คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ตามภาษากฎหมาย หมายความว่ายังไงกันแน่น๊าาา #ทนายชาติ
「คนเสมือนไร้ความสามารถ」的推薦目錄:
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 Opal Panisara Official Facebook 的最佳解答
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 ผู้เสมือนไร้ความสามารถ : คำนี้ในกฎหมายแปลว่าอะไร? . . ... 的評價
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 คนเสมือนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมได้ไหม? EP.3 | Modern Law 的評價
- 關於คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 กฎหมายชายคา ปัญหาชาวบ้าน โดย สำนักงานอัยการสูงสุด : 1 ... 的評價
คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
บทสรุปและข้อเสนองานวิจัย "การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน" (รายงานวิจัยเพื่อเสนอตำแหน่งรองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง ปี 2553)
คณะผู้วิจัย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสงหัวหน้าคณะวิจัย
2. นายสราวุธ เบญจกุล
3. นายเจษฎา อนุจารี
4. นายสุชาติ ขวัญเกื้อ
บทสรุป
หลักการ แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ได้ถูกพัฒนาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) เป็นต้นมาและเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย อัยการ ศาล ฯลฯ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ไปบางส่วนแล้วหรือกำลังเสนอร่างกฎหมายเพื่อรับรองการดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว แต่ในส่วนของ “ตำรวจ”ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและต้นธารที่สำคัญในกระบวนการยุติธรรมและเป็นองค์กรที่สัมผัสประชาชนโดยตรงในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันปราบปราม รวมทั้งการสืบสวนสอบสวนและทราบข้อมูลสภาพปัญหาในชุมชนนั้นๆดีที่สุด แต่ไม่ปรากฏวิธีการและขั้นตอนตามกฎหมายที่ชัดเจนจะนำมาใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้มาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนในการนำมาปฏิบัติได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 81 ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการอำนวยความยุติธรรม ไว้ว่า “ ( 1 ) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย” จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น อีกทั้งมุ่งให้มีการจัดระบบงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงนำหลักการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน เพื่อให้ระงับข้อพิพาททางอาญาระหว่างคู่กรณี เพื่อให้เป็นไปด้วยความชอบด้วยกฎหมาย ความยุติธรรม โปร่งใส สามารถถูกตรวจสอบได้ และที่ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันแก้ไขอาชญากรรมในระดับท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งจะเป็นร่วมกันเชิงสมานฉันท์ อันเป็นการลดความคลุมเครือและสงสัยของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและช่วยให้กระบวนการยุติธรรมของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวจะมีหลักการอยู่ที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความกัน เมื่อผู้กระทำความผิดสำนึกผิดและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นและไปตามหลักนิติสมบัติ (Rechtgut) หรือหลักคุณธรรมทางกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่กรณี ชุมชน และสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ อีกทั้งส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตามทฤษฎี “อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี” (Peacemaking criminology) ซึ่งเป็นกระบวนการค้ำชูผู้มีส่วนร่วมได้เสียในการกระทำความผิด ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อร่วมกัน ระบุชี้และจัดการความเสียหาย ความต้องการของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถฟื้นฟูเยียวยา (Restoration) ทำให้ความเสียหายกลับคืนได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ อันเป็นวิธีการที่เหมาะสมยิ่งกว่าหลักการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการแก้แค้นทดแทน (Retribution) ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ของการยุติธรรมแบบดั่งเดิม จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนเกิดขึ้นหรือไม่ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมแบบคู่ขนาน
จากผลการศึกษาวิจัยที่รับข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การประชุม สัมมนา และการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน มีข้อสรุปได้ดังนี้
1. ควรที่จะมีกฎหมายใหม่มารองรับเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นการเบี่ยงเบนคดีในคดีอาญาบางประเภทที่ไม่สมควรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) หรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ น่าจะเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุผลดังนี้
1) ทำให้ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความคดีที่พิพาทและไม่คิดที่จะไปแก้แค้นซึ่งกันและกัน หรือ กระทำการที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2) ผู้เสียหายได้รับความพึงพอใจ ได้รับการเยียวยาและได้รับค่าเสียหายด้วยความรวดเร็วทันที
3) เมื่อผู้กระทำความผิดสำนึกผิดและยินยอมปรับพฤติกรรมจะทำให้ลดความขัดแย้งในชุมชนและสังคม
4) สังคมจะเกิดการบูรณาการมีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
5) ลดระยะเวลา ลดปริมาณคดีขึ้นสู่อัยการและศาล ลดความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม ลดการทุจริตของเจ้าพนักงานและลดงบประมาณภาครัฐ
6) เป็นการรองรับการใช้กระบวนดารยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. ความผิดอาญาประเภทที่ควรนำมาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่กระทบกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ดังนี้
1) คดีอาญาอันยอมความได้
2) คดีลหุโทษ
3) การกระทำความผิดโดยประมาท ซึ่งรวมไปถึงการกระทำโดยประมาทในคดีจราจรด้วย
4) คดีอาญาอันยอมความมิได้ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
3. เมื่อมีการดำเนินการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ไม่ควรจะดำเนินการกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ควรให้เป็นเหตุอายุความในการดำเนินคดีอาญาสะดุดหยุดอยู่ เพื่อรอกระบวนการไกล่เกลี่ยว่าจะมีผลอย่างไร คือ ถ้าการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ก็ให้มีการดำเนินคดีต่อไป ให้เริ่มนับอายุความในการดำเนินคดีต่อจากเวลานั้น แต่ถ้าไกล่เกลี่ยสำเร็จและคู่กรณีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการไกล่เกลี่ย ให้ถือว่าสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
ส่วนคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย มีคำสั่งใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท (การไกล่เกลี่ย) คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการฟ้องและการผัดฟ้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและการพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วย และเมื่อผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวในชั้นพนักงานสอบสวนมิให้นำบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลาในมาตรา 113/1แห่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ
4. รูปแบบและองค์กรที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน แยกพิจารณาสรุปออก 2 ประเด็น คือ
1) รูปแบบที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน คือ รูปแบบการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-เหยื่อผู้กระทำความผิด (Victim-offenders Mediation (VOM)) เป็นวิธีการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-เหยื่อผู้กระทำความผิด ประกอบด้วย “การเผชิญหน้า” ระหว่างเหยื่ออาชญากรรมกับผู้กระทำความผิดซึ่งพนักงานคุมประพฤติหรือนักสังคมสงเคราะห์หรืออาสาสมัครอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและมีข้อสังเกตสำคัญที่ว่า ทั้งเหยื่ออาชญากรรมและผู้กระทำความผิดต้องพูดคุยทำความเข้าใจกันในโลกของความเป็นจริงและบนพื้นฐานของความสมเหตุสมผลของสองฝ่าย โดยพยายามขจัดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การไกล่เกลี่ยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้มีการเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมโดยการจัดเวทีที่ปลอดภัยและควบคุมได้ ให้พวกเขาได้พบปะพูดคุยกับผู้กระทำความผิดบนพื้นฐานของความสมัครใจ เปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดได้เรียนรู้ผลกระทบของอาชญากรรมที่มีต่อเหยื่ออาชญากรม และเข้ามาแสดงความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขาที่กระทำไป และให้โอกาสเหยื่ออาชญากรรมและผู้กระทำความผิดได้ร่วมกันพัฒนาและยอมรับแผนการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมนั้น รูปแบบรูปแบบการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-เหยื่อผู้กระทำความผิด (VOM) นิยมใช้กันมากในประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมัน ประเทศฝรั่งเศส ประเทศออสเตรีย ประเทศนอร์เวย์ และประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น
2) องค์กรที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท (การไกล่เกลี่ย) คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน แยกพิจารณาสรุปได้ 2 องค์กร คือ
(1) คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย ที่ประกอบด้วย
ก) หัวหน้าสถานีตำรวจ เป็นประธานกรรมการ
ข) ฝ่ายปกครอง ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีฝ่ายปกครองควรเข้าร่วมในคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยด้วย เนื่องจากฝ่ายปกครองมีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายปกครองควรจะเป็นตำแหน่งระดับใด ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เพราะถ้าเป็นนายอำเภอคงมีภาระหน้าที่งานมากคงไม่มีเวลาเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมอำนวยการไกล่เกลี่ยได้ เห็นควรที่จะปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ค) ผู้แทนประชาชนที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจ (กต.ตร.) ผู้วิจัยเห็นว่าควรเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนโดยตรง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวที่เปิดรับการมีส่วนร่วมของประชาชนย่อมเป็นกระบวนการที่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนผู้แทนประชาชนที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจ (กต.ตร.) แล้วในอนาคตเกิดมีการยกเลิกคณะกรรมการดังกล่าว จะเกิดปัญหาหรือไม่ ผู้วิจัยเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาสามารถแก้ไขกฎหมายได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ และคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยที่เหลืออยู่ก็ยังสามารถดำเนินงานต่อไปได้
ง) ผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนคดี ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานีตำรวจนั้นๆเป็นเลขานุการ เนื่องจากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนทราบรายละเอียดของเรื่องที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นอย่างดี และตำแหน่งดังกล่าวนี้ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวน จึงไม่ใช่ตำแหน่งที่ที่จะให้คุณให้โทษกับฝ่ายใด
(2) ผู้ไกล่เกลี่ย มีความเป็นกลาง ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความซื่อสัตย์ ผ่านการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ย ด คือ มีคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยและคุณสมบัติต้องห้าม ดังต่อไปนี้ก) คุณสมบัติของบุคคลที่จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ผู้วิจัยเห็นว่าคุณสมบัติของบุคคลที่จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและเห็นว่าผู้ไกล่เกลี่ยควรมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้(ก) มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง(ข) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ค) มีความซื่อสัตย์(ง) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ในประเด็นอายุของผู้ไกล่เกลี่ยนี้ผู้วิจัย เห็นว่า อายุ 35 ปี เป็นระดับอายุที่น่าจะมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือจากคู่กรณี
(จ) ผ่านการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ย เช่น หลักสูตรจิตวิทยาการไกล่เกลี่ย เทคนิคการไกล่เกลี่ย จริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย เป็นต้นข) ลักษณะคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ไกล่เกลี่ย ผู้วิจัยเห็นว่าบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้(ก) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ(ข) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกราชการไว้ก่อนตามระเบียบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น(ค) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(ง) เป็นบุคคลล้มละลาย(จ) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(ฉ) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ไล่ออก หรือปลดออก จากราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพราะกระทำความผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
(ช) เป็นผู้เคยต้องโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ
5. การที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ไม่ควรให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้เข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท (ไกล่เกลี่ย) คดีอาญา เห็นควรให้พนักงานสอบสวนทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นกรองข้อพิพาทในเบื้องต้น ว่าข้อพิพาทดังกล่าวเข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ของการไกล่เกลี่ยหรือไม่ แล้วนำเสนอให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยพิจารณาดำเนินการต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการให้พนักงานสอบสวน เข้าร่วมในกระบวนการไกล่เกลี่ยด้วยก็ควรเป็นพนักงานสอบสวนที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน
6. ขั้นตอนและการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน มีขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นตอนพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาดำเนินการ ว่าเข้าเงื่อนไขของการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนหรือไม่ ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข ก็ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ ถ้าเข้าเงื่อนไข ก็ให้ดำเนินการ ดังนี้ แจ้งสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนให้กับคู่กรณี ถ้าคู่กรณีไม่ยินยอมก็ให้ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ แต่คู่กรณียินยอมก็ให้ดำเนินการรวบพยานหลักฐานเบื้องต้นให้กับคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย ภายใน 7 วัน
2) ขั้นตอนคณะกรรมการไกล่เกลี่ย ให้คณะกรรมการไกล่เกลี่ยพิจารณา คือ เห็นควรให้ไกล่เกลี่ยหรือไม่ กรณีไม่เห็นควรก็ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ แต่ถ้าเห็นชอบให้มีกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยภายใน 3 วัน ซึ่งในกระบวนนี้ถือว่ากระบวนการดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาสะดุดหยุดอยู่
3) ผู้ไกล่เกลี่ย ให้ผู้ไกล่เกลี่ยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าไม่แล้วเสร็จให้ขยายเวลา ไปไม่เกิน 30 วัน ถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็ให้รายงานไปยังคณะกรรมอำนวยการไกล่เกลี่ยเพื่อส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติต่อไป แต่ถ้าสำเร็จให้รายงานไปยังคณะกรรมอำนวยการไกล่เกลี่ยเพื่อส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนชะลอการดำเนินคดีอาญา และกำหนดเงื่อนไขควบคุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ตามที่ตกลงไว้ในข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ โดยคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยเองหรือขอความร่วมมือให้ปกครองเป็นผู้ควบคุมความประพฤติ
4) ขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อตกลงของผู้กระทำความผิดให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยประสานขอความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ส่วนในเขตพื้นที่ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน คือ ในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร ก็ให้ประธานชุมชนตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551ซึ่งเป็นฝ่ายปกครองที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และที่สำคัญ คือ อยู่ใกล้ชิดกับผู้กระทำความผิดมากที่สุด น่าจะมีบทบาทในการควบคุมประพฤติผู้กระทำความผิดได้ดี
5) เมื่อผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขความประพฤติ ให้ฝ่ายปกครองรายงานต่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย เพื่อพนักงานสอบสวนทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องเสนอต่อพนักงานอัยการเห็นชอบ
6) พนักงานอัยการเห็นชอบการสั่งไม่ฟ้องก็ให้ถือว่าสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องนั้นระงับไป โดยเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดให้เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
7. การติดตามและการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนหลักการและแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท (การไกล่เกลี่ย) คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน คือ ต้องการเยียวยาผู้เสียหาย ให้ผู้กระทำความผิดได้สำนึกต่อการการกระทำผิด ยอมชดใช้เยียวยาให้แก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยอมรับและให้อภัยผู้กระทำความผิด แต่การที่ผู้กระทำความผิดได้สำนึกการกระทำความผิดนั้นต้องพิจารณาว่าการสำนึกของการกระทำความผิดนั้นอยู่ในระดับใด ถ้าถือว่าการกระทำความผิดได้ตกลงชดใช้เยียวยาผู้เสียหาย เสร็จสิ้น ถือว่าได้สำนึกแก่การกระทำความผิด คดีอาญาก็จะระงับ ผู้วิจัยเห็นว่าไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการและแนวคิดดังกล่าวข้างต้น จึงต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดต้องปฏิบัติ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงครบถ้วนแล้ว
เงื่อนไขในข้อตกลงนั้นคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อดังนี้
(1) ให้ไปรายงานตัวกับบุคคลที่คณะกรรมการอำนวยการมอบหมายโยประสานงานกับฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน ผู้ควบคุมความประพฤติ ตามเวลาที่กำหนดเพื่อจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควร
(2) จัดให้ผู้กระทำความผิด กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณะประโยชน์ตามที่คณะกรรมการไกล่เกลี่ยและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร
(3) ให้ฝึกหัดหรือทำอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
(4) ให้ละเว้นจากการคบหาสมาคม หรือประพฤติใดๆ อันอาจนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก
(5) ให้ไปรับบำบัดรักษาความบกพร่องของร่างกาย หรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น หรือให้ไปเข้ารับการอบรมในหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมหรือพัฒนาพฤตินิสัย ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่กำหนด
(6) เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดได้กระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก
ในการกำหนดเงื่อนไขการไกล่เกลี่ย หากมีความจำเป็นคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ หรือบุคคลที่เห็นว่าสำคัญและจำเป็น ร่วมหารือพิจารณาทำบันทึกข้อตกลงและกำหนดเงื่อนไขได้ตามความเหมาะสมแห่งคดี โดยคำนึงถึงความสงบสุข การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และพอสมควรแก่เหตุ
ซึ่งการไกล่เกลี่ยคดีอาญาจะไม่ตัดอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนต่อไปจนกว่าได้รับแจ้งว่าการไกล่เกลี่ยคดีอาญาเป็นผลสำเร็จและคู่กรณีได้ปฏิบัติตามข้อตกลงครบถ้วนสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องจึงจะระงับ
8. เมื่อมีการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนไม่สำเร็จ ไม่จะเป็นสาเหตุใดก็ตามก็ให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวรการยุติธรรมทางอาญาปกติต่อไป
จากข้อสรุปจากงานวิจัยการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน เพื่อให้ระงับข้อพิพาททางอาญาระหว่างคู่กรณี ในลักษณะของความชอบด้วยกฎหมาย มีความยุติธรรม ความโปร่งใส สามารถถูกตรวจสอบได้ และที่สำคัญประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันแก้ไขอาชญากรรมในระดับท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งจะเป็นร่วมกันเชิงสมานฉันท์ อันเป็นการลดความคลุมเครือและสงสัยของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและช่วยให้กระบวนการยุติธรรมของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปในลักษณะแบบ Win-Win ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการะบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวน ดังนี้
Win ที่ 1 เป็นประโยชน์แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการได้รับแก้ไขเยียวยา รวมทั้งการปรับสามัญสำนึกการให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิด
Win ที่ 2 เป็นประโยชน์กับผู้กระทำความผิดที่สำนึกในการกระทำความผิด การชดใช้ค่าเสียให้กับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายให้อภัยกับผู้กระทำความผิด
Win ที่ 3 ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ
Win ที่ 4 เป็นการส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
Win ที่ 5 เป็นการรองรับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
5.2 ข้อเสนอแนะ
จากการที่สรุปผลการวิจัยเห็นว่าควรมีร่างกฎหมายรองรับอำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท (การไกล่เกลี่ย) คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ผู้วิจัยจึงได้จัดทำร่างกฎหมายเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปดังนี้
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
พ.ศ. ......
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนเพื่อรองรับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เหตุผล
โดยที่สมควรให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวกับความผิดอันยอมความได้ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี ด้วยการกำหนดแนวทางการสมานฉันท์เพื่อการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทคดีอาญามาใช้ จะทำให้ผู้เสียหายและผู้ต้องหาได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความกัน เมื่อผู้ต้องหาสำนึกผิดและยินยอมปรับพฤติกรรม ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับการชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งจะเป็นผลดีต่อคู่กรณี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมของคู่กรณี ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และงบประมาณภาครัฐ และส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันอาชญากรรมเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
พ.ศ. …
………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 39 และมาตรา 81
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานพนักงานสอบสวน พ.ศ. ….”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“การไกล่เกลี่ย” หมายความว่า การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
“คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย” หมายถึง คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยสถานีตำรวจ
“ก.ต.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนที่ ก.ต.ช. ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีผู้เสียหาย
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงตามเสนอของ ก.ต.ช. เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
มาตรา ๖ เมื่อได้มีคำสั่งให้ใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาแล้ว ให้ถือเป็นเหตุอายุความในการดำเนินคดีอาญาสะดุดหยุดอยู่ และเมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป ให้เริ่มนับอายุความในการดำเนินคดีต่อจากเวลานั้น
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยและผู้ไกล่เกลี่ยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๘ ในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลจังหวัด เมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย มีคำสั่งให้ใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการฟ้องและการผัดฟ้อง ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับ
ในกรณีวรรคหนึ่งถ้าผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวนมิให้นำบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลา ในมาตรา ๑๑๓/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ
มาตรา ๙ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน คำรับสารภาพหรือข้อเท็จจริงใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
หมวด ๑
ความผิดที่ให้มีการไกล่เกลี่ย
________________________
มาตรา ๑๐ คดีอาญาดังต่อไปนี้ ให้คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอให้มีการไกล่เกลี่ยได้
(๑) คดีความผิดอันยอมความได้
(๒) คดีความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ
(๓) คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(๔) คดีความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๕ ปี
มาตรา ๑๑ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับในกรณีดังนี้
(๑) คดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้ร้องขอ และผู้ต้องหานั้นเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้กระทำผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังรับโทษอยู่หรือภายในเวลา ๕ ปีนับแต่วันพ้นโทษ เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๒) คดีที่ผู้ต้องหาที่ร้องขออยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาของพนักงานอัยการหรือศาลคดีอื่น หรืออยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอาญาในชั้นสอบสวน หรือคดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้ร้องขอระหว่างรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) คดีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จสิ้น และส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการแล้ว
(๔) คดีที่ ก.ต.ช. ประกาศกำหนดห้ามมิให้มีการไกล่เกลี่ย
หมวด ๒
ก.ต.ช. และคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย
______________________________
มาตรา ๑๒ ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
(๑) ออกระเบียบ ประกาศหรือมีมติเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
(๒) ออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและลงมติของคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย
(๓) กำหนดหลักสูตรผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน แต่งตั้ง ขึ้นทะเบียน หรือเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ก.ต.ช. กำหนด
(๔) ประกาศกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยและผู้ไกล่เกลี่ยโดยเบิกจ่ายจากกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย จำนวนสามคนประกอบด้วยหัวหน้าสถานีตำรวจ เป็นประธานกรรมการ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ผู้แทนประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับสถานีตำรวจเป็นกรรมการ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่หัวหน้าสถานีตำรวจมอบหมายเป็นเลขานุการ
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
(๑) พิจารณากลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเสนอ ก.ต.ช. พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและส่งไปอบรมหลักสูตรผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนตามที่ ก.ต.ช. กำหนดเพื่อแต่งตั้งและขึ้นทะเบียน
(๒) พิจารณาคำร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ย
(๓) พิจารณากำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยในแต่ละคดีที่เข้าหลักเกณฑ์ที่ทำการไกล่เกลี่ยได้ หรือเปลี่ยนตัวผู้ไกล่เกลี่ยตามคำร้องขอ
(๔) ตรวจสอบ ติดตามผล และรายงานผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ ในกรณีที่ไกล่เกลี่ยไม่ได้ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
(๕) พิจารณาและมีความเห็นเสนอให้ ก.ต.ช. เพิกถอนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ยออกจากทะเบียน
(๖) หน้าที่อื่นๆ ตามที่ ก.ต.ช. กำหนด
หมวด ๓
คุณสมบัติ การพ้นสภาพ อำนาจและหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย
__________________________________
มาตรา ๑๕ ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันแต่งตั้ง
(๓) เป็นผู้ที่มีความซื้อสัตย์ สุจริต ประกอบอาชีพไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม
(๔) เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนได้รับการแต่งตั้งและขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
มาตรา ๑๖ บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
(๒) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
(๓) เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ไล่ออก หรือปลดออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพราะกระทำความผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
(๕) เป็นผู้เคยต้องโทษฐานประพฤติผิดมรรยาทองค์กรวิชาชีพตามที่กฎหมายรับรอง
(๖) เป็นผู้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต หรือมีส่วนได้เสียในการไกล่เกลี่ยนั้น
(๗) เป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๗ ผู้ไกล่เกลี่ยพ้นสภาพจากการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยดังนี้
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๕ ไม่ว่าการขาดคุณสมบัตินั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
(๔) เป็นผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
(๕) ถูกเพิกถอนรายชื่อเป็นผู้ไกล่เกลี่ยออกจากทะเบียน
มาตรา ๑๘ ผู้ไกล่เกลี่ยดังต่อไปนี้จะทำการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนไม่ได้
(๑) เป็นคู่กรณีเอง หรือมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยทางอ้อม
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณียินยอม
(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดหรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้นหรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น เว้นแต่คู่กรณียินยอม
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้าง ลูกจ้างของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณียินยอม
(๖) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานสอบสวนที่ได้ทำสำนวนการสอบสวนในคดีไกล่เกลี่ยนั้นๆ
(๗) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๙ ผู้ไกล่เกลี่ยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ตามที่คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมอบหมาย
(๒) บันทึกข้อตกลงและกำหนดเงื่อนไขประกอบข้อตกลงในเรื่องการเยียวยาความเสียหายของคู่กรณี
(๓) รายงานผลการไกล่เกลี่ยไปยังประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย
หมวด ๔
กระบวนการและขั้นตอนในการไกล่เกลี่ย
___________________________________
มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิให้คู่กรณีทราบในโอกาสแรกว่าคู่กรณีมีสิทธิได้รับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน
เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดร้องขอให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวน บันทึกคำร้องและสอบถามไปยังอีกฝ่ายหนึ่งว่ายินยอมหรือไม่โดยพลัน
ในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้คำยินยอมให้พนักงานสอบสวนเสนอคำร้องและบันทึกคำยินยอมดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยเพื่อมีความเห็นว่าควรใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย
มาตรา ๒๑ ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีไว้จนกว่าจะได้รับผลการแจ้งผลการไกล่เกลี่ยจากประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย
มาตรา ๒๒ ให้พนักงานสอบสวนพิจารณารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิตนิสัย อาชีพ ฐานะ สิ่งแวดล้อมของผู้ต้องหา พฤติการณ์แห่งคดี การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ความยินยอมของผู้เสียหาย ความจำเป็นตามหลักอาชญาวิทยา และทัณฑวิทยาตลอดจนเหตุผลอื่นๆ อันสมควรเห็นว่าเพียงพอแก่การพิจารณาการไกล่เกลี่ย
ให้พนักงานสอบสวนส่งข้อมูลตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย ภายใน ๗ วัน นับแต่ได้ส่งคำร้องขอไกล่เกลี่ยไปยังคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยเพื่อพิจารณาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
มาตรา ๒๓ ให้เมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีคำสั่งให้ใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาและให้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็วและแจ้งให้คู่กรณีทราบต่อไปโดยเร็ว
การแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมและจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ เพื่อดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน เป็นอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
มาตรา ๒๕ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยกำหนดนัดไกล่เกลี่ยคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลา ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและแจ้งให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องทราบ
มาตรา ๒๖ การไกล่เกลี่ยคดีอาญาให้กระทำเป็นการเปิดเผย เว้นแต่คู่กรณีประสงค์ให้กระทำเป็นการลับ โดยคู่กรณีต้องเข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาด้วยตนเอง
มาตรา ๒๗ ก่อนเริ่มต้นการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องอธิบายให้คู่กรณีทราบถึง ลักษณะของการไกล่เกลี่ย กระบวนการและผลทางกฎหมายในการไกล่เกลี่ยและสิทธิในการที่จะยุติหรือยกเลิกการไกล่เกลี่ยไม่ว่าในเวลาใดๆ
มาตรา ๒๘ การไกล่เกลี่ยคดีอาญาให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีมติให้มีการไกล่เกลี่ย ในกรณีที่มีเหตุอันควรหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีโอกาสที่คู่กรณีจะสามารถตกลงกันได้ ผู้ไกล่เกลี่ยอาจร้องขอให้มีการขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน ๓๐ วัน
มาตรา ๒๙ คดีที่ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถไกล่เกลี่ยคู่กรณีให้ตกลงกันได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ย บันทึกข้อตกลงและกำหนดเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยดังกล่าวให้ผู้ต้องหา ผู้เสียหายและผู้ไกล่เกลี่ยลงลายมือชื่อไว้ และส่งบันทึกดังกล่าวไปยังประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย เมื่อผู้ต้องหาปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยเสร็จสิ้น ส่งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิด รวมเข้าสำนวนพร้อมทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเสนอพนักงานอัยการเพื่อมีความเห็นชอบต่อไป
คดีที่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถทำให้คู่กรณีตกลงยุติคดีได้ภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยบันทึกผลการไกล่เกลี่ยและแจ้งผลการดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยทราบ ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
กรณีผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยตามบันทึกข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีหนังสือแจ้งให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไข ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยส่งคดีให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีต่อไป
กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพนักงานอัยการเห็นชอบสั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๐ กรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ หรือเหตุอื่นใด เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาไม่อาจปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขได้ อันมิได้เกิดจากความผิดผู้ต้องหา ให้ผู้ต้องหาแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยทราบ เพื่อพิจารณาผลการปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไข เมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยเห็นว่าผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขการไกล่เกลี่ยไปมากพอสมควรแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสรุปสำนวนพร้อมทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเสนอพนักงานอัยการ เพื่อมีความเห็นชอบต่อไป
มาตรา ๓๑ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน กรณีที่พนักงานอัยการไม่เห็นชอบตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้พนักงานอัยการระบุเหตุที่ไม่เห็นชอบพร้อมคำแนะนำ เสนออัยการสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือในกรณีต่างจังหวัดให้เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณามีความเห็นและแจ้งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบ
ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน ทำตามคำแนะนำของอัยการสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๒ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติการไกล่เกลี่ย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(๑) คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเลิกความตกลงที่จะทำการไกล่เกลี่ย
(๒) มีเหตุอันควรสงสัยว่าความตกลงนั้นมิได้เป็นไปด้วยความสมัครใจ
(๓) มีเหตุอันควรสงสัยว่าคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเข้าใจความหมายของการ ไกล่เกลี่ย และผลที่จะได้รับจากการไกล่เกลี่ย
(๔) การดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไปเห็นได้ชัดว่าจะเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามรถ
(๕) คู่กรณีไม่สามารถเจรจาเพื่อตกลงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือไม่อาจเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
(๖) เมื่อพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๒๘
ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรายงานให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย ทราบถึงการยุติการไกล่เกลี่ยตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว
มาตรา ๓๓ เมื่อได้รับรายงานการยุติการไกล่เกลี่ยให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาต่อไป
หมวด ๕
ผลของการไกล่เกลี่ย
___________________________
มาตรา ๓๔ เมื่อคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีคำสั่งให้ทำการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้ จนกว่าประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยจะมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ถ้าผู้เสียหายนั้นฟ้องคดีอยู่ก่อนแล้วให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย
มาตรา ๓๕ ถ้าความปรากฏแก่คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยว่าผู้ต้องหาจงใจไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยไม่มีเหตุอันควร ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องด้วยตนเอง
มาตรา ๓๖ ถ้าข้อตกลงการไกล่เกลี่ยคดีอาญา กำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดต้องปฏิบัติ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงครบถ้วนแล้ว เว้นแต่ข้อตกลงในทางแพ่งเมื่อได้มีการตกลงกันเรียบร้อยถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
เงื่อนไขในข้อตกลงคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อดังนี้
(๑) ให้ไปรายงานตัวกับบุคคลที่คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยมอบหมายให้ควบคุมความประพฤติ ตามเวลาที่กำหนดเพื่อจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควร
(๒) จัดให้ผู้ต้องหา กระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณะประโยชน์ตามที่คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยและผู้ต้องหาเห็นสมควร
(๓) ให้ฝึกหัดหรือทำอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
(๔) ให้ละเว้นจากการคบหาสมาคม หรือประพฤติใดๆ อันอาจนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก
(๕) ให้ไปรับบำบัดรักษาความบกพร่องของร่างกาย หรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น หรือให้ไปเข้ารับการอบรมในหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมหรือพัฒนาพฤตินิสัย ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่กำหนด
(๖) เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้ผู้ต้องหากระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก
ในการกำหนดเงื่อนไขการไกล่เกลี่ย หากมีความจำเป็นคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ หรือบุคคลที่เห็นว่าสำคัญและจำเป็น ร่วมหารือพิจารณาทำบันทึกข้อตกลงและกำหนดเงื่อนไขได้ตามความเหมาะสมแห่งคดี โดยคำนึงถึงความสงบสุข การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และพอสมควรแก่เหตุ
หมวด ๖
ค่าตอบแทนของคณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ยและผู้ไกล่เกลี่ย
_______________________________
มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการอำนวยการไกล่เกลี่ย และผู้ไกล่เกลี่ยได้รับค่าตอบแทนตาม ก.ต.ช. กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายจากกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๘ หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนการเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตาม ก.ต.ช. กำหนด
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
...........................................
นายกรัฐมนตรี
คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล หมายถึงสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล
1.บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ทั้งปวงไม่จำกัดเพศ อายุ ฐานะ สติปัญญาและสภาพร่างกาย ซึ่งถือว่าล้วนแล้วแต่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายด้วยทั้งสิ้น สิ่งที่เราต้องศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ในการศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 15 ถึงมาตรา 67 มีดังนี้
1.1 สภาพบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดสภาพบุคคลธรรมดา รวมทั้งการกำหนดสิทธิทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาไว้ดังนี้
1.1.1 การเริ่มต้นสภาพบุคคล
บุคคลคนธรรมดามีสภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เมื่อพิจารณาถึงสภาพบุคคลนั้นย่อมเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อคลอดและมีการอยู่รอดเป็นทารกนั่นเอง หรืออาจแยกเป็นองค์ประกอบได้ว่า การเริ่มต้นสภาพบุคคล นั้นต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.มีการคลอด ซึ่งการคลอดนั้น คือ การที่ทารกได้พ้นออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอวัยวะส่วนใดเหลือติดอยู่ ส่วนจะมีการตัดสายสะดือ (รก) หรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ
ข้อสังเกต ในกรณีที่มีการผ่าท้องเอาทารกออกมาตามหลักวิชาวิชาแพทย์ ก็ถือว่าเป็นการคลอดตามความหมายนี้เช่นกัน
2.มีการอยู่รอดเป็นทารก คือ ต้องปรากฏว่าทารกที่คลอดมานั้นมีการหายใจด้วย จึงจะถือได้ว่าทารกนั้นมีสภาพเป็นบุคคลแล้ว ซึ่งการหายใจของทารกนั้นอาจจะเป็นการหายใจด้วยตนเองหรือการช่วยเหลือของแพทย์ก็ได้ และไม่ว่าการหายใจนั้นจะมีระยะเวลานานเพียงใดก็ตาม ก็จัดได้ว่ามีการอยู่รอดเป็นทารกและมีสภาพบุคคลแล้ว
แต่ถ้าเมื่อทารกที่คลอดออกมาไม่มีการหายใจ คือ ได้ตายไปก่อนแล้ว ซึ่งอาจจะตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหรือตายในขณะคลอดก็ตาม ดังนั้นทารกนั้นย่อมไม่มีสภาพบุคคลและไม่มีสิทธิๆใด ตามกฎหมายทั้งสิ้น
1.1.2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา
สิทธิของทารกในครรภ์มารดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 วรรค 2 ว่า “ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดทารก”
ตามปกติเมื่อสภาพบุคคลแล้ว บุคคลนั้นอาจถือสิทธิได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย แต่อย่างไรในมาตรา 15 วรรค 2 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธินั้นเป็นสิทธิเกี่ยวกับอะไรบ้าง จึงเห็นได้ว่าสิทธิที่ทารกในครรภ์มารดาจะได้รับเมื่อเกิดมาอยู่รอด อาจเป็นสิทธิเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่ทารก กฎหมายก็ยอมให้เด็กได้รับสิทธินั้น เช่น
1.สิทธิในการรับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 ได้กำหนดไว้ว่า
“บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน 310 วัน นับแต่วันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
เมื่อพิจารณาถึงทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาในขณะที่เจ้ามรดก คือ บิดาของทารกถึงแก่ความตาย ถ้าทารกได้เกิดมามารอดอยู่ภายใน 310 วัน นับแต่เจ้ามรดก คือ บิดาตาย ให้ทารกนั้นมีสิทธิที่จะเป็นทายาทหรือได้รับมรดกได้”
ตัวอย่าง นายสมศักดิ์ มีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ นางสมศรี มีบุตร 1 คน คือ เด็กชายสมปอง และนางสมศรีได้ตั้งท้องบุตร อีก 1 คน ได้ 2 เดือน ต่อมานายสมศักดิ์ได้ถึงแก่ความตาย หลังจากนายสมศักดิ์ตายได้ 7 เดือน นางสมศรีได้คลอดบุตรอีก 1 คนชื่อ เด็กชายสมชาย ดังนั้นมรดกของนายสมศักดิ์ตกแก่ใครบ้าง (ในกรณีนี้นายสมศักดิ์ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้)
เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคแรก ได้กำหนดว่า “เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” มาตรา 1629 ได้กำหนดทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังได้แก่ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา รวมทั้งคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม และมาตรา 1635 (1) ได้กำหนดไว้ว่า ได้กำหนดให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร แล้วจะเห็นว่ามรดกของนายสมศักดิ์ย่อมตกแก่นางสมศรีและเด็กชายสมปองคนละครึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมาตรา 1604 ได้กำหนดถึงสิทธิของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งเกิดภายใน 310 วัน แล้วรอดอยู่นับแต่เจ้ามรดกตาย จึงทำให้เด็กชายสมชายย่อมมีสิทธิในมรดกของนายสมศักดิ์ซึ่งเป็นบิดาด้วย
ดังนั้นกองมรดกนายสมศักดิ์จึงต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วนๆ ละเท่าๆกันและตกเป็นของนางสมศรี เด็กชายสมปองและเด็กชายสมชาย คนละส่วน ตามมาตรา 1633 ที่ได้กำหนดว่า ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ในลำดับหนึ่งๆชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
ข้อสังเกต ตามตัวอย่างข้างต้นถ้าปรากฏว่าเด็กชายสมชายได้คลอดออกมาเพียง 1 ชั่วโมงก็ตายไป ดังนี้ถือว่าเด็กชายสมชายมีสภาพบุคคลแล้ว ย่อมมีสิทธิรับมรดก เมื่อเด็กชายสมปองตายไป มรดกของเด็กชายสมชายจึงตกกับนางสมศรีผู้เป็นมารดาแต่เพียงผู้เดียว เด็กชายสมปองซึ่งเป็นพี่ชายเด็กชายสมชายไม่มีสิทธิได้รับมรดกได้รับมรดกเด็กชายสมชาย เพราะเป็นทายาทลำดับที่ (3) ย่อมถูกตัดตามมาตรา 1630 ที่กำหนดไว้ว่า ตราบใดที่มีทายาทยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
2.สิทธิในครอบครัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้กำหนดว่า “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย หรือภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีแล้วแต่กรณี”
เมื่อพิจารณามาตราดังกล่าวข้างต้น เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการหาตัวบิดาของเด็กเมื่อมีเหตุการณ์ว่าหญิงคลอดบุตรมา แต่ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นบิดาของเด็ก นับแต่ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นบิดาของเด็ก กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ถ้าเด็กเกิดมาในขณะเป็นภริยาชายอยู่ ชายนั้นย่อมเป็นบิดาของเด็ก หรือถ้าเด็กเกิดมาภายใน 310 นับแต่วันขาดการสมรส ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าชายซึ่งเคยเป็นสามีของมารดาเด็กนั้น
3.สิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อขาดไร้อุปการะนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อปรากฏว่ามีบุคคลใดมาทำให้บิดาหรือมารดาของทารกนั้นถึงแก่ความตาย และทำให้ทารกนั้นต้องขาดไร้ซึ่งอุปการะ ทารกก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้บุคคลนั้นผู้ละเมิดนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว
ตัวอย่าง เอกมีภริยาชอบด้วยกฎหมาย คือ โท มีบุตร คน 1 คน คือ ตรี เมื่อขณะที่โทท้องได้ 6 เดือน ทวิได้ขับรถมอเตอร์ไซค์ ชนเอกถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 3 โท คลอดบุตรชื่อ จัตวา การฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากการที่ทวิได้ทำให้เอกตายลงนั้น ใครเรียกได้บ้าง กรณีนี้จะเห็นว่าคนที่ฟ้องเรียกร้องได้ คือ โท ตรี และจัตวา เพราะถือว่าการที่เอกตายนั้นทำให้ทั้งสามคนต้องขาดคนอุปการะเลี้ยงดู
ในประเด็นตามตัวอย่างข้างต้นถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า เอกมีภริยาน้อย 1 คน ชื่อ น้อยและมีบุตร อีก 1 คน ชื่อ อุ้มบุญ โดยเอกได้รับรองว่าเป็นบุตรตนและอุปการะเลี้ยงดูมาตลอด น้อยและอุ้มบุตรได้รับค่าขาดไร้อุปการะหรือไม่ ในประเด็นนี้น้อยและอุ้มบุญไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากทวิได้ เพราะทั้งสองมิได้เป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแต่อย่างใด
1.1.3 วันเกิด
โดยปกติเมื่อบุคคลได้เกิดออกมาแล้วก็ย่อมได้ทราบว่าบุคคลนั้นได้เกิด วัน เดือน ปีอะไร และทำให้ทราบได้ว่าบุคคลนั้นมีอายุเท่าใด เพราะการทราบอายุของบุคคลนั้นมีความสำคัญมาก เพราะอาจเป็นกรรีเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในทางกฎหมาย เช่น สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในทางกฎหมายแพ่ง บุคคลมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ย่อมพ้นผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์อายุ 15 ปี บริบูรณ์อาจทำพินัยกรรมได้ บุคคลมีอายุไม่ตำกว่า 25 ปีจะรับบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี เป็นต้น
ข้อสังเกต มีบางกรณีที่เป็นไปได้ว่า บุคคลที่เกิดมาแล้วอาจจะไม่ทราบว่าบุคคลนั้นได้เกิด วัน เดือน ปี อะไร ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว กฎหมายแพ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
1.การนับอายุบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดวันแรก โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลนั้นนั้นจะเกิดในเวลาใด เช่น นายสิทธิกร เกิดวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2518 การนับอายุของนายสิทธิกรให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2518เป็นวันแรก มิใช่นับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2518 เป็นวันแรก เป็นต้น
2.ในกรณีที่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 ของเดือนนั้น เช่น นายสิทธิกร เกิดเดือนตุลาคม พ.ศ.2518 แต่ไม่รู้ว่าเกิดวันที่เท่าใด ให้ถือว่านายสิทธิกร เกิดวันที่ 1 ตุลามคม พ.ศ. 2518 เป็นต้น
3.ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดวันและเดือนใดให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด เช่น ไม่ทราบว่านายสิทธิกรเกิดวันที่และเดือนอะไร ทราบแต่ว่าเกิดในปี พ.ศ. 2518 ดังนี้ให้ถือว่านายสิทธิกร เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2518 เป็นต้น
1.2.ความสามารถของบุคคล
ความสามารถของบุคคล หมายความถึง ความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิตามกฎหมายที่มีกฎหมายรับรองไว้ว่าผู้นั้นจะใช้สิทธิได้ตามลำพังตนเองหรือถูกจำกัดในการใช้สิทธิเพราะเป็นผู้หย่อนความสามารถ ผู้หย่อนความสามารถ ได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจใช้สิทธิได้ตามปกติ เช่นบุคคลทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ
1.2.1 ผู้เยาว์
ผู้เยาว์ได้แก่ ผู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสโดยการจดทะเบียน เมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี โดยได้รับการยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุ 17 ปี ก็จะหลุดพ้นการเป็นผู้หย่อนความสามารถ
1. ความสามารถของผู้เยาว์ ในทางกฎหมายผู้เยาว์จะกระทำการใดได้ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ดูแลจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้มีอำนาจ หน้าที่ในการทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม เว้นแต่ในบางกรณีอำนาจปกครองอาจจะอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ ถ้าเป็นกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(1)มารดาหรือบิดาตาย
(2)ไม่แน่ว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3)มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ
(4)มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5)ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6)บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
(7)อำนาจปกครองอยู่กับมารดา ในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายและยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา
(8)เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น อำนาจปกครองที่มีต่อบุตรผู้เยาว์อยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
2) ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดามารดาของผู้เยาว์ แต่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครองผู้เยาว์จะมีผู้ปกครองก็ต่อเมื่อไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เช่นเดียวกับบิดามารดา
ข้อสังเกต บุคคลใดจะเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ได้นั้นจะต้องเข้ามาโดยกรณีใดกรณีหนึ่งได้แก่
1.เข้ามาโดยศาลตั้งขึ้น เมื่อญาติของผู้เยาว์หรือัยการร้องขอ เมื่อเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
1)เมื่อผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา คือ ไม่ปรากฏตัวบิดามารดาว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรนั่นเอง
2)ผู้เยาว์มีบิดามารดา แต่ได้ตายไปแล้วทั้งสอง
3)ผู้เยาว์มีบิดามารดา ซึ่งยังมีชีวิตอยู่แต่บิดามารดานั้นถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว
2.เข้ามาโดยพินัยกรรมของบิดาหรือมารดาทีหลังระบุไว้ หมายความว่า เป็นกรณีที่บิดาหรือมารดาของผู้เยาว์ซึ่งได้ถึงแก่ความตายทีหลังนั้นได้ทำพินัยกรรไว้ และในพินัยกรรมก็ได้ระบุตัวบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ไว้แล้วว่าเป็นใคร ซึ่งมีผลทำให้บุคคลนั้นเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ต่อไป แต่ถ้าบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังมิได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ในพินัยกรรมไม่ได้ระบุให้ใครเป็นผู้ปกครอง ดังนี้บุคคลใดจะเข้ามาเป็นผู้ปกครองได้ก็ต้องอาศัยคำสั่งของศาลเท่านั้น
2. การทำนิติกรรมนิติกรรมของผู้เยาว์ แยกออกได้ 2 หลัก คือ หลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ กับข้อยกเว้นจากลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ดังนี้
1) หลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เช่น การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี (ถ้าทำอายุต่ำกว่า15 ปีนับเป็นโมฆะ) การทำนิติกรรมอันสมควรแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพเป็นต้น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำเองไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโมฆียะ บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมีอำนาจบอกล้างได้ ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะไม่มีผลในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการบอกล้างนิติกรรมนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์มาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต
ข้อสังเกต ผลของการทำนิติกรรมของผู้เยาว์โดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คำว่า โมฆียะ นั้นต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับ โมฆะ ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางกฎหมาย
โมฆะกรรม คือ นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายและไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ คู่กรณียังคงอยู่ในบานะเดิมเสมือนว่ามิได้เข้าทำนิติกรรมแต่ประการใด
โมฆียกรรม คือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลในกฎหมายผูกพันกันได้ แต่เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ อาจถูกบอกล้างทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ หรืออาจได้รับการให้สัตยาบันทำให้นิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ แล้วแต่กรณี
2) ข้อยกเว้นจากลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ถ้านิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยลำพังไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งแยกออกได้ 3 ประเภทได้แก่
(1) นิติกรรมกรรมที่เป็นคุณแก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว แยกได้ 2 กรณี นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น การรับทรัพย์สินโดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นต้น กับนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น การที่ผู้เยาว์เป็นหนี้และมีการปลดหนี้ให้ผู้เยาว์เป็นต้น
(2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เป็นนิติกรรมที่ผู้อื่นทำการแทนไม่ได้ ผู้เยาว์ต้องทำเองมีได้ดังต่อไปนี้ คือ การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
การรับรองบุตร การเพิกถอนการสมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่
(2) นิติกรรมที่เป็นเพื่อการดำรงชีพของผู้เยาว์ อยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องเป็นนิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพจริงๆอันขาดเสียไม่ได้ เช่น ซื้ออาหารกิน เป็นต้น นิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพยังต้องสมแก่ฐานานุรูป (เป็นไปตามฐานะครอบครัวของผู้เยาว์)
1.2.2 คนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตหรือคนบ้าที่มีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ทำให้มีผลในกฎหมายคือไม่สามารถทำนิติกรรมใดได้เลย ถ้าทำลงไปเป็นโมฆียะ บุคคลไร้ความสามารถต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลหรือทำนิติกรรมแทน เป็นผู้ปกครองดูแลอุปการะเลี้ยงดูบุคคลไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเป็นคนไร้ความสามารถได้นั้นจะต้องมีคำสั่งของศาลเสมอ แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.หลักเกณฑ์ของการเป็นคนไร้ความสามารถ การเป็นคนไร้ความสามารถนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1)เป็นคนวิกลจริต หมายถึง เป็นคนที่สมองพิการ คือ จิตไม่ปกติหรือบุคคลที่มีกิริยาอาการไม่ปกติเพราะสติวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบหรืออาจจะหมายความรวมถึงเจ็บป่วยที่มีกิริยาอาการผิดปกติจนถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใดๆทั้งสิ้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ข้อนี้ต้องเป็นไปอย่างมากและต้องเป็นประจำด้วย
2) ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เพราะหากไม่มีคำสั่งของศาล คนวิกลจริตนั้นก็จะไม่เป็นคนไร้ความสามารถที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ และเมื่อศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถ ผลการเป็นคนไร้ความสามารถเริ่มวันที่ศาลสั่ง
2.ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ แยกออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ คู่สมรสของคนวิกลจริต ผู้บุพการีของคนวิกลจริต ผู้สืบสันดานของคนวิกลจริต
ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ พนักงานอัยการ
3.ผลของการเป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลวิกลจริตซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล แยกอธิบายได้ดังนี้
1)บุคคลซึ่งเป็นผู้อนุบาล แยกออกได้หลายกรณี คือ
(1) กรณีที่บุตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาล
(2) ในกรณีที่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและไม่มีคู่สมรส ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา เป็นผู้อนุบาล
(3) ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อมีผู้ส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอและถ้ามีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้
2) อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล นั้นแยกออกได้เป็นกรณีไป ดังนี้
(1) ถ้าเป็นคนไร้ความสามารถเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะ แต่ยังไม่มีคู่สมรส มีบิดามารดาเป็นผู้อนุบาล มีอำนาจและหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ แต่ถ้าบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามาตรา 1567 (2)และ(3)
(2) ถ้าคนไร้ความสามารถเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะที่ยังไม่มีคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาล มีอำนาจและหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามาตรา 1567 (2)และ(3) ไม่ได้
(3) ถ้าคนไร้ความสามารถมีคู่สมรสและคู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ใช้อำนาจปกครองมาบังคับ เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2)และ(3)
คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลให้เป็นไร้ความสามารถ มีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว ตาการจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 วรรค 1 จะจัดการได้ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
(4) ถ้าคนไร้ความสามารถมีคู่สมรสมีคู่สมรสและคู่สมรสไม่ได้เป็นผู้อนุบาล ศาลตั้งบิดาหรือมารดาหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล ให้ผู้อนุบาลจัดการสินสมรสร่วมกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
4.การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ การกระทำนิติกรรมใดๆของบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลงไป การกระทำนั้นเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต
1)กรณีที่คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมนั้นจะขอความยินยอมจากผู้อนุบาลเพื่อทำนิติกรรมนั้นสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะผู้อนุบาลมีหน้าที่แต่เฉพาะกิจการแทนคนไร้ความสามารถเท่านั้น
2)ในเรื่องการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถนั้น กฎหมายมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่อนุญาตให้คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมได้โดยลำพัง ดังนั้นคนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรมใดๆย่อมเป็นโมฆียะทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่านิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่เป็นนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่คนไร้ความสมารถฝ่ายเดียวหรือนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถต้องทำเองเฉพาะตัวแต่อย่างใด
3)การทำพินัยกรรมของคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ
4)การสมรสของคนไร้ความสามารถ เป็นโมฆะ
5.การสิ้นสุดของการเป็นคนไร้ความสามารถ ย่อมสิ้นสุดลงได้ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้คนไร้ความสามารถนั้น เพราะเหตุที่ทำให้คนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดลงและเมื่อบุคคลนั้นเองหรือบุคคลใดๆที่มีส่วนได้เสีย ร้องขอต่อศาล ซึ่งคำสั่งนั้นของศาลดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6.คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยปกติสามารถนิติกรรมใดๆได้สมบูรณ์ทั้งสิ้น เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ
1) นิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ กล่าวคือ ในขณะทำนิติกรรมนั้นผู้ทำนิติกรรมจริตวิกลไม่รู้สึกผิดชอบนั่นเอง
2) คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำนิติกรรมเป็นคนวิกลจริต คือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทำนิติกรรมเป็นคนวิกลจริต
ข้อสังเกต การสมรสในกรณีที่ผู้นั้นวิกลจริตหรือผู้นั้นถูกศาลสั่งให้เป็นคนรึความสามารถย่อมเป็นโมฆะทั้งสองอย่าง
1.2.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่มีความบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องจัดอยู่ในการในความพิทักษ์
1.หลักเกณฑ์การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มีดังนี้ คือ
1) ต้องมีเหตุบกพร่อง อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(1) กายพิการ คือ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งได้ขาดไปหรือไม่สมประกอบ ซึ่งอาจจะเกิดแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ขา แขนชาดหรือเป็นอัมพาตง่อยเปลี้ยเสียขา เป็นต้น
(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คือ จิตไม่ปกติ เป็นโรคจิตแต่ไม่ถึงกับวิกลจริต คือ มีเวลาที่รู้สึกตัว มีสติรู้สึกผิดชอบธรรมดา แต่บางครั้งก็เลอะเลือนไปบ้าง
(3) ติดสุรายาเมา คือ คนที่เสพสุราหรือมึนเมาต่างๆ เมื่อเสพไปแล้วก็ต้องเสพเป็นนิจ ซึ่งขาดเสียมิได้
(4) ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ คือ คนที่มีนิสัยใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างไม่มีประโยชน์เกินกว่ารายได้ที่ได้รับและเป็นอาจิณคือประจำ
(5)มีเหตุอื่นใดในทำนองเดียวกันนั้น
2) บุคคลนั้นไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะเหตุบกพร่องนั้น
3)ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ กล่าวคือ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลนั้นก็ยังไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นอย่างบุคคลธรรมดาทั่วไป และเมื่อศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนรึความสามารถแล้ว การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง ไม่ใช่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2.ผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มีดังต่อไปนี้
1)การจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ บุคคลที่จะเป็นผู้พิทักษ์นั้นให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการแต่งตั้งผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ ส่วนอำนาจหน้าที่ของผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถต้องให้คนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมต่างๆด้วยตนเอง
2) การทำนิติกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถ สามารถทำเองได้ แต่มีบางกิจการบางอย่างนั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) นำทรัพย์สินไปลงทุน
(2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงิน หรือทุนอย่างอื่น
(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
(4)รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
(5) เช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี
(6)ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
(9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่
(10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ เว้นแต่การร้องขอตามตรา 35หรือการ้องขอถอนผู้พิทักษ์
(11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนหรือครอบครัว ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลัง ศาลมีคำสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจะทำการนั้นได้
ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ (คำสั่งศาลต้องประกาศในราชกิจานุเบกษา) ในกรณีเช่นนี้ให้นำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าการกระทำดังกล่าวลงโดยฝืนไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ การนั้นเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต ในเรื่องการทำพินัยกรรมและการสมรส ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้
1.3 ภูมิลำเนาของบุคคล
ภูมิลำเนาของบุคคล ภูมิลำเนา ได้แก่ การที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นสำคัญ การมีภูมิลำเนามีประโยชน์ต่อบุคคล เช่นการมีสิทธิหรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ การเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การส่งหมายเรียก การฟ้องคดี เป็นต้น สำหรับบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้หย่อนความสารถมีภูมิลำเนา คือ
1.ผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
2.คนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
3.คนเสมือนไร้ความสามารถมีภูมิลำเนาของตนเองต่างหากจากผู้พิทักษ์ สามีและภรรยา ได้แก่ การที่สามีและภรรยาอยู่กันด้วยกันฉันสามีภรรยาเว้นแต่ สามีหรือภรรยา ได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่าภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
4.ข้าราชการ ได้แก่ถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
5.ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
1.4 การสิ้นสภาพบุคคล
การสิ้นสภาพบุคคล ตามกฎหมายแพ่ง บุคคลสิ้นสภาพบุคคลมีได้ 2 ลักษณะ คือ การตายโดยธรรมชาติกับการตายโดยกฎหมาย คือ สาบสูญ
1.4.1 ตายโดยธรรมชาติ
ตายโดยธรรมชาติ คือ การที่บุคคลตายโดยไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นย่อมสิ้นสุดลงด้วย และจะตกทอดไปสู่ทายาทผู้รับมรดกตั้งแต่บุคคลนั้นตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ รวมทั้งถ้าบุคคลที่ตายไปมีคู่สมรส ก็ย่อมทำให้การสมรสสิ้นสุดลงด้วย
ข้อสังเกต ในเรื่องของการตาย คือ วันตาย ซึ่งการทราบถึงวันตายของบุคคลนั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องการรับมรดกของทายาทผู้ตาย เป็นต้น ในบางกรณีอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้ามีบุคคลหลายคนถึงแก่ความตายพร้อมกันในเหตุภยันตรายร่วมกันและไม่ทราบว่าใครตายก่อนหลัง กฎหมายให้ถือว่าตายพร้อมกัน
1.4.2 ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ
ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ คือ การที่บุคคลหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ การสาบสูญนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนด ไว้ 2 ระยะ คือ
1.ระยะเวลาที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นเพียงผู้ไม่อยู่ เป็นระยะเวลาที่บุคคลนั้นได้หายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ส่งข่าวคราว และไม่มีผู้ใดพบเห็นเลย ดังนี้ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขายังมีชีวิติอยู่ยังไม่ตาย ซึ่งเขาอาจจะกลับมาก็ได้ไม่แน่นอน กฎหมายจึงให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเพียง ผู้ไม่อยู่ เท่านั้น ดังนั้นทรัพย์สินสินของเขาก็ยังเป็นของเขาอยู่ตามเดิม ยังไม่ตกทอดไปสู่ทายาทและถ้าเขามีคู่สมรส การสมรสก็ยังไม่ขาดจากกัน ผู้ไม่อยู่ นั้นกำหนดระยะเวลา ไว้ 1 ปี
2.ระยะเวลาที่ถือว่าผู้ไม่อยู่ถึงแก่ความตาย หมายถึง การที่ผู้ไม่อยู่นั้นหายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่มีใครทราบข่าวคราวเป็นเวลานานกลายเป็นคนสาบสูญ ดังนี้
1)หลักเกณฑ์ที่จะถือว่าสาบสูญบุคคลนั้นได้หายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ส่งข่าวคราว และไม่มีผู้ใดพบเห็นเลยเป็นเวลาครบ 5 ปีในกรณีธรรมดา และ 2ปี ในกรณีพิเศษ เช่น เกิดสงคราม เรืออับปาง ตึกถล่ม เป็นต้น จนมีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ซึ่งเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ
2)ระยะเวลาเริ่มต้นของการเป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย เมื่อได้หายไปครบ 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ กรณี 2 ปี ในกรณีพิเศษ แล้วแต่กรณีไม่ใช่เริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือวันที่ได้โฆษณาคำสั่งศาลในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด
3) ผลของการสาบสูญ ทำให้สิ้นสภาพบุคคล ถือว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายบางประการ ได้แก่
(1) เรื่องครอบครัว เช่น ทำให้บิดาหรือมารดาที่ถูกศาลสั่งให้เป็นสาบสูญสิ้นสุดการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ดังนั้นมีผลให้บิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง เมื่อสามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เป็นต้น
(2) เรื่องมรดก เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตาย ในกรณีสาบสูญ มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดสู่ทายาท เพียงแต่การตกทอดของมรดกในกรณีเช่นนี้ผู้รับมรดกอาจต้องคืนทรัพย์มรดกได้ หากภายหลังพิสูจน์ได้ว่าผู้สาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายในเวลาอื่น
4) การถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญ เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นสาบสูญแล้ว กฎหมายให้อำนาจที่จะเพิกคำสั่งดังกล่าวนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดได้แก่
(1)บุคคลที่สาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือ
(2) บุคคลที่สาบสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายผิดไปจากระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นจริงๆ แล้วได้ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลังเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
บุคคลผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญนั้นได้แก่ ผู้สาบสูญเอง หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ ซึ่งคำสั่งเพิกถอนแสดงความสาบสูญจะต้องโฆษณานาราชกิจจานุเบกษา
5) ผลของการเพิกถอนคำสั่งเป็นคนสาบสูญ เมื่อศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการเป็นคนสาบสูญแล้ว ย่อมมีผลลบล้างกิจกการต่างๆ ที่ได้กระทำไปเนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญเสียทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องการรับมรดก ถ้าศาลได้เพิกถอนคำสั่งเป็นคนสาบสูญเพราะเหตุว่าคนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่ ดังนี้มรดกที่ทายาทได้รับไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่เขาไปหรือถ้าในกรณีที่ศาลได้เพิกถอนคำสั่งการเป็นคนสาบสูญ เพราะว่าผู้สาบสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายในเวลาอื่นผิดจากเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้มรดกที่ตกทอดสู่ทายาทอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
2.นิติบุคคล
นิติบุคคล คือ สิ่งที่กฎหมายจัดตั้งให้เป็นบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน เป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้ เป็นโจทก์หรือจำเลยก็ได้
2.1 การเกิดขึ้นของนิติบุคคล
การเกิดขึ้นของนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สภาตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้น พรรคการเมือง โรงเรียนที่สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เป็นต้น
2.1.1 สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล
สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธิหน้าที่ภายในวัตถุประสงค์เท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เป็นต้น มีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันไปตามตราสารที่จัดตั้งกำหนดไว้จะทำกิจการนอกเหนือจากที่วัตถุที่กำหนดไว้ไม่ได้ กฎหมายจึงจำกัดสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลโดยแยกเป็นสาระสำคัญ ได้ 2 ประการ คือ
1.สิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ นิติบุคคลที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการใด กฎหมายจำกัดให้มีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการนั้นเท่านั้น จะทำการอื่นใดนอกจากขอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไม่ได้ เช่น สมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกีฬาย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการศาสนาหรือการเมือง
2.สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา กล่าวคือ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิสิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะว่านิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ไม่มีชีวิตจิตใจ จึงไม่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นไปได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา เช่น ไม่อาจทำการสมรส ไม่มีหน้าที่รับราชการตำรวจ ไม่มีสิทธิทางการเมือง เป็นต้น
2.1.2 การจัดการนิติบุคคล
ในเรื่องการจัดการนิติบุคคลกฎหมายกำหนดว่า “ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล” ดังนั้นกิจการของนิติบุคคลจึงจำเป็นต้องมีบุคคลธรรมดาเป็นผู้แทนในการดำเนินงาน ซึ่งจะได้พิจารณาออกเป็นดังนี้
1.ผู้แทนของนิติบุคคล เนื่องจากนิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตใจ ดังนั้นการดำเนินกิจการ การใช้สิทธิหน้าที่ต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งกำหนดไว้ เช่น รัฐมนตรีเป็นผู้แทนกระทรวง อธิบดีเป็นผู้แทนกรม อธิการบดีเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัย หุ้นส่วนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว กรรกมการเป็นผู้แทนของบริษัท ผู้จัดการเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิ เป็นต้น
2.อำนาจของผู้แทนนิติบุคคล โดยปกติแล้ว ผู้แทนนิติบุคคลจะบุคคลอำนาจอย่างไรบ้างนั้น มักจะถูกกำหนดลงไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลหรือจะถูกระบุลงไว้ในกฎหมายพิเศษที่จัดตั้งนิติบุคคล
3.ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคล กิจการต่างๆซึ่งผู้แทนนิติบุคคลได้กระทำไปนั้น หากเป็นการกระทำนั้นก็อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลแล้ว นิติบุคคลจำต้องต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ผู้แทนได้กระทำไป และในขณะเดียวกันถ้าเกิดความเสียหายขึ้นแก่บุคคลภายนอก เพราะผู้แทนได้ก่อให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ นิติบุคคลก็ย่อมรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้วย เช่น นายเอก เป็นกรรมการของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ได้ขับรถยนต์ของบริษัทเพื่อไปทำการติดต่อกับผู้เอาประกันชีวิตตามหน้าที่ และในระหว่างขับรถยนต์ไปนั้นได้ชน นายโท เข้า นายโท ได้รับบาดเจ็บ ในกรณีเช่นนี้บริษัทประกันชีวิต จะปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายโท ไป อย่างไรก็ตามบริษัทก็สามารถที่จะไปไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นต้นเหตุที่ความเสียหายได้ในภายหลัง
2.1.3 ภูมิลำเนาของนิติบุคคล
ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดภูมิลำเนาของนิติบุคคล ไว้ดังนี้ ถิ่นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือที่จัดตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง ซึ่งสามารถแยกอธิบายภูมิลำเนาของนิติบุคคลออกเป็น
1.ถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือที่ตั้งที่ทำการตั้งอยู่ โดยปกติแล้วภูมิของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นสำนักงานแห่งใหญ่ที่ตั้งอยู่หรือที่ตั้งที่ทำการตั้งอยู่ ซึ่งถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือตั้งที่ทำการตั้งอยู่นั้น คือ ถิ่นซึ่งเป็นที่บัญชาการหรือจัดกิจการของนิติบุคคล
2.ถิ่นที่เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับ ฤาตราสารจัดตั้ง นอกจากนิติบุคคลจะมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการตั้งอยู่เป็นภูมิลำเนาแล้ว กฎหมายยังได้กำหนดให้นิติบุคคลสามารถมีภูมิลำเนาเฉพาะการได้อีกด้วย ถ้าในข้อบังคับ ฤาตราสารจัดตั้งได้เลือกเอาไว้แล้ว
3.ถิ่นที่มีสาขาสำนักงานอันควรจัดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น โดยปกตินิติบุคคลที่มีกิจการใหญ่โต มักจะมีสาขาอยู่ในที่ต่างๆ เพื่อขยายกิจการของตน ดังนี้หากกิจการที่กระทำในสาขานั้นมีลักษณะที่ดำเนินกิจการสมบูรณ์ลำพังตัวได้ ก็อาจถือว่าถิ่นที่ตั้งสำนักงานสาขานั้นเป็นภูมิลำเนาในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการที่สาขานั้นดำเนินการ หรือ หรือบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศ แต่มาตั้งสาขาทำการค้าในประเทศไทยอาจถือได้ว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทยสำหรับกิจการที่ได้ทำในประเทศไทย
2.1.4 การสิ้นสภาพนิติบุคคล
นิติบุคคลอาจสิ้นสภาพบุคคลไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
1.ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง เช่น นิติบุคคลก่อตั้งขึ้นมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดเวลานั้นแล้วก็เป็นอันยกเลิกไป
2.โดยสมาชิกตกลงเลิก เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เมื่อเป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงเลิกกิจการแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคลก็ย่อมเลิกไป
3.เลิกโดยผลแห้งกฎหมาย เช่น ล้มละลาย
4.โดยคำสั่งศาลให้เลิก เช่น นิติบุคคลทำผิดกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.2 การทำนิติกรรมของนิติบุคคล
การทำนิติกรรมของบุคคล นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงไปโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย การเช่าทรัพย์กู้ยืมเงิน จ้างแรงงาน หุ้นส่วนบริษัท การหมั้น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การทำพินัยกรรม การยกให้ทรัพย์สิน เป็นต้น
1.หลักในการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมให้มีผลสมบูรณ์มีหลักเกณฑ์ คือ
1)ต้องมีเจตนาทำนิติกรรมให้ปรากฏออกมาภายนอก
2)บุคคลผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถในการทำนิติกรรม คือ มีความรู้ความเข้าใจ มีสิติปัญญาในการแสดงเจตนาที่ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม ถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ
3)วัตถุประสงค์ของนิติกรรมต้องชอบด้วยกฎหมายไม่พ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญาซื้อขายอาวุธสงคราม เป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือทำสัญญาซื้อขายพื้นที่ดวงจันทร์เป็นสัญญาที่เป็นการพ้นวิสัย เป็นต้น
ข้อสังเกต การเกิดมามีสภาพบุคคล การมีอายุครบบรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) การตายทำให้เกิดผลในทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง มีสิทธิหน้าที่กฎหมายรับรอง กรณีเหล่านี้ ถือว่าเป็นนิติเหตุ
นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับเจตนาของบุคคลหรือเป็นการที่ก่อขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิดผลในกฎหมาย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้กฎหมายต้องรับรู้ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
2.ผลของการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ นิติกรรมที่เป็น “โมฆะ” กับ นิติกรรมที่เป็น “โมฆียะ”
1)นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นจะเป็นนิติกรรมที่สูญเปล่าเปรียบเสมือนไม่ได้ทำตั้งแต่ต้น
2)นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นนิติกรรมที่ทำลงโดยผู้หย่อนความสามารถ เช่นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เป็นต้น ผลของการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ นั้นสมบูรณ์จนกว่าผู้มีอำนาจจะบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก แต่ถ้าไม่บอกล้าง คือ การยอมรับหรือยินยอมที่เรียกว่า “การให้สัตยาบัน” ถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์
คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 คนเสมือนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมได้ไหม? EP.3 | Modern Law 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
คลิปนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง คนเสมือนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมได้ไหม? ซึ่งคลิปนี้มีคำตอบทนายดาวจะมาไขข้อสงสัยให้เองนะคะ ... ... <看更多>
คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 กฎหมายชายคา ปัญหาชาวบ้าน โดย สำนักงานอัยการสูงสุด : 1 ... 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
คนเสมือนไร้ความสามารถ : กฎหมายชายคา ปัญหาชาวบ้าน โดย สำนักงานอัยการสูงสุด : 1 เมษายน 2565. 91 views · Streamed 1 year ago กฎหมายชายคา ... ... <看更多>
คนเสมือนไร้ความสามารถ 在 ผู้เสมือนไร้ความสามารถ : คำนี้ในกฎหมายแปลว่าอะไร? . . ... 的推薦與評價
นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ . . . หลักเกณฑ์แห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ปรากฏอยู่ในมาตรา 32 อาจแยก ... ... <看更多>