J.W. Marriott ผู้ก่อตั้งเชนโรงแรมใหญ่สุดในโลก ที่เริ่มจากร้านขายรูตเบียร์ /โดย ลงทุนแมน
“Marriott” เป็นเชนโรงแรมที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกและมีโรงแรมในเครือกว่า 30 แบรนด์
แต่รู้หรือไม่ว่าอาณาจักร Marriott ที่ก่อตั้งโดยคุณ J.W. Marriott ไม่ได้เริ่มต้นจากธุรกิจโรงแรม แต่เขากลับมีจุดเริ่มต้นมาจากร้านขายรูตเบียร์ A&W
จากร้านขายรูตเบียร์มาเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก
Marriott ผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เชนโรงแรมขนาดใหญ่ ที่มีโรงแรมอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก จะมีชื่อที่เราคุ้นเคย เช่น Marriott, Hilton, InterContinental และ Hyatt
ซึ่ง Marriott ถือได้ว่าเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก ทั้งในด้านมูลค่าตลาดที่มากที่สุดราว 1.46 ล้านล้านบาท รวมถึงในด้านจำนวนห้องพัก ที่ Marriott มีให้บริการราว 1.4 ล้านห้องพัก ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก
Marriott มีโรงแรมในเครือกว่า 30 แบรนด์ ซึ่งก็เป็นแบรนด์ดังที่คนส่วนใหญ่คุ้นหู อย่างเช่น JW Marriott, St. Regis, The Ritz-Carlton, Sheraton และ Renaissance
โดยผู้ก่อตั้งอาณาจักร Marriott คือคุณ John Willard Marriott หรือ “J.W. Marriott”
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ธุรกิจดั้งเดิมที่เขาเริ่มต้นขึ้นไม่ใช่ธุรกิจโรงแรม
คุณ John เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1900 ที่รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่ทำฟาร์มแกะเล็ก ๆ ซึ่งมีฐานะค่อนข้างยากจน
เขาเริ่มค้าขายตั้งแต่อายุ 13 ปี จากการปลูกผักกาดในแปลงที่ดินที่ว่างอยู่ และเขานำเงินรายได้ที่ได้ไปให้พ่อ
จากความสำเร็จในการขายผัก พ่อของ John เลยไว้ใจให้ลูกชายพาแกะ 3,000 ตัว ขึ้นรถไฟไปขายที่เมืองซานฟรานซิสโกด้วยตัวคนเดียวในวัยเพียง 14 ปี ก่อนที่จะถูกขอให้เลิกเรียนเพื่อมาช่วยงานที่บ้านในเวลาต่อมา
เมื่อ John อายุ 19 ปี เขาก็ต้องเดินทางไปเป็นมิชชันนารีที่โบสถ์แห่งหนึ่งในนิวอิงแลนด์เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาบ้านที่เมืองยูทาห์
ระหว่างทางกลับ เขาได้แวะที่เมืองวอร์ชิงตัน ดี.ซี. และเดินผ่านร้านค้าแห่งหนึ่งซึ่งคนต่อคิวยาวมาก นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ John ได้รับรู้ถึงความนิยมของเครื่องดื่มที่เรียกว่า “รูตเบียร์”
แต่พอกลับมาถึงบ้าน John ก็ต้องเผชิญกับข่าวร้ายเพราะว่าธุรกิจฟาร์มแกะของพ่อเขาล้มละลาย
โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาแกะที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ
ตั้งแต่นั้นมา John จึงตั้งเป้าว่าเขาจะต้องมีชีวิตที่ดีขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจนนี้ให้ได้
เขาเลยตัดสินใจกลับไปเรียนต่อให้ได้วุฒิมัธยมศึกษา โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่เคยสอนเขา
ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ ยังช่วยให้ John รับหน้าที่สอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนา เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเทอม
หลังจากนั้น John ก็ได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ยูทาห์ ซึ่งเขาต้องหาเงินมาจ่ายค่าเทอมจากทุกวิถีทาง ตั้งแต่ขายกางเกงชั้นใน ขนสัตว์ ไปจนถึงการเป็นช่างตัดไม้
จนกระทั่งในช่วงที่เรียนปีสุดท้าย แถวมหาวิทยาลัยของเขาก็มีร้านรูตเบียร์ A&W มาเปิด
ซึ่งคิวยังคงยาว เหมือนกับตอนที่เขาเห็นครั้งแรกที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี.
หลังจากเรียนจบในปี ค.ศ. 1926 John แต่งงานกับ Alice Sheets สาวที่เขาตกหลุมรักและคบหากันมาตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งคู่วางแผนที่จะเริ่มทำธุรกิจด้วยกัน และสิ่งแรกที่ John นึกถึงก็คือเครื่องดื่มสุดฮิตอย่างรูตเบียร์
John ใช้เงินเก็บ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกันเงินที่กู้ยืมมาอีก 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นมูลค่าราว 83,000 บาท เพื่อขอซื้อแฟรนไชส์รูตเบียร์ของ A&W
ผ่านไป 1 ปี เขาก็ได้เปิดร้านขายรูตเบียร์เล็ก ๆ ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งแน่นอนว่าขายดีแบบที่เขาคิดไว้
แต่สิ่งที่เขาลืมคิดถึงไปก็คือ รูตเบียร์ไม่ได้ขายดีทุกฤดู เพราะพอเข้าช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตกบ่อย และอากาศเริ่มเย็นลง เครื่องดื่มเย็นสดชื่นอย่างรูตเบียร์กลับไม่เป็นที่ต้องการ ยอดขายของทางร้านจึงลดลงเรื่อย ๆ
Alice ภรรยาของเขาเลยเสนอไอเดียว่าควรขายอาหารด้วย เพื่อให้ยอดขายที่ร้านไม่ผันผวนตามฤดูกาลเกินไป
John เห็นด้วยทันที เขาจึงขออนุญาตทาง A&W เพื่อขอเสิร์ฟอาหารที่ร้านด้วย ส่วน Alice ก็ไปขอความช่วยเหลือจากเชฟที่สถานทูตเม็กซิโก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับร้าน จนได้สูตรและวิธีทำอาหารเม็กซิกันมา
ทั้งคู่จึงตั้งชื่อร้านของพวกเขาใหม่ว่า “Hot Shoppes” ซึ่งเป็นร้านขายอาหารเม็กซิกัน แฮมเบอร์เกอร์ และฮอตดอก รวมถึงรูตเบียร์ของ A&W
ผ่านไปปีเดียว Hot Shoppes เปิดเพิ่มได้อีก 2 สาขา ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นร้านแบบ Drive-in หรือการขับรถไปจอดที่ลานจอดรถของร้าน แล้วสั่งอาหารมาทานบนรถ ที่กำลังได้รับความนิยมสุด ๆ ในสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศสหรัฐอเมริกากลับเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ John และ Alice ก็ยังพา Hot Shoppes รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มาได้ แถมยังขยายสาขาเพิ่มมาเป็น 7 สาขาในปี ค.ศ. 1933
แต่ในปีเดียวกันนี้ John ก็ต้องเจอกับข่าวร้าย เพราะเขาตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งหมอบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน 2 ปี
John จึงหยุดทำงาน และใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว แต่แล้วเรื่องไม่น่าเชื่อที่แม้แต่หมอก็ยังแปลกใจ เพราะอาการของเขาดีขึ้นมาก จนกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
หลังจากรักษาตัวจนหายดีและกลับมาทำงานได้แล้ว ในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นช่วงที่การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยม John สังเกตว่าลูกค้ามักซื้ออาหารแบบนำกลับบ้านที่ร้าน Hot Shoppes สาขาใกล้สนามบิน เพื่อนำไปทานบนเครื่องบิน
John เลยเกิดไอเดียว่า ให้ Hot Shoppes ทำอาหารกล่องให้กับสายการบินใช้เสิร์ฟบนเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นเจ้าแรก ๆ ในขณะนั้น
เมื่อเขานำไอเดียนี้ไปเสนอกับทางสายการบินต่าง ๆ ก็มีสายการบิน Eastern Airlines และ American Airlines ที่ตอบตกลง
มาถึงช่วงต้นทศวรรษ 1940s ร้าน Hot Shoppes ขยายมาเป็น 24 สาขา ซึ่งช่วงนี้เองสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มต้นขึ้น แต่ Hot Shoppes ก็ยังรอดพ้นจากวิกฤติได้อีกครั้งจากการปรับตัวไปให้บริการอาหารในฐานทัพทหารและสำนักงานรัฐบาล
จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1950s การเดินทางท่องเที่ยวกำลังได้รับความนิยมสูง John เลยสนใจซื้อที่ดินเปล่าที่อยู่ตรงข้ามสนามบินวอชิงตัน เพื่อสร้างโมเทลที่ชื่อว่า “Twin Bridges” ซึ่งเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1957 ก่อนที่ 2 ปีให้หลัง ได้สร้างโรงแรมแห่งที่ 2 ที่ชื่อ Key Bridge Motor
และในที่สุด กิจการโรงแรมของ John Willard Marriott ก็ได้เริ่มต้นขึ้น หลังจากเปิดร้านรูตเบียร์มาได้ 30 ปี
ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 John ตั้งชื่อบริษัทของเขาใหม่ว่า “Marriott” ซึ่งใช้เรียกรวมทุกกิจการในเครือ ทั้งโรงแรมและร้านอาหาร
ในช่วงเริ่มต้นของกิจการโรงแรม ก็ได้ลูกชายคนโตของ John กับ Alice ที่ชื่อว่า “J.W. Bill Marriott Jr.” เข้ามาช่วยบริหาร
Bill เรียนด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยภายใต้การบริหารของเขา บริษัทสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอย่างชัดเจน จน Bill กลายมาเป็นบุคคลสำคัญที่ได้วางรากฐานธุรกิจและขยายอาณาจักร Marriott
ด้วยผลงานที่โดดเด่นของ Bill จึงทำให้เขาได้รับเลือกเป็นประธานบริษัทในปี ค.ศ. 1964 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น CEO ในอีก 8 ปีต่อมา
Bill เน้นขยายโรงแรมใกล้สนามบิน และโรงแรมเพื่อการประชุมหรือ Convention โดยสร้างจุดเด่นให้กับโรงแรมของ Marriott ที่มีทั้งห้องจัดประชุมสัมมนา ภัตตาคาร ไปจนถึงลานสเกตน้ำแข็ง
นอกจากนี้ Bill ยังเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ จากการเป็นเจ้าของโรงแรมเอง สู่การรับบริหารโรงแรม และระบบแฟรนไชส์
นั่นจึงทำให้ในปี ค.ศ. 1993 บริษัท Marriott แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 2 บริษัท
บริษัทแรกชื่อ Marriott International ที่จัดการในส่วนของธุรกิจรับบริหารโรงแรมและระบบแฟรนไชส์ ซึ่งดูแลโดยลูกชายคนโต นั่นก็คือ Bill
บริษัทที่สองชื่อ Host Hotels and Resorts ที่จัดการในส่วนของธุรกิจโรงแรมที่ Marriott เป็นเจ้าของเอง ซึ่งดูแลโดยน้องชายของ Bill ที่ชื่อ Richard
อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่ช่วยเร่งขยายฐานลูกค้าให้ Marriott ก็คือการเป็นบริษัทโรงแรมแรกของโลก ที่ให้บริการระบบจองที่พักแบบออนไลน์ ในปี ค.ศ. 1995
และกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ Marriott ขยายอาณาจักรโรงแรมได้อย่างรวดเร็วก็คือ “การควบรวมกิจการ”
ปี ค.ศ. 1995 Marriott เริ่มซื้อกิจการครั้งแรก ด้วยการเข้าไปถือหุ้น 49% ในโรงแรม Ritz-Carlton ก่อนที่อีกไม่กี่ปีต่อมาจะเข้าซื้อทั้งกิจการ
แต่การซื้อกิจการที่สำคัญที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2016 ภายใต้การนำของ CEO ที่เป็นคนนอกตระกูลคนแรกอย่าง Arne Sorenson
Marriott ได้เข้าซื้อกิจการ Starwood Hotels and Resorts ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์โรงแรมดังมากมาย อย่างเช่น Sheraton, W Hotels และ St. Regis
และในตอนนี้เองที่ Marriott ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก
น่าเสียดายที่ John เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เขาจึงไม่มีโอกาสได้เห็นความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร Marriott ในปัจจุบัน ที่เขาเป็นผู้ริเริ่ม
แต่สิ่งสำคัญที่ตกทอดมาจาก John จนกลายเป็นหนึ่งในดีเอ็นเอของ Marriott ก็คือวัฒนธรรมองค์กร
เพราะ John ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนและดูแลพนักงานเหมือนคนในครอบครัว มาตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มทำธุรกิจ
เหมือนกับหนึ่งในคำพูดอมตะของเขาที่ว่า
“Take care of associates, and they’ll take care of your customers”
หรือ ดูแลพนักงานของคุณให้ดี แล้วพนักงานเหล่านั้นจะดูแลลูกค้าของคุณต่อเอง
นั่นจึงทำให้ Marriott ไม่ได้เป็นเพียงหนึ่งในโรงแรมที่น่าเข้าพักมากที่สุดเท่านั้น
แต่ในมุมของสถานที่ทำงาน Marriott ยังติดอันดับโลกในด้านบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cnbc.com/2021/08/10/how-marriott-became-the-worlds-biggest-hotel-chain.html
-https://www.washingtonpost.com/archive/politics/1985/08/14/hotel-magnate-jw-marriott-dies-at-age-84/d8cfeda2-6a83-40fc-8126-310233d114f0/
-https://www.entrepreneur.com/article/197668
-https://edition.cnn.com/2012/04/12/business/marriott-hotel-industry/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Marriott_International
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_chained-brand_hotels
-https://companiesmarketcap.com/hotels/largest-hotel-companies-by-market-cap/
-https://careers.marriott.com/20-years-fortune-100-list/
-https://www.marriott.com/culture-and-values/j-willard-marriott.mi
「renaissance wiki」的推薦目錄:
- 關於renaissance wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於renaissance wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於renaissance wiki 在 翟本喬 - 科技時代 Facebook 的最佳解答
- 關於renaissance wiki 在 The Borgias Fan Wiki - Renaissance - Pinterest 的評價
- 關於renaissance wiki 在 Ano ang Renaissance??? - YouTube 的評價
- 關於renaissance wiki 在 《Renaissance》 - Home | Facebook 的評價
renaissance wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
Jim Simons จากนักคณิตศาสตร์ สู่ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ 3 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงนักลงทุนที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก คนส่วนใหญ่อาจนึกถึง
วอร์เรน บัฟเฟตต์, เรย์ เดลิโอ หรือ จอร์จ โซรอส
แต่ถ้าเป็นชื่อของ “จิม ไซมอนส์” หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน
เขาคือผู้ก่อตั้งเฮดจ์ฟันด์ Renaissance Technologies
ที่ปัจจุบันมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
สิ่งที่น่าสนใจคือ กองทุนไม่ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
แต่กลับเน้นเก็งกำไรระยะสั้น ตามหลักการทางคณิตศาสตร์
เรื่องราวการลงทุนของชายคนนี้น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จิม ไซมอนส์ (Jim Simons) เป็นชาวอเมริกัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1938 ปัจจุบันมีอายุ 82 ปี
เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
และได้เข้าทำงานเป็นคนถอดรหัสข้อมูลข่าวกรองให้กับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ
รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสโตนีย์บรูก ในนิวยอร์ก
เวลานั้น ไซมอนส์กำลังมั่นใจสุดขีด ถ้าเป็นเรื่องตัวเลข เขาเชื่อว่าตัวเองเก่งไม่แพ้ใครแน่นอน
จึงเกิดความคิดว่า ทำไมไม่ลองถอดรหัสตัวเลขในตลาดหุ้น เพื่อทำเงินมหาศาลดูบ้างล่ะ?
ต่อมาเมื่ออายุ 44 ปี เขาตัดสินใจออกมาตั้งบริษัทกองทุนชื่อว่า Renaissance Technologies
แนวทางลงทุนที่ไซมอนส์วาดภาพไว้ในหัว คือการซื้อขายตามสูตรคำนวณเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ ที่สามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคตได้
เพราะเขาเชื่อว่า การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ มีรูปแบบที่พิสูจน์ได้ด้วยสมการตัวเลขซ่อนอยู่
และถ้ามันขึ้นลงผิดไปจากปกติที่ควรเป็น ก็อาจมีโอกาสทำกำไรได้
อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกที่โมเดลยังไม่สมบูรณ์ บริษัทลองใช้วิธีถือลงทุนระยะยาว
ซึ่งประสบความล้มเหลว ขาดทุนไปถึง 40% จนต้องหยุดพักกิจการชั่วคราว
แต่ไซมอนส์ยังไม่ถอดใจ เขาเร่งศึกษาข้อมูล เพื่อพัฒนาสูตรคำนวณให้สำเร็จ
โดยจ้างนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักสถิติ มาช่วยคิดอีกแรง
จนสุดท้ายเขาก็ประสบความสำเร็จในการหาวิธีที่เหมาะสม..
ในแต่ละวัน Renaissance Technologies จะเก็บข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับราคาสินทรัพย์กว่าหลายพันกิกะไบต์ เข้ามารวมกับฐานข้อมูลเดิมอีกหลายล้านกิกะไบต์ ตั้งแต่ยุคปี 1700
แล้วใช้อัลกอริทึมคอมพิวเตอร์นำ Big Data เหล่านั้น ไปแทนค่าในสูตรสมการหลายตัวแปร
และคัดกรองสินทรัพย์ที่ราคาเคลื่อนไหวต่างจากรูปแบบปกติ
จากนั้นจะปล่อยให้ระบบ AI (Artificial Intelligence) ทำหน้าที่ซื้อขายโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากอารมณ์ความโลภหรือความหวาดกลัวของมนุษย์ ในเวลาที่ราคาผันผวน
เคยมีนักข่าวไปสัมภาษณ์ไซมอนส์ถึงมุมมองต่อตลาดหุ้น
เขาตอบเพียงว่า “ไม่มีความเห็น เพราะคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่ให้ความเห็น และเราแค่ทำตามที่มันบอกเท่านั้น”
ด้วยเหตุนี้ Renaissance Technologies จึงกลายเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่เข้าไปเก็งกำไรในสินทรัพย์หลากหลายประเภท และปิดสถานะทันทีเมื่อราคากลับสู่ภาวะปกติ โดยจะถือครองสินทรัพย์เฉลี่ยแค่ราว 2 วัน
ผลปรากฏว่า วิธีนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
กองทุนหลักของบริษัทชื่อว่า Medallion Fund สร้างสถิติผลตอบแทนสูงสุดในวอลล์สตรีต
โดยระหว่างปี 1988-2018 นั้น Medallion Fund ทำกำไรเฉลี่ย 66% ต่อปี
และหลังจากหักค่าธรรมเนียม ก็ยังเหลือผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 39% ต่อปี
แม้แต่ช่วงเดือนมีนาคม 2020 ที่โลกเผชิญกับเหตุการณ์ระบาดของ COVID-19 จนตลาดหุ้นถูกเทขายอย่างหนัก เช่น ดัชนี S&P 500 ติดลบไปราว 12.7% แต่กองทุนนี้กลับมีผลตอบแทนบวก 9.9%
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นผลมาจากการปรับปรุงข้อมูลและสูตรคำนวณอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้กองทุน Renaissance Technologies มีกำไรสะสมมากกว่า 3,200,000 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการขึ้นมา
และแม้ว่า จิม ไซมอนส์ ได้เกษียณออกจากตำแหน่งบริหารไปเมื่อปี 2010
แต่ด้วยรากฐานที่เขาสร้างไว้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน บริษัทเติบโตจนมีทรัพย์สินภายใต้การบริหารถึง 3,500,000 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก
ขณะที่อันดับ 1 คือ Bridgewater Associates เฮดจ์ฟันด์ของนักลงทุนชื่อดังอย่าง เรย์ เดลิโอ ที่บริหารทรัพย์สินมูลค่า 4,200,000 ล้านบาท
ส่วนตัวของไซมอนส์เอง ก็มีทรัพย์สินร่ำรวยถึง 667,000 ล้านบาท
พร้อมทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย
เรื่องราวความสำเร็จนี้ พิสูจน์ให้เราเห็นว่า
“ข้อมูล” ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมาก
ถึงจะครอบครองข้อมูลชุดเดียวกัน แต่หากนำมาใช้ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกัน
คุณค่าและผลลัพธ์ ย่อมแตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ในอนาคต ผู้ที่จะวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คงไม่ใช่มนุษย์ ที่มีขีดจำกัด
แต่เป็นเครื่องจักรไร้อารมณ์ ที่ทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วกว่าเราหลายเท่า
อย่างไรก็ตาม
เรื่องเหล่านี้มันก็มาพร้อมกับของจริง และของปลอมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
พอมีเรื่องสำเร็จเหล่านี้
ก็ทำให้ผู้คนต่างแอบอ้างความสามารถในการทำเงินของหุ่นยนต์ AI ที่ตัวเองมีอยู่
ซึ่งความเป็นจริงอาจจะมีเพียงแค่ 1% จากทั้งหมดที่ประสบความสำเร็จจริงๆ
ส่วนอีก 99% ที่เหลือ อาจเป็นแค่เรื่องราวสวยหรูที่แต่งขึ้นมาเท่านั้น..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Jim_Simons_(mathematician)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Renaissance_Technologies
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_hedge_funds
-https://www.cnbc.com/2020/04/17/renaissance-hedge-fund-reportedly-having-one-of-its-best-years-ever.html
-https://www.cnbc.com/2019/11/05/how-jim-simons-founder-of-renaissance-technologies-beats-the-market.html
-https://www.forbes.com/sites/forbesdigitalcovers/2019/11/08/jim-simons-the-man-who-solved-the-market-gregory-zuckerman-book-excerpt/#2b157bc413b6
renaissance wiki 在 翟本喬 - 科技時代 Facebook 的最佳解答
《政見二:創新型態國際合作,以台灣強項製造服務投資世界新創》
台積電的市值最近屢創新高,台灣其他的製造業也是有機會的!
我們在談創投 [1] 的時候,金錢的投資並不是唯一的方式。好的創投,除了投入資金之外,還會在自己能掌握的資源之中貢獻業師、人脈、合作廠商、行銷管道等等。而許多新創公司在發展過程中,都會碰到一個階段,就是要把實體產品做出來。在過去一二十年間,最有名的方法就是到深圳的華強北 [2] 去,很快地就能找到供應商,幫你把產品做出來。
2013年有幾位來自以色列的創業家,發明了一個產品叫 Pressy [3],是一個小小的按鈕,插在很多人沒在用的耳機孔上面。按一下、按兩下、長按,不同的按法,可以觸發不同的命令讓其他 App 去做不同的事。Google 到了 Pixel 才有按兩下電源鍵可以開啟相機的功能,而 Pressy 還可以客製化不同 App 的控制,比方說想要錄音的時候,不需要拿手機出來、解鎖、打開 App、再開始錄音,而是在口袋裡就可以完成。他們在 KickStarter 上募資 [4],一顆賣 17 塊美金,預期要賣兩千多顆,募 4 萬塊美金,結果大受歡迎,得到了 28,818 人支持,募集了超標 16 倍、69萬美金的資金。KickStarter 是預售,所以接下來就要找人製造。但在產品曝光之後沒多久,中國就出現了三家仿冒品,一家賣 18 元人民幣,一家是 9.9 元人民幣,第三家是小米,只賣 4.9 元人民幣。Pressy 的點子很成功,但仿冒動怍更快更狠,於是這家公司就沒了。
有了 Pressy 的教訓,很多硬體新創團隊現在對中國的製造業深具戒心,他們已經在儘量加快腳步,但中國公司在生產供應鏈上的優勢、低成本、和其中一些人對商業道德的完全無視,使他們很難放心。[5]
台灣可以協助防止這種事情的發生嗎?
Pressy 的問題,一方面是技術門檻不高,點子容易複製 (這個面向會在政見三之中處理),但另外很重要一部分來自於執行速度不夠快,沒有在仿冒出現之前佔領市場。當初如果他們是來台灣找製造商和投資 (不上群募公開),會有什麼樣的情形出現?
台灣商人守法、講信用、講道德,製造速度不會比大陸慢,品質也不會差,價錢也不會貴。
台灣的製造業講 R&D,很多時候並不是真正在做 Reseach & Development,而是在 Manufacturing (製造) 上如何把客戶需要的東西做出來,其實就是 Customization (客製化),或者是 Field application (應用)。先進研發雖然是台灣產業要轉向的地方,但反過來說,現有的優勢為什麼要放棄?所以我要倡導的,是在台灣設立一個製造服務中心,邀請台灣有深厚基礎的製造業加入,甚至延伸到設計工作方面,提供全世界的硬體新創公司一套完整的服務,把他們的點子變成好的產品,快速上市賺錢。
以色列的 R 是真的在做研究,D 就不強,M 幾乎是完全沒有。台灣是 M 超強,D 不錯,R 比較少,所如果跟以色列合作的話,就可以達成互補。以色列很會做從 0 到 1,台灣很會做從 1 到 N。但這種合作不是只是去接單做生產,那樣賺不了多少錢,因為這種 R 所需要的 M,量是很少的。所以我希望推動的合作不是要賺他們的小錢,而是要他們的股票。像 Google 在 2001 年的時候要買伺服器,找了一家廠商叫 Rackable,其中很多金額是用股票支付的,結果這家公司後來就賺翻了。
這個「台灣製造服務公司」由國發基金提供資金,也允許加盟廠商在一定額度內認股,類似藉由共同基金間接取得新創股權的概念。工作人員會需要很多好的 PM 和基本的工程人員,對外服務可以透過外貿協會全球 65 個辦公室推展。國發基金也需要組成一個專業的投資團隊,針對來申請的全球硬體新創加以評估,作出投資決定。
這會需要修改國發基金的管理辦法,以及設立新的國營公司組織。大家可以看到新加坡的淡馬錫 [6] 和主權基金 [7] 作為政府財政儲備投資公司的成功,但也引起一些爭議。我們要的不止是政府賺錢,而是帶動台灣產業在商業模式上的革新。由簡單地賺代工的錢,轉變為運用製造的長處來升級成為新創的天使。
《回顧》
政見一:推動政府數位轉型,增設行政院副院長以帶領數位創新 https://www.facebook.com/benjaifans/posts/141809803919167
《預告》
政見三:鑽研關鍵尖端科技,奠定未來二十年核心產業領域基礎
政見四:長期培養高階人才,營造三十年後研發大國氛圍與環境
政見五:強化前瞻法規制度,阻卻跨國企業掠奪國家戰略性個資
政見六:推動資安就是國安,防患未然制敵機先,決勝千里之外
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Venture_capital (中文版翻譯品質不佳,故使用英文版)
[2] https://zh.wikipedia.org/wiki/%E5%8D%8E%E5%BC%BA%E5%8C%97
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Pressy_Button
[4] https://www.kickstarter.com/projects/556341540/pressy-the-almighty-android-button
[5] https://www.techbang.com/posts/18985-chinese-copycats-who-are-hurting-hardware-renaissance
[6]
https://zh.wikipedia.org/wiki/%E6%B7%A1%E9%A9%AC%E9%94%A1%E6%8E%A7%E8%82%A1
[7] https://zh.wikipedia.org/wiki/%E6%96%B0%E5%8A%A0%E5%9D%A1%E6%94%BF%E5%BA%9C%E6%8A%95%E8%B5%84%E5%85%AC%E5%8F%B8
renaissance wiki 在 《Renaissance》 - Home | Facebook 的推薦與評價
《Renaissance》. 1918 likes. Renaissance,文藝復興。 您可否準備好來場革命?(淺笑) 【詳細請戳→關於】 ... <看更多>
renaissance wiki 在 The Borgias Fan Wiki - Renaissance - Pinterest 的推薦與評價
Commission Artist. Italian Renaissance CLOTHING & FASHION - The Borgias Fan Wiki. Explore ideas on Pinterest. ... <看更多>