองตลาดราว 70%
โดย Lyft ได้รับความนิยมขึ้น หลังจากหลายปีก่อน Uber มีข่าวอื้อฉาวเรื่องล่วงละเมิดทางเพศพนักงานหญิง
ทวีปยุโรป แอฟริกา: Bolt
จำนวนผู้ใช้งาน: 30 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 31,400 ล้านบาท
Bolt หรือชื่อเดิมคือ Taxify เป็นแพลตฟอร์มจากประเทศเอสโตเนีย
ให้บริการอยู่ใน 35 ประเทศ แถบยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ รวมถึงเอเชีย
ซึ่งการที่ Uber มีปัญหากับภาครัฐในยุโรปบ่อยครั้ง เช่น ไม่ได้รับต่ออายุใบอนุญาตในกรุงลอนดอน เพราะคนขับใช้ข้อมูลปลอม ทำให้ Bolt เข้าไปทำตลาดแทน
ภูมิภาคตะวันออกกลาง: Careem
จำนวนผู้ใช้งาน: 33 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 97,000 ล้านบาท
Careem เป็นแพลตฟอร์มจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ให้บริการกว่า 100 เมือง ใน 14 ประเทศบริเวณตะวันออกกลางและแอฟริกา
จุดแข็งของแบรนด์นี้คือ ความเข้าใจถึงปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น มากกว่าต่างชาติ
ด้วยเหตุนี้ Uber จึงตัดสินใจซื้อกิจการทั้งหมดของ Careem แทนที่จะแข่งด้วย
ประเทศจีน: DiDi Chuxing
จำนวนผู้ใช้งาน: 550 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 1,570,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม DiDi เริ่มให้บริการในจีนเมื่อปี 2012 และมีข้อได้เปรียบเรื่องความเชี่ยวชาญในสภาพตลาดของประเทศตนเอง
หลังจากสู้กันนาน 4 ปี Uber จึงยอมถอยทัพ ด้วยการขายธุรกิจในจีน แลกกับหุ้นสัดส่วน 20% ของ DiDi
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Grab
จำนวนผู้ใช้งาน: 122 ล้านคน
มูลค่าบริษัท: 440,000 ล้านบาท
Grab ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวมาเลเซีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย
ซึ่ง Uber ไม่สามารถสู้ความเชี่ยวชาญของผู้เล่นท้องถิ่นรายนี้ได้
จึงตัดสินใจขายกิจการในภูมิภาค แลกกับหุ้นสัดส่วน 27.5% ของ Grab
ประเทศรัสเซีย: Yandex.Taxi
จำนวนผู้ใช้งาน: 36 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 116,000 ล้านบาท
Yandex เปรียบเสมือน Google แห่งรัสเซีย โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มเรียกรถ และให้บริการมากกว่า 1,000 เมือง ทั้งในรัสเซียและกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเก่า
ในกรณีนี้ Uber ยอมขายธุรกิจทิ้งเช่นเดียวกัน เพื่อแลกกับการถือหุ้นสัดส่วน 36.6% ของ Yandex.Taxi
ประเทศอินเดีย: Ola Cabs
จำนวนผู้ใช้งาน: 150 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 314,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Ola Cabs เริ่มให้บริการในอินเดียตั้งแต่ปี 2010 ก่อนสร้างความลำบากใจให้ Uber ด้วยการขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมทั้งหมดกว่า 250 เมือง
หลังจากที่มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและโปรโมชัน เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจ Ridesharing เริ่มอิ่มตัว และทำให้ Uber ต้องขยายบริการใหม่ ซึ่งได้แก่ การส่งอาหาร หรือ Food Delivery
แต่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็มีการแข่งขันที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน
ทั้งจากผู้เล่นแพลตฟอร์มเรียกรถ ที่แทบทุกรายหันมาทำ Food Delivery ด้วย
หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งอาหารโดยเฉพาะ เช่น Grubhub, Just Eat, Deliveroo, Meituan Waimai, Zomato, Amazon
ซึ่ง Uber ต้องยอมถอยออกจากบางตลาด ดังกรณีที่ขายกิจการส่งอาหารในอินเดียให้แบรนด์ Zomato
ส่วนเทคโนโลยีที่น่าจะผลักดันการเติบโตและลดต้นทุนในระยะยาว คือรถยนต์ไร้คนขับ
ก็มีผู้เล่นรายใหญ่ กำลังวิจัยพัฒนาอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, GM, Tesla
ดูเหมือนว่า สงครามแพลตฟอร์ม On-Demand นี้ จะยังดำเนินต่อไปอีกยาวนาน
และคงไม่มีใครสามารถคาดเดาถึงจุดจบของมันได้
แต่ที่แน่ๆ มันมีโอกาสสูง ที่จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือต้องล้มหายจากไป
ไม่เว้นแม้แต่ต้นแบบของอุตสาหกรรมอย่าง Uber
และรู้หรือไม่ จนถึงวันนี้ พวกเขายังไม่เคยทำกำไรได้เลย..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Uber
-https://investor.uber.com/…/Uber-Announces-Results-for-Fou…/
-https://mashable.com/2017/08/16/uber-global-rivals-didi/
-https://www.cnbc.com/…/uber-s-1-risk-factors-competitors-de…
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lyft
-https://techcrunch.com/…/profitability-expectations-ding-l…/
-https://www.statista.com/…/market-share-of-rideshare-compa…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bolt_(company)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Careem
-https://en.wikipedia.org/wiki/DiDi
-https://edition.cnn.com/…/grab-softbank-singapore/index.html
-https://www.statista.com/…/grabtaxi-holdings-number-of-uni…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yandex.Taxi
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ola_Cabs
didi wiki 在 didi-wiki/NEWS at master · Mr-Kumar-Abhishek/didi ... - GitHub 的推薦與評價
Personal wiki. Contribute to Mr-Kumar-Abhishek/didi-wiki development by creating an account on GitHub. ... <看更多>
didi wiki 在 Didi Wiki | Facebook 的推薦與評價
Didi Wiki is on Facebook. Join Facebook to connect with Didi Wiki and others you may know. Facebook gives people the power to share and makes the world... ... <看更多>