‘SASOM’ สตาร์ตอัพไทยกับความสำเร็จของดีลระดมทุนในเกาหลี
SASOM x ลงทุนแมน
ใครที่ทำธุรกิจ หรือดูซีรีส์เกาหลีที่เคยเป็น Talk of the Town อย่าง Start-Up
คงพอเห็นภาพว่า การจะเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะขั้นตอนการระดมทุนหรือ Funding
ซึ่งแผนธุรกิจจะต้องสามารถดึงดูด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เพื่อให้ได้ผู้สนับสนุน พร้อมเม็ดเงินลงทุน ที่จะทำให้โครงการในแผน กลายเป็นธุรกิจในโลกความจริง
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้มี Startup ไทยที่ไปไกลถึงขั้นระดมทุนในระดับ Pre-Series A จากบริษัทในเครือ Naver ที่เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation แล้ว
Startup รายนี้เป็นใคร แล้วระดับ Pre-Series A คืออะไร ?
‘SASOM’ (สะสม) เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมและของหายาก
เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 โดยทีมผู้ก่อตั้งเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาแพลตฟอร์ม หลังกลับจากเรียนต่อในต่างประเทศ แล้วพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มการซื้อขายของสะสม ทำให้คนไทยที่อยากซื้อหรืออยากขาย ของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก ก็ต้องใช้บริการเว็บไซต์ต่างประเทศ
ซึ่งแน่นอนว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายด้านภาษีหรือการนำเข้า แถมยังใช้เวลานาน
ที่สำคัญ ถ้าซื้อใน Social Media ก็เสี่ยงที่จะเจอสินค้าลอกเลียนแบบอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ เป็น Pain Point ที่ SASOM เล็งเห็น และตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มให้ออกมาตอบโจทย์ โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือ Community ในการซื้อขาย
ภายใต้คอนเซปต์ “Next Generation Platform for Authentic Luxurious Transactions”
หรือการเป็นแพลตฟอร์มยุคใหม่ สำหรับซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก
ปัจจุบัน SASOM ให้บริการในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยเป็นแหล่งรวบรวมสินค้ามือใหม่และมือสองกว่าหมื่นรายการ ทั้งในรุ่นยอดนิยม และรุ่น Limited Edition ที่มีเพียงไม่กี่ชิ้นบนโลก ตั้งแต่ราคาหลักพัน ถึงหลักล้าน
มีสินค้าหลายประเภท ทั้งรองเท้านักกอล์ฟ Sneaker Nike, Jordan, Adidas, Yeezy จนถึงของสะสมหายาก อย่างงานศิลปะ อัลบั้มเพลง และโมเดลของเล่น BE@RBRICK ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่ม Millennial เเละ Gen Z
ซึ่งสินค้าเหล่านี้ โดยเฉพาะรุ่นที่มีจำนวนจำกัดหรือเป็น Limited Edition นั้น
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ ไม่แพ้การลงทุนอื่น ๆ
และอีกส่วนที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ หมัดเด็ดที่ทำให้ SASOM ประสบความสำเร็จ
นั่นคือการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อว่า สินค้าทุกชิ้นเป็นของแท้ 100%
โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบสินค้าที่ลงประกาศอย่างละเอียด แล้วติดป้ายสัญลักษณ์เพื่อเป็นการรับประกัน และมีบริการก่อนและหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตสินค้า บริการลูกค้าสัมพันธ์ การให้ข้อมูลที่เป็นราคากลาง
นอกจากนี้ SASOM ยังพัฒนา Price Chart ฟีเชอร์ใหม่ล่าสุด ที่รวบรวมข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ทำให้สามารถประเมินราคาและมูลค่าของสินค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจ
และในอนาคต ก็มีแผนจะนำระบบ AR (Augmented Reality) เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนไทยได้เสนอขายหรือซื้อสินค้าที่เป็นของสะสมกับชาวต่างชาติ บนจุดนัดพบแห่งใหม่
ปัจจุบัน SASOM มียอดขายสินค้าเฉลี่ยเดือนละกว่า 10 ล้านบาท และมีเป้าหมายเพิ่มยอดขายเป็นเดือนละ 30 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
โดยจะเน้นการขยายฐานผู้ซื้อ ผู้ขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มนักลงทุนของสะสมในไทยและต่างประเทศ
จากความโดดเด่นของแพลตฟอร์ม ทำให้ Startup อย่าง SASOM สามารถสร้างความเชื่อมั่น และประสบความสำเร็จในการระดมทุนระดับ Pre-Series A
ซึ่งเป็นการระดมทุนในระดับที่ 2 จาก 5 ระดับ ของธุรกิจ Startup โดยในขั้นนี้ ธุรกิจจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน และมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
จากจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ Startup ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันการระดมทุนที่ประสบความสำเร็จในระดับนี้ ถือว่ามีจำนวนไม่มากนัก โดยผู้มาลงทุนกับ SASOM ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับเอเชีย
อย่าง Kream Corporation ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ในเครือ Naver หรือที่หลายคนรู้จักว่า เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation
ถือเป็น Startup ไทยรายแรก ๆ ที่สามารถระดมทุนจากบริษัทแนวหน้าในเกาหลีใต้ ทำให้มีมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านบาท และมีเงินทุนไปพัฒนาแพลตฟอร์ม ให้เข้าถึงและรองรับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายได้มากขึ้น
โดย SASOM จะจับมือเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) กับ Kream Corporation
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี Machine Learning ที่นำมาใช้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้า
ไม่เพียงเท่านี้ ในปีหน้า SASOM ยังมีแผนระดมทุนต่อเนื่องกับทาง Kream Corporation ในระดับ Series A ที่เป็นระดับสูงขึ้น
เพื่อยกระดับจากธุรกิจ Startup เป็นบริษัทชั้นนำ และก้าวสู่การเป็น The Collectors Paradise of Asia หรือสวรรค์ของนักสะสมแห่งเอเชีย ที่สามารถเทียบชั้นกับแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมและของหายากในระดับโลก
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sasom.co.th
Reference
- Press Release Sasom
press release คืออะไร 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳解答
Facebook กับ Metaverse โลกเสมือนที่ขายฝันหรือขายอนาคตจริงๆ
FB – Facebook, Inc.
Price: $315.02 (06/01/2021)
PE (FWD): 24.15
Market Cap: $902.40B
Metaverseเป็นอีกหนึ่งเทรนด์แห่งอนาคต หากใครได้ดูหนังเรื่องReady Player One จะนึกออกว่าMetaverseคืออะไร Metaverseคือโลกเสมือนจริงในรูปแบบดิจิทัล เราสามารถเข้าสู่โลกMetaverseด้วยการใส่แว่นตาVR หลังจากนั้นจะเห็นภาพของอีกโลกหนึ่ง
สิ่งต่างๆรอบตัวเราจะเปลี่ยนไป เราอาจจะกำลังเดินอยู่บนวงแหวนดาวเสาร์ หรืออยู่ในโลกใต้ทะเลกับนีโม่ก็ได้ เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆในโลกเสมือนนี้ได้ เช่น ดูถ่ายทอดสดกีฬาระดับโลกจากริมขอบสนาม ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นทั้งๆที่ตัวเราอยู่ที่บ้าน เป็นต้น
ในปี2014 Mark Zuckerburg เจ้าของFacebookที่เราคุ้นเคยกันดี ได้ซื้อธุรกิจOculus VR ผู้ผลิตแว่นตาเสมือนจริงในราคาสองพันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้าง “The Next Social Media, The Next iPhone, and The Next Society.”
ซึ่งFacebookเองไม่ได้ลงทุนแค่พัฒนาHardware แต่ยังลงทุนทำทั้งEcosystems และในปัจจุบันยังไม่มีใครเป็นคู่แข่งของFacebookโดยตรงในอุตสาหกรรมนี้ งานนี้Markไม่ได้มาเล่นๆ Markใช้พนักงานของบริษัทในการพัฒนาEcosystemsนี้ถึง 10,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งคิดเป็น 20% ของพนักงานทั้งหมด โดยที่พนักงานกลุ่มนี้จะทำงานกันที่ Facebook Reality Labs
รายได้ส่วนของVR จัดอยู่ในNon-ad RevenuesของFacebook ซึ่งในงบของQ4/2020คิดเป็นรายได้เพียง 885 ล้านเหรียญ (3%ของรายได้ทั้งหมด)
ในส่วนของข้อมูลอุตสาหกรรมVR คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโต 48.7% (CAGRจากปี2020-2026) ปัจจุบันMarket Sizeอยู่ที่ 18,000 ล้านดอลล่าร์ และคาดว่าจะเติบโตขึ้นไปถึง 184,660 ล้านดอลล่าร์ในปี 2026 !!
โดยมีการคาดการณ์กันว่าแว่นOculusของFacebook จะมีการเติบโตเร็วกว่าระดับการเติบโตในอุตสาหกรรม
โรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว Metaverseก็เช่นกัน ตัวเลขรายได้3%ในตอนนี้อาจจะยังเร็วไปที่จะสรุปว่าFacebookใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าหรือไม่
คำถามตอนนี้ก็คือคุณเชื่อในVisionของMarkขนาดไหน คิดว่าอีกนานไหมเทคโนโลยีนี้ถึงจะเข้าสู่Mainstream ถ้าFacebookทำไม่สำเร็จราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร และถ้าทำสำเร็จราคาหุ้นจะพุ่งขึ้นไปถึงขนาดไหน MetaverseของFacebookจะเป็นแค่โลกเสมือนที่ขายฝันหรือขายอนาคตจริงๆ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
........................................
ติดตามข้อมูล เศรษฐกิจ การลงทุนในต่างประเทศ ในไทย ได้ที่คุยการเงินกับที
........................................
Sources:
https://seekingalpha.com/article/4421852-metaverse-facebook-is-leading-the-paradigm-shift
https://investor.fb.com/investor-news/press-release-details/2021/Facebook-Reports-Fourth-Quarter-and-Full-Year-2020-Results/default.aspx
ดูงบการเงินต่างๆของFacebookได้ที่ https://investor.fb.com/home/default.aspx
Admin:Scofield
press release คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จักทฤษฎี TINA ตลาดหุ้นขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก /โดย ลงทุนแมน
การที่เราเลือกสิ่งหนึ่ง อาจไม่ใช่เพราะว่ามันดี
แต่อาจเป็นเพราะ
มันไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า..
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้
สามารถอธิบายได้ด้วย TINA Effect
TINA Effect คืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TINA ย่อมาจาก There Is No Alternative หรือ การไม่มีทางเลือก
วลีนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในปี 1980
หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ Margaret Thatcher มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษ
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การตัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐสวัสดิการ
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นถูกวิจารณ์จากสื่ออย่างหนัก
แต่ Margaret Thatcher ตอบกลับสื่อไปว่า “There Is No Alternative” หรือมันไม่มีทางเลือก..
วลีนี้เริ่มถูกนำมาใช้ในการตลาดการเงิน
ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร The Wall Street Journal เมื่อปี 2013
ใจความสำคัญก็คือ ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกเพียงทางเดียวสำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ที่ต้องการผลตอบแทนในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนาน
คำอธิบายนี้ เป็นคำตอบที่อาจช่วยให้เราหายสงสัยว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แต่ตลาดหุ้นกลับไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจมากนัก ถึงขนาดตลาดหุ้นบางแห่งกลับทำจุดสูงสุดใหม่ไปแล้ว
ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2007-2008
ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำเพียง 0.00-0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ โดยนโยบายดังกล่าวกินเวลายาวนานถึง 7 ปี
เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง มาตรการต่อมาที่ธนาคารกลางหลายแห่งนำมาใช้อีกก็คือ Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินโดยตรง
ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเอาเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งทั้งนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ยาวนาน และจำนวนเงินมหาศาลที่เข้าสู่ระบบจากมาตรการ QE ได้ส่งผลต่อทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุน เพราะเรื่องนี้ทำให้
1. อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่บางประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยถึงกับติดลบ จนทำให้แรงจูงใจการฝากเงินเพื่อหารายได้จากดอกเบี้ยนั้นลดลง
2. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ยังจะทำให้พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาหลังๆ ให้อัตราผลตอบแทนต่ำลงเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี
สิ้นปี 2008 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 2.25%
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 0.69%
นั่นหมายความว่า
หากเราไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และถือจนครบอายุ เราจะได้รับผลตอบแทนปีละ 0.69%
จากอดีตที่จะได้ผลตอบแทนปีละ 2.25%
พอเรื่องเป็นแบบนี้
ตลาดหุ้นจึงเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับหลายคนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทน
แม้จะรู้ดีว่าสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ
โรคระบาด Covid-19 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากที่สุดในรอบ 75 ปี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในโลก ในปัจจุบัน มีคนอเมริกันว่างงานอยู่ 18 ล้านคน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 11% มากกว่าช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2007-2008 เกือบเท่าตัว
แต่ตลาดหุ้นกลับปรับตัวลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับวิกฤติในอดีต
ที่น่าสนใจคือ บางตลาดกลับทำจุดสูงสุดใหม่ด้วย
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ
สิ้นปี 2019 ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 8,946 จุด
ปัจจุบัน ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 10,434 จุด หรือเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 16%
หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราก็ตาม ก็อาจมีปรากฏการณ์ของ TINA เช่นกัน
ปีนี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยรับผลกระทบมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า GDP ของไทยจะติดลบถึง 8.1% ซึ่งเทียบกับสมัยวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี 1997-1998 ที่ตอนนั้น GDP ของไทยติดลบ 7.6%
โดยในช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยติดลบไปกว่า 57% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ตลาดหุ้นไทยกลับติดลบไปเพียง 13%
ซึ่งก็อาจตีความได้ว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่มีทางเลือกเท่าไร และจำเป็นต้องลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป..
ดังนั้น ถ้าเราไปถามนักลงทุนหลายคนว่า
ในตอนนี้เศรษฐกิจเป็นอย่างไร
คำตอบที่เราน่าจะได้ยินก็คือ พวกเขาก็รู้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี
แต่พวกเขาก็จะบอกต่อไปว่า
แต่หุ้น ก็อาจจะดีกว่า การลงทุนอย่างอื่นอยู่ดี..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/There_is_no_alternative
-https://www.investopedia.com/terms/t/tina-there-no-alternative.asp
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO49.pdf
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/TextView.aspx?data=yieldYear&year=2008
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2020/06/08/covid-19-to-plunge-global-economy-into-worst-recession-since-world-war-ii
-https://www.investing.com/indices/major-indices
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
-https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html