"ล็อคเมืองแบบอู่ฮั่น ไม่ใช่วิธีที่จีนประสบความสำเร็จในการควบควบคุมโควิด มาจนถึงปัจจุบันนี้" นะครับ
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วันนี้ ที่ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่ได้มีทีท่าจะลดลง แต่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับ 13,000 คนต่อวันแล้ว
ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าแปลกใจเลย สำหรับคนที่ไม่ได้เชื่อถือตัวเลขรายงาน ศบค. ก่อนหน้านี้ว่าจะแม่นยำจริง
เพราะจำนวนการตรวจของประเทศไทยเรายังค่อนข้างจำกัด ถ้าไม่ตรวจ RT-PCR ให้เยอะขึ้นอีกสัก 2-3 เท่าตัว (จาก 7-8 หมื่น เป็น 1.5 - 2 แสนตัวอย่าง) ก็คงไม่รู้ว่าตัวเลขจริงคือเท่าไหร่กันแน่ (ดูภาพประกอบ)
ในต่างประเทศนั้น จริงๆ เขาไม่สนใจหมกหมุ่นกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันแล้ว เพราะคนส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้วก็หายได้เอง (ยิ่งติดเยอะ ถ้าหาย ก็ยิ่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ได้เยอะขึ้น)
ตัวเลขที่สำคัญกว่าคือ จำนวนผู้ป่วยหนักเข้า ICU และผู้เสียชีวิต ซึ่งต้องพยายามลดจำนวนตรงนั้นให้ได้ .. ซึ่งของไทยเราอยู่ที่ประมาณ 0.67% และ 0.83% ตามลำดับ และต้องลดลงให้ได้มากกว่านี้ (ด้วยการตรวจหาผู้ติดเชื้อ กักตัว และฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น)
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการแถลงของ ศบค. คือการยกระดับความเข้มงวดในการล็อกดาวน์ประเทศมากขึ้น เนื่องจากระดับของผู้ติดเชื้อรายวันสูงขึ้น ไม่ลดลง
โดยมีการกล่าวอ้างว่า ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไป จะไปใช้การล็อคดาวน์อย่างเข้มข้น ปิดล็อคเมือง แบบ "เมืองอู่ฮั่น" ประเทศจีน !
คำถามคือ อู่ฮั่นโมเดล เป็นโมเดลที่ดีจริงเหรอ ? แล้วเขาใช้แค่การ "ปิดล็อคเมืองเข้มข้น" จนทำให้ผู้ติดเชื้อหมดไปเอง อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ จริงหรือเปล่า ?
ได้ไปเจอบทความของ อาจารย์ ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดูลิงค์ด้านล่าง) อธิบายเรื่อง #อู่ฮั่นโมเดล ไว้น่าสนใจนะครับ ว่าจริงๆ แล้ว มันเป็นตัวอย่างของ "ความผิดพลาด" ที่ประเทศจีนเองต้องถอดบทเรียนมา ต่างหาก !
ขอสรุปเนื้อหาบทความ ดังนี้
- จีนพลาดตั้งแต่แรก ที่ไม่ใช้มาตรการเคร่งครัดที่อู่ฮั่น ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาด รัฐบาลท้องถิ่นออกมาสื่อสารว่าโรคนี้ไม่น่ากลัว ไม่มีหลักฐานว่าแพร่เชื้อระหว่างคนถึงคน ยังควบคุมได้ .. รู้ตัวอีก คนเต็มโรงพยาบาลทั้งเมือง
- มีการคำนวณว่า ถ้าจีนตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้แต่แรก ล็อคดาวน์เร็วขึ้น 3 สัปดาห์ โรคคงไม่ลุกลาม
- รัฐบาลกลางถอดบทเรียนความผิดพลาดของอู่ฮั่น ด้วยการปิดเมืองอู่ฮั่นก่อนตรุษจีน และล็อคดาวน์เข้มข้นทุกเมืองที่มีการระบาด
- แต่ในความสำเร็จนี้ แลกมากับความพังพินาศทางเศรษฐกิจ และความไม่พอใจของประชาชน
- เกิดคำวิจารณ์จากฝั่งตะวันตก ว่ามาตรการล็อคดาวน์ของจีนแรงไป วิธีการที่ดีกว่า คือ การตรวจเชื้ออย่างแพร่หลายให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด เพื่อแยกผู้ติดเชื้อ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด
- จีนเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นั้น ว่าวิธีการจัดการกับโควิด น่าจะเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ล็อคเร็ว-สั้น และล็อคเฉพาะบางส่วน
- ช่วงที่สงบจากโรคระบาด จีนจึงเร่งพัฒนาศักยภาพในการตรวจ ทำให้ในเดือนมกราคม จีนมีศักยภาพตรวจ PCR ทั่วประเทศได้ถึง 15 ล้านตัวอย่าง ต่อ "วัน" !
- ในทุกเมืองใหญ่ มีความสามารถในการปูพรมตรวจ PCR ประชากร"ทุกคน"ให้เสร็จได้ภายใน 5-7 วัน หากเกิดการระบาดระลอกใหม่
- เมืองกวางโจว เคยพบการระบาดเฉียด 100 คน เมื่อเดือนมิถุนายน จีนเปิดจุดตรวจเคลื่อนที่ ที่ใหญ่ที่สุด สามารถทำการตรวจได้ 150,000 ตัวอย่างต่อวัน เมื่อใช้เทคนิค pooled sample เอาตัวอย่าง 10 ตัวอย่างมารวมกันในหลอดเดียว (หากตรวจพบ จึงค่อยแยก 10 คน มาตรวจอีกรอบ) ทำให้เพียงจุดตรวจเดียว ตรวจได้ 1,500,000 คน ต่อวัน (วิธีนี้ นักวิชาการสายวิทยาศาสตร์ของไทย เคยเสนอให้ ก. สาธารณสุขใช้มาตั้งนานแล้ว แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ)
- ฝั่งตะวันตก แม้จะมีการตรวจที่ดี แต่ไม่ล็อคดาวน์ทันทีตั้งแต่ไฟเริ่มปะทุ จึงมักทำให้ควบคุมโรคไม่ได้ตั้งแต่ต้น จนต้องล็อคดาวน์-คลายล็อค อยู่เรื่อยๆ
- แต่ในที่สุด ตะวันตกก็มีวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพสูง แม้จะมีรายงานการระบาดเพิ่มขึ้น เพราะเชื้อสายพันธุ์ใหม่ แต่จำนวนผู้เสียชีวิต น้อยลงมากมายชัดเจน
- เรื่องวัคซีน จีนผิดพลาดที่รัฐบาลทุ่มสนับสนุนใช้เทคโนโลยีวัคซีนเชื้อตาย เพราะมั่นใจในความปลอดภัยของเทคนิคเดิม และออกสู่ตลาดได้เร็ว (ตัวอย่างคือ ซิโนฟาร์ม ของรัฐวิสาหกิจจีน กับซิโนแวค ของเอกชนซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ) ขณะที่โจมตีวัคซีน mRNA ว่าน่ากังวล (เหมือนไทยเราทำเปี๊ยบเลย)
- คนจีนทั่วไป ทราบว่า วัคซีนของเขา ไม่กันติด แต่กันป่วยหนักและกันตาย และฉีดเข็มแรกแทบไม่มีภูมิคุ้มกัน ต้องฉีดให้ครบ 2 เข็ม ผ่านไป 2 สัปดาห์เท่านั้น ถึงพอจะมีภูมิคุ้มกัน (คนไทย ไม่ค่อยโดนเน้นเรื่องนี้)
- แต่ตอนนี้ จีนปรับตัวเรื่องวัคซีนแล้ว สื่อของรัฐบาลจะไม่เสนอข่าวเชิงลบเกี่ยวกับเทคโนโลยี mRNA อีกต่อไป , เริ่มโปรโมตศักยภาพในการผลิตวัคซีน mRNA ของ บ. Biontech (เยอรมัน) + บ. Fosun (จีน) กว่า 1,000 ล้านโดสต่อปี สำหรับใช้ภายในจีนตั้งแต่เดือนสิงหาคม , โปรโมตความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีน mRNA ของจีนเอง (เช่น บ. Abogen ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์ของกองทัพจีน มีวัคซีน mRNA ที่เริ่มทดลองเฟส 3 แล้ว และจะเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นธรรมดา)
- จีน ถึงขั้นที่อาจจะฉีดวัคซีน mRNA เป็นบูสเตอร์เข็มที่ 3 ฟรี ให้กับประชากร เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อ และค่อยๆ นำไปสู่การเปิดประเทศได้ (อย่าลืมว่าจีนประสบความสำเร็จ ด้วยการปิดประเทศอย่างเข้มงวดมาตลอด ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรค) รับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ต้นปีหน้า
- ดังนั้น ทั้ง การไม่ล็อคดาวน์อู่ฮั่นเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นของการระบาด และ การล็อคดาวน์อู่ฮั่นอย่างเข้มงวดจนเกิดวิกฤติต่อเศรษฐกิจสังคมขึ้น ล้วนเป็น "ความผิดพลาด" ที่จีนได้เรียนรู้จากทั้ง 2 เรื่อง
- ทางที่ถูกคือ "การผสมผสาน" ระหว่างการล็อคดาวน์กับมาตรการต่างๆ ที่ดีเพียงพอ เช่น การเยียวยาช่วยเหลือ ที่เต็มที่ , ล็อคดาวน์ให้เร็วตั้งแต่ต้นและเฉพาะจุดที่เกิดการระบาด , การตรวจปูพรม , วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและฉีดได้กว้างขวาง
- ในจีนตอนนี้ แนวทางการรับมือเชื้อกลายพันธุ์ อย่างสายพันธุ์เดลต้านั้น ต่างจากแนวทางของเชื้อดั้งเดิม มีการขยายกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว เพราะติดง่ายขึ้น เพิ่มความถี่ของการตรวจเชื้อ เพราะเชื้อหลบซ่อนได้ดีขึ้น ฯลฯ
- ตอนกวางโจว เมื่อมิถุนายนนั้น นอกจากจีนจะปูพรมตรวจแล้ว แต่ต้องตรวจกัน "หลายครั้ง" ต่อคน ในเขตเสี่ยงสูง เพื่อจำกัดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
- สิงคโปร์ ก็ใช้แนวทางใกล้เคียงกัน คือ ขยายศักยภาพการตรวจและล็อคดาวน์เร็ว (แม้จะไม่เข้มข้นเท่าจีน) และมีการสื่อสารที่ชัดเจนของรัฐ ที่เข้าใจประชาชนที่เดือดร้อน
- ไทย มีปัญหาที่เข็ดจากการที่เคยล็อกดาวน์ยาวนานในปีที่แล้ว ทำให้ปฏิเสธการล็อคดาวน์ตั้งแต่เริ่มต้นของการระบาดในปีนี้ ทั้งที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์กลายพันธุ์ (เห็นได้ชัดจากช่วงสงกรานต์ ที่ไม่มีความเข้มงวดในการควบคุมการเดินทางของประชาชน และการจัดงานรื่นเริงต่างๆ) ในขณะที่ศักยภาพในการตรวจ และ วัคซีนนั้น ก็มีไม่เพียงพอ
--------
#ความเห็นส่งท้าย ของผม ก็คือว่า คนไทยเรา อย่าเพิ่งไปเข้าใจผิดว่า คำว่า "อู่ฮั่นโมเดล" และ "การล็อคดาวน์ปิดเมือง" คือทางออกแบบสูตรสำเร็จ ที่จะใช้ได้กับประเทศไทยเรา
เพราะประเทศจีนเขาเอง ก็มองเห็นถึงความผิดพลาดตรงนั้น และพยายามปรับแก้ให้ดีขึ้น ด้วยสูตร "ล็อคเร็ว ล็อคเฉพาะจุด เน้นตรวจหา กักกัน และฉีดวัคซีนป้องกัน ตามด้วยเยียวยา"
ขณะที่ ปัญหาใหญ่ของเราตอนนี้คือ ศักยภาพใน "การตรวจ" ของเรา ที่ต่ำมากกก ! รวมทั้งกระบวนการกักตัวด้วย ... ในขณะที่วัคซีนประสิทธิภาพสูงนั้น ก็อีกนานมาก กว่าจะมีเข้ามาเป็นจำนวนมากเพียงพอ จนทำให้ประชาชนของเราเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นได้
พูดแบบขำๆ (แต่เศร้า) คือถ้าเราแค่ปิดล็อคเมือง แต่ไม่มีศักยภาพอื่นๆ มาช่วย ไม่ตรวจหา ไม่กักกัน ... คงทำให้เชื้อโรคตายหมดได้จริง เพราะพาหะของเชื้อโรคก็ตายหมดไปด้วย ละมั้งครับ หึๆๆ
-------
ข้อมูล จาก https://www.facebook.com/520965024/posts/10157884255900025/?app=fbl
ภาพกราฟผลการตรวจ rt pcr จาก http://nextcloud.dmsc.moph.go.th/index.php/s/wbioWZAQfManokc
Search
s pooled 在 Pooled Standard Deviation - YouTube 的推薦與評價
How to calculate pooled standard deviation. Formulas for equal sample sizes / nonequal sample sizes. Cohen's formula. ... <看更多>