ทำไม แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman
เครื่องเล่นแผ่นซีดีและดีวีดี
เครื่องเล่นเกมอย่าง Game Boy และ PlayStation
เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์อย่าง Casio
แต่ปัจจุบัน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก
อย่างเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติมคำว่าสมาร์ตเข้าไป
กลับถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน เป็นส่วนใหญ่
แล้วทำไมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นผู้นำเท่าเมื่อก่อน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงทศวรรษ 1970s ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาเป็นผู้นำด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่โดดเด่นของโลก
โดยเริ่มมาจากการรับเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกในช่วงสงคราม และพัฒนาต่อยอด
จนกลายมาเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีได้เอง อย่างเช่นตัวอย่างเหล่านี้
Sony ขายเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman เป็นเจ้าแรกของโลก
Toshiba และ Epson ขายแล็ปท็อปในตลาด Mass เป็นเจ้าแรกของโลก
Kyocera ขายโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เป็นเจ้าแรกของโลก
หรือถ้าลองสังเกตจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา ก็มีเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นอยู่มากมาย
ยิ่งถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ไอเทมนำสมัยที่ได้รับความนิยมสูงส่วนใหญ่ ก็เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นทั้งนั้น
แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ถ้าแบ่งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสองกลุ่มใหญ่
จะแบ่งได้เป็น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอย่างเซมิคอนดักเตอร์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น
สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เจ้าตลาดคือ Samsung และ Apple
แล็ปท็อป เจ้าตลาดคือ Lenovo และ HP
เครื่องซักผ้า เจ้าตลาดคือ Haier และ Whirlpool
ตู้เย็น เจ้าตลาดคือ Haier และ LG
โทรทัศน์ เจ้าตลาดคือ Samsung และ LG
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ก็มีส่วนแบ่งตลาดหลัก ๆ มาจาก
TSMC ของไต้หวัน และ Samsung ของเกาหลีใต้
จะสังเกตได้ว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เริ่มไม่เห็นชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
จากมุมมองของอดีตผู้บริหารและพนักงานระดับสูงของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น
รวมไปถึงมุมมองจากนักวิเคราะห์ สามารถรวบรวมเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก สินค้าคุณภาพสูง จนเกินความต้องการของผู้ซื้อ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ
สะท้อนได้จากปรัชญาในการผลิตที่เรียกว่า “Monozukuri” หรือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ทักษะและเทคโนโลยี
แต่คุณภาพของสินค้า ก็ต้องตามมาด้วยราคาขายที่สูงขึ้นตาม
ซึ่งคุณภาพบางอย่าง ก็สูงเกินความต้องการของผู้ใช้งานจริง
โดยที่หลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องจ่ายแพง เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการใช้งานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
Sony เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ขายโทรทัศน์จอ LCD
ก่อนที่หนึ่งปีให้หลัง Samsung จะวางขายและใช้ชื่อว่าจอ LED แทน
ขณะที่ Sony ใช้กลยุทธ์สินค้าคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีหน้าจอสุดล้ำ
หน้าจอบางที่สุด ส่งผลให้ราคาขายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
Samsung กลับเน้นการตั้งราคาแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ มากกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
จึงคุมต้นทุนการผลิต โดยเลือกเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นแทน และเน้นที่ดีไซน์
ซึ่งกลยุทธ์แบบ Samsung ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้มากที่สุด
หรือในการแข่งขันของสมาร์ตโฟน ที่มี iPhone ของ Apple เป็นผู้บุกเบิก
Sony และ Samsung ต่างเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิม
Sony Xperia มีฟังก์ชันการใช้งานครบครัน ในขณะที่ Samsung Galaxy มีหลายรุ่นให้เลือก โดยยอมลดทอนฟังก์ชันการใช้งานลงมา เพื่อให้ตั้งราคาขายแบบเข้าถึงง่าย จึงยืนระยะได้นานและยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัจจัยที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องการตลาดน้อยเกินไป
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น เน้นการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี เช่น การคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่ที่บางสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่ยังขาดปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับลูกค้า นั่นคือดีไซน์ ความง่ายในการใช้งาน และวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2004 Sony ขายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กที่ชื่อว่า Librie เป็นเจ้าแรกของโลก
ก่อนหน้าที่ Amazon จะขาย Kindle นานถึง 3 ปี
แต่เหตุผลที่ Kindle กลายมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก
นอกเหนือจากการที่ใช้งานง่ายกว่าแล้ว
Amazon โฟกัสที่การขายอีบุ๊กมากกว่าตัวอุปกรณ์อ่าน
ในขณะที่ Sony โฟกัสที่การขายตัวอุปกรณ์อย่างเดียว
Kindle จึงเชื่อมโยงถึงผู้ซื้อได้มากกว่า
ในด้านของเหตุผลที่ว่าซื้ออุปกรณ์นี้ไปเพื่ออะไร
และกลายมาเป็นเจ้าตลาดในที่สุด
ปัจจัยที่สาม โดดเด่นในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ถนัดพัฒนาซอฟต์แวร์
สินค้าที่แบรนด์จากญี่ปุ่นคิดค้นแล้วประสบความสำเร็จ มักเป็นการพัฒนาที่ตัวอุปกรณ์และเครื่องกล
อย่างเช่นเครื่องเล่น Walkman, เครื่องเล่นซีดี และเครื่องเล่นเกม ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่เริ่มวางขาย แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบนิเวศที่ดึงให้ผู้ใช้งานยังคงใช้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไปเรื่อย ๆ
ในขณะที่การคิดค้นระบบปฏิบัติการของ Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นมากกว่าฮาร์ดแวร์
iOS และ macOS ได้เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังไม่ถนัดในเรื่องนี้ จึงไล่ตามประเทศที่เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์อย่างสหรัฐอเมริกาไม่ทัน
ปัจจัยสุดท้าย มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยตัวเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำในญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990s รู้หรือไม่ว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง NEC ครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์
มากที่สุดในโลก และยังมี Toshiba กับ Hitachi ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา
แต่ในทศวรรษ 2000s ผู้นำในตลาดเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็น Intel จากสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้เริ่มไล่ตามมาติด ๆ
ปี 2002 Hitachi จึงจับมือกับ Mitsubishi ร่วมกันตั้งบริษัทผลิตชิปที่ชื่อว่า Renesas
เพื่อช่วยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ไปด้วยกัน และปกป้องตำแหน่งผู้นำในตลาด
ก่อนที่ NEC จะเข้ามาควบรวมในอีก 7 ปีถัดมา
แต่การร่วมมือกันคิดค้นเทคโนโลยีผลิตชิปด้วยตัวเอง มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ช้า
ขณะที่ช่วงนั้น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ใช้กลยุทธ์แบบที่ญี่ปุ่นเคยทำในอดีต
นั่นคือเรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศอื่น
แล้วนำมาต่อยอด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความเร็ว
นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน TSMC จากไต้หวัน และ Samsung จากเกาหลีใต้
กลายเป็นผู้นำในการผลิตชิปได้ในที่สุด
และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น
เริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยิ่งในช่วงหลังปี 2010 ที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตกลายมาเป็นสินค้าจำเป็น
และแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดในสินค้าเหล่านั้น ก็พัฒนาสินค้าประเภทอื่น
จนเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปได้เกือบทุกประเภท
ขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น กลับต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน
บางบริษัทต้องเผชิญการขาดทุนอย่างหนัก จนต้องหาทางอยู่รอดกันต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
Sharp ขายกิจการให้ Foxconn ของไต้หวันไปแล้ว
Panasonic ควบรวมกับ Sanyo
ขณะที่บริษัทที่ได้ไปต่อ ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ตามหลังคู่แข่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ส่งผลให้งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีน้อยลงไปด้วย การเร่งความเร็วในการไล่ตามคู่แข่ง จึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น
จะแก้เกมจนกลับสู่การเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกครั้งหรือไม่
หรือจะเสียตำแหน่งไป แบบไม่มีวันทวงคืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
-https://technology.inquirer.net/89835/from-sony-to-samsung-how-tech-leadership-migrated-from-japan-to-korea
同時也有14部Youtube影片,追蹤數超過161萬的網紅てんちむCH/ tenchim,也在其Youtube影片中提到,動画内で地震の件についてなのですが、どんな理由であれその行動は勿論許されるものではないと思ってます。それを見て不快な思いをされた方は沢山いらっしゃいます。それに対してと、そしてそのような写真を撮った事実は今でも反省すべき点だと思っていて、二度と同じことを繰り返さないように努めていきます。 今回の話の...
「wiki korea」的推薦目錄:
- 關於wiki korea 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於wiki korea 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於wiki korea 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於wiki korea 在 てんちむCH/ tenchim Youtube 的最讚貼文
- 關於wiki korea 在 Phê Phim Youtube 的最佳貼文
- 關於wiki korea 在 多田愛佳/오오타아이카 Youtube 的最佳解答
- 關於wiki korea 在 다음 세대를 구하는 7가지 법칙 - CLC Korea - Facebook 的評價
wiki korea 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
70 ปีผ่านไป ประเทศไหน รวยขึ้นสุด? / โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน หรือช่วงปี 1950 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ก็ได้เปลี่ยนจากยุโรปมาเป็นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทั่วโลก อยู่ในช่วงการฟื้นฟูจากความเสียหายหลังสงคราม
จากวันนั้นมาจนถึงตอนนี้
ประเทศไหนที่สามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างโดดเด่น
จนทำให้คนในประเทศรวยขึ้นมากที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละประเทศ วัดได้จาก GDP per Capita
คำนวณจากมูลค่าของ GDP หรือรายได้รวมของประเทศ หารด้วยจำนวนประชากร
หากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น หมายความว่าคนในประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้มากขึ้น หรือว่ารวยขึ้นนั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบ GDP per Capita ที่เป็นข้อมูลในปัจจุบันกับปี 1950
ซึ่งถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ และความแตกต่างของราคาในแต่ละประเทศแล้ว
ประเทศที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 38.0 เท่า
อันดับ 2 โอมาน เพิ่มขึ้น 36.7 เท่า
อันดับ 3 อิเควทอเรียลกินี เพิ่มขึ้น 35.8 เท่า
อันดับ 4 บอตสวานา เพิ่มขึ้น 32.4 เท่า
อันดับ 5 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 30.6 เท่า
ส่วนประเทศจีนอยู่ในอันดับ 11 มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 16.4 เท่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
จะเห็นได้ว่า “ประเทศเกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัว
เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
ถ้าให้ย้อนกลับไป การเติบโตนี้ มีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ปัก ชอง-ฮี และกลุ่มแชโบล แล้วทั้ง 2 ปัจจัยนี้ สำคัญอย่างไร ?
ย้อนไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศเกาหลี ได้ถูกแบ่งแยกประเทศและรูปแบบการปกครอง เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 1948 หลังจากนั้น 2 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จนสงครามจบลงในปี 1953 จากการเซ็นสัญญาสงบศึก
จากสงครามที่ยาวนาน เกาหลีใต้เลยได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนตอนนั้นลดลงไปมาก
ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว ในตอนนั้นคนไทยมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าเกาหลีใต้เสียอีก
ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เกาหลีใต้ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ
ซึ่งขณะนั้นเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศเกษตรกรรม เหมือนกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ
โดยเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ทดแทนการนำเข้า
แต่ความไม่สงบของประเทศก็กลับมาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลในขณะนั้นได้คอร์รัปชันงบประมาณการฟื้นฟูประเทศ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในปี 1961 นำโดยนายพล ปัก ชอง-ฮี
ซึ่งต่อมา เขาคนนี้ก็ได้กลายเป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 1963 และดำรงตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี
ปัก ชอง-ฮี ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ออกฉบับแรกมาในปี 1962
ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเช่นกัน
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนี้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 7 ที่ได้สิ้นสุดลงในปี 1996
การออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือจุดเริ่มต้นของยุคที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนช่วงเวลานี้ถูกเรียกว่า “Miracle on the Han River” หรือปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน
ซึ่งคือแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางกรุงโซลนั่นเอง
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว เป็นการวางรากฐานให้เกาหลีใต้
สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
ซึ่งทางรัฐบาลจะสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่
เพื่อหวังให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยเพิ่มการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
และกลุ่มธุรกิจที่ว่านี้ มีชื่อเรียกในยุคปัจจุบันว่า “แชโบล”
ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้ถูกส่งไม้ต่อรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
เช่น Samsung, Hyundai, LG, SK และ Lotte ที่ต่างก็เริ่มก่อตั้งและเติบโตมาจากในช่วงนี้
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรก จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้งโรงงานทำน้ำตาลและโรงงานผลิตผ้าเส้นใยขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
Hyundai เริ่มจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นงานโครงสร้างพื้นฐาน
LG เริ่มจากโรงงานพลาสติก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศ
SK เริ่มจากโรงงานสิ่งทอ ซึ่งผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เป็นแห่งแรกของประเทศ
Lotte เริ่มจากเป็นโรงงานผลิตหมากฝรั่ง
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 ถึง 4 ตั้งแต่ปี 1967 ก็ได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ
เพราะรัฐบาลเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร การต่อเรือ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้ง Samsung Electronics ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเซมิคอนดักเตอร์
Hyundai ก่อตั้ง Hyundai Motor ผลิตรถยนต์ และ Hyundai Heavy Industries ผลิตเรือขนส่ง
LG ก่อตั้ง GoldStar ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งต่อมาคือ LG Electronics
SK เริ่มทำธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Hanjin ก่อตั้ง Hanjin Shipping บริษัทเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และซื้อกิจการสายการบิน Korean Air มาจากรัฐบาล
สังเกตได้ว่า ประเภทธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งจากช่วงนี้ ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของแต่ละบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลานี้เอง ที่รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้แซงคนไทยได้ในปี 1969
และก็ได้ทิ้งห่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และถ้าพูดถึง “จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ก็จะเกิดขึ้นในแผนฉบับที่ 5 ถึง 7
เริ่มตั้งแต่ปี 1982 โดยรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี
โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างเช่น
Samsung เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ จนในปัจจุบันมียอดขายสมาร์ตโฟนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
Hyundai พัฒนารถยนต์ จนในปัจจุบันมียอดขายรถยนต์เป็นอันดับ 4 ของโลก
LG ที่โดดเด่นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จนมียอดขายตู้เย็นติด 3 อันดับแรกของโลก
SK ก่อตั้ง SK Telecom ทำธุรกิจโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันใหญ่สุดในประเทศ
และผลลัพธ์ก็เป็นไปได้อย่างที่หวัง เพราะในปัจจุบัน เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับ
ให้เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันดับ 1 ของโลก
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็มีงบสำหรับการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP มากเป็นอันดับ 2 ของโลก จนนำไปสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำตั้งแต่ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
นั่นจึงทำให้รายได้ของเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกในปี 2020 สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคิดเป็นกว่า 40% ของ GDP
และเมื่อสิ้นปี 2020 เกาหลีใต้ก็ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการผลักดันนายทุนรายใหญ่เป็นเวลานาน
สิ่งที่ตามมาก็คือ รายได้ของประเทศทั้งหมด กว่า 80% มาจากรายได้ของกลุ่มแชโบล
หรือเพียงแค่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Samsung Electronics ก็มีรายได้คิดเป็นกว่า 13% ของประเทศแล้ว
และเมื่อรายได้ของประเทศ เติบโตมาจากคนไม่กี่กลุ่ม แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาตามมา
ปัญหาที่สำคัญอย่างแรกก็คือ การกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย”
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ 43.8% ยังมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดท่ามกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ปัญหาอย่างที่สองคือ เรื่องการผูกขาด เพราะกลุ่มแชโบล ได้ขยายธุรกิจจนครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม ดิวตี้ฟรี ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านกาแฟและร้านอาหาร
ส่งผลให้กลุ่ม SME ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
อีกปัญหาสำคัญก็คือเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งเรื่องที่อำนาจบริหารยังวนอยู่ในกลุ่มครอบครัว
รวมไปถึงเรื่องยักยอกเงินและติดสินบนรัฐบาล และแม้ว่าจะถูกจำคุก
แต่หลังพ้นโทษก็กลับมาบริหารงานต่อได้เหมือนเดิม..
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าเกาหลีใต้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศ
ที่ประชากรรวยขึ้นมากที่สุดในโลก หากนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแชโบลที่รัฐบาลสมัยก่อนเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ
กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมให้กับเกาหลีใต้ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่
เพราะความไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน
ซึ่งก็ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลในยุคนี้
ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร
รอยร้าวและความแตกแยกทางสังคม ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นายพล ปัก ชอง-ฮี เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในปีที่ 16 จากการถูกลอบสังหาร
และ 34 ปีต่อมา หรือในปี 2013 เกาหลีใต้ ได้มีประธานาธิบดีหญิงคนแรก ที่ชื่อ ปัก กึน-ฮเย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพล ปัก ชอง-ฮี
แต่เธอดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปี ก็ถูกศาลถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสินจำคุก 24 ปี
เนื่องจากรับสินบนจากกลุ่มแชโบล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ourworldindata.org/grapher/gdp-per-capita-maddison-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/Miracle_on_the_Han_River
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=KR
-https://www.oecd.org/economy/surveys/korea-2020-OECD-economic-survey-overview.pdf
-https://data.oecd.org/inequality/poverty-gap.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/south-korea-leads-world-in-innovation-u-s-drops-out-of-top-10
-https://exporthub.co/top-exporting-countries-in-the-world-for-2020/
-http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_business/949236.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200802000122
wiki korea 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
บริษัทเครื่องสำอาง ใหญ่สุดในเกาหลีใต้ กำลังเปลี่ยนมือ /โดย ลงทุนแมน
หลายคนน่าจะรู้จักบริษัทเครื่องสำอางเกาหลียักษ์ใหญ่ที่ชื่อว่า “Amorepacific”
ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ Etude, Innisfree, Laneige, HERA และ Sulwhasoo
Amorepacific ถือเป็นบริษัทเครื่องสำอางเกาหลีที่ทำรายได้มากที่สุดมาอย่างยาวนาน
แต่เมื่อไม่นานมานี้ กลับมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจเครื่องสำอางเหมือนกัน
แถมมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด และกำลังจะทำรายได้แซงหน้า Amorepacific
แล้วบริษัทที่ว่านี้ คือบริษัทอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางเกาหลีเติบโตอย่างก้าวกระโดดตาม “Korean Wave”
หรือกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์เกาหลี ที่เราเห็นในซีรีส์, เพลง หรือรายการบันเทิง
ที่คอยช่วยแพร่กระจายวัฒนธรรม รวมถึงผลิตภัณฑ์ของเกาหลีออกไปทั่วโลก
แล้วที่บอกว่าเติบโตแบบก้าวกระโดด
มันก้าวกระโดดขนาดไหน ?
ปี 2010 ผลิตภัณฑ์ความงามเกาหลีมีมูลค่าตลาด 268,000 ล้านบาท
ปี 2018 ผลิตภัณฑ์ความงามเกาหลีมีมูลค่าตลาด 522,000 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 8.7% ต่อปี
ซึ่งลูกค้าหลักมาจากชาวเอเชีย โดยเฉพาะคนจีน หรือสำหรับผู้ที่เคยไปเที่ยวเกาหลี
คงพอคุ้นเคยกับภาพชาวต่างชาติตามร้านเครื่องสำอางในย่านเมียงดงเป็นอย่างดี
ปัจจุบัน มีบริษัทเครื่องสำอางใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ 2 บริษัท
บริษัทแรก คือ Amorepacific
ก่อตั้งในปี 1945 โดยคุณซอซองฮวาน
ปัจจุบันบริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 2 ชื่อคุณซอคยองเบ
บริษัทนี้ มีผลงานที่เรียกได้ว่าปฏิวัติการแต่งหน้าไปทั่วโลก
นั่นคือการคิดค้น “Cushion” ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์รองพื้นแบบใหม่ที่พกพาสะดวกและใช้ง่าย
นี่จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บริษัทมียอดขายในตลาดความงามเกาหลีเป็นอันดับ 1 มาอย่างยาวนาน
ถึงขนาดที่ว่าในปี 2016 ซอคยองเบ เจ้าของบริษัท Amorepacific ขึ้นแท่นเป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศเกาหลีใต้ เลยทีเดียว
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางเกาหลีอีกราย
ที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด นั่นก็คือ LG Household & Health Care หรือ LG H&H
LG H&H เดิมใช้ชื่อว่า Lucky Chemical Industrial Corp
ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1947 โดยคุณคูอินเฮว คนเดียวกับที่ก่อตั้งอาณาจักร LG
ในปี 1995 เปลี่ยนชื่อเป็น LG Chemical
ก่อนที่ภายหลังบริษัท LG Chemical ก็ได้แยกธุรกิจแบรนด์เครื่องสำอาง
ออกมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2001 ชื่อ “LG H&H”
โดยมี CEO คนปัจจุบันคือ คุณชาซอกยง
ซึ่งก็ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ที่น่าสนใจก็คือ แบรนด์เครื่องสำอางส่วนใหญ่ของทั้ง 2 บริษัทมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกันแทบทั้งหมด
เราลองมาดูตัวอย่างแบรนด์ของ Amorepacific ชนกับ LG H&H ที่แบ่งกลุ่มตามระดับราคากัน
กลุ่มเครื่องสำอาง Luxury
Amorepacific : Sulwhasoo และ HERA
LG H&H : The History of Whoo, O HUI และ SU:M37
กลุ่มเครื่องสำอาง Premium
Amorepacific : Laneige, IPOE และ eSpoir
LG H&H : VDL และ belif
กลุ่มเครื่องสำอาง Mass
Amorepacific : Innisfree, Etude และ Mamonde
LG H&H : The Face Shop
ตรงนี้ เราพอจะเห็นได้ว่า Amorepacific มีแบรนด์ในกลุ่ม Mass มากกว่า
ในขณะที่แบรนด์ Mass ของ LG H&H เป็นการซื้อกิจการ The Face Shop เข้ามา
ซึ่งแบรนด์ที่ทางบริษัทเป็นผู้คิดค้นเอง จะโฟกัสไปที่ลูกค้ากลุ่ม Luxury มากกว่า
แล้วอะไร เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของทั้ง 2 บริษัท ?
จุดที่ทำให้ LG H&H เติบโตแบบก้าวกระโดด
และ Amorepacific เริ่มไม่เติบโต เริ่มต้นขึ้นในปี 2016
สมัยนั้น รัฐบาลเกาหลีเริ่มแบนการท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ของชาวจีน
ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามเกาหลีในประเทศที่มีคนจีนเป็นลูกค้าหลัก
จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้ เลือกที่จะรับมือด้วยแนวทางที่ต่างกันออกไป
แม้ Amorepacific จะมีหน้าร้านที่ประเทศจีนเยอะ
แต่บริษัทกลับเลือกที่จะไปเจาะฐานลูกค้าในประเทศอื่น ๆ แทน
ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่สำหรับ LG H&H ยังคงเลือกสู้ในตลาดจีนต่อไป
โดยเริ่มการส่งสินค้าออกไปขายในห้างสรรพสินค้าที่จีนทันที
ในขณะเดียวกัน ก็ได้เน้นลูกค้าชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูง
สอดคล้องกับแบรนด์กลุ่ม Luxury ที่มีอยู่
ซึ่งกลับกลายเป็นว่า สินค้ากลุ่ม Luxury ของ LG H&H
โดยเฉพาะแบรนด์ “The History of Whoo” สามารถครองใจชาวจีนได้อย่างขาดลอย
เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Sulwhasoo ของ Amorepacific ที่มีมาก่อนเสียอีก
จากกลยุทธ์ทางธุรกิจในครั้งนั้น
ก็ได้ทำให้ LG H&H ก้าวมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Amorepacific จนถึงปัจจุบัน
สะท้อนให้เห็นจาก ผลการดำเนินงานเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงาม
บริษัท Amorepacific Group
ปี 2016 รายได้ 195,611 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 30,559 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 142,839 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 4,043 ล้านบาท
รายได้หดตัวลงเฉลี่ย -7.6% ต่อปี
กำไรจากการดำเนินงานหดตัวลงเฉลี่ย -40.0% ต่อปี
บริษัท LG H&H
ปี 2016 รายได้ 88,368 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 16,184 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 124,824 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 23,044 ล้านบาท
รายได้เติบโตเฉลี่ย 9.0% ต่อปี
กำไรจากการดำเนินงานเติบโตเฉลี่ย 9.2% ต่อปี
จะเห็นได้ว่าธุรกิจเครื่องสำอางของบริษัท LG H&H
เติบโตต่อเนื่องจนมีรายได้เกือบเทียบเท่ากับ Amorepacific แล้ว
ในขณะที่บริษัททำกำไรจากการดำเนินงานเป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เลยทีเดียว
นอกจาก LG H&H จะมีธุรกิจเครื่องสำอางแล้ว
บริษัทแห่งนี้ ก็ยังเป็นเจ้าของธุรกิจสินค้าภายในบ้านและเครื่องดื่ม
โดย LG H&H ยังเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย Coca-Cola เพียงรายเดียวในประเทศเกาหลีใต้
ล่าสุด LG H&H สามารถทำกำไรจากการดำเนินงาน
พลิกกลับมาเติบโตที่ 5.4% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2020
หลังจากที่ติดลบมาตลอด ตั้งแต่เผชิญกับวิกฤติโควิดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2020
โดยเหตุผลสำคัญก็คือ กำลังซื้อเครื่องสำอางหรูของ LG H&H ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานของ Amorepacific ยังคงหดตัว ในช่วงเวลาเดียวกัน
ด้วยความที่บริษัท LG H&H มีธุรกิจเครื่องสำอางที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
และกระจายธุรกิจอยู่ในหลายอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้พึ่งพารายได้จากแหล่งเดียว
นั่นจึงทำให้มูลค่าบริษัทของ LG H&H เติบโตขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
โดยปัจจุบันอยู่ที่ 795,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 204% ภายใน 4 ปี
สวนทางกับ Amorepacific ที่มีมูลค่าบริษัท 473,200 ล้านบาท ลดลง 55% ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าบริษัท LG H&H
กำลังจะกลายเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางที่ทำรายได้มากที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ ในตอนนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-http://weneedmorethangirls.blogspot.com/2016/06/korean-beauty-brands.html
-http://www.koreatimes.co.kr/www/tech/2020/09/694_282675.html
-https://www.apgroup.com/int/en/investors/amorepacific-group/ir-reports/quarterly-results/quarterly-results.html
-http://www.lghnh.com/global/ir/finance.jsp
-https://www.alliedmarketresearch.com/k-beauty-products-market
-https://www.statista.com/statistics/550732/beauty-and-personal-care-market-size-south-korea/
-https://companiesmarketcap.com/amorepacific/marketcap/
-https://companiesmarketcap.com/ls-household-health-care/marketcap/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Amorepacific_Corporation
-https://en.wikipedia.org/wiki/LG_Household_%26_Health_Care
wiki korea 在 てんちむCH/ tenchim Youtube 的最讚貼文
動画内で地震の件についてなのですが、どんな理由であれその行動は勿論許されるものではないと思ってます。それを見て不快な思いをされた方は沢山いらっしゃいます。それに対してと、そしてそのような写真を撮った事実は今でも反省すべき点だと思っていて、二度と同じことを繰り返さないように努めていきます。
今回の話のテーマは辛かったこと、それに対するアンサーとして、ネットでまるで自分がブログに書いた形で捏造され炎上するのは辛かったという事を伝えたかったのですが、言葉不足で不快に感じてしまった方がいたら大変申し訳ありません。
写真を撮ったその背景(あの写真を撮った理由自体)は過去にも話してあるよう子供だけで旅行に行った矢先、心配した友人の両親に送る認識で撮ったものなので、心配かけないように明るく撮ったつもりでいました。(この件に関してはwiki動画で詳しく話しているのと、改めてそこで謝罪をしてるのでお時間あったら見てください。)
それは私の軽はずみな行動は許されることではなく、不快な思いをした方には今でも大変申し訳ないと思っています。
自分の言葉足らずで伝わってなかったら申し訳ありません。
改めまして、震災により亡くなられた方々にご冥福御祈りいたします。そして被害に遭われた方々に、心からお見舞いを申し上げます。
スリメディ:https://bit.ly/2SiISZ9
↓書籍「私、息してる?」
https://www.amazon.co.jp/dp/4801920888/ref=cm_sw_r_li_api_i_Eu8WDbYHSN9SF
てんちむ屋:https://www.tenchimuchiko.com
モテホイップ(new!!):https://kireinowa.com/5X5xen38apo
モテフィット:https://goo.gl/Gg7FXm
乳でかサプリ:https://bisainomori.com/lp/cinderella/af2/sp/?ad_code=cb1602001
ふぁんくらぶ:https://fanicon.net/fancommunities/50
てんちむラインスタンプ:https://store.line.me/stickershop/product/1728325
ラインスタンプ2:https://store.line.me/stickershop/product/1795820/ja?from=sticker
ライン着せ替え:https://store.line.me/themeshop/product/788250d1-6db6-4612-899b-bad57092a200/ja
Twitter:https://twitter.com/tenchim_1119
インスタ:@super_muchiko
BGM素材:http://musmus.main.jp
wiki korea 在 Phê Phim Youtube 的最佳貼文
Phê Phim News: PARASITE & JOKER Được Tái Khởi Chiếu | ADAM SANDLER Cà Khịa OSCAR
? FOLLOW/LIÊN HỆ CHÚNG MÌNH TẠI ?
?WEBSITE ĐỈNH ► https://phephim.vn
?FACEBOOK CHẤT ► https://www.facebook.com/phephim/
?GROUP NHỘN NHỊP ► https://www.facebook.com/groups/1882192815406120/
?INSTAGRAM ► @phe.team & @phephim.official
?EMAIL ► contact@pheteam.vn
_________________
Nội dung: Ngân, Linh, Linh Ma
Giọng đọc: Linh, Ngân
Dẫn: Linh
Editor: Nhân
Tin 1: Parasite & Joker được chiếu lại ở Việt Nam
https://www.facebook.com/cgvcinemavietnam/photos/a.10150442596260625/10158267957220625/?type=3&theater
https://www.facebook.com/cgvcinemavietnam/photos/a.10150442596260625/10158267957220625/?type=3&theater
https://www.dailymail.co.uk/news/article-7986305/South-Koreas-President-Moon-Jae-celebrates-told-Parasite-won-four-Oscars.html
https://deadline.com/2020/02/parasite-oscar-best-picture-bong-joon-ho-korea-hollywood-reactions-1202856210/
Tin 2: Birds of Prey đổi tên sau thất bại ở phòng vé
https://ew.com/movies/2020/02/10/birds-of-prey-title-change-disappointing-box-office/
https://www.independent.co.uk/arts-entertainment/films/news/birds-of-prey-marvel-opening-weekend-earnings-dc-universe-a9326446.html
Tin 3: Independent Spirit Awards
https://deadline.com/2020/02/spirit-awards-2020-winners-35-film-independent-spirit-awards-1202854430/
https://en.wikipedia.org/wiki/Independent_Spirit_Awards
https://en.wikipedia.org/wiki/35th_Independent_Spirit_Awards
Tin 4: Thông tin Knives Out 2
https://variety.com/2020/film/news/rian-johnson-knives-out-sequel-oscars-1203498178/
Điểm tin:
1. Danh sách đề cử mâm xôi vàng
https://edition.cnn.com/2020/02/08/entertainment/razzie-nominations-2020/index.html
2. Danh sách phim hay nhất thế kỷ
https://www.empireonline.com/movies/features/best-movies-century/
3. Diễn viên tiếp theo của series Loki
https://variety.com/2020/tv/news/loki-disney-plus-gugu-mbatha-raw-1203501528/
4. Ngày khánh thành Viện bảo tàng Oscar
https://variety.com/2020/film/news/academy-museum-to-open-december-14-2020-1203498598/
BXH:
Bắc Mỹ:
https://www.boxofficemojo.com/weekend/2020W06/?ref_=bo_wey_table_1
Việt Nam
https://boxofficevietnam.com/#1543824640456-16ae0ab0-64e8
wiki korea 在 多田愛佳/오오타아이카 Youtube 的最佳解答
今回は、とある休日の出来事です。
《多田愛佳モバイルファンクラブ》
https://sp.lovetannnnnn.com/
登録してね🍰👼🍰👼🍰👼🍰
私のことを知らない人へ↓↓
https://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%A4%9A%E7%94%B0%E6%84%9B%E4%BD%B3
#女優日記
あいか / 아이카 Twitter
https://twitter.com/lovetannnnnn
あいか / 아이카 Instagram
https://www.instagram.com/lovetannnnnn
動画へのコメントやリクエストなどお待ちしております♪
wiki korea 在 다음 세대를 구하는 7가지 법칙 - CLC Korea - Facebook 的推薦與評價
... <看更多>