หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
สำหรับเรื่องหนี้เป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) มีความยิ่งใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายว่าด้วยหนี้ไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งแยกต่างหากไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ คือ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการงดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนเพื่อชำระหนี้ หนี้นั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนี้ว่าเป็นบุคคลสิทธิ
1.บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา (เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ) กับนิติเหตุ (เป็นหนี้ที่เกิดจากกฎหมาย)
บ่อเกิดแห่งหนี้ (มูลแห่งหนี้)
นิติกรรมสัญญา กฎหมาย(นิติเหตุ)
เอกเทศสัญญา บรรพอื่น สัญญาไม่มีชื่อ
จัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพอื่น กฎหมายอื่น
1.1 หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา เป็นการสมัครใจในการที่ก่อหนี้ขึ้นแบ่งออกเป็น 2
ประการ
1.1.1 หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา
หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา หมายความว่าคนสองฝ่ายมาทำกันกฎหมายตั้งชื่อไว้แล้วกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นสัญญาที่มีชื่อตามกฎหมายที่ตั้งไว้ มีอยู่ 22 สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท
1.1.2 หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น เช่น สมาคมในบรรพ1หรือตามบรรพ 5 ครอบครัว คือสัญญาก่อนสมรส, สัญญาระหว่างสมรสที่สามีภริยาทำกัน,สัญญาหมั้น เป็นต้น
1.1.3 สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3
สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3 บางคนเรียกสัญญานอกบรรพ 3 เช่น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญากองทุนสมรส เป็นต้น
1.2 หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย
หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย หนี้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจในการเกิดหนี้ขึ้น แบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
1.2.1 หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง
หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จัดการได้สอดเข้าทำกิจการของบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้กระทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนเขาได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนเสียไปเพราะจัดการงานนอกสั่ง
1.2.2 หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้
หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้ คือ การที่บุคคลใดได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ที่รับทรัพย์ย่อมเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนแก่เจ้าหนี้
1.2.3 หนี้ที่เกิดจากการละเมิด
หนี้ที่เกิดจากการละเมิด คือ การกระทำใด ที่กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายไม่ว่ากระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้เขาได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดหนึ่งอย่างใด การกระทำเช่นว่านั้นเข้าการกระทำละเมิด หรือเป็นการกระทำล่วงสิทธิผิดหน้าที่ ทำให้เขาเสียหาย ละเมิดนั้นอยู่บนหลักที่ว่าบุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายผู้กระทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หลักที่ใหญ่ที่สุดของการละเมิด คือ หลักที่ว่าละเมิดนั้น เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด กฎหมายทำให้เสียหายโดยตรง (Liability with fault) กับความรับผิดแม้ไม่ได้กระทำ (Liability without fault) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับทฤษฎีในเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดเกิดขึ้น 3 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีที่ 1 ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (Tortfeasur’s Liability) ซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง ซึ่งเป็นความผิดอาจเกิดจากใช้สิทธิของตนปกติตั้งแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนการไขข่าวแพร่หลายทำให้บุคคลเสียหาย เป็นต้น
2.ทฤษฎีที่ 2 ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำละเมิด(Vicarious Liability) ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเกณฑ์ให้รับผิดหากดูแล้วเหมือนไม่เป็นธรรมแต่ถ้าไม่เกณฑ์ก็ยิ่งไม่ยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิด คือ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างรับผิด ตัวแทนทำละเมิด ตัวการรับผิด ลูกศิษย์ทำละเมิดอาจารย์ต้องรับผิด คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องรับผิด บุตรผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาต้องรับผิด เป็นต้น
3.ทฤษฎีที่ 3 ความรับผิดเพราะคนที่มีความเกี่ยวพันกับผู้กระทำละเมิด (Strict Liability) คือ ความรับผิดที่เกิดขึ้นการที่ทรัพย์ซึ่งอยู่ความดูแลของตนไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น เจ้าของทรัพย์หรือผู้ดูแลทรัพย์ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงสัตว์ไว้แทนเจ้าของ ผู้ครอบครองโรงเรือน หรือเจ้าของ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรียน ผู้ครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น
1.2.4 หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบรรพอื่น เช่น สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน ทรัพย์สินมรดกใดถ้าไม่มีผู้ใดรับมรดกให้ตกเป็นของรัฐ รัฐจึงเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น
1.2.5 หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น
หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น เช่น หนี้ที่เกิดจากประมวลกฎหมายรัษฎากร คือ บุคคลผู้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อนำภาษีมาพัฒนาบ้านเมือง เป็นต้น
2.ผลแห่งหนี้
เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลแห่งหนี้ก็จะเกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้กับสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ซึ่งเราเรียกว่า เป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ การให้ลูกหนี้กระทำการการ งดเว้นกระทำการ และการโอนทรัพย์สิน หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ถูกต้องแล้ว หนี้ก็เป็นอันระงับไป แต่ปัญหาว่าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีมาตรการอย่างไรในการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ผูกพันที่มีอยู่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ของตน และเมื่อการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายได้นอกจากกฎหมายจะให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องของให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว กฎหมายยังได้คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้อีก โดยให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
ในกรณีเรื่องเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้น ฝ่ายลูกหนี้อาจเป็นลูกหนี้หลายคนหรือ ฝ่ายเจ้าหนี้อาจจะเป็นเจ้าหนี้หลายคนก็ได้ ซึ่งในกรณีเป็นลูกหนี้หลายคนร่วมกันผูกพันในอันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้นั้นเราเรียกว่าลูกหนี้ร่วม ผลแห่งการเป็นลูกหนี้ร่วมก็คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง การกระทำแทนการชำระหนี้หรือการหักกลบลบหนี้ร่วมคนใด ย่อมเป็นประโยชน์ แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดหนี้ การผิดนัดของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ
3.การชำระหนี้หรือการระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้นั้นหมายความว่าหนี้นั้นได้สิ้นสุดลงหรือได้ระงับลง ซึ่งการที่หนี้จะระงับลงได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 กรณี คือ การชำระหนี้ การปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืน
3.1 การชำระหนี้
การชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ถูกต้องตามวัตถุแห่งหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว หนี้ย่อมระงับหรืออาจเป็นกรณีบุคคลภายนอกจะชำระหนี้แทนลูกหนี้แต่การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะทำไม่ได้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำหรือขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
3.2 การปกลดหนี้
ปลดหนี้ คือ การทำหนี้สิ้นสุดลง เพราะเจ้าหนี้ได้ยินยอมยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ตัวหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือ หรือต้องเวนคืน เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3.3 การหักลบกลบหนี้
การหักกลบลบหนี้ คือเมื่อบุคคล 2 ฝ่ายมีความผูกพัน ซึ่งกันและกันโดยความผูกพันนั้น คือ หนี้ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้กัน และหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เพื่อให้หนี้ระงับเพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้
3.4 การแปลงหนี้ใหม่
แปลงหนี้ใหม่ ได้แก่ การระงับหนี้เก่า แต่มีหนี้ใหม่ขึ้นมาแทน
3.5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน
หนี้เกลื่อนกลืนกัน ได้แก่ กรณีซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
「คนไร้ความสามารถ คือ」的推薦目錄:
- 關於คนไร้ความสามารถ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於คนไร้ความสามารถ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於คนไร้ความสามารถ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於คนไร้ความสามารถ คือ 在 ทนายใกล้ตัว - คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ... 的評價
- 關於คนไร้ความสามารถ คือ 在 ทนายชาติพร | EP.2 ศัพท์กฎหมาย แปลว่าอะไรปวดหัว2 "คนวิกลจริต ... 的評價
คนไร้ความสามารถ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล หมายถึงสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล
1.บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ทั้งปวงไม่จำกัดเพศ อายุ ฐานะ สติปัญญาและสภาพร่างกาย ซึ่งถือว่าล้วนแล้วแต่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายด้วยทั้งสิ้น สิ่งที่เราต้องศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ในการศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 15 ถึงมาตรา 67 มีดังนี้
1.1 สภาพบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดสภาพบุคคลธรรมดา รวมทั้งการกำหนดสิทธิทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาไว้ดังนี้
1.1.1 การเริ่มต้นสภาพบุคคล
บุคคลคนธรรมดามีสภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
เมื่อพิจารณาถึงสภาพบุคคลนั้นย่อมเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อคลอดและมีการอยู่รอดเป็นทารกนั่นเอง หรืออาจแยกเป็นองค์ประกอบได้ว่า การเริ่มต้นสภาพบุคคล นั้นต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.มีการคลอด ซึ่งการคลอดนั้น คือ การที่ทารกได้พ้นออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอวัยวะส่วนใดเหลือติดอยู่ ส่วนจะมีการตัดสายสะดือ (รก) หรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ
ข้อสังเกต ในกรณีที่มีการผ่าท้องเอาทารกออกมาตามหลักวิชาวิชาแพทย์ ก็ถือว่าเป็นการคลอดตามความหมายนี้เช่นกัน
2.มีการอยู่รอดเป็นทารก คือ ต้องปรากฏว่าทารกที่คลอดมานั้นมีการหายใจด้วย จึงจะถือได้ว่าทารกนั้นมีสภาพเป็นบุคคลแล้ว ซึ่งการหายใจของทารกนั้นอาจจะเป็นการหายใจด้วยตนเองหรือการช่วยเหลือของแพทย์ก็ได้ และไม่ว่าการหายใจนั้นจะมีระยะเวลานานเพียงใดก็ตาม ก็จัดได้ว่ามีการอยู่รอดเป็นทารกและมีสภาพบุคคลแล้ว
แต่ถ้าเมื่อทารกที่คลอดออกมาไม่มีการหายใจ คือ ได้ตายไปก่อนแล้ว ซึ่งอาจจะตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหรือตายในขณะคลอดก็ตาม ดังนั้นทารกนั้นย่อมไม่มีสภาพบุคคลและไม่มีสิทธิๆใด ตามกฎหมายทั้งสิ้น
1.1.2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา
สิทธิของทารกในครรภ์มารดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 วรรค 2 ว่า “ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดทารก”
ตามปกติเมื่อสภาพบุคคลแล้ว บุคคลนั้นอาจถือสิทธิได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย แต่อย่างไรในมาตรา 15 วรรค 2 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธินั้นเป็นสิทธิเกี่ยวกับอะไรบ้าง จึงเห็นได้ว่าสิทธิที่ทารกในครรภ์มารดาจะได้รับเมื่อเกิดมาอยู่รอด อาจเป็นสิทธิเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่ทารก กฎหมายก็ยอมให้เด็กได้รับสิทธินั้น เช่น
1.สิทธิในการรับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 ได้กำหนดไว้ว่า
“บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน 310 วัน นับแต่วันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
เมื่อพิจารณาถึงทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาในขณะที่เจ้ามรดก คือ บิดาของทารกถึงแก่ความตาย ถ้าทารกได้เกิดมามารอดอยู่ภายใน 310 วัน นับแต่เจ้ามรดก คือ บิดาตาย ให้ทารกนั้นมีสิทธิที่จะเป็นทายาทหรือได้รับมรดกได้”
ตัวอย่าง นายสมศักดิ์ มีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ นางสมศรี มีบุตร 1 คน คือ เด็กชายสมปอง และนางสมศรีได้ตั้งท้องบุตร อีก 1 คน ได้ 2 เดือน ต่อมานายสมศักดิ์ได้ถึงแก่ความตาย หลังจากนายสมศักดิ์ตายได้ 7 เดือน นางสมศรีได้คลอดบุตรอีก 1 คนชื่อ เด็กชายสมชาย ดังนั้นมรดกของนายสมศักดิ์ตกแก่ใครบ้าง (ในกรณีนี้นายสมศักดิ์ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้)
เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคแรก ได้กำหนดว่า “เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” มาตรา 1629 ได้กำหนดทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังได้แก่ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา รวมทั้งคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม และมาตรา 1635 (1) ได้กำหนดไว้ว่า ได้กำหนดให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร แล้วจะเห็นว่ามรดกของนายสมศักดิ์ย่อมตกแก่นางสมศรีและเด็กชายสมปองคนละครึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมาตรา 1604 ได้กำหนดถึงสิทธิของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งเกิดภายใน 310 วัน แล้วรอดอยู่นับแต่เจ้ามรดกตาย จึงทำให้เด็กชายสมชายย่อมมีสิทธิในมรดกของนายสมศักดิ์ซึ่งเป็นบิดาด้วย
ดังนั้นกองมรดกนายสมศักดิ์จึงต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วนๆ ละเท่าๆกันและตกเป็นของนางสมศรี เด็กชายสมปองและเด็กชายสมชาย คนละส่วน ตามมาตรา 1633 ที่ได้กำหนดว่า ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ในลำดับหนึ่งๆชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
ข้อสังเกต ตามตัวอย่างข้างต้นถ้าปรากฏว่าเด็กชายสมชายได้คลอดออกมาเพียง 1 ชั่วโมงก็ตายไป ดังนี้ถือว่าเด็กชายสมชายมีสภาพบุคคลแล้ว ย่อมมีสิทธิรับมรดก เมื่อเด็กชายสมปองตายไป มรดกของเด็กชายสมชายจึงตกกับนางสมศรีผู้เป็นมารดาแต่เพียงผู้เดียว เด็กชายสมปองซึ่งเป็นพี่ชายเด็กชายสมชายไม่มีสิทธิได้รับมรดกได้รับมรดกเด็กชายสมชาย เพราะเป็นทายาทลำดับที่ (3) ย่อมถูกตัดตามมาตรา 1630 ที่กำหนดไว้ว่า ตราบใดที่มีทายาทยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
2.สิทธิในครอบครัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้กำหนดว่า “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย หรือภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีแล้วแต่กรณี”
เมื่อพิจารณามาตราดังกล่าวข้างต้น เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการหาตัวบิดาของเด็กเมื่อมีเหตุการณ์ว่าหญิงคลอดบุตรมา แต่ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นบิดาของเด็ก นับแต่ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นบิดาของเด็ก กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ถ้าเด็กเกิดมาในขณะเป็นภริยาชายอยู่ ชายนั้นย่อมเป็นบิดาของเด็ก หรือถ้าเด็กเกิดมาภายใน 310 นับแต่วันขาดการสมรส ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าชายซึ่งเคยเป็นสามีของมารดาเด็กนั้น
3.สิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อขาดไร้อุปการะนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อปรากฏว่ามีบุคคลใดมาทำให้บิดาหรือมารดาของทารกนั้นถึงแก่ความตาย และทำให้ทารกนั้นต้องขาดไร้ซึ่งอุปการะ ทารกก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้บุคคลนั้นผู้ละเมิดนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว
ตัวอย่าง เอกมีภริยาชอบด้วยกฎหมาย คือ โท มีบุตร คน 1 คน คือ ตรี เมื่อขณะที่โทท้องได้ 6 เดือน ทวิได้ขับรถมอเตอร์ไซค์ ชนเอกถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 3 โท คลอดบุตรชื่อ จัตวา การฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากการที่ทวิได้ทำให้เอกตายลงนั้น ใครเรียกได้บ้าง กรณีนี้จะเห็นว่าคนที่ฟ้องเรียกร้องได้ คือ โท ตรี และจัตวา เพราะถือว่าการที่เอกตายนั้นทำให้ทั้งสามคนต้องขาดคนอุปการะเลี้ยงดู
ในประเด็นตามตัวอย่างข้างต้นถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า เอกมีภริยาน้อย 1 คน ชื่อ น้อยและมีบุตร อีก 1 คน ชื่อ อุ้มบุญ โดยเอกได้รับรองว่าเป็นบุตรตนและอุปการะเลี้ยงดูมาตลอด น้อยและอุ้มบุตรได้รับค่าขาดไร้อุปการะหรือไม่ ในประเด็นนี้น้อยและอุ้มบุญไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากทวิได้ เพราะทั้งสองมิได้เป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแต่อย่างใด
1.1.3 วันเกิด
โดยปกติเมื่อบุคคลได้เกิดออกมาแล้วก็ย่อมได้ทราบว่าบุคคลนั้นได้เกิด วัน เดือน ปีอะไร และทำให้ทราบได้ว่าบุคคลนั้นมีอายุเท่าใด เพราะการทราบอายุของบุคคลนั้นมีความสำคัญมาก เพราะอาจเป็นกรรีเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในทางกฎหมาย เช่น สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในทางกฎหมายแพ่ง บุคคลมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ย่อมพ้นผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์อายุ 15 ปี บริบูรณ์อาจทำพินัยกรรมได้ บุคคลมีอายุไม่ตำกว่า 25 ปีจะรับบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี เป็นต้น
ข้อสังเกต มีบางกรณีที่เป็นไปได้ว่า บุคคลที่เกิดมาแล้วอาจจะไม่ทราบว่าบุคคลนั้นได้เกิด วัน เดือน ปี อะไร ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว กฎหมายแพ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
1.การนับอายุบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดวันแรก โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลนั้นนั้นจะเกิดในเวลาใด เช่น นายสิทธิกร เกิดวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2518 การนับอายุของนายสิทธิกรให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2518เป็นวันแรก มิใช่นับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2518 เป็นวันแรก เป็นต้น
2.ในกรณีที่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 ของเดือนนั้น เช่น นายสิทธิกร เกิดเดือนตุลาคม พ.ศ.2518 แต่ไม่รู้ว่าเกิดวันที่เท่าใด ให้ถือว่านายสิทธิกร เกิดวันที่ 1 ตุลามคม พ.ศ. 2518 เป็นต้น
3.ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดวันและเดือนใดให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด เช่น ไม่ทราบว่านายสิทธิกรเกิดวันที่และเดือนอะไร ทราบแต่ว่าเกิดในปี พ.ศ. 2518 ดังนี้ให้ถือว่านายสิทธิกร เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2518 เป็นต้น
1.2.ความสามารถของบุคคล
ความสามารถของบุคคล หมายความถึง ความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิตามกฎหมายที่มีกฎหมายรับรองไว้ว่าผู้นั้นจะใช้สิทธิได้ตามลำพังตนเองหรือถูกจำกัดในการใช้สิทธิเพราะเป็นผู้หย่อนความสามารถ ผู้หย่อนความสามารถ ได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจใช้สิทธิได้ตามปกติ เช่นบุคคลทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ
1.2.1 ผู้เยาว์
ผู้เยาว์ได้แก่ ผู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสโดยการจดทะเบียน เมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี โดยได้รับการยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุ 17 ปี ก็จะหลุดพ้นการเป็นผู้หย่อนความสามารถ
1. ความสามารถของผู้เยาว์ ในทางกฎหมายผู้เยาว์จะกระทำการใดได้ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ดูแลจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้มีอำนาจ หน้าที่ในการทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม เว้นแต่ในบางกรณีอำนาจปกครองอาจจะอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ ถ้าเป็นกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(1)มารดาหรือบิดาตาย
(2)ไม่แน่ว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3)มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ
(4)มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5)ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6)บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
(7)อำนาจปกครองอยู่กับมารดา ในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายและยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา
(8)เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น อำนาจปกครองที่มีต่อบุตรผู้เยาว์อยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
2) ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดามารดาของผู้เยาว์ แต่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครองผู้เยาว์จะมีผู้ปกครองก็ต่อเมื่อไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เช่นเดียวกับบิดามารดา
ข้อสังเกต บุคคลใดจะเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ได้นั้นจะต้องเข้ามาโดยกรณีใดกรณีหนึ่งได้แก่
1.เข้ามาโดยศาลตั้งขึ้น เมื่อญาติของผู้เยาว์หรือัยการร้องขอ เมื่อเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
1)เมื่อผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา คือ ไม่ปรากฏตัวบิดามารดาว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรนั่นเอง
2)ผู้เยาว์มีบิดามารดา แต่ได้ตายไปแล้วทั้งสอง
3)ผู้เยาว์มีบิดามารดา ซึ่งยังมีชีวิตอยู่แต่บิดามารดานั้นถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว
2.เข้ามาโดยพินัยกรรมของบิดาหรือมารดาทีหลังระบุไว้ หมายความว่า เป็นกรณีที่บิดาหรือมารดาของผู้เยาว์ซึ่งได้ถึงแก่ความตายทีหลังนั้นได้ทำพินัยกรรไว้ และในพินัยกรรมก็ได้ระบุตัวบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ไว้แล้วว่าเป็นใคร ซึ่งมีผลทำให้บุคคลนั้นเข้ามาเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ต่อไป แต่ถ้าบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังมิได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ในพินัยกรรมไม่ได้ระบุให้ใครเป็นผู้ปกครอง ดังนี้บุคคลใดจะเข้ามาเป็นผู้ปกครองได้ก็ต้องอาศัยคำสั่งของศาลเท่านั้น
2. การทำนิติกรรมนิติกรรมของผู้เยาว์ แยกออกได้ 2 หลัก คือ หลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ กับข้อยกเว้นจากลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ดังนี้
1) หลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เช่น การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี (ถ้าทำอายุต่ำกว่า15 ปีนับเป็นโมฆะ) การทำนิติกรรมอันสมควรแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพเป็นต้น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำเองไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโมฆียะ บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมีอำนาจบอกล้างได้ ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะไม่มีผลในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการบอกล้างนิติกรรมนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์มาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต
ข้อสังเกต ผลของการทำนิติกรรมของผู้เยาว์โดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คำว่า โมฆียะ นั้นต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับ โมฆะ ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางกฎหมาย
โมฆะกรรม คือ นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายและไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ คู่กรณียังคงอยู่ในบานะเดิมเสมือนว่ามิได้เข้าทำนิติกรรมแต่ประการใด
โมฆียกรรม คือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลในกฎหมายผูกพันกันได้ แต่เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ อาจถูกบอกล้างทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ หรืออาจได้รับการให้สัตยาบันทำให้นิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ แล้วแต่กรณี
2) ข้อยกเว้นจากลักทั่วไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ถ้านิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยลำพังไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งแยกออกได้ 3 ประเภทได้แก่
(1) นิติกรรมกรรมที่เป็นคุณแก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว แยกได้ 2 กรณี นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น การรับทรัพย์สินโดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นต้น กับนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น การที่ผู้เยาว์เป็นหนี้และมีการปลดหนี้ให้ผู้เยาว์เป็นต้น
(2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เป็นนิติกรรมที่ผู้อื่นทำการแทนไม่ได้ ผู้เยาว์ต้องทำเองมีได้ดังต่อไปนี้ คือ การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
การรับรองบุตร การเพิกถอนการสมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่
(2) นิติกรรมที่เป็นเพื่อการดำรงชีพของผู้เยาว์ อยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องเป็นนิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพจริงๆอันขาดเสียไม่ได้ เช่น ซื้ออาหารกิน เป็นต้น นิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพยังต้องสมแก่ฐานานุรูป (เป็นไปตามฐานะครอบครัวของผู้เยาว์)
1.2.2 คนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตหรือคนบ้าที่มีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ทำให้มีผลในกฎหมายคือไม่สามารถทำนิติกรรมใดได้เลย ถ้าทำลงไปเป็นโมฆียะ บุคคลไร้ความสามารถต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลหรือทำนิติกรรมแทน เป็นผู้ปกครองดูแลอุปการะเลี้ยงดูบุคคลไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเป็นคนไร้ความสามารถได้นั้นจะต้องมีคำสั่งของศาลเสมอ แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.หลักเกณฑ์ของการเป็นคนไร้ความสามารถ การเป็นคนไร้ความสามารถนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1)เป็นคนวิกลจริต หมายถึง เป็นคนที่สมองพิการ คือ จิตไม่ปกติหรือบุคคลที่มีกิริยาอาการไม่ปกติเพราะสติวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบหรืออาจจะหมายความรวมถึงเจ็บป่วยที่มีกิริยาอาการผิดปกติจนถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใดๆทั้งสิ้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ข้อนี้ต้องเป็นไปอย่างมากและต้องเป็นประจำด้วย
2) ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เพราะหากไม่มีคำสั่งของศาล คนวิกลจริตนั้นก็จะไม่เป็นคนไร้ความสามารถที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ และเมื่อศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถ ผลการเป็นคนไร้ความสามารถเริ่มวันที่ศาลสั่ง
2.ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ แยกออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ คู่สมรสของคนวิกลจริต ผู้บุพการีของคนวิกลจริต ผู้สืบสันดานของคนวิกลจริต
ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ พนักงานอัยการ
3.ผลของการเป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลวิกลจริตซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล แยกอธิบายได้ดังนี้
1)บุคคลซึ่งเป็นผู้อนุบาล แยกออกได้หลายกรณี คือ
(1) กรณีที่บุตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาล
(2) ในกรณีที่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและไม่มีคู่สมรส ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา เป็นผู้อนุบาล
(3) ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อมีผู้ส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอและถ้ามีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้
2) อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล นั้นแยกออกได้เป็นกรณีไป ดังนี้
(1) ถ้าเป็นคนไร้ความสามารถเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะ แต่ยังไม่มีคู่สมรส มีบิดามารดาเป็นผู้อนุบาล มีอำนาจและหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ แต่ถ้าบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามาตรา 1567 (2)และ(3)
(2) ถ้าคนไร้ความสามารถเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะที่ยังไม่มีคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาล มีอำนาจและหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามาตรา 1567 (2)และ(3) ไม่ได้
(3) ถ้าคนไร้ความสามารถมีคู่สมรสและคู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ใช้อำนาจปกครองมาบังคับ เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2)และ(3)
คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลให้เป็นไร้ความสามารถ มีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว ตาการจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 วรรค 1 จะจัดการได้ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
(4) ถ้าคนไร้ความสามารถมีคู่สมรสมีคู่สมรสและคู่สมรสไม่ได้เป็นผู้อนุบาล ศาลตั้งบิดาหรือมารดาหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล ให้ผู้อนุบาลจัดการสินสมรสร่วมกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
4.การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ การกระทำนิติกรรมใดๆของบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลงไป การกระทำนั้นเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต
1)กรณีที่คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมนั้นจะขอความยินยอมจากผู้อนุบาลเพื่อทำนิติกรรมนั้นสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะผู้อนุบาลมีหน้าที่แต่เฉพาะกิจการแทนคนไร้ความสามารถเท่านั้น
2)ในเรื่องการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถนั้น กฎหมายมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่อนุญาตให้คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมได้โดยลำพัง ดังนั้นคนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรมใดๆย่อมเป็นโมฆียะทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่านิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่เป็นนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่คนไร้ความสมารถฝ่ายเดียวหรือนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถต้องทำเองเฉพาะตัวแต่อย่างใด
3)การทำพินัยกรรมของคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ
4)การสมรสของคนไร้ความสามารถ เป็นโมฆะ
5.การสิ้นสุดของการเป็นคนไร้ความสามารถ ย่อมสิ้นสุดลงได้ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้คนไร้ความสามารถนั้น เพราะเหตุที่ทำให้คนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดลงและเมื่อบุคคลนั้นเองหรือบุคคลใดๆที่มีส่วนได้เสีย ร้องขอต่อศาล ซึ่งคำสั่งนั้นของศาลดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6.คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยปกติสามารถนิติกรรมใดๆได้สมบูรณ์ทั้งสิ้น เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ
1) นิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ กล่าวคือ ในขณะทำนิติกรรมนั้นผู้ทำนิติกรรมจริตวิกลไม่รู้สึกผิดชอบนั่นเอง
2) คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำนิติกรรมเป็นคนวิกลจริต คือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทำนิติกรรมเป็นคนวิกลจริต
ข้อสังเกต การสมรสในกรณีที่ผู้นั้นวิกลจริตหรือผู้นั้นถูกศาลสั่งให้เป็นคนรึความสามารถย่อมเป็นโมฆะทั้งสองอย่าง
1.2.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่มีความบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องจัดอยู่ในการในความพิทักษ์
1.หลักเกณฑ์การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มีดังนี้ คือ
1) ต้องมีเหตุบกพร่อง อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(1) กายพิการ คือ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งได้ขาดไปหรือไม่สมประกอบ ซึ่งอาจจะเกิดแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ขา แขนชาดหรือเป็นอัมพาตง่อยเปลี้ยเสียขา เป็นต้น
(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คือ จิตไม่ปกติ เป็นโรคจิตแต่ไม่ถึงกับวิกลจริต คือ มีเวลาที่รู้สึกตัว มีสติรู้สึกผิดชอบธรรมดา แต่บางครั้งก็เลอะเลือนไปบ้าง
(3) ติดสุรายาเมา คือ คนที่เสพสุราหรือมึนเมาต่างๆ เมื่อเสพไปแล้วก็ต้องเสพเป็นนิจ ซึ่งขาดเสียมิได้
(4) ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ คือ คนที่มีนิสัยใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างไม่มีประโยชน์เกินกว่ารายได้ที่ได้รับและเป็นอาจิณคือประจำ
(5)มีเหตุอื่นใดในทำนองเดียวกันนั้น
2) บุคคลนั้นไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะเหตุบกพร่องนั้น
3)ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ กล่าวคือ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลนั้นก็ยังไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นอย่างบุคคลธรรมดาทั่วไป และเมื่อศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนรึความสามารถแล้ว การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง ไม่ใช่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2.ผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มีดังต่อไปนี้
1)การจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ บุคคลที่จะเป็นผู้พิทักษ์นั้นให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการแต่งตั้งผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ ส่วนอำนาจหน้าที่ของผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถต้องให้คนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมต่างๆด้วยตนเอง
2) การทำนิติกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถ สามารถทำเองได้ แต่มีบางกิจการบางอย่างนั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) นำทรัพย์สินไปลงทุน
(2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงิน หรือทุนอย่างอื่น
(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
(4)รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
(5) เช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี
(6)ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
(9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่
(10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ เว้นแต่การร้องขอตามตรา 35หรือการ้องขอถอนผู้พิทักษ์
(11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนหรือครอบครัว ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลัง ศาลมีคำสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจะทำการนั้นได้
ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ (คำสั่งศาลต้องประกาศในราชกิจานุเบกษา) ในกรณีเช่นนี้ให้นำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าการกระทำดังกล่าวลงโดยฝืนไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ การนั้นเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต ในเรื่องการทำพินัยกรรมและการสมรส ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้
1.3 ภูมิลำเนาของบุคคล
ภูมิลำเนาของบุคคล ภูมิลำเนา ได้แก่ การที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นสำคัญ การมีภูมิลำเนามีประโยชน์ต่อบุคคล เช่นการมีสิทธิหรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ การเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การส่งหมายเรียก การฟ้องคดี เป็นต้น สำหรับบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้หย่อนความสารถมีภูมิลำเนา คือ
1.ผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
2.คนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
3.คนเสมือนไร้ความสามารถมีภูมิลำเนาของตนเองต่างหากจากผู้พิทักษ์ สามีและภรรยา ได้แก่ การที่สามีและภรรยาอยู่กันด้วยกันฉันสามีภรรยาเว้นแต่ สามีหรือภรรยา ได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่าภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
4.ข้าราชการ ได้แก่ถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
5.ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
1.4 การสิ้นสภาพบุคคล
การสิ้นสภาพบุคคล ตามกฎหมายแพ่ง บุคคลสิ้นสภาพบุคคลมีได้ 2 ลักษณะ คือ การตายโดยธรรมชาติกับการตายโดยกฎหมาย คือ สาบสูญ
1.4.1 ตายโดยธรรมชาติ
ตายโดยธรรมชาติ คือ การที่บุคคลตายโดยไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นย่อมสิ้นสุดลงด้วย และจะตกทอดไปสู่ทายาทผู้รับมรดกตั้งแต่บุคคลนั้นตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ รวมทั้งถ้าบุคคลที่ตายไปมีคู่สมรส ก็ย่อมทำให้การสมรสสิ้นสุดลงด้วย
ข้อสังเกต ในเรื่องของการตาย คือ วันตาย ซึ่งการทราบถึงวันตายของบุคคลนั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องการรับมรดกของทายาทผู้ตาย เป็นต้น ในบางกรณีอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้ามีบุคคลหลายคนถึงแก่ความตายพร้อมกันในเหตุภยันตรายร่วมกันและไม่ทราบว่าใครตายก่อนหลัง กฎหมายให้ถือว่าตายพร้อมกัน
1.4.2 ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ
ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ คือ การที่บุคคลหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ การสาบสูญนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนด ไว้ 2 ระยะ คือ
1.ระยะเวลาที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นเพียงผู้ไม่อยู่ เป็นระยะเวลาที่บุคคลนั้นได้หายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ส่งข่าวคราว และไม่มีผู้ใดพบเห็นเลย ดังนี้ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขายังมีชีวิติอยู่ยังไม่ตาย ซึ่งเขาอาจจะกลับมาก็ได้ไม่แน่นอน กฎหมายจึงให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเพียง ผู้ไม่อยู่ เท่านั้น ดังนั้นทรัพย์สินสินของเขาก็ยังเป็นของเขาอยู่ตามเดิม ยังไม่ตกทอดไปสู่ทายาทและถ้าเขามีคู่สมรส การสมรสก็ยังไม่ขาดจากกัน ผู้ไม่อยู่ นั้นกำหนดระยะเวลา ไว้ 1 ปี
2.ระยะเวลาที่ถือว่าผู้ไม่อยู่ถึงแก่ความตาย หมายถึง การที่ผู้ไม่อยู่นั้นหายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่มีใครทราบข่าวคราวเป็นเวลานานกลายเป็นคนสาบสูญ ดังนี้
1)หลักเกณฑ์ที่จะถือว่าสาบสูญบุคคลนั้นได้หายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ส่งข่าวคราว และไม่มีผู้ใดพบเห็นเลยเป็นเวลาครบ 5 ปีในกรณีธรรมดา และ 2ปี ในกรณีพิเศษ เช่น เกิดสงคราม เรืออับปาง ตึกถล่ม เป็นต้น จนมีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ซึ่งเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ
2)ระยะเวลาเริ่มต้นของการเป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย เมื่อได้หายไปครบ 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ กรณี 2 ปี ในกรณีพิเศษ แล้วแต่กรณีไม่ใช่เริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือวันที่ได้โฆษณาคำสั่งศาลในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด
3) ผลของการสาบสูญ ทำให้สิ้นสภาพบุคคล ถือว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายบางประการ ได้แก่
(1) เรื่องครอบครัว เช่น ทำให้บิดาหรือมารดาที่ถูกศาลสั่งให้เป็นสาบสูญสิ้นสุดการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ดังนั้นมีผลให้บิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง เมื่อสามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เป็นต้น
(2) เรื่องมรดก เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตาย ในกรณีสาบสูญ มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดสู่ทายาท เพียงแต่การตกทอดของมรดกในกรณีเช่นนี้ผู้รับมรดกอาจต้องคืนทรัพย์มรดกได้ หากภายหลังพิสูจน์ได้ว่าผู้สาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายในเวลาอื่น
4) การถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญ เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นสาบสูญแล้ว กฎหมายให้อำนาจที่จะเพิกคำสั่งดังกล่าวนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดได้แก่
(1)บุคคลที่สาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือ
(2) บุคคลที่สาบสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายผิดไปจากระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นจริงๆ แล้วได้ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลังเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
บุคคลผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญนั้นได้แก่ ผู้สาบสูญเอง หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ ซึ่งคำสั่งเพิกถอนแสดงความสาบสูญจะต้องโฆษณานาราชกิจจานุเบกษา
5) ผลของการเพิกถอนคำสั่งเป็นคนสาบสูญ เมื่อศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการเป็นคนสาบสูญแล้ว ย่อมมีผลลบล้างกิจกการต่างๆ ที่ได้กระทำไปเนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญเสียทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องการรับมรดก ถ้าศาลได้เพิกถอนคำสั่งเป็นคนสาบสูญเพราะเหตุว่าคนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่ ดังนี้มรดกที่ทายาทได้รับไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่เขาไปหรือถ้าในกรณีที่ศาลได้เพิกถอนคำสั่งการเป็นคนสาบสูญ เพราะว่าผู้สาบสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายในเวลาอื่นผิดจากเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้มรดกที่ตกทอดสู่ทายาทอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
2.นิติบุคคล
นิติบุคคล คือ สิ่งที่กฎหมายจัดตั้งให้เป็นบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน เป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้ เป็นโจทก์หรือจำเลยก็ได้
2.1 การเกิดขึ้นของนิติบุคคล
การเกิดขึ้นของนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สภาตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้น พรรคการเมือง โรงเรียนที่สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เป็นต้น
2.1.1 สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล
สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธิหน้าที่ภายในวัตถุประสงค์เท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เป็นต้น มีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันไปตามตราสารที่จัดตั้งกำหนดไว้จะทำกิจการนอกเหนือจากที่วัตถุที่กำหนดไว้ไม่ได้ กฎหมายจึงจำกัดสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลโดยแยกเป็นสาระสำคัญ ได้ 2 ประการ คือ
1.สิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ นิติบุคคลที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการใด กฎหมายจำกัดให้มีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการนั้นเท่านั้น จะทำการอื่นใดนอกจากขอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไม่ได้ เช่น สมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกีฬาย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการศาสนาหรือการเมือง
2.สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา กล่าวคือ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิสิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะว่านิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ไม่มีชีวิตจิตใจ จึงไม่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นไปได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา เช่น ไม่อาจทำการสมรส ไม่มีหน้าที่รับราชการตำรวจ ไม่มีสิทธิทางการเมือง เป็นต้น
2.1.2 การจัดการนิติบุคคล
ในเรื่องการจัดการนิติบุคคลกฎหมายกำหนดว่า “ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล” ดังนั้นกิจการของนิติบุคคลจึงจำเป็นต้องมีบุคคลธรรมดาเป็นผู้แทนในการดำเนินงาน ซึ่งจะได้พิจารณาออกเป็นดังนี้
1.ผู้แทนของนิติบุคคล เนื่องจากนิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตใจ ดังนั้นการดำเนินกิจการ การใช้สิทธิหน้าที่ต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งกำหนดไว้ เช่น รัฐมนตรีเป็นผู้แทนกระทรวง อธิบดีเป็นผู้แทนกรม อธิการบดีเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัย หุ้นส่วนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว กรรกมการเป็นผู้แทนของบริษัท ผู้จัดการเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิ เป็นต้น
2.อำนาจของผู้แทนนิติบุคคล โดยปกติแล้ว ผู้แทนนิติบุคคลจะบุคคลอำนาจอย่างไรบ้างนั้น มักจะถูกกำหนดลงไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลหรือจะถูกระบุลงไว้ในกฎหมายพิเศษที่จัดตั้งนิติบุคคล
3.ความรับผิดของผู้แทนนิติบุคล กิจการต่างๆซึ่งผู้แทนนิติบุคคลได้กระทำไปนั้น หากเป็นการกระทำนั้นก็อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลแล้ว นิติบุคคลจำต้องต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ผู้แทนได้กระทำไป และในขณะเดียวกันถ้าเกิดความเสียหายขึ้นแก่บุคคลภายนอก เพราะผู้แทนได้ก่อให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ นิติบุคคลก็ย่อมรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้วย เช่น นายเอก เป็นกรรมการของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ได้ขับรถยนต์ของบริษัทเพื่อไปทำการติดต่อกับผู้เอาประกันชีวิตตามหน้าที่ และในระหว่างขับรถยนต์ไปนั้นได้ชน นายโท เข้า นายโท ได้รับบาดเจ็บ ในกรณีเช่นนี้บริษัทประกันชีวิต จะปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายโท ไป อย่างไรก็ตามบริษัทก็สามารถที่จะไปไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นต้นเหตุที่ความเสียหายได้ในภายหลัง
2.1.3 ภูมิลำเนาของนิติบุคคล
ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดภูมิลำเนาของนิติบุคคล ไว้ดังนี้ ถิ่นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือที่จัดตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง ซึ่งสามารถแยกอธิบายภูมิลำเนาของนิติบุคคลออกเป็น
1.ถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือที่ตั้งที่ทำการตั้งอยู่ โดยปกติแล้วภูมิของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นสำนักงานแห่งใหญ่ที่ตั้งอยู่หรือที่ตั้งที่ทำการตั้งอยู่ ซึ่งถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือตั้งที่ทำการตั้งอยู่นั้น คือ ถิ่นซึ่งเป็นที่บัญชาการหรือจัดกิจการของนิติบุคคล
2.ถิ่นที่เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับ ฤาตราสารจัดตั้ง นอกจากนิติบุคคลจะมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการตั้งอยู่เป็นภูมิลำเนาแล้ว กฎหมายยังได้กำหนดให้นิติบุคคลสามารถมีภูมิลำเนาเฉพาะการได้อีกด้วย ถ้าในข้อบังคับ ฤาตราสารจัดตั้งได้เลือกเอาไว้แล้ว
3.ถิ่นที่มีสาขาสำนักงานอันควรจัดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น โดยปกตินิติบุคคลที่มีกิจการใหญ่โต มักจะมีสาขาอยู่ในที่ต่างๆ เพื่อขยายกิจการของตน ดังนี้หากกิจการที่กระทำในสาขานั้นมีลักษณะที่ดำเนินกิจการสมบูรณ์ลำพังตัวได้ ก็อาจถือว่าถิ่นที่ตั้งสำนักงานสาขานั้นเป็นภูมิลำเนาในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการที่สาขานั้นดำเนินการ หรือ หรือบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศ แต่มาตั้งสาขาทำการค้าในประเทศไทยอาจถือได้ว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทยสำหรับกิจการที่ได้ทำในประเทศไทย
2.1.4 การสิ้นสภาพนิติบุคคล
นิติบุคคลอาจสิ้นสภาพบุคคลไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
1.ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง เช่น นิติบุคคลก่อตั้งขึ้นมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดเวลานั้นแล้วก็เป็นอันยกเลิกไป
2.โดยสมาชิกตกลงเลิก เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เมื่อเป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงเลิกกิจการแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคลก็ย่อมเลิกไป
3.เลิกโดยผลแห้งกฎหมาย เช่น ล้มละลาย
4.โดยคำสั่งศาลให้เลิก เช่น นิติบุคคลทำผิดกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.2 การทำนิติกรรมของนิติบุคคล
การทำนิติกรรมของบุคคล นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงไปโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย การเช่าทรัพย์กู้ยืมเงิน จ้างแรงงาน หุ้นส่วนบริษัท การหมั้น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การทำพินัยกรรม การยกให้ทรัพย์สิน เป็นต้น
1.หลักในการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมให้มีผลสมบูรณ์มีหลักเกณฑ์ คือ
1)ต้องมีเจตนาทำนิติกรรมให้ปรากฏออกมาภายนอก
2)บุคคลผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถในการทำนิติกรรม คือ มีความรู้ความเข้าใจ มีสิติปัญญาในการแสดงเจตนาที่ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม ถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ
3)วัตถุประสงค์ของนิติกรรมต้องชอบด้วยกฎหมายไม่พ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญาซื้อขายอาวุธสงคราม เป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือทำสัญญาซื้อขายพื้นที่ดวงจันทร์เป็นสัญญาที่เป็นการพ้นวิสัย เป็นต้น
ข้อสังเกต การเกิดมามีสภาพบุคคล การมีอายุครบบรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) การตายทำให้เกิดผลในทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง มีสิทธิหน้าที่กฎหมายรับรอง กรณีเหล่านี้ ถือว่าเป็นนิติเหตุ
นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับเจตนาของบุคคลหรือเป็นการที่ก่อขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิดผลในกฎหมาย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้กฎหมายต้องรับรู้ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
2.ผลของการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ นิติกรรมที่เป็น “โมฆะ” กับ นิติกรรมที่เป็น “โมฆียะ”
1)นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นจะเป็นนิติกรรมที่สูญเปล่าเปรียบเสมือนไม่ได้ทำตั้งแต่ต้น
2)นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นนิติกรรมที่ทำลงโดยผู้หย่อนความสามารถ เช่นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เป็นต้น ผลของการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ นั้นสมบูรณ์จนกว่าผู้มีอำนาจจะบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก แต่ถ้าไม่บอกล้าง คือ การยอมรับหรือยินยอมที่เรียกว่า “การให้สัตยาบัน” ถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์
คนไร้ความสามารถ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้เขียนแยกหลักการใช้กฎหมายในประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ ออกเป็น 2 เรื่อง เพื่อให้ได้เข้าใจถึงหลักกฎหมายเอกชน คือ หลักการใช้กฎหมายแพ่งและหลักการใช้กฎหมายพาณิชย์ แต่ในส่วนนี้เขียนจะขออธิบายหลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
1.หลักกฎหมายเกี่ยวบุคคล ทรัพย์สิน หนี้ ในการทำธุรกิจ
หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
หลักกฎหมายแพ่งในเรื่องบุคคลและครอบครัวผู้เขียนเห็นว่าน่าจะอยู่ในเรื่องเดียวกันเกี่ยวข้องกันมากจึงได้กำหนดไว้ในหัวข้อเดียวกัน เพื่อสะดวกในการอธิบายและทำความเข้าใจถึงหลักกฎหมายของไทยและในต่างประเทศที่เราได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักกฎหมายตั้งแต่การปฏิรูป การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
1. หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล หมายถึงสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือบุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล
1. บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ทั้งปวงไม่จำกัดเพศ อายุ ฐานะ สติปัญญาและ
สภาพร่างกาย ซึ่งถือว่าล้วนแล้วแต่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายด้วยทั้งสิ้น สิ่งที่เรา
ต้องศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา มีดังนี้
1)สภาพบุคคล สำหรับคนธรรมดามีสภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้ว
อยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
2)ความสามารถของบุคคล หมายความถึง ความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิตามกฎหมายที่มีกฎหมายรับรองไว้ว่าผู้นั้นจะใช้สิทธิได้ตามลำพังตนเองหรือถูกจำกัดในการใช้สิทธิเพราะเป็นผู้หย่อนความสามารถ ผู้หย่อนความสามารถ ได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจใช้สิทธิได้ตามปกติ เช่นบุคคลทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ
(1)ผู้เยาว์ ได้แก่ ผู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่ายังไม่บรรลุ
นิติภาวะแต่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสโดยการจดทะเบียน เมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี โดยได้รับการยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง ก็จะหลุดพ้นการเป็นผู้หย่อนความสามารถ
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เช่น การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี (ถ้าทำอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นโมฆะ) การทำนิติกรรมอันสมควรแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพเป็นต้น
ข้อสังเกต ในทางกฎหมายผู้ที่ให้รับรองหรือการยินยอมการทำนิติกรรมของผู้เยาว์จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้มีอำนาจ หน้าที่ในการทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม แต่นิติกรรมที่สำคัญบางประเภทต้องให้ศาลอนุญาต ด้วยเช่น การขาย ขายฝาก จำนองอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดา มารดาของผู้เยาว์ แต่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครองผู้เยาว์จะมีผู้ปกครองก็ต่อเมื่อไม่มีบิดา มารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เช่นเดียวกับบิดา มารดา
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำเองไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโมฆียะ บิดา มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมีอำนาจบอกล้างได้ ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะไม่มีผลในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการบอกล้างนิติกรรมนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์มาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต
(2)คนไร้ความสามารถ คือคนวิกลจริตหรือคนบ้าที่มีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ทำให้มีผลในกฎหมายคือไม่สามารถทำนิติกรรมใดได้เลย ถ้าทำลงไปเป็นโมฆียะ บุคคลไร้ความสามารถต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลหรือทำนิติกรรมแทน เป็นผู้ปกครองดูแลอุปการะเลี้ยงดูบุคคลไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเป็นคนไร้ความสามารถได้นั้นจะต้องมีคำสั่งของศาลเสมอ
(3)คนเสมือนไร้ความสามารถ คือผู้ที่มีความบกพร่องอย่าง
หนึ่งอย่างใด ใน 5 ประการ คือ กายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดสุรายาเมา
ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ มีเหตุอื่นใดในทำนองเดียวกันนั้นและเหตุบกพร่องดังกล่าวทำให้ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน ลูกหลาน เหลน ลื่อ ร้องขอต่อศาลให้สั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งจะต้องอยู่ในความพิทักษ์ของผู้พิทักษ์
ข้อสังเกต ผู้พิทักษ์มิใช่เป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ จึงแตกต่างจากผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ ซึ่งมีอำนาจทำนิติกรรมได้ทุกกรณี ผู้พิทักษ์มีหน้าที่เพียงให้ความยินยอม แต่คนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมที่สำคัญบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น นำทรัพย์สินไปลงทุน กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน เช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลาเกินกว่า 3 ปี หรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 6 เดือน รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ ให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปเพื่อการกุศล การสังคมหรือตามหน้าที่จรรยา เสนอคดีต่อศาลประนีประนอมยอมความ เป็นต้น
การทำนิติกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถทำได้ตามลำพังนิติกรรมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะทำให้บอกล้างได้ ส่วนในเรื่องการทำพินัยกรรม สามารถทำได้สมบูรณ์ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
3)ภูมิลำเนาของบุคคล ภูมิลำเนา ได้แก่ การที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นสำคัญ การมีภูมิลำเนามีประโยชน์ต่อบุคคล เช่นการมีสิทธิหรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ การเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การส่งหมายเรียก การฟ้องคดี เป็นต้น สำหรับบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้หย่อนความสารถมีภูมิลำเนา คือ
(1)ผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
(2)คนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
(3)คนเสมือนไร้ความสามารถมีภูมิลำเนาของตนเองต่าง
หากจากผู้พิทักษ์ สามีและภรรยา ได้แก่ การที่สามีและภรรยาอยู่กันด้วยกันฉันสามีภรรยาเว้นแต่ สามีหรือภรรยา ได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่าภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
(4)ข้าราชการ ได้แก่ถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
(5)ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตาม
คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
4)การส้นสภาพบุคคล ตามกฎหมายแพ่ง บุคคลสิ้นสภาพบุคคลมีได้ 2 ลักษณะ คือ การตายโดยธรรมชาติกับการตายโดยกฎหมายคือสาบสูญ
(1)ตายโดยธรรมชาติ คือการที่บุคคลตายโดยไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน
(2)ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ คือการที่บุคคลหายไปจาก
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่เป็นเวลานานครบ 5 ปีในกรณีธรรมดา และ 2ปี ในกรณีพิเศษ เช่นเกิดสงคราม เรืออับปาง ตึกถล่ม เป็นต้น
ผลของการสาบสูญ ทำให้สิ้นสภาพบุคคล ถือว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย แต่การสาบสูญไม่ทำให้การสมรสขาดจากกัน แต่เป็นเหตุให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมทั้งการปกครองบุตร และสิทธิส่วนตัวของเขาในการทำนิติกรรม หรือการที่จะสมรสใหม่
2. นิติบุคคล คือ สิ่งที่กฎหมายจัดตั้งให้เป็นบุคคลมีสิทธิและหน้าที่
ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
1) การเกิดขึ้นของนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว คือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สภาตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้น พรรคการเมือง โรงเรียนที่สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เป็นต้น
2)สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธิหน้าที่ภายในวัตถุประสงค์เท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เป็นต้น มีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันไปตามตราสารที่จัดตั้งกำหนดไว้จะทำกิจการนอกเหนือจากที่วัตถุที่กำหนดไว้ไม่ได้
3)ผู้แทนของนิติบุคคล เนื่องจากนิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตใจ ดังนั้นการดำเนินกิจการ การใช้สิทธิหน้าที่ต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งกำหนดไว้
4) ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือที่จัดตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
3. การทำนิติกรรมของบุคคล นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงไป
โดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย การเช่าทรัพย์กู้ยืมเงิน จ้างแรงงาน หุ้นส่วนบริษัท การหมั้น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การทำพินัยกรรม การยกให้ทรัพย์สิน เป็นต้น
1)หลักในการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมให้มีผลสมบูรณ์มีหลักเกณฑ์
คือ
(1)ต้องมีเจตนาทำนิติกรรมให้ปรากฏออกมาภายนอก
(2)บุคคลผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใน
การทำนิติกรรม คือมีความรู้ความเข้าใจ มีสิติปัญญาในการแสดงเจตนาที่ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม ถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ
(3)วัตถุประสงค์ของนิติกรรมต้องชอบด้วยกฎหมายไม่พ้นวิสัย
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญาซื้อขายอาวุธสงคราม เป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือทำสัญญาซื้อขายพื้นที่ดวงจันทร์เป็นสัญญาที่เป็นการพ้นวิสัย เป็นต้น
ข้อสังเกต การเกิดมามีสภาพบุคคล การมีอายุครบบรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) การตายทำให้เกิดผลในทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง มีสิทธิหน้าที่กฎหมายรับรอง กรณีเหล่านี้ ถือว่าเป็นนิติเหตุ
นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับเจตนาของบุคคลหรือเป็นการที่ก่อขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิดผลในกฎหมาย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้กฎหมายต้องรับรู้ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
2)ผลของการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ นิติกรรมที่เป็น “โมฆะ” กับ นิติกรรมที่เป็น “โมฆียะ”
(1)นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นจะเป็นนิติกรรมที่สูญเปล่า
เปรียบเสมือนไม่ได้ทำตั้งแต่ต้น
(2)นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นนิติกรรมที่ทำลงโดยผู้หย่อน
ความสามารถ เช่นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เป็นต้น ผลของการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ นั้นสมบูรณ์จนกว่าผู้มีอำนาจจะบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก แต่ถ้าไม่บอกล้าง คือการยอมรับ หรือยินยอมที่เรียกว่า “การให้สัตยาบัน” ถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์
หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องทรัพย์สินการได้มาซึ่งในทรัพย์ในบรรพ 4 นั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายทรัพย์สิน ทรัพย์ ลักษณะของทรัพย์ เสียก่อน
1. ความหมายทรัพย์สิน ในทางกฎหมายได้ให้ความหมายของทรัพย์สิน คือ
1)ทรัพย์ คือ วัตถุมีรูปร่าง เช่น รถยนต์ ปากกา เสื้อผ้า ธนบัตร สิ่งไม่เป็นรูปร่างไม่เป็นทรัพย์แต่อาจเป็นทรัพย์สิน
2)ทรัพย์สิน มีความหมายกว้างกว่า ทรัพย์ คือเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่ต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น พลังงาน กระแสไฟฟ้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
2. ประเภทของทรัพย์ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ
1)อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นที่ดินทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ ทรัพย์สิทธิต่างๆ คือ ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
2)สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย หมู สุนัข เป็ด ไก่ เป็นต้น กับทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้จากการที่บุคคลที่ทำให้เคลื่อนที่ เช่น เสื้อผ้า รถไฟ รถยนต์ รถจักรยาน วิทยุ ปากกา ข้าวสาร น้ำตาล เป็นต้น
3)ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึงทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก อาคาร เป็นต้น
4)ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึงทรัพย์ที่อาจแยกออกจากันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมีรูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน เป็นต้น
5)ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
3. ส่วนประกอบของทรัพย์ ส่วนประกอบของทรัพย์ ได้แก่
1)ส่วนควบ หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพไป เช่น ประตู หน้าต่าง ย่อมเป็นส่วนควบของบ้าน ล้อรถยนต์ย่อมเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบเหล่านั้น รวมทั้งไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์มีดังนี้
(1)ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี
(2)ทรัพย์อันติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวงใน ระหว่างงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
2)อุปกรณ์ หมายถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น แม่แรงประจำรถ กลอนประตูหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ของบ้าน เป็นต้น
3)ดอกผล หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์โดยสม่ำเสมอ แยกออก 2 ประเภทคือ
(1)ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ นมสัตว์ ลูกสัตว์ เป็นต้น
(2)ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา เป็นครั้งคราว แก่เจ้าของทรัพย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย เป็นต้น
4.การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในเรื่องของทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น มีหลักกฎหมายที่สำคัญที่ควรทราบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4คือ การได้มาและการสิ้นไปซึ่งทรัพย์สิทธิอัน หมายถึง สิทธิเหนือทรัพยสิทธิโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์แล้ว บุคคลอื่นต้องยอมรับนับถือในสิทธินั้นคือมีหน้าที่ในสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
1)กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วจะมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
(1)สิทธิครอบครองและยึดถือ
(2)สิทธิใช้สอย
(3)สิทธิจำหน่ายจ่ายโอน
(4)สิทธิได้ดอกผล
(5)สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้อื่น
(6)สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
2)การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แยกได้เป็นกรณี คือ
(1)การได้มาซึ่งนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น
(2)การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น ได้มาในเรื่องของส่วนควบ การได้มาโดยเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ การได้มาทางมรดก หรือการได้มาโดยคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
3)กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีกรรมสิทธิ์รวมกันในทรัพย์สินสิ่งใด ผู้เป็นของรวมคนหนึ่งมีสิทธิ เรียกให้แบ่งทรัพย์ได้เพื่อแต่ละคนจะได้มีกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนตามส่วนแบ่งของตน
4)สิทธิครอบครอง คือการที่บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน บุคคลนั้นได้สิทธิครอบครองแต่บุคคลจะให้ผู้อื่นยึดถือทรัพย์สินแทนตนก็ได้ การมีสิทธิครอบครองเป็นทางทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
5)การครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบกำหนด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์และ 5 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์แล้วผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เจ้าของทรัพย์สินสิ้นสิทธิในทรัพย์สินนั้น เพราะถือว่านอนหลับทับสิทธิ เป็นการทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดย “อายุความ”
6)ทางจำเป็น คือ ทางที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยทางที่ผ่านนั้นจะต้องทำทางที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจต้องเสียค่าทดแทนจากการใช้ทางผ่านได้
7)ทรัพยสิทธิ คือสิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สินที่เรียกสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่
(1)ภาระจำยอม คือ ที่อสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ทำให้เจ้าของทรัพย์ต้องยอมรับกรรมหรือรับภาระหรืองดเว้น การให้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์
(2)สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การให้สิทธิอาศัยจะกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ซึ่งถ้ามีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี แต่ต่ออายุได้ สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไปยังผู้อื่นไม่ได้
(3)สิทธิเหนือพื้นดิน คือการที่เจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น การใช้สิทธิต้องจดทะเบียนมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดินหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้
(4)สิทธิเก็บกิน คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
(5)ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ คือการที่อสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ หรือได้ใช้แล้วถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
สำหรับเรื่องหนี้เป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งในระบบกฎหมายซีวิวลอว์มีความยิ่งใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายว่าด้วยหนี้ไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งแยกต่างหากไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ คือ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการงดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนเพื่อชำระหนี้ หนี้นั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนี้ว่าเป็นบุคคลสิทธิ
1.บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา(เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ)กับนิติเหตุ (เป็นหนี้ที่เกิดจากกฎหมาย)
บ่อเกิดแห่งหนี้(มูลแห่งหนี้)
นิติกรรมสัญญา กฎหมาย(นิติเหตุ)
เอกเทศสัญญา บรรพอื่น สัญญาไม่มีชื่อ
จัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพอื่น กฎหมายอื่น
1. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา เป็นการสมัครใจในการที่ก่อหนี้ขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ประการ
1)หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา หมายความว่าคนสองฝ่ายมาทำกันกฎหมายตั้งชื่อไว้แล้วกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นสัญญาที่มีชื่อตามกฎหมายที่ตั้งไว้ มีอยู่ 22 สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท
2)หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น เช่น สมาคมในบรรพ 1 หรือตามบรรพ 5 ครอบครัว คือสัญญาก่อนสมรส, สัญญาระหว่างสมรสที่สามีภริยาทำกัน,สัญญาหมั้น เป็นต้น
3)สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3 บางคนเรียกสัญญานอก บรรพ 3 เช่น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญากองทุนสมรส เป็นต้น
2. หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย หนี้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจในการเกิดหนี้ขึ้น แบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
1)หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จัดการได้สอดเข้าทำกิจการของบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้กระทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนเขาได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนเสียไปเพราะจัดการงานนอกสั่ง
2)หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้ คือการที่บุคคลใดได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ที่รับทรัพย์ย่อมเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนแก่เจ้าหนี้
3)หนี้ที่เกิดจากการละเมิด คือการกระทำใด ที่กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายไม่ว่ากระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้เขาได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดหนึ่งอย่างใด การกระทำเช่นว่านั้นเข้าการกระทำละเมิด หรือเป็นการกระทำล่วงสิทธิผิดหน้าที่ ทำให้เขาเสียหาย ละเมิดนั้นอยู่บนหลักที่ว่าบุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายผู้กระทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หลักที่ใหญ่ที่สุดของการละเมิด คือ หลักที่ว่าละเมิดนั้น เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด กฎหมายทำให้เสียหายโดยตรง (Liability with fault) กับความรับผิดแม้ไม่ได้กระทำ (Liability without fault) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับทฤษฎีในเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดเกิดขึ้น 3 ทฤษฎี
(1)ทฤษฎีที่ 1 ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (Tortfeasur’s Liability) ซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง ซึ่งเป็นความผิดอาจเกิดจากใช้สิทธิของตนปกติตั้งแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนการไขข่าวแพร่หลายทำให้บุคคลเสียหาย เป็นต้น
(2)ทฤษฎีที่ 2 ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำละเมิด(Vicarious Liability) ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเกณฑ์ให้รับผิดหากดูแล้วเหมือนไม่เป็นธรรมแต่ถ้าไม่เกณฑ์ก็ยิ่งไม่ยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิด คือ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างรับผิด ตัวแทนทำละเมิด ตัวการรับผิด ลูกศิษย์ทำละเมิดอาจารย์ต้องรับผิด คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องรับผิด บุตรผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาต้องรับผิด เป็นต้น
(3)ทฤษฎีที่ 3 ความรับผิดเพราะคนที่มีความเกี่ยวพันกับผู้กระทำละเมิด (Strict Liability) คือ ความรับผิดที่เกิดขึ้นการที่ทรัพย์ซึ่งอยู่ความดูแลของตนไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น เจ้าของทรัพย์หรือผู้ดูแลทรัพย์ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงสัตว์ไว้แทนเจ้าของ ผู้ครอบครองโรงเรือน หรือเจ้าของ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรียน ผู้ครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น
4)หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบรรพอื่น เช่น สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน ทรัพย์สินมรดกใดถ้าไม่มีผู้ใดรับมรดกให้ตกเป็นของรัฐ รัฐจึงเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น
5)หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น เช่น หนี้ที่เกิดจากประมวลกฎหมายรัษฎากร คือบุคคลผู้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อนำภาษีมาพัฒนาบ้านเมือง เป็นต้น
2. ผลแห่งหนี้
เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลแห่งหนี้ก็จะเกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้กับสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ซึ่งเราเรียกว่า เป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ การให้ลูกหนี้กระทำการ การงดเว้นกระทำการ และการโอนทรัพย์สิน หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ถูกต้องแล้ว หนี้ก็เป็นอันระงับไป แต่ปัญหาว่าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีมาตรการอย่างไรในการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ผูกพันที่มีอยู่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ของตน และเมื่อการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายได้นอกจากกฎหมายจะให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องของให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว กฎหมายยังได้คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้อีก โดยให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
ในกรณีเรื่องเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้น ฝ่ายลูกหนี้อาจเป็นลูกหนี้หลายคนหรือ ฝ่ายเจ้าหนี้อาจจะเป็นเจ้าหนี้หลายคนก็ได้ ซึ่งในกรณีเป็นลูกหนี้หลายคนร่วมกันผูกพันในอันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้นั้นเราเรียกว่าลูกหนี้ร่วม ผลแห่งการเป็นลูกหนี้ร่วมก็คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง การกระทำแทนการชำระหนี้หรือการหักกลบลบหนี้ร่วมคนใด ย่อมเป็นประโยชน์ แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดหนี้ การผิดนัดของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ
3. การชำระหนี้หรือการระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้นั้นหมายความว่าหนี้นั้นได้สิ้นสุดลงหรือได้ระงับลง ซึ่งการที่หนี้จะระงับลงได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 กรณี คือ การชำระหนี้ การปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืน
1. การชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ถูกต้องตามวัตถุแห่งหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วหนี้ย่อมระงับหรืออาจเป็นกรณีบุคคลภายนอกจะชำระหนี้แทนลูกหนี้แต่การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะทำไม่ได้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำหรือขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
2. ปลดหนี้ คือการทำหนี้สิ้นสุดลง เพราะเจ้าหนี้ได้ยินยอมยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ตัวหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือ หรือ ต้องเวนคืน เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3. หักกลบลบหนี้ การหักกลบลบหนี้ คือเมื่อบุคคล 2 ฝ่ายมีความผูกพัน ซึ่งกันและกันโดยความผูกพันนั้น คือหนี้ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้กัน และหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เพื่อให้หนี้ระงับเพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้
4. แปลงหนี้ใหม่ ได้แก่ การระงับหนี้เก่า แต่มีหนี้ใหม่ขึ้นมาแทน
5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน ได้แก่ กรณีซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
2. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์ไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยหลักกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรทางธุรกิจ หลักกำหมายในการทำธุรกิจ หลักกฎหมายในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้
2.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ได้แก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัท
ห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัท อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นคือสัญญา ซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกันเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นดังนั้นประเภทของห้างหุ้นส่วนและบริษัท มีดังนี้ คือ
2.1.1 ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนนั้นจะประกอบได้ด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งเป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน
ต้องร่วมกันรับผิดเพื่อชำระหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด
1)สิ่งที่นำมาลงทุนหุ้นส่วน ทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งใดมาลงหุ้นอาจเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้
2)การจัดการห้างหุ้นส่วน ถ้ามิได้ตกลงไว้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน
3)การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนก็ได้หรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ถ้าจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นก็มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน ประเภทที่สอง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียว หรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
1)การจัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบเท่านั้นมีสิทธิจัดการห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะจัดการห้างหุ้นส่วนไม่ได้
2)การจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเสมอ การจดทะเบียนก็ยังจดสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแต่ละแห่ง
ข้อสังเกต สิ่งที่นำมาลงหุ้นโดยเฉพาะหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดนั้นจะต้องลงเป็นเงิน หรือทรัพย์สินอย่างอื่นๆ จะนำแรงมาลงไม่ได้
2.1.2 บริษัทจำกัด
บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกันโดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
1. การจัดตั้งบริษัท จะต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือ บริคณห์สนธิและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจนกว่าจะมีการจดทะเบียนบริษัทจำกัดและเป็นนิติบุคคล ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีแบบฟอร์มหนังสือบริคณห์สนธิของทางราชการให้กรอกข้อความ สิ่งสำคัญคือวัตถุประสงค์ที่จะทำการค้าขาย กิจการธุรกิจการค้า ข้อบังคับ เป็นต้น
ข้อสังเกต บริษัทมหาชน คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ทั้งนี้ได้มีกฎหมายบัญญัติแยกไว้ต่างหาก คือ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535
2. การบริหารกิจการบริษัท บริษัทจำกัดให้มีกรรมการหนึ่งคนหรือหลายคนจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ภายใต้การควบคุมของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวงโดยปกติมีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นปีละครั้งเรียกว่าประชุมสามัญ แต่กรรมการจะเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เมื่อใดก็ได้ เรียกว่าประชุมวิสามัญ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นผู้ตั้งและถอดถอน กรรมการไม่จำเป็นต้องถือหุ้นในบริษัท และเมื่อบริษัทได้ดำเนินกิจการมีกำไรก็จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น
2.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินทางธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติไว้ในเอกเทศสัญญาในการทำสัญญาต่างๆ เช่นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาไม่ต่างตอบแทน หรือสัญญามุ่งโอนกรรมสิทธิ์เป็นต้น ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ได้ดังนี้คือ
2.2.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
1. ซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย ตามที่ได้กล่าวมานี้สรุปได้ว่าสัญญาซื้อขายก็คือสัญญาที่ตกลงเอาทรัพย์สินออกแลกกับเงินตรา(ราคา) นั่นเอง และเมื่อเป็นสัญญา ก็ต้อง อาศัยหลักกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมสัญญา
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์พิเศษเช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพ หรือสัตว์ยานพาหนะได้แก่ ช้างม้า โค กระบือ ล่อ ลา ก็ต้องทำเป็นหนังสือแลจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ส่วนการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 500 บาท ทำเป็นหนังสือจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ ได้
สัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งที่นิยมทำกันมาก คือ สัญญาขายฝาก ซึ่งหมายถึง การซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ การขายฝากนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนดเวลาในการขายฝาก ถ้าไม่มาไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็หมดสิทธิในการไถ่คืน
การกำหนดเวลาไถ่คือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายใน 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายใน 3 ปี
2. แลกเปลี่ยน คือสัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันซึ่งการซื้อขายและการแลกเปลี่ยนทำให้กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของทรัพย์เปลี่ยนมือจากบุคคลหนึ่งมายังบุคคลหนึ่ง แต่ต่างกันด้วยการชำระเงินในการซื้อขาย ส่วนการแลกเปลี่ยนเป็นการชำระกันด้วยสิ่งของ การแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
3. ให้ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้โอนทรัพย์สินของตนโดยเสน่หาให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์นั้น ซึ่งการให้ต้องเป็นการให้โดยเสน่หาโดย ไม่มีค่าตอบแทน ถ้ามีค่าตอบแทนราคาทรัพย์สินจะเป็นการซื้อขาย
การให้ทรัพย์สิน ซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในเรื่องของคำมั่นว่าจะให้ จะสมบูรณ์บังคับได้จะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งการให้อาจให้โดยการทำพินัยกรรมตาม บรรพ 6 มรดกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้
การถอนคืนการให้ นั้นจะถอนคืนการให้ไม่ได้ เว้นแต่การถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณ คือ
1)ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา
2)ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3)ผู้รับปกปิดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีการให้ที่ไว้ถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ดังนี้
(1)ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(2)ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน เช่นให้ที่ดินที่ติดจำนองผู้อื่นผู้รับ
ต้องชำระหนี้ไถ่ถอนมา เป็นต้น
3)ให้โดยศีลธรรมจรรยา เช่นบิดามารดาให้เงินแก่บุตรในการ
เลี้ยงดูตามปกติ เป็นต้น
4)ให้ในการสมรส เช่นบิดามารดายกที่ดินหรือให้ทรัพย์สินแก่
บุตรหลาน ญาติในวันสมรส เป็นต้น
2.2.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน
1. เช่าทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้และถ้าเช่าเกิน 3 ปีหรือตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าแต่ต้องไม่เกิน 30 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแต่ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้บังคับได้เพียง 3 ปี
ข้อสังเกต ยังมีสัญญาเช่าทรัพย์ที่อยู่นอกบรรพ 3 คือสัญญาเช่าทรัพย์ที่เป็นสัญญาต่างตอบแทน คือสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่าบังคับกันได้ในระหว่างผู้ให้เช่า กับผู้เช่าแม้กำหนดเวลาเช่าเกิน 3 ปีและไม่ได้จดทะเบียนก็ตามในกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงกับผู้เช่าให้ผู้เช่าจ่ายช่วยค่าก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ผู้เช่าได้มีสิทธินั้นในขณะก่อสร้างหรือในขณะที่การก่อสร้างไม่เสร็จเป็นต้น
2. เช่าชื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์ออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ลักษณะสำคัญของเช่าซื้อ คือ เมื่อมีการเช่าซื้อแล้วในระหว่างชำระค่าเช่าผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่า 2 ครั้งติดกันแล้ว ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้และสามารถเรียกเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืน โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่างวดที่ส่งมาคืนให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่ถ้าในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อนั้นผู้เช่าซื้อขายทรัพย์สินหรือจงใจทำให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาโอนไปหรือเบียดบังเอาเสีย เช่นการเอาไปจำนำ ผู้เช่ามีความผิดฐานอาญา ยักยอกทรัพย์เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่
3. จ้างแรงงาน คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ข้อสังเกต การจ้างแรงงานในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่บังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติจัดหางานสำหรับผู้ที่จะไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อมีปัญหาข้อพิพาทในคดีเกี่ยวกับแรงงานขึ้นจะต้องฟ้องร้องต่อศาลแรงงานซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษของศาลยุติธรรม
4. จ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงจะทำงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้างและตกลงผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
5. รับขน แยกเป็นสัญญารับขนของ กับรับขนคนโดยสาร เป็นการกระทำเพื่อบำเหน็จทางการค้า คือ ค่าขนส่ง หรือค่าระวาง หรือค่าโดยสาร ซึ่งมีกฎหมายพิเศษอีกเช่น ขนส่งทางบก มีพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พระราชบัญญัติรถยนต์ พระราชบัญญัติจราจรทางบก กำหนดรายละเอียด การขนส่งทางอากาศ เช่น พระราชบัญญัติเดินอากาศ ขนส่งทางทะเล เป็นต้น
ความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือขนส่งชักช้า รวมทั้งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดกรณีคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือความเสื่อมเสียอย่างใดๆ อันเป็นผลโดยตรงแก่การที่ต้องชักช้าในขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสาร
ข้อสังเกต มีข้อยกเว้นที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแก่คนโดยสารอีกเรื่องหนึ่งคือคนโดยสารได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น
2.2.3 กฎหมายเกี่ยวกับยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
1. ยืม ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดการยืมไว้ 2 เรื่องคือ ยืมใช้คงรูป กับยืมใช้สิ้นเปลือง
1)ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
2)ยืมใช้สิ้นเปลือง คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินประเภทชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
ข้อสังเกต การยืมเงิน (ซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง) ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปต้องทำเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ซึ่งการยืมเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ถ้าเกินจะตกเป็นโมฆะ แต่ส่วนของต้นเงินนั้นยังคงใช้ได้ เพราะสามารถแยกส่วนต้นเงิน ซึ่งสมบูรณ์อยู่ออกจากส่วนดอกเบี้ยได้
อย่างไรก็ตามในข้อนี้ มีกรณียกเว้นหากเป็นการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน คือพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2520 อันเป็นกฎหมายพิเศษ กำหนดให้สามารถคิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้
2. ฝากทรัพย์ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝากส่ง
มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สิน นั้นไว้ในการรักษาดูแลจากผู้รับฝากแล้วจะคืนให้กับผู้ฝาก
ข้อสังเกต การฝากทรัพย์
1)การฝากทรัพย์ที่เป็นเงินจะมีเฉพาะการฝากเงิน ผู้ฝากไม่ต้องคืนเป็นเงินตราเดียวกันกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนและผู้รับฝากเอาเงินนั้นใช้ก็ได้แต่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้เงินที่รับฝากจะสูญหายไป เพราะเหตุสุดวิสัยผู้รับฝากก็ต้องคืนเงินจำนวนนั้น
2)วิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลหรือสถานที่อันทำนองเช่นว่านั้นจะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่คนเดินทางหรือแขกอาศัย
3. เก็บของในคลังสินค้า เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจการค้าขยายตัว สินค้าทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมีปริมาณมาก และจำนวนมากขึ้น เจ้าของสินค้าอาจไม่มีสถานที่เก็บรักษาหรือที่เรียกว่าโกดัง เพียงพอ จึงเกิดมีอาชีพของนักธุรกิจที่สนใจสร้างโกดังเก็บสินค้าให้เช่าหรือรับฝากสินค้านั้นไว้ ที่เรียกว่า นายคลังสินค้า ทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จทางการค้า เมื่อรับฝากสินค้าไว้ นายคลังสินค้าจะออกใบรับฝากสินค้าให้กับผู้ฝากไว้เป็นหลักฐาน เรียกว่า ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
2.2.4 กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกันบุคคลและทรัพย์
1.ค้ำประกัน คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ซึ่งการค้ำประกันจะสมบูรณ์นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันอาจจะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ส่วนสิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่
เจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันย่อมที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน
2.จำนอง คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สิน ตราไว้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง การทำสัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำนองยอมตกเป็นโมฆะ
ทรัพย์สินที่จำนอง ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่สังหาริมทรัพย์บางชนิดกู้จำนองได้หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย ได้แก่
(1)เรือกำปั่น หรือ เรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป
(2)แพ
(3)สัตว์พาหนะ
(4)สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ เช่น ตามพระราชบัญญัติเครื่องจักร พ.ศ.2514 อนุญาตให้จำนองเครื่องจักรซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หากได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรตามพระราชบัญญัติแล้ว
สิทธิของผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ซึ่งในทางกฎหมายล้มละลายเรียกว่า เจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งหมายความว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ในทางจำนอง จำนำ ในการฟ้องบังคับจำนอง หลุดแล้วทรัพย์สินนั้นไม่พอชำระหนี้เพราะราคาทรัพย์สินที่จำนองต่ำกว่าจำนวนหนี้หรือขายได้เงินน้อยไม่พอชำระหนี้ที่ค้างชำระกัน เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
3. จำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินสิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนเรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ความรับผิดของผู้จำนำ เช่นเดียวกับสัญญาจำนอง เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและลูกหนี้ไม่ชำระเจ้าหนี้มีสิทธิจะบังคับจำนำได้ตามกฎหมาย นำทรัพย์สินขายทอดตลาด
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างจำนำกับจำนอง
จำนำต่างกับจำนอง คือผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินไว้แก่ผู้รับจำนำ แต่จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง และเมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าที่ค้างชำระลูกหนี้ต้องรับใช้ส่วนที่ขาดให้แก่เจ้าหนี้ด้วย ส่วนบังคับจำนองเมื่อนำขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินน้อยกว่าที่จำนองไว้ลูกหนี้ไมต้องรับส่วนที่ขาดให้แก่เจ้าหนี้
2.2.5 หลักกฎหมายว่าด้วย ตัวแทน นายหน้า
1. ตัวแทน คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ เมื่อตัวแทนไปทำการแทนตัวการกับบุคคลภายนอกตามที่ได้รับมอบหมายจากตัวการแล้ว ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
2. นายหน้า คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก
สัญญานายหน้านั้นตามปกติต้องว่ามีบำเหน็จ แม้จะไม่มีข้อตกลงกันไว้ ก็ต้องให้ตามธรรมเนียมคือร้อยละ 5 สิทธิเรียกค่าบำเหน็จเกิดขึ้นเมื่อตัวการกับบุคคลภายนอกได้ตกลงกันทำสัญญากันเสร็จ แม้ต่อมาจะมีการบอกเลิกสัญญาภายหลัง ก็ต้องจ่ายค่าบำเหน็จให้
ความรับผิดของนายหน้า นายหน้าไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญา
2.2.6 หลักกฎหมายว่าด้วย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
1. ตั๋วเงิน ตั๋วเงินมีลักษณะสำคัญคือ ต้องทำเป็นหนังสือตราสาร มีเนื้อความตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตราและเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบหรือ สลักหลังตราสารนั้นๆ การชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการใช้เงินตราตามตั๋วเงินนั้นและแม้การเรียกให้ใช้เงินตามมูลหนี้จะขาดอายุความแล้ว หากหนี้เดิมยังไม่ขาดอายุความ ก็ยังคงเรียกให้ชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมได้
ตั๋วเงินตามกฎหมายมี 3 ชนิด คือตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค
1)ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ซึ่งอาจจะใช้ภาษาใดก็ได้ มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ระบุชื่อผู้จ่ายเงิน แก่ผู้รับเงินหรือผู้ถือ เป็นจำนวนเงินอันแน่นอน ตามวันและสถานที่ที่ระบุ พร้อมทั้งลงวันเดือนปี สถานที่ออกตั๋วเงินและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายด้วย หากขาดรายการหนึ่งรายการใด ย่อมไม่ใช่ตั๋วเงินตามกฎหมาย
2)ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่ง ของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน
รายการของตั๋วสัญญาใช้เงิน เช่น คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน คำมั่นสัญญาปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน วันถึงกำหนดใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
3)เช็ค คือหนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน
เช็คต้องมีรายการ เช่น คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคารชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ ผู้ถือ สถานที่ใช้เงิน วันและสถานที่ออกเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ข้อสังเกต ในปัจจุบันผู้จ่ายเช็คไม่มีเงิน มีความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
2. บัญชีเดินสะพัด คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบหนี้กันและคงชำระแต่ละส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค
2.2.7 หลักกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย
ประกันภัย เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นโดยเอาบุคคลที่อยู่ในวาระอาจเสี่ยงภัยในลักษณะเดียวกันมารวบกันเข้า เพื่อช่วยเฉลี่ยค่าเสียหายกันเมื่อคนหนึ่งคนใดเกิดภัยพิบัติขึ้นดังนั้นการประกันภัยคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อเกิดภัยในอนาคตแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้โดยอาจส่งเงินเป็นงวดหรือเป็นก้อนก็ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งประเภทของประกันภัยได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สัญญาประกันวินาศภัย กับสัญญาประกันชีวิต
1. สัญญาประกันวินาศภัย เป็นสัญญาที่มุ่งหมายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นอันสามารถคำนวณเป็นราคาได้ เช่นประกันภัยขนส่ง ประกันภัยทางทะเล หรือประกันภัยค้ำจุน ประกันอัคคีภัย เป็นต้น
2. สัญญาประกันชีวิต มุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เอาประกันหรือผู้มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันที่ต้องพึ่งพากัน ถ้าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมลง
ในปัจจุบัน ธุรกิจประกันภัย ประกันวินาศภัย ประกันชีวิตมีกฎหมายพิเศษควบคุมอีกต่างหาก คือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ดูแล
2.3 กฎหมายที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 17 สัญญาประนีประนอมยอมความ หมายถึงสัญญาซึ่งผู้เป็นสัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนฝันให้แก่กัน มีคดีขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก คงจะเป็นเพราะประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่จะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป คู่กรณีจึงนิยมระงับข้อพิพาทด้วยการทำสัญญากันไว้ชั้นหนึ่ง แทนที่จะฟ้องต่อศาลเลย ยังผลให้หนี้เดิมระงับและก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ภายหลังคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายจึงต้องฟ้องร้องยอมความ แก่ภายหลังคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายจึงต้องฟ้องร้องบังคับคดีต่อศาล และคงเป็นเพราะเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลกันแล้ว แต่ระหว่างดำเนินคดีคู่ความตกลงกันได้ จึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและให้ศาลพิพากษายอมความ
1. ลักษณะของประนีประนอมยอมความ สามารถแยกได้ดังนี้
1)เป็นสัญญา ซึ่งประกอบด้วยคู่สัญญาด้วยคู่สัญญา 2 ฝ่ายขึ้นไปหรืออาจเรียกสัญญานั้นว่านิติกรรมหลายฝ่าย
2)เป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไป
สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องทำ ณ สถานที่ใด กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ นั้นจะทำที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่คู่สัญญา แต่ที่เป็นอยู่ขณะนี้พอจะแบ่งตามลักษณะของสถานที่ที่ทำสัญญาได้ 2 ประเภทดังนี้
(1)ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
(2)ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
2.4 หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถบังคับกันได้
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เอกเทศ คือ สัญญาลักษณะการพนันและขันต่อ เป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาต่างเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สินด้วยเสี่ยงโชคหรือฝีมือโดยการตกลงกันว่าในอนาคตหากมีเหตุการณ์อันไม่มีความแน่นอนเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคาดหมายไว้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งคาดหมายผิดเป็นฝ่ายข้างเสียพนันขันต่อจะต้องใช้หนี้เงินหรือทรัพย์แก่ฝ่ายนั้นซึ่งเป็นฝ่ายชนะพนัน ซึ่งการพนันหรือขันต่อนั้น เป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ที่สามารถแยกผลทางกฎหมาย ได้ 3 ประการคือ
1. ไม่ก่อให้เกิดหนี้
2. สิ่งใดที่ให้กันทวงคืนไม่ได้
3. แม้ทำข้อตกลงเป็นมูลหนี้อื่นก็หาก่อให้เกิดหนี้ไม่
แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นการพนันที่รัฐบาลอนุญาตให้เล่นการพนันเป็นการเฉพาะราย
เช่นสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือ ล๊อตเตอรี่ สลากออมสิน หวยรัฐบาล เป็นต้น เป็นหนี้ที่สามารถบังคับกันได้ ซึ่งเป็นข้อยกเว้น รายละเอียดได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการพนันด้วย
คนไร้ความสามารถ คือ 在 ทนายชาติพร | EP.2 ศัพท์กฎหมาย แปลว่าอะไรปวดหัว2 "คนวิกลจริต ... 的推薦與評價
ทนายชาติพร | EP.2 ศัพท์กฎหมาย แปลว่าอะไรปวดหัว2 "คนวิกลจริต, คนไร้ความสามารถ, คนเสมือนไร้ความสามารถ ". 2.7K views · 3 years ago ...more ... ... <看更多>
คนไร้ความสามารถ คือ 在 ทนายใกล้ตัว - คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ... 的推薦與評價
หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ... ... <看更多>