รู้จัก AUKUS ของสหรัฐ และการโต้กลับด้วย CPTPP ของจีน /โดย ลงทุนแมน
เรื่อง AUKUS เป็นประเด็นใหม่ที่คนทั้งโลกจับตา
สนธิสัญญา AUKUS เป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะสนับสนุนการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย
คำว่า AUKUS ย่อมาจาก
Australia (AU)
United Kingdom (UK)
United States (US)
แต่รู้ไหมว่าสนธิสัญญา AUKUS ยังเกี่ยวข้องกับจีน และอาจทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคทะเลจีนใต้ระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน มากขึ้น
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร อ้างว่า การทำสัญญา AUKUS กับออสเตรเลีย เพราะอยากให้มีความปลอดภัยและสันติภาพ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มองว่า สนธิสัญญานี้จะทำลายความสงบสุขในเอเชียมากกว่า เพราะอย่างที่รู้กันคือ สนธิสัญญานี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพออสเตรเลีย
การที่ออสเตรเลียได้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในครั้งนี้ ออสเตรเลียจะกลายเป็นประเทศที่ 7 ของโลก ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว
เรื่องทั้งหมดนี้ก็คงเป็นเพราะเหตุผลเบื้องหลังคือ สหรัฐฯ ต้องการคานอำนาจและท้าทายอิทธิพลของจีน ในเขตทะเลจีนใต้
แล้วสำหรับจีน มีมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
จีนกล่าวหลังจากทราบเรื่องดังกล่าวว่า สหรัฐฯ นั้นใจแคบ และไร้ความรับผิดชอบ ที่อาจนำพาให้ประเทศอื่นเข้าสู่ยุคสงครามเย็น
และที่ทำให้ทุกคนประหลาดใจ หลังจากการแถลงข่าวเรื่อง AUKUS ได้ 1 วัน รัฐบาลจีนเลยเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP ในทันที
แล้ว CPTPP คืออะไร ?
CPTPP คือ ข้อตกลงสำหรับประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเด็นเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม
จริง ๆ แล้ว CPTPP เกิดจากโมเดลของ TPP ที่สหรัฐฯ ออกแบบมา เพื่อกีดกันทางการค้ากับจีนโดยเฉพาะ ดังนั้นหลายคนคิดว่าจีนอาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด CPTPP ได้เพราะติดเกณฑ์หลายเรื่องในข้อตกลง
แต่การที่จีนยอมเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP นี้ นอกจากจีนจะทำการโต้กลับเรื่อง AUKUS แล้ว จีนคงเห็นอะไรบางอย่างที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้
โดยก่อนหน้านี้ ในสมัยที่ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ได้ออกจากข้อตกลง TPP มาแล้ว ซึ่งการออกจากข้อตกลง TPP ในครั้งนั้นทำให้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมดที่อยู่ในข้อตกลง ได้ลดลงจาก 27% ของ GDP โลก มาอยู่ที่ 15%
แต่การเข้ามาของจีนในครั้งนี้ จะทำให้ CPTPP มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 30% ของ GDP โลก และมีประชากรรวมเป็น 1,900 ล้านคน หรือ 25% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องติดตามกันอีกยาว ว่าจีนจะเข้าร่วม CPTPP ได้หรือไม่
เพราะตอนนี้หลายประเทศที่อยู่ใน CPTPP ก็ยังคงทำตัวไม่ถูก เนื่องจากในข้อตกลงนี้มีแต่ประเทศที่เป็นมหามิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และแคนาดา ในขณะที่ จีนนั้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯ อย่างชัดเจน
ซึ่งน่าติดตามว่า พันธมิตรของสหรัฐฯ ในข้อตกลง CPTPP จะคิดเห็นอย่างไร ?
ประเทศสมาชิกใน CPTPP ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย มองว่าการเข้ามาใน CPTPP ของจีนเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคแปซิฟิกมากขึ้น
สำหรับญี่ปุ่นยังมีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้กับจีน และนอกจากนั้นญี่ปุ่นเคยเจรจาเรื่อง CPTPP กับไต้หวันไว้ว่าจะยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
ดังนั้นไต้หวันย่อมกังวลว่า ถ้าจีนได้เข้าร่วม CPTPP ไต้หวันจะถูกกีดกันในการเป็นสมาชิกของ CPTPP ในอนาคต
สำหรับออสเตรเลียเอง ก็ยังมีข้อพิพาทกับจีนเช่นกัน
โดยจีนได้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งมีเจตนาเพื่อโต้กลับออสเตรเลีย หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้จีนออกมารับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของโรคระบาดโควิด
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย อาจไม่มีอำนาจมากพอที่จะห้ามจีนเข้า CPTPP ได้
แต่ทั้ง 2 ประเทศก็คงใช้วิธีเน้นย้ำว่า จีนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ CPTPP ให้ได้
ที่น่าสนใจก็คือ พันธมิตรของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้อยู่ใน CPTPP อย่างสหราชอาณาจักร ก็ต้องการเข้าร่วม CPTPP เพื่อขายสินค้าเกษตรกับประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น หลังไม่มีข้อผูกมัดกับสหภาพยุโรปแล้ว
คำถามต่อไปก็คือ จีนจะปฏิบัติตามเกณฑ์ของ CPTPP ได้หรือไม่
โดยในข้อตกลง CPTPP จะเน้นเรื่องความเป็นเสรี และรัฐบาลต้องไม่ไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจเพื่อบิดเบือนตลาด
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับรัฐบาลจีนเองที่มีแผนจะลดเงินสนับสนุนแก่รัฐวิสาหกิจ และดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้บริษัททำกำไรและดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังได้ประกาศเข้าร่วมพันธกรณีข้อตกลงปารีส และยุติโครงการสร้างโรงงานถ่านหินในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ปัญหาโลกร้อน
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเข้าร่วม CPTPP ในประเด็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับจีน
อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่าการเข้าร่วม CPTPP ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสนธิสัญญา AUKUS เพราะจีนต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะผลักดันให้เกิดสงครามเหมือนสหรัฐฯ
แล้วสหรัฐฯ มีท่าทีอย่างไร หลังจีนต้องการเข้าร่วม CPTPP ?
การร่วมมือของสหรัฐฯ ทางการทหาร ผ่านสนธิสัญญา AUKUS อาจไม่พอที่จะหยุดอำนาจของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพราะสหรัฐฯ ยังขาดบทบาทการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย
ซึ่งนักธุรกิจ และสมาชิกในสภาคองเกรส ต้องการให้สหรัฐฯ กลับเข้ามาเป็นสมาชิก CPTPP ก่อนประเทศจีน เพื่อลดกำแพงภาษี และรองรับการเป็นสมาชิกของไต้หวันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจจะไม่เข้าร่วม CPTPP ในทันที จนกว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือนโยบาย “Build Back Better” จะสำเร็จเสียก่อน
ซึ่งนโยบายนี้ กีดกันทางการค้าและเทคโนโลยีกับจีนในทางอ้อม ด้วยการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศและใช้สินค้าที่ผลิตโดยคนอเมริกัน
ซึ่งดูเหมือนว่า สงครามการค้า หรือ สงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตั้งแต่สมัยทรัมป์ ยังคงดำเนินต่อ เพียงแค่อยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
และสำหรับประเทศที่เหลือบนโลกใบนี้ ก็ยังต้องปรับตัวให้อยู่กับ 2 ขั้วทางการเมือง ที่ไม่น่าจะมีวันมาบรรจบกันได้อย่าง สหรัฐฯ และจีน ไปอีกนานเป็นทศวรรษ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.reuters.com/world/china/china-officially-applies-join-cptpp-trade-pact-2021-09-16/
-https://apnews.com/article/united-nations-general-assembly-joe-biden-6dd0382e93987500d714f9fa497602af
-https://www.bbc.com/news/world-asia-china-58647481
-https://www.posttoday.com/world/663460
-https://www.prachachat.net/economy/news-765984
-https://www.cnbc.com/2021/09/27/analysts-on-chinas-bid-to-join-cptpp-strategic-competition-with-us.html
-https://www.bbc.com/news/explainers-55858490
-https://www.globaltimes.cn/page/202109/1234584.shtml
-https://www.reuters.com/article/uk-davos-meeting-trade-truss-idUSKBN29Y14U
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/control-risks-on-biden-administration-rejoining-tpp-trade-deal.html
-https://www.piie.com/blogs/trade-and-investment-policy-watch/chinas-cptpp-bid-puts-biden-spot
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
podcast ย่อมาจาก 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
podcast ย่อมาจาก 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Nick Molnar มหาเศรษฐี อายุน้อยสุด ในออสเตรเลีย /โดย ลงทุนแมน
“ผมไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงยังทำงานอยู่ที่นี่ คุณควรออกไปทำธุรกิจของตัวเองเต็มเวลาได้แล้ว”
ประโยคดังกล่าวถูกพูดโดยคุณ Mark Carnegie ผู้เป็นหัวหน้างานของหนุ่มชาวออสเตรเลีย
ชื่อว่าคุณ Nick Molnar ในปี 2012 หรือราว 9 ปีก่อน
ไม่น่าเชื่อว่าประโยคนี้เอง จะทำให้ในเวลาต่อมา คุณ Molnar ได้ตัดสินใจลาออก
จากงานประจำเพื่อนำเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง
จนปัจจุบัน เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัท ที่มีมูลค่าระดับ 9.4 แสนล้านบาท
และกลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย
Nick Molnar คือใคร
แล้วเขาก่อตั้งธุรกิจอะไรขึ้นมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Nick Molnar เป็นชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันมีอายุ 31 ปี
เขาถูกยกให้เป็น “Youngest Self-made Billionaire” หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท ที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศและสร้างธุรกิจขึ้นด้วยตัวเอง
Molnar เริ่มเส้นทางการเป็นนักธุรกิจตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา
ในสมัยที่เขาศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์
ระหว่างเรียน เขาก็ได้เริ่มทำงานเพื่อหารายได้เสริมไปด้วย
โดยรายได้เสริมที่ว่านั้น เขาได้ไอเดียมาจากธุรกิจร้านขายอัญมณีและเครื่องประดับของครอบครัว ที่เปิดขายอยู่ที่สถานีรถไฟวินยาร์ด เมืองซิดนีย์
Molnar ได้มองว่าธุรกิจครอบครัวมีเพียงหน้าร้านเท่านั้น โดยเขาสามารถนำสินค้าเหล่านี้
ไปขายบนโลกออนไลน์ได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นการสร้างรายได้จากช่องทางใหม่เพิ่มเติม
สำหรับช่องทางการขายออนไลน์ที่ว่านั้น ก็คือ “eBay”
ผ่านไปเพียงไม่นาน ก็ไม่น่าเชื่อว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของเขาได้กระแสตอบรับดีและขายดีเกินคาดในระดับที่มีออร์เดอร์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าพันชิ้นต่อวัน
ถึงขนาดที่ว่าคุณ Molnar ได้กลายเป็นพ่อค้าขายอัญมณี
ที่ขายดีที่สุดบน eBay ประเทศออสเตรเลียในขณะนั้น
ซึ่งจุดนี้เองก็ได้ทำให้เขาเริ่มคิดต่อว่าจะขยายกิจการ
และไม่ต้องการพึ่งพาตัวกลางในการขายอย่าง eBay อีกต่อไป
เขาเลยได้ตัดสินใจก่อตั้งเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น
- Iceonline.com.au เว็บไซต์ขายเครื่องประดับและนาฬิกาในประเทศออสเตรเลีย
- Ice.com เว็บไซต์ขายอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งธุรกิจที่กล่าวขึ้นมาทั้งหมดเกิดขึ้น คาบเกี่ยวกับช่วงที่เขาจบปริญญาตรีและกำลังเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ M.H. Carnegie & Co. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะคอยวิเคราะห์ธุรกิจและนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน
ที่นั่น Molnar ได้พบเข้ากับ Mark Carnegie หัวหน้าของเขา ซึ่งพอ Carnegie ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการหารายได้เสริมหลังเวลาเลิกงานของนักศึกษาจบใหม่คนนี้ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง
Carnegie จึงได้ให้คำแนะนำให้เขาออกไปทำธุรกิจส่วนตัวให้เต็มที่
รวมทั้งยังได้ยื่นข้อเสนอพ่วงไปด้วยว่าผมให้เวลาคุณ 12 เดือน
หากคุณล้มเหลว คุณสามารถกลับมาทำงานกับผมได้ทุกเมื่อ
หลังจากนั้น Molnar จึงได้ทำตามคำแนะนำและตัดสินใจลาออก
เพื่อหันมาโฟกัสกับธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2 ปีต่อมา หลังจากที่เว็บไซต์ขายเครื่องประดับของเขาอยู่ตัวและคงที่แล้ว
เขาก็ได้ไอเดียธุรกิจอีกครั้ง จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของลูกค้า
โดยเฉพาะกลุ่มนักช็อปเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ซึ่งก็ได้นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Afterpay” ในปี 2014
สำหรับธุรกิจนี้ คุณ Molnar มีผู้ร่วมก่อตั้งต่างวัย คือคุณ Anthony Eisen ปัจจุบันมีอายุ 50 ปี
โดยคุณ Eisen เป็นทั้งเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน รวมถึงยังเป็นผู้มากประสบการณ์ในสายอาชีพการเงิน
แล้ว Afterpay ทำธุรกิจอะไร ?
Afterpay เรียกได้ว่าเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจ “BNPL”
ย่อมาจาก Buy Now, Pay Later หรือซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง
อธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นบริการทางการเงินที่จะเข้ามาทำให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าทันทีวันนี้
โดยที่ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดทีหลัง แถมไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากจ่ายตรงเวลา
จุดนี้เอง ที่ได้เข้าไปตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตและคนรุ่นใหม่
ให้สามารถช็อปปิงออนไลน์ได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว แถมยังไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน
ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าไม่มีค่าธรรมเนียมผู้ซื้อแล้ว
รายได้ของ Afterpay จะมาจากใคร ?
คำตอบก็คือ รายได้ของ Afterpay จะมาจากร้านค้าเป็นหลัก
ตัวอย่างร้านค้าที่เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท ก็เช่น Gap, JD Sports, Pandora, Ray-Ban, Levi’s และอีกหลายแบรนด์
ซึ่งหลายคนก็น่าจะถามต่อว่า
แล้วทำไมร้านค้าต้องยอมออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ?
ด้วยโมเดลของ BNPL เป็นเหมือนการกระตุ้นยอดขายไปในตัว เพราะทำให้ผู้ซื้อสามารถได้รับสินค้าทันทีในระดับที่ว่าเสื้อผ้าราคาหลักร้อย เรายังสามารถแบ่งจ่ายได้ 4 งวด นั่นจึงทำให้ร้านค้าขายของง่ายขึ้น
ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ไอเดียของ Molnar สำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะเขาสามารถนำบริษัท
จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2016 หรือเพียง 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง
ทีนี้เรามาดูกันว่า Afterpay เติบโตมากขนาดไหน ?
หากเรามาดูผลประกอบการปี 2021 โดยรอบบัญชีของบริษัท
เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ถึง 30 มิถุนายน 2021
บริษัท Afterpay
ปี 2018 รายได้ 4,642 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 8,612 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 16,922 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 30,127 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยมากถึง 87% ต่อปี
โดยรายได้ทั้งหมดของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียมจากร้านค้า 89%
ที่เหลือก็จะเป็นรายได้ เช่น ค่าปรับที่ลูกค้าจ่ายไม่ตรงงวด
หรือเรียกว่า Late Fee รวมกับรายได้อื่น ๆ อีก รวมกันเป็น 11%
Afterpay ได้รายงานอีกว่าในปีที่ผ่านมา
ร้านค้าที่ลูกค้าใช้บริการชำระเงินผ่านระบบของ Afterpay มีมูลค่าอยู่ที่ 730,000 ล้านบาท
โดยยอดดังกล่าว ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทราว 26,800 ล้านบาท
หมายความว่า Afterpay เก็บค่าธรรมเนียมต่อร้านค้าเฉลี่ยแล้วราว 3.7%
ปัจจุบัน Afterpay มี Active Customers หรือผู้ใช้งานที่ซื้อสินค้า
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราว 16.2 ล้านบัญชี มีร้านค้าบนระบบกว่า 98,200 ร้านค้า
ก็เรียกได้ว่านับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดและเรื่องราวที่เล่ามานั้น ก็ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น
ซึ่งล่าสุด Afterpay ก็เพิ่งได้รับข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการจากบริษัท Square ธุรกิจฟินเทค ที่มีเจ้าของคนเดียวกันกับ Twitter หรือก็คือ Jack Dorsey เป็นเงินมูลค่ามากถึง 9.4 แสนล้านบาท
จึงทำให้เจ้าของอย่าง Nick Molnar ที่ปัจจุบันมีอายุเพียง 31 ปี จะมีทรัพย์สินมูลค่า
ราว 65,000 ล้านบาท และได้กลายมาเป็นเศรษฐี ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com.au/afterpay-nick-molnar-anthony-eisen-net-worth-net-worth-2020-7
-https://tedxsydney.com/contributor/nick-molnar/
-https://www.cnbc.com/2020/12/11/the-advice-that-helped-nick-molnar-launch-multibillion-dollar-afterpay.html
-https://www.forbes.com/profile/nick-molnar/?sh=66d3a75913f6
-https://finance.yahoo.com/quote/AFTPF/financials?p=AFTPF
-https://afterpay-corporate.yourcreative.com.au/wp-content/uploads/2021/08/Afterpay-FY21-Results-Presentation.pdf
-https://www.bbc.com/news/business-58051815
-https://www.smh.com.au/business/banking-and-finance/genuine-gold-medal-contender-afterpay-gets-39b-endorsement-from-us-giant-square-20210802-p58f7q.html
-https://www.abc.net.au/news/2021-08-04/afterpay-square-millennials-lobbyists-covid-pandemic-shares-grow/100347562