มาทำความรู้จัก "การนอนหลับ" ของเราเอง
ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ชาวทะเลน่าจะได้รับไม่ต่างกันในแต่ละแห่งทั่วโลกน่าจะเป็นเรื่องของ การนอน และ การนอน ของชาวทะเลนี่เอง คือจุดหนึ่งที่แตกต่างกับชีวิตของชาวบนฝั่งค่อนข้างมากครับ
การได้นอนวันละ 7-8 ชั่วโมง ที่น่าจะเกิดได้ยากมากสำหรับชาวฝั่ง แต่กลับเป็นอะไรที่พบได้ง่ายมากกับคนในทะเล
ในฐานะของผมเอง เลยอยากมาลองแชร์มุมมองเรื่องการ นอนหลับ ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน รวมถึงคนออฟชอร์ด้วยนะครับ เห็นมีแวะเวียนมาทักทายกันพอสมควรเลย 😊 อ่าวไทยไม่ได้ใหญ่มาก ผมคิดว่าเราต้องอยู่ไม่ห่างกันแน่ๆครับ
ผมสรุปเนื้อหาบางส่วนมาจากหนังสือเรื่อง Why we sleep ซึ่งเป็นหนังสือที่ผมได้อ่านเมื่อตอนมาอยู่ทะเลในรอบที่แล้ว และพบว่าเนื้อหาข้างในมันดีมาก ดีจนอยากเอามาแชร์และแบ่งปัน และอยากให้มองว่าลองใช้ชีวิตออฟชอร์เป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนวิธีการนอนของเรา ซึ่งคนบนฝั่งก็สามารถนำไปใช้ได้ครับ
มี 2 คำ ที่อยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนคือคำว่า NREM และ REM ครับ เพราะอันนี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวการนอนอย่างมีคุณภาพ
REM และ NREM คืออะไร
ลองนึกถึงภาพของ สมองของเรา กันนะครับ เป็นความจริงที่ว่าสมองเราอาจจะมีหน่วยความจำที่ใส่ข้อมูลเข้าไปได้เรื่อยๆอย่างไม่จำกัดก็จริง แต่ปัญหาคือการเรียกเอาออกมาใช้ในเวลาที่ต้องการกลับไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะข้อมูลที่เคยใส่ไว้อาจจะจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ไหน หนักกว่าคือลืมไปว่าเคยรู้มาก่อน ถ้าข้ามประเด็นเรื่องนอนเพื่อให้ร่างกายได้พักแล้ว จุดประสงค์ของการนอนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างคือ เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะมาจัดการ สะสาง กับสิ่งที่เกิดในสมองของเราตลอด 24 ชั่วโมงก่อนหน้านั้นนั่นเองครับ
NREM Sleep (Non rapid eye movement) ช่วงของการหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก คำจำกัดความในทางเทคนิค คือช่วงของการหลับที่ลูกตาไม่กรอก อันนี้ไม่ต้องสนใจได้ครับ ไปต่อเลย
ความสำคัญของ NREM คือ การประมวลข้อมูลที่ได้รับรู้มาตลอดทั้งวัน การเปลี่ยนความทรงจำจากระยะสั้นไปเป็นระยะยาว การเตรียมวัตถุดิบใหม่ๆ การเคลียร์ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ออกจากสมอง การครุ่นคิด เปิดโอกาสให้เกิดการสื่อสารในส่วนต่างๆ ของสมอง จัดเก็บความทรงจำจากคลังระยะสั้นให้เป็นความทรงจำระยะยาว กลั่นกรองความทรงจำ เสริมสร้างวัตถุดิบทักษะใหม่ๆ ซึ่งพวกนี้คือการนอนที่สัตว์อื่นๆก็มีเช่นเดียวกันกับมนุษย์
REM Sleep (Rapid eye movement) เป็นการนอนในจังหวะที่ที่กล้ามเนื้อลายต่างๆของร่างกาย (skeletal muscle) อ่อนตัวลง หยุดทำงาน คลายตัวเกือบ 100% จะมีเฉพาะในส่วนของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจที่ยังทำงานอยู่ รวมถึงกล้ามลูกตาที่กรอกไปมา ถ้าใครไปเปิดตาเพื่อนดูในช่วงนี้เราก็จะเห็นว่าทำไมตาเพื่อนขยับแต่จริงๆ เขามองไม่เห็นเรา
ความสำคัญของ REM sleep คือเป็นช่วงที่ร่างการประกอบสร้างความเข้าใจใหม่ๆ ความสามารถในด้านต่างๆ การเชื่อมโยงข้อมูลดิบเข้าหากกัน การสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ๆขึ้นมา REM คือจุดแตกต่างที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากลิง REM คือจุดเปลี่ยนของมนุษยชาติที่ทำให้เราสามารถพาตนเองไปดวงจันทร์ได้ ในขณะที่ชิมแปนซีซึ่งวิวัฒนาการมาก่อนเราหลายล้านปีกลับแช่นิ่งอยู่ที่เดิม ระยะนี้เป็นระยะการนอนหลับที่มีการทำงานอย่างหนักของสมอง นี่เป็นระยะการหลับที่มีความฝันเกิดขึ้น เหมือนกับหนังที่กำลังฉายอยู่ในใจของเรา
เอาละครับ เมื่อเราพอคุ้นเคยกับคำว่า NREM และ REM แล้ว เรามาดูเรื่อง วัฎจักรการนอน (sleep cycle) กันครับ
วัฏจักรการนอน (Sleep cycle)
ในช่วงของการนอน 1 คืน จะเป็นการสลับไปมาของการหลับแบบ REM และ NREM กันตลอดทั้งคืน ถ้าเรานอน 8 ชั่วโมง การหลับทั้ง 2 รูปแบบจะเกิดขึ้นสลับกันไปมานับได้ประมาณ 5 รอบ (5 cycle) ยกตัวอย่าง เราเข้านอนเวลา 23.00 น. ตื่นนอนเวลา 07.00 น. (8 ชั่วโมงพอดี)
• ในแต่ละรอบ cycle นั้นจะกินระยะเวลาประมาณ 90 นาที (1.5 ชั่วโมง) 5 รอบก็ราวๆ 7.5 ชั่วโมง หรือ 8 พอดีครับ
• ใน 3 cycle แรกนั้น จะเป็นการหลับแบบ NREM ราวๆ 80% ในขณะที่เกิด REM ประมาณ 20% เท่านั้น ซึ่งถ้าดูตามเข็มนาฬิกาจะอยู่ในช่วงเวลา 23.00 – 03.30 น. ของอีกวัน
• และตั้งแต่ราวๆ 03.30 น. ของอีกวันไปจนถึงตื่นนอนนอนนั้น จะเป็น 2 cycle หลัง ที่มีสัดส่วนของ REM มากขึ้นเรื่อยๆ จนใน cycle ที่ 5 จะมีสัดส่วนของ REM sleep ประมาณ 60-70%
ลองคิดถึงภาพการสร้างรูปปั้นขึ้นมาจากดินเหนียว เรามักจะเริ่มต้นด้วยการเอาดินเหนียวทั้งหมดมาปั้นขึ้นโครง (เปรียบได้กับ NREM ที่เกิดขึ้นก่อนในช่วงแรกของการนอน) ตามมาด้วย การปรับรายละเอียดเล็กๆอย่างสั้นๆ (เปรียบได้กับ REM ที่เกิดขึ้นในตอนท้ายของแต่ละ cycle) ก่อนที่จะเอาดินเหนียวมาขึ้นโครงต่อและปรับรายละเอียดอีกครั้ง นับเป็น cycle ที่ 2 3 4 … 5 โดยการปั้นรูปปั้นในช่วงท้ายๆ โครงมักจะเสร็จไปแล้ว แต่จะเป็นการตกแต่งในรายละเอียด (fine tuning) ซึ่งก็คือระยะเวลาของ REM ที่ยาวนานที่สุดก่อนที่เราจะตื่นนั่นเองครับ
จากจุดนี้เอง เราจะเริ่มเห็นแล้วว่าจริงๆแล้วใน 8 ชั่วโมงของการนอนนั้น อาจจะได้แบ่งได้ช่วง 4 ชั่วโมงแรก และ 4 ชั่วโมงหลัง ซึ่งร่างกายได้ออกแบบสรีรวิทยาการนอนไว้แบบนี้มาหลายล้านปีแล้ว เพราะเราเป็นสัตว์ที่นอนกลางคืนและตื่นตอนเช้า แต่ตรงนี้อาจจะมีความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมในบางคนที่เป็นกลุ่มของ Morning lark คือกลุ่มที่นอนเร็ว ตื่นเช้า ทำงานได้ดีมากตอนเช้าตรู่ หรืออีกกลุ่มคือ Night owl กลุ่มที่นอนดึก ตื่นสาย จะทำงานได้ดีมากๆตอนบ่าย ส่วนนี้จะเก็บไว้เล่าภายหลังนะครับ
จากประเด็นนี้สรุปได้อย่างแรกคือ การนอนแต่ละช่วงล้วนมีความสำคัญในแง่ของ เราจะนอนเฉพาะในช่วง NREM โดยขาด REM ไม่ได้ เช่น ถ้าเรานอน 11.00 น. แต่ไปตื่นเอาตอน 04.00 น. ร่างกายจะได้รับการนอนแต่ NREM มา และจะเสียการนอน REM ไป ทำให้การนอนเราอาจจะไม่ได้ต่างจากลิงมากนัก
ในทางตรงกันข้ามถ้าเรานอนดึกเช่นนอนตอน 02.00 น. แล้วมาตื่นตอนราว 07.00 น. เราก็จะได้การนอนเฉพาะ REM มา แล้วจะขาด NREM ไปซึ่งควรจะเป็นการนอนขั้นพื้นฐานในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำให้ส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของร่างกายตามมา
ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ แทบไม่ต่างอะไรไปกับถ้าเปรียบเทียบการกินอาหารก็คือ เราอาจจะกินแต่คาร์โบไฮเดรต โดยไม่กินโปรตีน หรือ กินแต่โปรตีนโดยไม่กินคาร์โบไฮเดรต แบบนี้ การนอนอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้ครบทั้ง REM และ NREM จึงมีประโยชน์อย่างมาก ถ้าสามารถทำได้ครับ ซึ่งถ้าเรามีเวลานอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวันก็น่าจะพอการันตีคุณภาพของการนอนได้
สิ่งที่อยากลองแนะนำให้ทำครับ
1.) เปิด blue light filter ไว้ตลอดทั้งวัน ทั้งมือถือ ไอแพด แลปทอป ทุกที่ที่ๆเป็นแสง LED โดยตั้งเวลาไว้อัตโนมัติตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเช้า แสง blue light คือตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายคิดว่าตนเองตื่นตลอดเวลาแม้กระทั่งเวลากลางคืน เวลาดูหนังสืออ่านหนังสือภาพอาจจะออกเหลืองๆ แต่เชื่อผมครับ มันดีกับคุณภาพการนอนมาก ห้องนอนต้องมืดสนิทเท่าที่จะทำได้ ดีสุดคือไม่มีแสงใดๆเล็ดลอดเข้ามาแม้แต่น้อย
2.) แอลกอฮอล์ก่อนนอน ถ้าได้รับประทาน จะไปลดระยะการหลับแบบ REM ลง เป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยง
3.) การออกกำลังกายเป็นประจำในระดับที่พอดี ทำให้การหลับ NREM มีคุณภาพ แต่สำคัญคือ ระยะเวลาหลังออกกำลังกายกับการนอน ควรต้องเว้นระยะห่างมากกว่า 3 ชั่วโมง
4.) ทำให้อุณหภูมิห้องนอนเย็นๆ เป็นไปได้ต้องทำให้อุณภูมิร่างกายต่ำลงกว่าเกณฑ์เล็กน้อยประมาณ 1 องศา เช่นการอาบน้ำอุ่น หรือการล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่น มนุษย์เราจะหลับได้ง่ายและดีในห้องที่เย็น โดยอุณหภูมิห้องที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนอนจากงานวิจัยคือ 18.3 องศาเซลเซียส
5.) อันสุดท้าย เลี่ยงได้คือเลี่ยงครับ นั่นคือ เสียงนาฬิกาปลุก เสียงปลุกดังตอนเช้า 1 ครั้ง ยอมรับได้ครับ แต่ผลเสียทุกครั้งที่เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่นขึ้นจากในช่วงจังหวะของการนอนคือ ความดันโลหิต และ ชีพจรเราจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และทุกครั้งที่เรากดปุ่ม snooze และปล่อยให้มันดังอีกครั้ง ก็คือทำให้หัวใจเราเหมือนกับถูกกช็อคอีกครั้งเช่นกัน ทุกครั้งที่กดปุ่ม snooze เลยไม่ต่างจากการกระตุ้นหัวใจให้ตื่นเต้นไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ชอบการทรมานหัวใจตัวเอง ก็ไม่ควรทำครับ 555
.
ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ ตัวผมเองใช้ชีวิตออฟชอร์เป็นตัวจัดการแบบแผนไลฟ์สไตล์ของตนเองได้หลายอย่าง และการนอนก็เป็นหนึ่งในนั้น หวังว่าจะได้ประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนครับ ขอบคุณครับ
同時也有16部Youtube影片,追蹤數超過8,540的網紅長谷川ろみの腸活研究所,也在其Youtube影片中提到,「寝ている間に痩せたい」 ダイエットをしている人は、みんな一度は考えたことがあると思います。 辛い運動や食事制限なく、ただ寝ているうちに痩せられたらこんなに楽なことはありません。 今回は、寝ている間に体重を減らすことができるのか、できるとしたら何をしたらいいのか、体脂肪の燃焼効率を上げるために...
rem sleep 在 GIGAZINE Facebook 的精選貼文
レム睡眠中の神経活動が起きている時の食事量を調整していることが判明(2020)
https://gigazine.net/news/20200829-rem-sleep-tunes-eating-behaviour/
rem sleep 在 不假掰讀者過日子 Facebook 的最佳貼文
《夜行大腦》讓我們身歷其境地看到各種睡眠障礙的病人,例如打蒼蠅卻突然睡著的猝睡症、飆機車去兜風的夢遊症(somnambulism)、無法校正的二十五小時生理時鐘、無意識吃鳥飼料的夜食症(night eating syndrome)、無意識向伴侶求歡的睡眠性交症(sexsomnia)、會夜半嗥叫和攻擊人的快速動眼期睡眠行為障礙(REM sleep behavior disorder)、會在睡覺時踢人的不寧腿症候群(restless leg syndrome)等等,一個比一個令人嘆為觀止。也有案例是被枕邊人控訴夜半狂飆髒話的紳士,但後來發現原來是伴侶小時候的心理創傷讓她撒謊。
#好奇妙
https://news.readmoo.com/2021/08/23/gene210823-nocturnal-brain/
rem sleep 在 長谷川ろみの腸活研究所 Youtube 的最讚貼文
「寝ている間に痩せたい」
ダイエットをしている人は、みんな一度は考えたことがあると思います。
辛い運動や食事制限なく、ただ寝ているうちに痩せられたらこんなに楽なことはありません。
今回は、寝ている間に体重を減らすことができるのか、できるとしたら何をしたらいいのか、体脂肪の燃焼効率を上げるためにできることをまとめてみました。
↓文字で読みたい方はこちら↓
寝ている間に体重を減らす方法。体脂肪燃焼効率を2倍にするには?
https://www.chounaikankyou.club/article/sleepdiet.html
↓一足早く聞きたい方はStand.fmをフォローしてね↓
https://stand.fm/channels/5f52b6d26a9e5b17f7a5dfb2
-----------------------------------------------------------------------
▼参考文献
-----------------------------------------------------------------------
※1 Insufficient Sleep Undermines Dietary Efforts to Reduce Adiposity
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20921542/
※2 Chemogenetic inhibition of the medial prefrontal cortex reverses the effects of REM sleep loss on sucrose consumption
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27919319/
※3 The Association Between Sleep Duration, Sleep Quality, and Food Consumption in Adolescents: A Cross-Sectional Study Using the Korea Youth Risk Behavior Web-based Survey
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30042149/
※4 日常生活における受光履歴とトリプトファンの食事摂取が睡眠に及ぼす影響
https://kaken.nii.ac.jp/ja/file/KAKENHI-PROJECT-23370106/23370106seika.pdf
※この内容は、診断・治療または医療アドバイスを提供しているわけではありません。あくまで情報提供のみを目的としています。
※診断や治療に関する医療については、医師または医療専門家に相談してください。この内容は医療専門家からのアドバイスに代わるものでもありません。
-----------------------------------------------------------------------
▼連絡先等
-----------------------------------------------------------------------
腸活に関するご相談やお仕事依頼:hasegawaromi63@gmail.com
#腸活
#ダイエット
#体脂肪燃焼
rem sleep 在 Joanna Soh Official Youtube 的最讚貼文
Download My Fitness App & Get 25% Off All FIO Premium Plans: https://www.fiolife.com/go-premium/FIOWITHJO
SUBSCRIBE: http://bit.ly/SUBJoannaSoh | Follow my IG: https://instagram.com/joannasohofficial/
Weight Loss Tips: https://www.youtube.com/playlist?list=PLyP8pbBMxcsjSQjf_2V8ZJku_njMfh_Zm
Weight Loss Meal Plan & Recipes: https://www.youtube.com/playlist?list=PLyP8pbBMxcsiVZKn2idlOzVppEmkQuXBp
Abs & Core Workout: https://www.youtube.com/playlist?list=PLyP8pbBMxcsi0MwwHzR5tWUjphLt7vt5q
Crazy Workout Challenges: https://youtube.com/watch?v=g83v1m2P4_g&list=PLyP8pbBMxcsgw079OkBK0o-sjKzX4qE0Jm
________________
Is Lack of SLEEP Stopping You From Losing Weight?? | Joanna Soh
Lacking sleeping can be THE REASON you’re not losing weight & seeing results!
When you lack sleep, this increases your appetite and cravings, and as a result it increases your total daily caloric intake. Lack of sleep can also increase FAT storage in the body and making it harder for your body to burn fat. It will also decrease your workout performance, hence you can't train at your optimum.
WATCH this video as I share with you how lack of sleep can make you FAT and prevent you from losing weight! I'll also be sharing tips on how you can improve on your sleep quality. Beyond just eating a well balanced diet and exercising regularly, sleep is also one of the most important aspects in losing weight and maintaining a healthy weight for life.
________________
Record a video or take a picture of you doing the workout, tag me @JoannaSohOfficial #JSohActive
I'm a certified Personal Trainer (ACE), Women’s Fitness Specialist (NASM) and Nutrition Coach, with over 10 years of experience.
Stay connected and follow me:
Joanna Soh:
http://joannasoh.com/
https://www.instagram.com/joannasohofficial/
https://www.facebook.com/joannasohofficial/
https://www.youtube.com/user/joannasohofficial
https://twitter.com/Joanna_Soh
(Subscribe to my website for printable workouts & recipes)
My Fitness App
https://www.instagram.com/fio.app
https://www.facebook.com/fioapp
________________
Is Lack of SLEEP Stopping You From Losing Weight?? | Joanna Soh
rem sleep 在 Raymond Regulus Youtube 的最佳貼文
加入會員最低月費$10即可睇晒全部視頻:
https://www.youtube.com/c/RaymondRegulus/join
因地區等問題加入不到Youtube會員可以去Patreon:
https://www.patreon.com/raymondregulus
一次性打賞Ray, 多少隨意謝謝您:
https://www.paypal.me/raymondregulus
VIC Website: https://www.vic1111.com
rem sleep 在 Sleep Basics: REM & NREM, Sleep Stages, Good Sleep ... 的相關結果
When you enter REM sleep, brain activity increases again, meaning sleep is not as deep. The activity levels are like when you're awake. That's ... ... <看更多>
rem sleep 在 快速動眼期- 維基百科,自由的百科全書 的相關結果
睡覺的鴕鳥,有REM睡眠相和慢波睡眠相。 File:REM - Rapid eye movement sleep of a dog.webm ... ... <看更多>
rem sleep 在 Stages of Sleep: REM and Non-REM Sleep Cycles - WebMD 的相關結果
Rapid eye movement (REM) sleep, or stage R, usually starts about 90 minutes after you fall asleep. Brain activity increases, your eyes dart ... ... <看更多>